พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงอดิศรอุดมเดช
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงอดิศรอุดมเดช | |
---|---|
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4 พระองค์เจ้าชั้นเอก | |
ผู้บัญชาการกรมพระคชบาล | |
ดำรงตำแหน่ง | 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456[1] - 30 กันยายน พ.ศ. 2460 |
จเรสัตว์พาหนะทหารบกและการทหารม้า | |
ดำรงตำแหน่ง | 30 กันยายน พ.ศ. 2460 - 16 เมษายน พ.ศ. 2468 |
ประสูติ | 15 มีนาคม พ.ศ. 2399 พระบรมมหาราชวัง ประเทศสยาม |
สิ้นพระชนม์ | 16 เมษายน พ.ศ. 2468 (69 ปี) วังถนนพระอาทิตย์ ประเทศสยาม |
หม่อม | 11 คน |
พระบุตร | 37 องค์ |
ราชสกุล | ศุขสวัสดิ์ |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระมารดา | เจ้าจอมมารดาจันทร์ ในรัชกาลที่ 4 |
นายพลโท พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงอดิศรอุดมเดช (15 มีนาคม พ.ศ. 2399 – 16 เมษายน พ.ศ. 2468) พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อดีตผู้บัญชาการกรมคชบาล องคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระประวัติ
[แก้]พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงอดิศรอุดมเดช เมื่อประสูติมีพระนามว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าศุขสวัสดี เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 23 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่ เจ้าจอมมารดาจันทร์ ในรัชกาลที่ 4 เมื่อวันศุกร์ เดือน 4 ขึ้น 9 ค่ำ ปีเถาะ สัปตศก จ.ศ. 1217 ตรงกับวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2398 (ปัจจุบันคือ พ.ศ. 2399)
ปี พ.ศ. 2419 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเป็นพระองค์เจ้าต่างกรมและให้ออกวัง มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นอดิศรอุดมเดช ครุฑนาม ทรงศักดินา 15,000 ตามพระราชกำหนดอย่างพระองค์เจ้าต่างกรมในพระบรมมหาราชวัง แล้วให้ทรงตั้งเจ้ากรมเป็นหมื่นอดิศรอุดมเดช ถือศักดินา 600 ปลัดกรมเป็นหมื่นภูเบศรบริรักษ์ ถือศักดินา 400 และสมุห์บาญชีเป็นหมื่นประจักษ์พลขันธ์ ถือศักดินา 300 โดยในการออกวังให้ทรงย้ายจากพระตำหนักสวนกุหลาบในบริเวณพระบรมมหาราชวังและโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวังท้ายวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามพระราชทาน แล้วเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานพระสุพรรณบัฏที่วังตามประเพณีซึ่งใช้อยู่ในเวลานั้น
ปี พ.ศ. 2456 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนพระอิสริยยศเป็นกรมหลวง มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงอดิศรอุดมเดช ครุฑนาม ทรงศักดินา 15,000 ตามพระราชกำหนดอย่างพระองค์เจ้าต่างกรมในพระบรมมหาราชวัง แล้วให้ทรงเลื่อนเจ้ากรมเป็นหลวงอดิศรอุดมเดช ถือศักดินา 800 ปลัดกรมเป็นขุนภูเบศร์บริรักษ์ ถือศักดินา 600 สมุห์บาญชีคงเป็นหมื่นประจักษ์พลขันธ์ ถือศักดินา 400[2]
ในตอนปลายพระชนม์ชีพ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงอดิศรอุดมเดช มีพระอาการประชวรพระปัปผาสะ ครั้นถึง ณ วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2468 เวลา 19.20 น. ก็สิ้นพระชนม์โดยสงบ แวดล้อมด้วยพระโอรส พระธิดา หม่อม และพระประยูรญาติอันสนิท เป็นที่เศร้าโศกสลดเสียดายแก่ผู้ใกล้ชิดพระองค์ทั่วกัน สิริพระชันษาได้ 69 ปี 1 เดือน 13 วัน ได้รับพระราชทาน พระโกศทองน้อย บรรจุพระศพ ตั้งบำเพ็ญพระกุศล ณ วังถนนพระอาทิตย์[3] และ พระราชทานเพลิงพระศพเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2468 ณ พระเมรุ ท้องสนามหลวง[4]
การทรงงาน
[แก้]ในตอนต้นแผ่นดินรัชกาลที่ 5 เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริที่จะจัดตั้งกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ขึ้น จึงโปรดเกล้าฯ ให้ พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าศุขสวัสดี ซึ่งในเวลานั้นทรงเจริญพระชันษาแล้ว ให้เข้ารับราชการในตำแหน่งคะเด็ตทหารมหาดเล็ก (Cadet- นักเรียนนายร้อย)
เมื่อถึงปี พ.ศ. 2414 จึงได้ทรงเป็นนายดาบในกองร้อยที่ 5 กรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์
ปี พ.ศ. 2416 ได้เลื่อนพระยศเป็นนายร้อยเอกในตำแหน่งผู้บังคับกองร้อยที่ 5 กรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ และในปีนี้เอง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสถาปนาตำแหน่งราชองครักษ์ขึ้นเป็นปฐม ซึ่งสมัยนั้นเรียกว่า "ราชเอดเดอแกมป์" (Aid-de-Camp) จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าศุขสวัสดี เป็นราชองครักษ์พระองค์แรกก่อนบุคคลอื่น ดังนั้นเมื่อ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินประพาสเมืองต่างประเทศมี มลายู ชวา และอินเดีย พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าศุขสวัสดี ก็ได้โดยเสด็จในหน้าที่ราชองครักษ์ทุกแห่งไป และในปีต่อมา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นผู้กำกับแตรวงในกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์อีกตำแหน่งหนึ่งด้วย
ในปี พ.ศ. 2417 โปรดให้ตั้งองคมนตรีสภา (เดิมคือ ปรีวีเคาน์ซิล) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าศุขสวัสดี (พระอิสริยยศในขณะนั้น) เป็นองคมนตรี[5]ในครั้งนั้น และทรงเป็นองคมนตรี[6]ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว อีกด้วย
ปี พ.ศ. 2430 ได้ทรงเป็นผู้แทนผู้บังคับการทหารล้อมวัง ซึ่งปัจจุบันคือกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์
ปี พ.ศ. 2431 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นนายพันเอกผู้บังคับการทหารราบในกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ต่อมาในวันพุธ เดือน 8 อุตราสาธ ขึ้น 10 ค่ำ ได้รับพระราชทานพระยศ นายพลจัตวา[7]
ปี พ.ศ. 2433 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มาว่าการในหน้าที่ปลัดทหารบกใหญ่
ปี พ.ศ. 2435 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นผู้บังคับการกรมทหารหน้า ซึ่งปัจจุบันคือกรมทหารราบที่ 4 พร้อมกับได้รับโปรดเกล้าให้เป็น ราชองครักษ์พิเศษ เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2435[8]
ปี พ.ศ. 2441 ได้เลื่อนเป็นนายพลตรี[9] เมื่อวันที่ 21 กันยายน
ปี พ.ศ. 2455 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ นายพลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอดิศรอุดมเดช เป็นผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ 10[10]
ปี พ.ศ. 2456 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายมาเป็นผู้บัญชาการกองพลที่ 4[11] แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายมาเป็นผู้บัญชาการกรมพระคชบาลแทน จอมพล เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (หม่อมราชวงศ์อรุณ ฉัตรกุล) ซึ่งขณะนั้นมียศเป็น นายพลเอก และให้เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต เป็นผู้ช่วยเสนาบดีกระทรวงกลาโหม เพียงตำแหน่งเดียว เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456[12]
ปี พ.ศ. 2460 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายมาเป็นจเรสัตว์พาหนะทหารบกและการทหารม้า[13] และทรงดำรงตำแหน่งนี้จนตลอดพระชนมายุ และในปีนี้ได้ทรงดำรงตำแหน่งนายทหารพิเศษประจำกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์
ปี พ.ศ. 2462 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระยศเป็นนายพลโท
ปี พ.ศ. 2463 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นนายทหารพิเศษประจำกรมทหารบกม้ากรุงเทพฯ รักษาพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
นอกจากการรับราชการทหารอันเป็นหน้าที่เฉพาะแล้ว นายพลโท พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงอดิศรอุดมเดช ยังเคยทรงทำหน้าที่พิเศษถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ เป็นช่างถ่ายรูป ผู้บัญชาการมหาดเล็กตั้งเครื่อง เป็นต้น
พระโอรสและพระธิดา
[แก้]พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงอดิศรอุดมเดช ทรงเป็นต้นราชสกุลศุขสวัสดิ[14] มีหม่อม 11 ท่าน ได้แก่
- หม่อมขาบ
- หม่อมแช่ม ธิดาพระนนทบุรี
- หม่อมสุ่น
- หม่อมนวล
- หม่อมราชวงศ์เพี้ยน (ราชสกุลเดิม: คเนจร)
- หม่อมชุ่ม
- หม่อมเขียน ธิดาพระนนทบุรี
- หม่อมเอียด
- หม่อมเปล่ง
- หม่อมเจริญ
- หม่อมตี่
โดยมีพระโอรสธิดารวมทั้งหมด 37 พระองค์/องค์ เป็นชาย 22 พระองค์/องค์ หญิง 14 พระองค์/องค์ และไม่ปรากฏว่าเป็นหญิงหรือชาย 1 องค์
พระรูป | พระนาม | หม่อมมารดา | ประสูติ | สิ้นพระชนม์/สิ้นชีพิตักษัย | คู่สมรส |
---|---|---|---|---|---|
1. หม่อมเจ้าอนุชาติศุขสวัสดิ์ | ที่ 1 ในหม่อมขาบ | 28 เมษายน พ.ศ. 2415 | 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2471 | หม่อมเจ้าหญิงรำไพเยาวยุภา (เกษมศรี) หม่อมละม่อม หม่อมเทียบ หม่อมฮวย หม่อมละมัย หม่อมแจ๋ว | |
2. หม่อมเจ้าหญิงมนัศสวาสดิ์ (พ.ศ. 2472: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงมนัศวาสดิ์) |
ที่ 1 ในหม่อมชุ่ม | 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2419 | 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495 | ||
3. หม่อมเจ้าหญิงสอาดศรี | ที่ 2 ในหม่อมขาบ | พ.ศ. 2421 | 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2438 | ||
4. หม่อมเจ้าหญิง (ด้วง) | พ.ศ. 2422 | ไม่ทราบปี | |||
5. หม่อมเจ้าอลงกฎ (พ.ศ. 2473: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลงกฎ พ.ศ. 2495: กรมหมื่นอดิศรอุดมศักดิ์) |
ที่ 3 ในหม่อมขาบ | 24 ตุลาคม พ.ศ. 2423 | 19 ธันวาคม พ.ศ. 2495 | หม่อมหลวงหญิงชุบ (สนิทวงศ์) | |
6. หม่อมเจ้าถูกถวิล | ที่ 1 ในหม่อมสุ่น | 29 มกราคม พ.ศ. 2431 | 8 เมษายน พ.ศ. 2472 | หม่อมเลื่อน หม่อมเหรียญ | |
7. หม่อมเจ้าหญิงศรีสุคนธ์ | ที่ 1 ในหม่อมราชวงศ์หญิงเพี้ยน | 14 มิถุนายน พ.ศ. 2431 | 19 มกราคม พ.ศ. 2506 | ||
8. หม่อมเจ้าอภิลักษณ์ | ที่ 1 ในหม่อมนวล | พ.ศ. 2432 | 23 สิงหาคม พ.ศ. 2446 | ||
9. หม่อมเจ้าทินทัต | ที่ 1 ในหม่อมแช่ม | 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2433 | 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2463 | หม่อมผิว (วสุวัต) | |
10. หม่อมเจ้าพุฒิสวัสดิ์ | ที่ 1 ในหม่อมเอียด | 24 กันยายน พ.ศ. 2433 | พ.ศ. 2506 | หม่อมกุหลาบ หม่อมเจ้าหญิงแจ่มจำรัส (กาญจนะวิชัย) | |
11. หม่อมเจ้าชาย (ไม่ปรากฏพระนาม) | 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2434 | 29 เมษายน พ.ศ. 2436 | |||
12. หม่อมเจ้าหญิงรัตจันทร์ | ที่ 2 ในหม่อมแช่ม | 5 ตุลาคม พ.ศ. 2434 | 24 ธันวาคม พ.ศ. 2509 | ||
13. หม่อมเจ้าจัตุรัส (ท่านชายตุ้ม) |
ที่ 2 ในหม่อมนวล | 20 ธันวาคม พ.ศ. 2435 | 18 ตุลาคม พ.ศ. 2518 | หม่อมอารีย์ (อิศรางกูร ณ อยุธยา) | |
14. หม่อมเจ้าหญิง (ไม่ปรากฏพระนาม) | 8 มีนาคม พ.ศ. 2435 | 14 ธันวาคม พ.ศ. 2436 | |||
15. หม่อมเจ้าประพัฒพงษ์ | พ.ศ. 2436 | 14 มีนาคม พ.ศ. 2449 | |||
16. หม่อมเจ้าสืบศุขสวัสดิ์ (ท่านชายปุ่น) |
ที่ 2 ในหม่อมสุ่น | 28 ธันวาคม พ.ศ. 2437 | 19 มิถุนายน พ.ศ. 2523 | หม่อมเยื้อน หม่อมเจ้าหญิงอุทัยพงษ์ (เกษมศรี) หม่อมเจ้าหญิงวิไลวรรณ (เกษมศรี) หม่อมสงบ | |
17. หม่อมเจ้า (ดำเล็ก) | ไม่ทราบปี | ไม่ทราบปี | |||
18. หม่อมเจ้าอุบลเกษร | ที่ 2 ในหม่อมราชวงศ์หญิงเพี้ยน | 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2438 | พ.ศ. 2506 | หม่อมเจ้ามงคลอุดม ชยางกูร | |
19. หม่อมเจ้าธัญญลักษณ์ | ที่ 1 ในหม่อมเขียน | 15 มีนาคม พ.ศ. 2439 | 31 มีนาคม พ.ศ. 2519 | หม่อมเจ้าหญิงรัชมาลินี (ดิศกุล) | |
20. หม่อมเจ้าสอาดองค์ | ไม่ทราบปี | พ.ศ. 2457 | |||
21. หม่อมเจ้า (แป๋ว) | ไม่ทราบปี | พ.ศ. 2443 | |||
22. หม่อมเจ้า (ดวง) (ไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นหญิงหรือชาย) |
ไม่ทราบปี | ไม่ทราบปี | |||
23. หม่อมเจ้าหญิง (แต๋ว) | ไม่ทราบปี | 14 มกราคม 2451 | |||
24. หม่อมเจ้า (นิต) | ไม่ทราบปี | ไม่ทราบปี | |||
25. หม่อมเจ้าวงศ์อดิศร | ที่ 3 ในหม่อมสุ่น | 4 ตุลาคม พ.ศ. 2442 | พ.ศ. 2506 | หม่อมนพรัตน์ | |
26. หม่อมเจ้าภาธรมณี (ท่านหญิงปิ๋ว) |
ที่ 3 ในหม่อมราชวงศ์หญิงเพี้ยน | 24 กันยายน พ.ศ. 2444 | 30 มิถุนายน พ.ศ. 2533 | ||
27. หม่อมเจ้ากิตติเดชขจร | ที่ 4 ในหม่อมสุ่น | 4 เมษายน พ.ศ. 2446 | 1 มีนาคม พ.ศ. 2518 | หม่อมจอน หม่อมสมบุญ (เมระยาภรณ์) หม่อมแส หม่อมวิไล หม่อมสมจิต หม่อมบัวเงิน หม่อมเทียมตา หม่อมประยงค์ (ทองแท้) หม่อมบัวเขียว | |
28. หม่อมเจ้า (แป๊ะ) | 21 มกราคม พ.ศ. 2446 | ไม่ทราบปี | |||
29. หม่อมเจ้าวรศักดิเดชอุดม | ที่ 2 ในหม่อมเขียน | 22 มิถุนายน พ.ศ. 2447 | 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2524 | หม่อมราชวงศ์หญิงสดถิ์ศรี (สวัสดิกุล) หม่อมพัฒนา (คงสวัสดิ์) | |
30. หม่อมเจ้าประสมสวัสดิ์ (ท่านชายน้อย) |
ที่ 3 ในหม่อมเขียน | 23 มีนาคม พ.ศ. 2450 | 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529 | หม่อมเจ้าหญิงกาญจนฉัตร (ฉัตรไชย) หม่อมมาลินี (สีบุญเรือง) | |
31. หม่อมเจ้าพันธ์อดิศร (ท่านชายโต๊ะ) |
ที่ 2 ในหม่อมเอียด | 23 ธันวาคม พ.ศ. 2452 | 21 เมษายน พ.ศ. 2529 | หม่อมถนอม หม่อมสมัคร หม่อมสังเวียน หม่อมสมบัติ หม่อมอูจานี หม่อมยุพดี (ตันหยง) หม่อมตุ๊ | |
32. หม่อมเจ้ามานิตสวัสดิ์ | หม่อมเปล่ง | พ.ศ. 2452 | 26 มกราคม พ.ศ. 2500 | หม่อมเล็ก (นิตย์เจริญ) | |
33. หม่อมเจ้าประสพสุข | หม่อมเจริญ | 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 | 12 สิงหาคม พ.ศ. 2528 | หม่อมเจ้าหญิงกฤษณาพักตรพิมล (ดิศกุล) | |
34. หม่อมเจ้าหญิง (เล็ก) | ไม่ทราบปี | ไม่ทราบปี | |||
35. หม่อมเจ้าหญิง (ไม่ปรากฏพระนาม) | ไม่ทราบปี | ไม่ทราบปี | |||
36. หม่อมเจ้าหญิง (ไม่ปรากฏพระนาม) | ไม่ทราบปี | ไม่ทราบปี | |||
37. หม่อมเจ้าอดิศรานุวงศ์
(ท่านชายเติม) |
หม่อมตี่ | 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2457 | 17 มกราคม พ.ศ. 2540 | หม่อมทองลิ (อิศรเสนา ณ อยุธยา) |
พระนัดดา
[แก้]พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงอดิศรอุดมเดช มีพระนัดดารวม 156 คน ดังนี้
- หม่อมเจ้าอนุชาติศุขสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ มีโอรสธิดา 11 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์วาสรำไพ ศุขสวัสดิ ในหม่อมเจ้ารำไพเยาวยุภา
- หม่อมราชวงศ์งามจริต สุขสำราญ ที่ 1 ในหม่อมละม่อม
- หม่อมราชวงศ์วิจิตรผจง ศุขสวัสดิ (นามเดิม: หม่อมราชวงศ์สันต์) ที่ 2 ในหม่อมละม่อม
- หม่อมราชวงศ์ทรงพันธ์ ศุขสวัสดิ ในหม่อมเทียบ
- หม่อมราชวงศ์ดำรงศิลป์ ศุขสวัสดิ ที่ 3 ในหม่อมละม่อม
- หม่อมราชวงศ์อภิรัตน์ บุนนาค ที่ 4 ในหม่อมละม่อม
- หม่อมราชวงศ์จินตนา ศุขสวัสดิ ที่ 1 ในหม่อมฮวย
- หม่อมราชวงศ์อัมพรพันธ์ ศุขสวัสดิ ที่ 1 ในหม่อมละมัย
- หม่อมราชวงศ์ศศิพันธ์ อิศรเสนา ที่ 2 ในหม่อมฮวย
- หม่อมราชวงศ์อวบ ศุขสวัสดิ ในหม่อมแจ๋ว (หม่อมพร้อม)
- หม่อมราชวงศ์เอื้อมพันธ์ พึ่งบารมี ที่ 2 ในหม่อมละมัย
- พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอดิศรอุดมศักดิ์ มีโอรสธิดา 10 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์รัชนีพันธุ์ ศุขสวัสดิ
- หม่อมราชวงศ์จันทร์กระจ่าง กฤดากร
- หม่อมราชวงศ์สอางโสม โรจนบุรานนท์
- หม่อมราชวงศ์โฉมแข คมกฤส
- หม่อมราชวงศ์นิลตระการ วงษ์ตา
- หม่อมราชวงศ์สังวาลพจน์ กฤดากร
- หม่อมราชวงศ์รจนากร เหล่าวานิช
- หม่อมราชวงศ์สุภรณ์รัศมี ศุขสวัสดิ
- หม่อมราชวงศ์ปิโยรส ศุขสวัสดิ
- หม่อมราชวงศ์พชรดนัย ศุขสวัสดิ
- หม่อมเจ้าถูกถวิล ศุขสวัสดิ มีโอรสธิดา 10 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์โสมลิกา ปทีปปาณี
- หม่อมราชวงศ์สวัสดิภิญโญ ศุขสวัสดิ
- หม่อมราชวงศ์ศรีโสมา ปัทมศิริ
- หม่อมราชวงศ์ทักษิณา ภูมิรัตน์
- หม่อมราชวงศ์แรงบุญ ณ เชียงใหม่ (นามเดิม: หม่อมราชวงศ์อทิติ)
- หม่อมราชวงศ์ทัศณิยา ศุขสวัสดิ
- หม่อมราชวงศ์อารุณี นาวิกบุตร ทั้ง 7 นี้ในหม่อมเลื่อน
- หม่อมราชวงศ์เจริญสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ
- หม่อมราชวงศ์อะดุง ศุขสวัสดิ
- หม่อมราชวงศ์เล็ก ศุขสวัสดิ ทั้ง 3 นี้ในหม่อมเหรียญ
- หม่อมเจ้าทินทัต ศุขสวัสดิ มีธิดา 3 คน ได้แก่
- ท่านผู้หญิงทินะประภา อิศรเสนา
- หม่อมราชวงศ์กานดาศรี ศุขสวัสดิ
- หม่อมราชวงศ์รุจีสมร ศุขสวัสดิ
- หม่อมเจ้าพุฒิสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ มีโอรสธิดา 5 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์พงศ์สวัสดิ์ ศุขสวัสดิ
- หม่อมราชวงศ์เผ่าสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ
- หม่อมราชวงศ์สิริสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ ทั้ง 3 นี้ในหม่อมกุหลาบ
- หม่อมราชวงศ์สันติสุข ศุขสวัสดิ
- หม่อมราชวงศ์ชัชวาลวลี ณ ระนอง ทั้ง 2 นี้ในหม่อมเจ้าแจ่มจำรัส
- หม่อมเจ้าสืบสุขสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ มีโอรสธิดา 14 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์ส่งต่อ ศุขสวัสดิ ที่ 1 ในหม่อมเยื้อน
- หม่อมราชวงศ์สรวมสุข ศุขสวัสดิ ที่ 1 ในหม่อมเจ้าอุทัยพงษ์
- หม่อมราชวงศ์เชวงสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ ที่ 2 ในหม่อมเยื้อน
- หม่อมราชวงศ์เสริม ศุขสวัสดิ ที่ 2 ในหม่อมเจ้าอุทัยพงษ์
- หม่อมราชวงศ์ธำรงสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ ที่ 3 ในหม่อมเยื้อน
- หม่อมราชวงศ์ยุพดี ศุขสวัสดิ ที่ 3 ในหม่อมเจ้าอุทัยพงษ์
- หม่อมราชวงศ์ประสานสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ ที่ 4 ในหม่อมเจ้าอุทัยพงษ์
- หม่อมราชวงศ์เฉลิมสุข บุญไทย ที่ 1 ในหม่อมเจ้าวิไลวรรณ
- หม่อมราชวงศ์กฤษณา ศุขสวัสดิ ที่ 2 ในหม่อมเจ้าวิไลวรรณ
- หม่อมราชวงศ์ขวัญเกษม สุรคุปต์ ที่ 5 ในหม่อมเจ้าอุทัยพงษ์
- หม่อมราชวงศ์เกนหลง สามงามยา ที่ 4 ในหม่อมเยื้อน
- หม่อมราชวงศ์ปิยะสุข ศุขสวัสดิ ที่ 1 ในหม่อมสงบ
- หม่อมราชวงศ์ปุษยะ ศุขสวัสดิ ที่ 2 ในหม่อมสงบ
- หม่อมราชวงศ์จรัมพร ศุขสวัสดิ ที่ 3 ในหม่อมสงบ
- หม่อมเจ้าอุบลเกษร ชยางกูร มีโอรส 3 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์ไชยสุข ชยางกูร
- หม่อมราชวงศ์ธงชัย ชยางกูร
- หม่อมราชวงศ์ไชยมงคล ชยางกูร
- หม่อมเจ้าธัญญลักษณ์ ศุขสวัสดิ มีโอรสธิดา 5 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์เฉลิมลักษณ์ ศุขสวัสดิ
- หม่อมราชวงศ์ศิริลักษณ์ ศุขสวัสดิ
- หม่อมราชวงศ์บุญญลักษณ์ ศุขสวัสดิ
- หม่อมราชวงศ์นงลักษณ์ สโรบล
- หม่อมราชวงศ์ศศิโสภา รัญเสวะ
- หม่อมเจ้าวงศ์อดิศร ศุขสวัสดิ มีโอรสธิดา 6 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์ (ไม่มีนาม) ศุขสวัสดิ
- หม่อมราชวงศ์ (ไม่มีนาม) ศุขสวัสดิ
- หม่อมราชวงศ์ (ไม่มีนาม) ศุขสวัสดิ
- หม่อมราชวงศ์ (ไม่มีนาม) ศุขสวัสดิ
- หม่อมราชวงศ์เถียรสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ
- หม่อมราชวงศ์ภัทรสุข โจชูศรี
- หม่อมเจ้ากิตติเดชขจร ศุขสวัสดิ มีโอรสธิดา 43 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์จรูญสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ
- หม่อมราชวงศ์ประดิษฐ์ ศุขสวัสดิ
- หม่อมราชวงศ์เสนาะ ศุขสวัสดิ
- หม่อมราชวงศ์วรางค์ ศรีประสงค์
- หม่อมราชวงศ์สวัสดิสุข ศุขสวัสดิ
- หม่อมราชวงศ์จันทร์ฉาย ถมังรักษ์สัตว์
- หม่อมราชวงศ์พาณี ศุขสวัสดิ ทั้ง 6 นี้ในหม่อมสมบุญ
- หม่อมราชวงศ์วุฒิสุข ศุขสวัสดิ
- หม่อมราชวงศ์ภุมริน ศุขสวัสดิ
- หม่อมราชวงศ์คมขำ ศรศรีวิชัย
- หม่อมราชวงศ์สุดสวาท เฉียบแหลม
- หม่อมราชวงศ์เจริญสุข ศุขสวัสดิ
- หม่อมราชวงศ์แน่งน้อย เชาวนปรีชา ทั้ง 6 นี้ในหม่อมแส
- หม่อมราชวงศ์สุดใจ บุนนาค
- หม่อมราชวงศ์เข็มทอง ศุขสวัสดิ
- หม่อมราชวงศ์สอางค์ศรี เทวกุล
- หม่อมราชวงศ์วิชัย ศุขสวัสดิ ทั้ง 4 นี้ในหม่อมวิไล
- หม่อมราชวงศ์ชวลิต จันทรายุ
- หม่อมราชวงศ์จุลภา ศรีนิเวศน์
- หม่อมราชวงศ์สร้อยสน แจ่มเลิศ
- หม่อมราชวงศ์ณรงค์สวัสดิ์ ศุขสวัสดิ
- หม่อมราชวงศ์พงษ์สวัสดิ์ ศุขสวัสดิ
- หม่อมราชวงศ์ดวงวิภาพันธุ์ ไชยสนาม
- หม่อมราชวงศ์จุฑามาศ ชาญชาคริตพงษ์ ทั้ง 7 นี้ในหม่อมสมจิต
- หม่อมราชวงศ์มานิตย์ ศุขสวัสดิ
- หม่อมราชวงศ์รัชนารี วิชยากาศ
- หม่อมราชวงศ์ภิญโญสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ
- หม่อมราชวงศ์นุกูลกิจ ศุขสวัสดิ
- หม่อมราชวงศ์วิจิตรา พูนทวีธรรม ทั้ง 5 นี้ในหม่อมบัวเงิน
- หม่อมราชวงศ์พรสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ
- หม่อมราชวงศ์สายสวัสดิ์ สังขพิทักษ์
- หม่อมราชวงศ์ถาวร ศุขสวัสดิ
- หม่อมราชวงศ์โสภณ ศุขสวัสดิ
- หม่อมราชวงศ์วรรณา ดารากร
- หม่อมราชวงศ์วิสาขา ศักดิ์โสภาสกุล
- หม่อมราชวงศ์เดชา ศุขสวัสดิ
- หม่อมราชวงศ์กิติบุตร ศุขสวัสดิ ทั้ง 8 นี้ในหม่อมเทียมตา
- หม่อมราชวงศ์พงษ์กิติ ศุขสวัสดิ
- หม่อมราชวงศ์กนกวรรณ กังวาฬวงศ์
- หม่อมราชวงศ์จงรัก งามทิพากร ทั้ง 3 นี้ในหม่อมประยงค์
- หม่อมราชวงศ์ศรีกิติ ว่องวิวัฒน์ไวทยะ
- หม่อมราชวงศ์กีรติ ศุขสวัสดิ
- หม่อมราชวงศ์กิติธิดา พิศาลายน ทั้ง 3 นี้ในหม่อมบัวเขียว
- หม่อมเจ้าวรศักดิเดชอุดม ศุขสวัสดิ มีโอรสธิดา 11 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์ยุพดี มาลากุล
- หม่อมราชวงศ์กฤษณฤกษ์ ศุขสวัสดิ
- หม่อมราชวงศ์ปานใจ ศุขสวัสดิ ทั้ง 3 นี้ในหม่อมราชวงศ์สดถิ์ศรี
- หม่อมราชวงศ์จันทรา วงษ์ไทย
- หม่อมราชวงศ์พัชนี บุษปวนิช
- หม่อมราชวงศ์วัฒนศักดิ์ ศุขสวัสดิ
- หม่อมราชวงศ์โสมาวดี รงค์วราโรจน์
- หม่อมราชวงศ์ฉวีวัฒนา เลาหวิช
- หม่อมราชวงศ์วรชัย ศุขสวัสดิ
- หม่อมราชวงศ์จันทรนิภา ศุขสวัสดิ
- หม่อมราชวงศ์มธุรส ศุขสวัสดิ ทั้ง 8 นี้ในหม่อมพัฒนา
- หม่อมเจ้าประสมสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ มีโอรสธิดา 7 คน ดังนี้
- หม่อมราชวงศ์อดิศรฉัตร ศุขสวัสดิ
- หม่อมราชวงศ์อรฉัตร ซองทอง
- หม่อมราชวงศ์ประกายฉัตร ศุขสวัสดิ
- หม่อมราชวงศ์ไชยฉัตร ศุขสวัสดิ ทั้ง 4 นี้ในหม่อมเจ้าหญิงกาญจนฉัตร
- หม่อมราชวงศ์นิดา ศุขสวัสดิ
- หม่อมราชวงศ์นุช สุจริตกุล
- หม่อมราชวงศ์อดิศรเดช ศุขสวัสดิ ทั้ง 3 นี้ในหม่อมมาลินี
- หม่อมเจ้าพันธ์อดิศร ศุขสวัสดิ มีโอรสธิดา 19 คน ดังนี้
- หม่อมราชวงศ์อุดมศรี ศุขสวัสดิ ในหม่อมถนอม
- หม่อมราชวงศ์อุดมฉวี แสงไชย
- หม่อมราชวงศ์ขจรอุดม ศุขสวัสดิ
- หม่อมราชวงศ์สุธารัตน์ ศุขสวัสดิ ทั้ง 3 นี้ในหม่อมสมัคร
- หม่อมราชวงศ์ศรีสมร ศุขสวัสดิ
- หม่อมราชวงศ์สมลักษณา ประมิติธนาการ
- หม่อมราชวงศ์วนา ศุขสวัสดิ ทั้ง 3 นี้ในหม่อมสังเวียน
- หม่อมราชวงศ์อุดมศักดิ์ ศุขสวัสดิ ในหม่อมสมบัติ
- หม่อมราชวงศ์อมรฤทธิ์ ศุขสวัสดิ ในหม่อมอูจานี
- หม่อมราชวงศ์อัปษรสมาน บรรจุศิริ
- หม่อมราชวงศ์อิศรพรรณ ศุขสวัสดิ ทั้ง 2 นี้ในหม่อมยุพดี
- หม่อมราชวงศ์รำเพยพรรณ ปิ่นขุนทอง
- หม่อมราชวงศ์พงศ์เทพ ศุขสวัสดิ
- หม่อมราชวงศ์ธัญญรัตน์ ศุขสวัสดิ
- หม่อมราชวงศ์จันทร์ทิพย์สุดา แก้วแดง
- หม่อมราชวงศ์ศรีโสภิต ศุขสวัสดิ
- หม่อมราชวงศ์นิภาวรรณ ศุขสวัสดิ
- หม่อมราชวงศ์ธวัชชัย ศุขสวัสดิ
- หม่อมราชวงศ์มงคลรัตน์ ศุขสวัสดิ ทั้ง 8 นี้ในหม่อมตุ๊
- หม่อมเจ้ามานิตสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ มีโอรส 2 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์ไชยยันต์ ศุขสวัสดิ
- หม่อมราชวงศ์ฐิติพงษ์ ศุขสวัสดิ
- หม่อมเจ้าประสพสุข ศุขสวัสดิ มีโอรสธิดา 6 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์พิมลพักตร์ ปกมนตรี
- หม่อมราชวงศ์จำเริญลักษณ์ โสฬสจินดา
- หม่อมราชวงศ์ประเสริฐศักดิ์ ศุขสวัสดิ
- หม่อมราชวงศ์ดำรงเดช ศุขสวัสดิ
- หม่อมราชวงศ์วิไลกัญญา วิชัยดิษฐ
- หม่อมราชวงศ์อุษณิษา ศุขสวัสดิ
- หม่อมเจ้าอดิศรานุวงศ์ ศุขสวัสดิ มีโอรส 1 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์สุริยวุฒิ ศุขสวัสดิ
พระยศ
[แก้]นายพลโท นายกองโท พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงอดิศรอุดมเดช | |
---|---|
รับใช้ | กองทัพบกสยาม กองเสือป่า |
ชั้นยศ | พลโท นายกองโท |
พระยศทหาร
[แก้]- นายพันเอก
- นายพลจัตวา
- นายพลตรี
- นายพลโท[15]
พระยศเสือป่า
[แก้]พระเกียรติยศ
[แก้]พระอิสริยยศ
[แก้]- พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าศุขสวัสดี (15 มีนาคม พ.ศ. 2399 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411)
- พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าศุขสวัสดี (1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 - พ.ศ. 2419)
- พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นอดิศรอุดมเดช (พ.ศ. 2419 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอดิศรอุดมเดช (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงอดิศรอุดมเดช (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456 - 16 เมษายน พ.ศ. 2468)
ธรรมเนียมพระยศของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงอดิศรอุดมเดช | |
---|---|
ธงประจำพระอิสริยยศ | |
ตราประจำพระองค์ | |
การทูล | ใต้ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | พ่ะย่ะค่ะ/เพคะ |
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงอดิศรอุดมเดช ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เหรียญและเข็มต่างๆ ดังนี้
- พ.ศ. 2425 – เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.) (ฝ่ายหน้า)[19]
- พ.ศ. 2457 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ (น.ร.) (ฝ่ายหน้า)[20]
- พ.ศ. 2456 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[21]
- พ.ศ. 2458 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[22]
- พ.ศ. 2429 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[23]
- พ.ศ. 2436 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[24]
- พ.ศ. 2447 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[25]
- พ.ศ. 2447 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 4 ชั้นที่ 2 (ม.ป.ร.2)[26]
- พ.ศ. 2451 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 3 (จ.ป.ร.3)[27]
- พ.ศ. 2454 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 2 (ว.ป.ร.2)[28]
- พ.ศ. 2436 – เหรียญรัชฎาภิเศกมาลา (ร.ศ.)
- พ.ศ. 2440 – เหรียญประพาสมาลา (ร.ป.ม.)
- พ.ศ. 2446 – เหรียญทวีธาภิเศก (ท.ศ.)
- พ.ศ. 2450 – เหรียญรัชมงคล (ร.ร.ม.)
- พ.ศ. 2451 – เหรียญรัชมังคลาภิเศก รัชกาลที่ 5 (ร.ม.ศ.5)
- พ.ศ. 2454 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 6 (ร.ร.ศ.6)
- พ.ศ. 2452 – เข็มพระชนมายุสมมงคล ชั้นที่ 2 (ทองคำ)[29]
- พ.ศ. 2459 – เข็มข้าหลวงเดิม[30]
พงศาวลี
[แก้]พงศาวลีของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงอดิศรอุดมเดช | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2456/D/1998_1.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2456/A/329.PDF
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวสิ้นพระชนม์ , เล่ม 42, ตอน 0 ง, 26 เมษายน พ.ศ. 2468, หน้า 194
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเพลิงพระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงอดิศรอุดมเดช และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์ ณ พระเมรุท้องสนามหลวง พ.ศ. ๒๔๖๘, เล่ม 42, ตอน 0 ง, 2 สิงหาคม พ.ศ. 2468, หน้า 1324
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,การประชุมองคมนตรี
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2453/D/2273_1.PDF
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรทหาร
- ↑ แจ้งความกรมยุทธนาธิการ (หน้า ๒๙๖)
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรทหาร
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2454/D/2791.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2456/D/1837.PDF
- ↑ แจ้งความกระทรวงกลาโหม เรื่อง ตั้งตำแหน่งหน้าที่ราชการ
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2460/D/1876.PDF
- ↑ "ประกาศกรมราชเลขานุการ เรื่อง พระราชทานนามสกุล สำหรับสืบเชื้อพระวงศ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น ๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 32 (0 ง): 136. 18 เมษายน พ.ศ. 2458. สืบค้นเมื่อ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2561.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา,พระราชทานยศนายทหารบก, เล่ม 35, 28 เมษายน พ.ศ. 2461, หน้า 197
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรเสือป่า
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรเสือป่า
- ↑ พระราชทานยศนายเสือป่า
- ↑ ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา, ตำนานเครื่องราชอิศริยาภรณ์สยาม, พระนคร, โสภณพิพรรฒธนากร, 2468
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, รายพระนามและนามผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์นพรัตนราชวราภรณ์และจุลจอมเกล้า เก็บถาวร 2022-10-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๘๕๖, ๑๕ พฤศจิกายน ๒๔๕๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๖๔, ๓๐ พฤศจิกายน ๒๔๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๘๙๑, ๒๑ พฤศจิกายน ๒๔๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีพระราชทานตราเครื่องราชอิสริยยศ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓ ตอนที่ ๔๖ หน้า ๓๘๖, ๑๕ มีนาคม ๑๒๔๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2020-07-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐ ตอนที่ ๔๑ หน้า ๔๕๖, ๗ มกราคม ๑๑๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๑ ตอนที่ ๒๗ หน้า ๔๖๔, ๒ ตุลาคม ๑๒๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๔ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๑ ตอนที่ ๓๒ หน้า ๕๖๕, ๖ พฤศจิกายน ๑๒๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายหน้า, เล่ม ๒๕ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๑๐๑๓, ๒๙ พฤศจิกายน ๑๒๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัตยุบัน เก็บถาวร 2022-10-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๘๐๒, ๑๒ พฤศจิกายน ๑๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเข็มพระชนมายุสมมงคล เก็บถาวร 2022-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๖๓๑, ๖ มีนาคม ๑๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเข็มข้าหลวงเดิม เก็บถาวร 2022-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๘๗๕, ๑๔ มกราคม ๒๔๕๙
- กัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์, สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้า. มหามกุฎราชสันตติวงศ์ พระนามพระราชโอรสธิดา พระราชนัดดา. กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์พริ้นติ้ง-แอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) , 2547.
- หอพระสมุดวชิรญาณ. จดหมายเหตุเสด็จประพาสต่างประเทศ ในรัชกาลที่ 5 เสด็จเมืองสิงคโปร์ แลเมืองปัตตาเวียครั้งแรก แลเสด็จประพาสอินเดีย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2. พระนคร : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, 2468. (เจ้าภาพพิมพ์ในงานพระศพ พลโท พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงอดิศรอุดมเดช).
- Jeffy Finestone. 2542. สมุดพระรูป พระราชโอรส พระราชธิดา พระราชนัดดาใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. ปรียนันทนา รังสิต, ม.ร.ว. โลมาโฮลดิ้ง
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2399
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2468
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4
- พระองค์เจ้าชาย
- กรมหลวง
- พระราชโอรสในรัชกาลที่ 4
- องคมนตรีในรัชกาลที่ 5
- องคมนตรีในรัชกาลที่ 6
- ราชสกุลศุขสวัสดิ
- ทหารบกชาวไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.จ.ก. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ น.ร.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ม.ป.ร.2
- เสียชีวิตจากโรคปอด
- สมาชิกกองเสือป่า
- บุคคลในประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์