สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทราสรัทวาร กรมขุนพิจิตรเจษฎ์จันทร์
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทราสรัทวาร วโรฬารลักษณสมบัติ รัตนกุมารี | |
---|---|
เจ้าฟ้าชั้นโท กรมขุนพิจิตรเจษฎ์จันทร์ | |
ประสูติ | 15 เมษายน พ.ศ. 2416 พระบรมมหาราชวัง จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
สิ้นพระชนม์ | 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2448 (31 ปี) พระราชวังบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประเทศสยาม |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระมารดา | พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน์ |
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทราสรัทวาร วโรฬารลักษณสมบัติ รัตนกุมารี กรมขุนพิจิตรเจษฎ์จันทร์ (15 เมษายน พ.ศ. 2416 – 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2448) เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคนารีรัตน์
พระประวัติ
[แก้]เมื่อแรกประสูติมีพระนามว่า พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าจันทราสรัทวาร ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระราชโอรสและพระราชธิดาที่ประสูติแต่พระอรรคชายาเธอขึ้นเป็นเจ้าฟ้า ดังนั้น พระองค์จึงได้รับสถาปนาเป็น พระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจันทราสรัทวาร และเมื่อรับพระสุพรรณบัตรทรงเลื่อนขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจันทราสรัทวาร วโรฬารลักษณสมบัติ รัตนกุมารี[1] พระองค์นับเป็นเจ้าฟ้าหญิงชั้นโทพระองค์แรกในรัชกาลที่ 5 ชาววังออกพระนามลำลองว่า "สมเด็จหญิงใหญ่"[2]
สิ้นพระชนม์
[แก้]ระหว่างการเสด็จพระราชดำเนินไปในงานบำเพ็ญพระราชกุศลพระศพของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนสุพรรณภาควดี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจันทราสรัทวาร ได้ประชวรเป็นไข้พิษจนสิ้นพระชนม์ ณ วรนาฎเกษมสานต์ พระราชวังบางปะอิน เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ร.ศ. 123 เวลาเช้า 2 โมง 21 นาที[3] (นับแบบปัจจุบันตรงกับ พ.ศ. 2448) เวลาบ่าย 5 โมงเศษ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ มาพระราชทานน้ำสรงพระศพ เจ้าพนักงานเชิญพระศพลงพระลอง แล้วเชิญพระศพไปขึ้นท่าราชวรดิฐด้วยเรือปราบปรปักษ์ แล้วขึ้นพระยานมาศ 3 คานเข้ากระบวนแห่ไปหอธรรมสังเวช ตั้งบนแว่นฟ้า 3 ชั้น ประกอบพระโกศกุดั่นใหญ่ พระสงฆ์มีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส เป็นประธาน สวดสดับปกรณ์
ต่อมาวันที่ 1 มีนาคม ร.ศ. 123 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้สถาปนาเป็นเจ้าฟ้าต่างกรมฝ่ายใน มีพระนามตามจารึกในสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจันทราสรัทวาร วโรฬารลักษณสมบัติ รัตนกุมารี กรมขุนพิจิตรเจษฎ์จันทร์[4]
พระกรณียกิจ
[แก้]สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทราสรัทวาร กรมขุนพิจิตรเจษฎ์จันทร์ ทรงสร้างสะพานโสภาคย์ โดยสร้างเพื่อเป็นสาธารณประโยชน์ซึ่งแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2444[5] นอกจากนี้ยังทรงเป็นองค์อุปนายิกาสภาอุณาโลมแดง (สภากาชาดไทย)[6]
พระเกียรติยศ
[แก้]ธรรมเนียมพระยศของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนพิจิตรเจษฎ์จันทร์ | |
---|---|
ธงประจำพระอิสริยยศ | |
การทูล | ใต้ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | พ่ะย่ะค่ะ/เพคะ |
พระอิสริยยศ
[แก้]- พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าจันทราสรัทวาร (15 เมษายน พ.ศ. 2416 – พ.ศ. 2431)
- พระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจันทราสรัทวาร (พ.ศ. 2431)
- สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจันทราสรัทวาร วโรฬารลักษณสมบัติ รัตนกุมารี (พ.ศ. 2431 – 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2448)
ภายหลังการสิ้นพระชนม์
- สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจันทราสรัทวาร วโรฬารลักษณสมบัติ รัตนกุมารี กรมขุนพิจิตรเจษฎ์จันทร์ (1 มีนาคม พ.ศ. 2448)
- สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้าจันทราสรัทวาร วโรฬารลักษณสมบัติ รัตนกุมารี กรมขุนพิจิตรเจษฎ์จันทร์ (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทราสรัทวาร วโรฬารลักษณสมบัติ รัตนกุมารี กรมขุนพิจิตรเจษฎ์จันทร์ (10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2431 – เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.) (ฝ่ายใน)
- พ.ศ. 2436 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายใน)[7]
พงศาวลี
[แก้]พงศาวลีของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทราสรัทวาร กรมขุนพิจิตรเจษฎ์จันทร์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศเลื่อนพระนามพระอัครชายาเธอและสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้า มีพระบรมราชโองการสั่งให้สถาปนา พระอัครชายาเธอ หม่อมเจ้าอุบลรัตนนารีมาศ และพระอัครชายาเธอ หม่อมเจ้าสาย ขึ้นเป็น พระองค์เจ้า และสถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระเจ้าลูกเธอ และเจ้าฟ้า, เล่ม ๕, ตอน ๘, ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๑๘๘๘, หน้า ๖๑
- ↑ จิรวัฒน์ อุตตมะกุล. พระภรรยาเจ้า และสมเด็จเจ้าฟ้า ในรัชกาลที่ ๕. กรุงเทพ : มติชน, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2548. 398 หน้า. ISBN 974-322-964-7
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวสิ้นพระชนม์ เก็บถาวร 2012-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๑, ตอน ๔๘, ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๔๗, หน้า ๘๙๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งกรม สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจันทราสรัทวาร เก็บถาวร 2012-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๑, ตอน ๕๐, ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๗, หน้า ๙๓๐
- ↑ "การเปิดสะพานโสภาคย์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 18 (3): 29. 21 เมษายน พ.ศ. 2444.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-28. สืบค้นเมื่อ 2006-08-20.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม 10, ตอน 35, 26 พฤศจิกายน ร.ศ. 112, หน้า 375