สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี
สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี | |
---|---|
พระฉายาลักษณ์สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี | |
สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง | |
สถาปนา | 25 ธันวาคม พ.ศ. 2411 |
ก่อนหน้า | กรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ |
ถัดไป | สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง |
พระอัครมเหสี | |
ดำรงพระยศ | 6 มกราคม พ.ศ. 2395 – 9 กันยายน พ.ศ. 2404 (9 ปี 247 วัน) |
รัชสมัย | พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ก่อนหน้า | สมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี |
ถัดไป | สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ |
พระราชสมภพ | 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2377 กรุงเทพพระมหานคร อาณาจักรรัตนโกสินทร์ |
สวรรคต | 9 กันยายน พ.ศ. 2404 (27 พรรษา) พระบรมมหาราชวัง กรุงเทพพระมหานคร ประเทศสยาม |
พระราชทานเพลิง | 18 เมษายน พ.ศ. 2405 พระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง |
บรรจุพระอัฐิ | พระวิมานทองกลาง บนพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท |
พระราชสวามี | พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (สมรส พ.ศ. 2396) |
พระราชบุตร | |
ราชสกุล | ศิริวงศ์ (โดยพระราชสมภพ) |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระราชบิดา | สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ |
พระราชมารดา | หม่อมน้อย ศิริวงศ์ ณ อยุธยา |
ศาสนา | เถรวาท |
สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี (พระนามเดิม: หม่อมเจ้ารำเพย; 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2377 - 9 กันยายน พ.ศ. 2404) เป็นพระมเหสีพระองค์ที่สองในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รวมถึงเป็นพระอัยยิกาในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นพระปัยยิกาในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
พระราชประวัติ
พระชนม์ชีพช่วงต้น
สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 12 ค่ำ เดือน 88 ปีมะเมีย ฉศก จ.ศ. 1196 ตรงกับวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2377 เป็นพระธิดาพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ ต้นราชสกุลศิริวงศ์ (พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวกับเจ้าจอมมารดาทรัพย์)[1] พระชนนีคือหม่อมน้อย[2][3] สตรีชาวบางเขนที่มีเชื้อสายอำมาตย์รามัญกับไทย[4] เป็นธิดาคนหนึ่งของนายบุศย์ ชาวบางเขน[4][5] ซึ่งไม่ปรากฏวงศ์ตระกูล กับคุณแจ่ม[6] หลานสาวของอำมาตย์มอญ คือพระยารัตนจักร (หงส์ทอง สุรคุปต์)[4] (สมิงสอดเบา หัวเมืองหน้าครัวมอญ) คุณม่วงมารดาของคุณแจ่มเป็นน้องสาวต่างมารดาของเจ้าจอมมารดาป้อม ในรัชกาลที่ 1, เจ้าจอมเพ็ง ในรัชกาลที่ 2 และเจ้าจอมมารดาเอม ในรัชกาลที่ 2[7] บางแหล่งข้อมูลก็ว่า คุณแจ่มเป็นธิดาของพระยารัตนจักร[8]
พระองค์มีเจ้าพี่เจ้าน้องต่างมารดา 8 องค์[9][10][11]
เมื่อทรงพระเยาว์ ได้เข้ามาประทับอยู่กับพระองค์เจ้าละม่อม พระปิตุจฉา เพื่อฝึกหัดถวายงานพัด และพระองค์ก็สามารถพัดได้ถูกพระทัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึงกับโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามแก่หม่อมเจ้าหญิงนี้ว่า รำเพย[12] อันมีความหมายว่า "ลมเย็นที่พัดค่อย ๆ อ่อน ๆ"[13] มีเรื่องเล่ากันว่าพระภิกษุพระศรีสุทธิวงศ์ได้ไปยังประเทศศรีลังกา และขากลับได้นำเอาต้นไม้ชนิดหนึ่งเข้าถวายแก่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์โปรดไม้นั้นมาก จึงได้พระราชทานชื่อไม้นั้นว่า รำเพย ตามพระนามของพระราชนัดดา[13]
พระมเหสี
เมื่อสมเด็จพระนางนาฏบรมอรรคราชเทวีในรัชกาลที่ 4 เสด็จสวรรคต จึงไม่มีพระราชนัดดาฝ่ายในในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวที่เป็นพระองค์เจ้าเหลืออยู่ ในวันพฤหัสบดีที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2395 (นับแบบปัจจุบันเป็น พ.ศ. 2396) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดให้สถาปนาหม่อมเจ้ารำเพยเป็น พระองค์เจ้ารำเพยภมราภิรมย์[14][2] ซึ่งมีความหมายว่า "บุปผชาติที่เป็นที่ยินดีและเป็นที่พักพิงของมวลหมู่ภมร"[13] ต่อมาพระราชวงศ์และเสนาบดีได้ถวายให้เป็นพระมเหสี[15] ซึ่งประกาศในรัชกาลที่ 4 ออกพระนามว่าสมเด็จพระนางนาถราชเทวี[16]
สมเด็จพระนางนาถราชเทวีประชวรพระยอดเม็ดเล็ก ทรงพระกาสะเป็นพระโลหิตปนเสมหะออกมา ทรงพระประชวรอยู่หลายเดือนจนสิ้นพระชนม์เมื่อวันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2404 สิริพระชนมายุได้ 28 พรรษา[17] หลังจากนั้นประกาศการพระราชพิธีลงสรงโสกันต์พระเจ้าลูกเธอ จ.ศ. 1224 ได้ออกพระนามพระองค์ว่า พระนางเธอพระองค์เจ้ารำเพยภมราภิรมย์[18] ต่อมาประกาศพระราชพิธีโสกันต์สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ จ.ศ. 1227 ออกพระนามว่า สมเด็จพระนางเธอ พระองค์เจ้ารำเพยภมราภิรมย์[15] และพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 ออกพระนามว่าสมเด็จพระนางรำเพยภมราภิรมย์[19]
ต่อมาวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2411 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเฉลิมพระนามพระอัฐิสมเด็จพระบรมราชชนนีขึ้นเป็นกรมสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์[20] และในรัชกาลที่ 6 ทรงสถาปนาพระบรมอัฐิเป็น สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี[2]
การประชวรและการสวรรคต
นับตั้งแต่พระราชโอรสองค์เล็กประสูติ พระองค์ก็ประชวรมากแต่ก็ตรัสว่า "ไม่เป็นอะไรมากหรอก" แม้จะทรงกาสะ (ไอ) มากก็ตาม พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชหัตถเลขาเกี่ยวกับพระอาการประชวรของพระองค์ไว้ดังนี้
“…แต่แม่รำเพย ตั้งแต่คลอดบุตรชายภาณุรังษีสว่างวงศ์มาแล้ว ป่วยให้ไอและซูบผอมมากไป กลัวจะตั้งวัณโรคภายใน”
อีกฉบับหนึ่ง ทรงบรรยายถึงการสิ้นพระชนม์ไว้อย่างละเอียดดังนี้
“…เวลาเช้าแม่รำเพยไออาเจียนเป็นโลหิตออกมามาก ออกทางจมูกออกทางปาก ได้ตัวสัตว์ออกมากับทั้งโลหิตตัวหนึ่ง มีอาการคล้ายสัตว์ตัวหนอนเล็กหางเป็นสามแฉก แต่หมอยังแก้ไขก็ค่อยคลายมา โลหิตออกบ้างเล็กน้อยจางไปแล้ว"
“ครั้น ณ วันอาทิตย์ขึ้น 4 ค่ำ เดือนสิบ เวลากลางคืน เธอว่าค่อยสบายไอห่างไป นอนหลับได้มาก ตั้งแต่สามยามไปจนถึงสามโมงเช้า ครั้น ณ วันจันทร์ ขึ้นห้าค่ำ เดือนสิบ ตื่นขึ้นอีกเวลาสามโมงเช้า รับประทานอาหารได้ถ้วยฝาขนาดใหญ่ แล้วนั่งเล่นอยู่กับบุตรเล็ก ไอเป็นโลหิตออกมา แล้วก็เป็นโลหิตพลุ่งพล่านมากเป็นที่สุด ออกทั้งทางจมูกทางปาก หลายถ้วยแก้วกระบอก ไม่มีขณะหายใจ พอโลหิตมากแล้วชีพจรทั้งตัวก็หยุดทีเดียวไม่ฟื้นเลย ได้รับประทานจัดการไว้ศพ ในโกศตั้งไว้ที่ตึกต้นสน แต่ตกแต่งตึกเสียใหม่ให้งามดี เพดานและบานประตู บานหน้าต่างปิดลายเงิน ฝาผนังปิดกระดาษลาย และตกแต่งสิ่งอื่นมากพอสมควร ครั้นจะยกขึ้นไปไว้บนพระมหาปราสาท เห็นว่าจะกีดขวางการพระราชพิธีไม่พอที่ แต่เท่านั้นก็ดีอยู่แล้ว ศพจะเอาไว้นาน ต่อเดือนสี่เดือนห้าจึงจะได้เผา เดี๋ยวนี้ก็รับประทานทำบุญต่าง ๆ มีเทศนาและบังสุกุลอยู่เนือง ๆ …ที่ให้เป็นอนุเคราะห์แก่ชายจุฬาลงกรณ์ หญิงจันทรมณฑล ชายจาตุรนต์รัศมี ชายภาณุรังษีสว่างวงศ์ บุตรแม่เพยทั้งสี่ก็มีบ้าง กระหม่อมฉันคิดขอบบุญขอบคุณท่านทั้งปวงครั้งนี้นั้นหนักหนา แม่เพยตายลงครั้งนี้ เมื่อดูอาการก็ควรจะตายอยู่แล้ว ด้วยป่วยโรคนี้มาตั้งแต่เสาะแสะมาถึงห้าปี ตั้งแต่ปีมะเส็งมารักษาก็หลายหมอหลายยาแล้ว ไม่หาย จึงเห็นว่าถึงคราวที่จะสิ้นอายุตายอยู่แล้ว"
“อายุนับปี เท่ากับกรมหมื่นมาตยาพิทักษ์บิดานั้น เหมือนกับชายมงคลเลิศซึ่งเป็นพี่ชายว่าโดยละเอียดไป กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ มีอายุนับวันตั้งแต่วันเกิดจนวันตายได้ 9,639 วัน ชายมงคลเลิศนับอายุตั้งแต่วันเกิดจนวันตาย 9,903 วัน มากกว่ากรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ 284 วัน มากกว่าชายมงคลเลิศ 20 วัน”
หลังจากการเสด็จสวรรคต ได้มีการจัดงานพระราชพิธีพระราชทานพระเพลิงพระบรมศพ ณ พระเมรุมาศ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ในวันศุกร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2405 (วันแรม 4 ค่ำ เดือน 5)[21] โดยพระราชพิธีนี้ ได้มีการริเริ่มการจัดพิธีกงเต็กหลวงขึ้นครั้งแรก จึงมีการจัดพิธีกงเต็กหลวงสืบมา[22]
พระราชบุตร
สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี มีพระราชโอรสและพระราชธิดาทั้งหมด 4 พระองค์ คือ
พระบรมฉายาลักษณ์/พระรูป | พระปรมาภิไธย/พระนาม | เสด็จพระราชสมภพ/ประสูติ | สวรรคต/สิ้นพระชนม์ | พระชนมพรรษา/พระชันษา |
---|---|---|---|---|
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว | 20 กันยายน พ.ศ. 2396 | 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 | 57 ปี | |
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล โสภณภควดี กรมหลวงวิสุทธิกระษัตริย์ | 24 เมษายน พ.ศ. 2398 | 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2406 | 8 ปี | |
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ | 13 มกราคม พ.ศ. 2399 (นับแบบปัจจุบันเป็น พ.ศ. 2400) | 11 เมษายน พ.ศ. 2443 | 43 ปี | |
สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช | 11 มกราคม พ.ศ. 2402 (นับแบบปัจจุบันเป็น พ.ศ. 2403) | 13 มิถุนายน พ.ศ. 2471 | 68 ปี |
พระราชอิสริยยศ
ธรรมเนียมพระยศของ สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี | |
---|---|
การทูล | ใต้ฝ่าละอองพระบาท |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | พระพุทธเจ้าข้า/เพคะ |
- หม่อมเจ้ารำเพย (17 กรกฎาคม พ.ศ. 2377 - 6 มกราคม พ.ศ. 2395)
- พระองค์เจ้ารำเพยภมราภิรมย์ (6 มกราคม พ.ศ. 2395 - 25 ธันวาคม พ.ศ. 2411)
- ประกาศรัชกาลที่ 4 ออกพระนามว่า สมเด็จพระนางนาถราชเทวี
- ประกาศรัชกาลที่ 4 (ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2405) ออกพระนามว่า พระนางเธอพระองค์เจ้ารำเพยภมราภิรมย์ และ สมเด็จพระนางเธอ พระองค์เจ้ารำเพยภมราภิรมย์
- พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ออกพระนามว่า สมเด็จพระนางรำเพยภมราภิรมย์
- กรมสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ (25 ธันวาคม พ.ศ. 2411 - รัชกาลที่ 6)
- สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี (รัชกาลที่ 6 - ปัจจุบัน)
พระราชานุสาวรีย์
โรงเรียนเทพศิรินทร์ ได้มีแนวคิดว่าน่าจะมีรูปเคารพของพระองค์ไว้บูชานั้น ตั้งแต่ พ.ศ. 2538 และได้สำเร็จเป็นผลใน ปี พ.ศ. 2541 โดยอัญเชิญประดิษฐาน ณ บริเวณมุขด้านหน้า อาคารเทิดพระเกียรติ เพื่อเป็นเครื่องแสดงถึงความจงรักภักดี และความกตัญญู กตเวที ที่ชาวเทพศิรินทร์ทุกคนมีต่อสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี และยังเป็นสิ่งที่แสดงถึงเกียรติยศอันสูงสุดของชาวเทพศิรินทร์ที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นในการนำพระนามาภิไธยของพระองค์มาเป็นชื่อของสถานศึกษา โดยเมื่อวันที่ 9 กันยายน ของทุก ๆ ปี อันเป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระองค์ ได้เวียนมาบรรจบครบ ทางโรงเรียนเทพศิรินทร์ อันประกอบด้วย คณะผู้บริหาร คณะครู นักเรียนเก่า นักเรียนปัจจุบัน และบุคลากรของโรงเรียน ได้จัดพิธีวางพวกมาลา และถวายราชสักการะ ณ พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี เพื่อเป็นการสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ โดยเรียกวันนี้ว่า "วันแม่รำเพย"
พระราชานุสรณ์
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดเทพศิรินทราวาส เมื่อ พ.ศ. 2419 ซึ่งเป็นปีที่พระองค์ทรงมีพระชนมพรรษาครบ 25 พรรษาพอดี พระองค์จึงโปรดฯ ให้สถาปนา วัดเทพศิรินทราวาส ขึ้นเพื่อทรงเฉลิมพระเกียรติ และทรงอุทิศพระราชกุศลสนองพระเดชพระคุณแห่งองค์สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ซึ่งได้เสด็จสวรรคตตั้งแต่ครั้งยังทรงพระเยาว์
โรงเรียนเทพศิรินทร์ ได้รับการสถาปนาจาก องค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2428 ในช่วงแรกของการจัดตั้งโรงเรียนนั้น โรงเรียนเทพศิรินทร์ได้อาศัยศาลาการเปรียญภายในวัดเทพศิรินทราวาสเป็นที่ทำการเรียนการสอน พ.ศ. 2438 สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ได้ทรงดำริที่จะสร้างตึกเรียนสำหรับวัดเทพศิรินทราวาสขึ้น เพื่ออุทิศพระราชกุศล สนองพระเดชพระคุณแห่งองค์ สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี พระชนนี และเพื่ออุทิศพระกุศลแก่ หม่อมแม้น ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา ชายาของพระองค์ ตึกเรียนหลังแรกนี้ได้รับการออกแบบให้มีศิลปะเป็นแบบโกธิคซึ่งถือว่าเป็นอาคารศิลปะโกธิคยุคแรกและมีที่เดียวในประเทศไทยโดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เป็นผู้ออกแบบ และในการนี้ พระยาโชฏึกราชเศรษฐี ได้บริจาคทุนทรัพย์เพื่อสร้างตึกอาคารเรียนขึ้นด้านข้างของตึกเรียนหลังแรกอีกด้วย
พงศาวลี
พงศาวลีของสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
- เชิงอรรถ
- ↑ ย้อนรอยราชสกุลวงศ์ "วังหลวง", หน้า
- ↑ 2.0 2.1 2.2 มหามกุฎราชสันตติวงศ์ พระนามพระราชโอรสธิดา พระราชนัดดา, หน้า
- ↑ ราชสกุลจักรีวงศ์ และราชสกุลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช, หน้า
- ↑ 4.0 4.1 4.2 ส.พลายน้อย. พระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:บำรุงสาสน์. 2530, หน้า 41
- ↑ เจ้าจอมมารดาวาดในรัชกาลที่ ๕ “หนึ่งในผู้ดีแปดสายแรก” แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
- ↑ "อิสลาม มอญ และจีน ในราชินีกุลรัชกาลที่ ๓ และราชินีกุลรัชกาลที่ ๕". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-12-31. สืบค้นเมื่อ 2012-06-27.
- ↑ "MonSudies.com - พระยารัตนจักร (หงส์ทอง)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-14. สืบค้นเมื่อ 2008-01-17.
- ↑ ข้อมูลโดยสังเขปหม่อมราชวงศ์ศุภดิศ ดิศกุล - ต้นสกุลของกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน
- ↑ จุลลดา ภักดีภูมินทร์, 'พระสัมพันธวงศ์เธอ' เก็บถาวร 2011-07-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สกุลไทย, ฉบับที่ 2421, ปีที่ 47, ประจำวันอังคารที่ 13 มีนาคม 2544
- ↑ จุลลดา ภักดีภูมินทร์, สถาปนาคำนำพระนาม เก็บถาวร 2011-07-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สกุลไทย, ฉบับที่ 2448, ปีที่ 47, ประจำวันอังคารที่ 18 กันยายน 2544
- ↑ จุลลดา ภักดีภูมินทร์, เล่าเรื่องมอญ เก็บถาวร 2011-07-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สกุลไทย, ฉบับที่ 2486, ปีที่ 48, ประจำวันอังคารที่ 11 มิถุนายน 2545
- ↑ ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย. หอมติดกระดาน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : มติชน, หน้า 83
- ↑ 13.0 13.1 13.2 "สมาคมศิษย์เก่าเทพศิรินทร์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ - สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-03. สืบค้นเมื่อ 2012-06-27.
- ↑ จดหมายเหตุเรื่องทรงตั้งพระบรมวงศานุวงศ์กรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม 1, หน้า 113-115
- ↑ 15.0 15.1 ประชุมประกาศรัชกาลที่ ๔ ภาค ๗ : ๒๕๘ ประกาศพระราชพิธีโสกันต์สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์
- ↑ ประชุมประกาศรัชกาลที่ ๔ ภาคปกิรณกะ ส่วนที่ ๒ : ๓๒๖ ประกาศชำระเลขในสมเด็จพระนางนาถราชเทวี สมเด็จพระเทพศิรินทร์
- ↑ พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ ๔ : ๙๕. สมเด็จพระนางรำเพยภมราภิรมย์สิ้นพระชนม์
- ↑ ประชุมประกาศรัชกาลที่ ๔ ภาค ๖ : ๒๑๒ ประกาศการพระราชพิธีลงสรงโสกันต์พระเจ้าลูกเธอ
- ↑ พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ ๔ : ๓๑. สมเด็จพระนางรำเพยภมราภิรมย์ประสูติเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์
- ↑ พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๕:ตอนที่-๘
- ↑ ราชอาณาจักรสยาม[ลิงก์เสีย]
- ↑ ตะเกียงคู่. สายหยุดพุดจีบจีน. กรุงเทพฯ:เยลโล่การพิมพ์, 2534. หน้า 41-47
- บรรณานุกรม
- จดหมายเหตุเรื่องทรงตั้งพระบรมวงศานุวงศ์กรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม 1. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 508 หน้า. ISBN 974-417-527-3
- สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์. มหามกุฎราชสันตติวงศ์ พระนามพระราชโอรสธิดา พระราชนัดดา. กรุงเทพ : อมรินทร์พริ้นติ้ง, พ.ศ. 2547. ISBN 974-272-911-5
- กิตติพงษ์ วิโรจน์ธรรมากูร. ย้อนรอยราชสกุลวงศ์ วังหลวง. ดอกหญ้า, 2549, ISBN 974-941-205-2
- จุลลดา ภักดีภูมินทร์ (หม่อมหลวงศรีฟ้า ลดาวัลย์ มหาวรรณ). เวียงวัง เล่ม ๑. กรุงเทพ : เพื่อนดี, พิมพ์ครั้งที่ 2 มีนาคม 2551. 300 หน้า. หน้า 256. ISBN 978-974-253-061-7
- ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ. ราชสกุลจักรีวงศ์ และราชสกุลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2544. 490 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-222-648-2
- "ประชุมประกาศรัชกาลที่ ๔ ภาค ๖". 2466. สืบค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) [พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงพระศพ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงศ์สิริพัฒน์] - "ประชุมประกาศรัชกาลที่ ๔ ภาค ๗". 2466. สืบค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) [พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศวโรปการ] - "ประชุมประกาศรัชกาลที่ ๔ ภาคปกิรณกะ ส่วนที่ ๒". 2496. สืบค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) [พิมพ์ในงารพระราชทานเพลิงพระศพ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม] - ทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา (พ.ศ. 2477). "พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ ๔". ห้องสมุดดิจิทัลวชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) [ที่ระลึก ในงานพระราชทานเพลิงศพ คุณหญิงธรรมสารเนติ (อบ บุนนาค) - สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (8 กุมภาพันธ์ 2493). "พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๕". ห้องสมุดดิจิทัลวชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) [พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอดิสัยสุริยาภา ทรงพิมพ์ในงานฉลองพระชันษาครบ ๕ รอบ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๓] - พิมาน แจ่มจรัส. รักในราชสำนัก. สร้างสรรค์บุ๊คส์, 2544, ISBN 974-341-064-3
- ส.พลายน้อย. พระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดาแห่งราชสำนักสยาม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ:ฐานบุ๊คส์. 2554
- สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. หน้า 68. ISBN 978-974-417-594-6
ก่อนหน้า | สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี | สมเด็จพระบรมราชินีแห่งราชอาณาจักรสยาม (พ.ศ. 2395 - 9 กันยายน พ.ศ. 2404) |
สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง |