พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศิริรัตนบุษบง
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศิริรัตนบุษบง | |
---|---|
พระเจ้าวรวงศ์เธอ ชั้น 5 พระองค์เจ้าชั้นโท | |
ประสูติ | 4 มกราคม พ.ศ. 2449 |
สิ้นพระชนม์ | 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 (84 ปี) |
พระสวามี | หม่อมเจ้าอาชวดิศ ดิศกุล |
ราชสกุล | บริพัตร (โดยประสูติ) ดิศกุล (โดยเสกสมรส) |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต |
พระมารดา | หม่อมเจ้าประสงค์สม ไชยันต์ |
ศาสนา | พุทธ |
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศิริรัตนบุษบง [สิ-หฺริ-รัด-บุด-สะ-บง] บางแห่งสะกดว่า สิริรัตนบุษบง[1] หรือ ศิริรัตน์บุษบง[2][3] (4 มกราคม พ.ศ. 2449 – 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2533) เป็นพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต กับหม่อมเจ้าประสงค์สม ไชยันต์
พระประวัติ
[แก้]พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศิริรัตนบุษบง เรียกโดยลำลองว่า ท่านพระองค์หญิงใหญ่ หรือ ท่านพระองค์ใหญ่[4] เป็นพระธิดาพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต กับหม่อมเจ้าประสงค์สม ไชยันต์ ประสูติเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2448 (ปฏิทินสากลคือ พ.ศ. 2449) เมื่อแรกประสูติมีพระยศที่ หม่อมเจ้าศิริรัตนบุษบง มีเจ้าพี่เจ้าน้องร่วมพระมารดาเจ็ดพระองค์ และมีเจ้าน้องต่างพระมารดาอีกสามพระองค์[5] ครั้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้ยกพระบุตรของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิตที่ประสูติแต่หม่อมเจ้าประสงค์สมเป็น "พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า" ทั้งสายเมื่อพ.ศ. 2453[6]
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศิริรัตนบุษบงเสกสมรสกับหม่อมเจ้าอาชวดิศ ดิศกุล แต่ไม่มีพระโอรสธิดาด้วยกัน มีเพียงพระโอรสบุญธรรมเพียงคนเดียวคือฤทธิ์ดำรง ดิศกุล[7] สมรสกับแก้วตา ดิศกุล (สกุลเดิม หังสสูต) มีบุตรคืออาชวฤทธิ์ ดิศกุล[8]
ในปี พ.ศ. 2506 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศิริรัตนบุษบงกับพวก ได้อุทิศที่ดินเนื้อที่ 339.06 ตารางวา มูลค่า 1,695,300 บาท แก่เทศบาลนครกรุงเทพเพื่อตัดถนนเส้นใหม่ต่อกับถนนบริพัตรโดยไม่คิดมูลค่าตอบแทนใด ๆ[2] การนี้กระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาว่าทรงเสียสละเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวมควรแก่การสรรเสริญ จึงได้ถวายเครื่องหมายตอบแทนผู้ช่วยเหลือราชการพลเรือนสำหรับหมู่คณะ ชนิดติดตั้ง ชั้นเครื่องหมายทองประดับเพชรแก่พระองค์กับพวก[3]
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศิริรัตนบุษบง สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 สิริพระชันษา 84 ปี
พระเกียรติยศ
[แก้]ธรรมเนียมพระยศของ พระองค์เจ้าศิริรัตนบุษบง | |
---|---|
ตราประจำพระองค์ | |
การทูล | ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | เกล้ากระหม่อม/เกล้ากระหม่อมฉัน |
การขานรับ | เกล้ากระหม่อม/เพคะ |
พระอิสริยยศ
[แก้]- 4 มกราคม พ.ศ. 2449 — 6 มกราคม พ.ศ. 2454 : หม่อมเจ้าศิริรัตนบุษบง บริพัตร
- 6 มกราคม พ.ศ. 2454 — 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 : พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศิริรัตนบุษบง
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2523 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[9]
- พ.ศ. 2469 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายใน)[10]
- พ.ศ. 2457 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 3 (ว.ป.ร.3)[11]
- พ.ศ. 2469 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 3 (ป.ป.ร.3)[12]
- พ.ศ. 2469 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
งานพระนิพนธ์
[แก้]- พระประวัติสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต. กรุงเทพฯ : วันพาณิชย์, 2524, 95 หน้า
- ทูนกระหม่อมบริพัตรกับการดนตรี. กรุงเทพฯ : จันวาณิชย์, 2524, 169 หน้า (พระนิพนธ์ร่วมกับ นายแพทย์ พูนพิศ อมาตยกุล)
- พระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต. พิมพ์เนื่องในการพระราชทานเพลิงศพ พันเอกหม่อมราชวงศ์ถวัลย์มงคล โสณกุล 20 กันยายน 2533. กรุงเทพฯ : เรือนแก้ว, 2534, 207 หน้า
พงศาวลี
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "พระราชพิธีบรมราชาภิเษกเฉลิมพระราชมณเฑียร ปีฉลูสัปตศก พุทธศักราช 2468" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 42 (0ก): 66. 3 มีนาคม พ.ศ. 2468. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-14. สืบค้นเมื่อ 2015-02-24.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ 2.0 2.1 "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศิริรัตน์บุษบง กับพวก ทรงอุทิศที่ดินให้เป็นสาธารณะ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (17ง): 458. 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ 3.0 3.1 "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศิริรัตน์บุษบง กับพวก และนายบำรุง นวราช ทรงอุทิศและอุทิศที่ดินให้ทางราชการสร้างถนน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (90ง): 2114. 10 กันยายน พ.ศ. 2506.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ วิรัช จาตุรงคกุล. "ชีวิตในวังของสกุลจาตุรงคกุล". มูลนิธิสกุล ณ นคร และสายสัมพันธ์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-03. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ เนื่องในงานพระราชทานเพลิงพระศพ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงพิสิฐสบสมัย. กรุงเทพฯ : [ม.ป.พ.], พ.ศ. 2517. 50 หน้า.
- ↑ "ประกาศ ยกพระวรวงษ์เธอ เป็นพระเจ้าวรวงษ์เธอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 27 (1ก): 99. 8 มกราคม พ.ศ. 2453.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "คุณแหน ประจำวันที่ 26 มีนาคม 2553". แนวหน้า. 26 มีนาคม 2553. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2555.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "บรรยากาศอบอุ่นกับงานฉลองครบรอบ 8 ปี เลอ คริสตัล". รีวิวเชียงใหม่. 5 กันยายน 2556. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-09. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ 5 ธันวาคม 2523 https://www.dol.go.th/personnel/24%20%2060/01%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%A22523.pdf เก็บถาวร 2020-03-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "พระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 43 (0ง): 2022. 22 สิงหาคม พ.ศ. 2469.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2457/D/401.PDF
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายใน หน้า ๔๓๐๐ เล่ม ๔๓, ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๙