ข้ามไปเนื้อหา

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอมเรนทรบดินทร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหมื่นอมเรนทรบดินทร์
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 3
พระองค์เจ้าชั้นเอก
ประสูติ9 พฤษภาคม พ.ศ. 2358
สิ้นพระชนม์4 กันยายน พ.ศ. 2421 (64 ปี)
พระบุตร30 พระองค์
ราชสกุลคเนจร
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาเจ้าจอมมารดาน้อยเมือง
ธรรมเนียมพระยศของ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอมเรนทรบดินทร์
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอมเรนทรบดินทร์[1] (9 พฤษภาคม พ.ศ. 2358 - 4 กันยายน พ.ศ. 2421) พระนามเดิม หม่อมเจ้าคเนจร ประสูติเมื่อวันอังคาร เดือน 7 ขึ้น 1 ค่ำ ปีกุน สัปตศก จ.ศ. 1177 ตรงกับวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2358 เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (ขณะยังดำรงพระยศเป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์) และเจ้าจอมมารดาน้อยเมือง ทรงเป็นต้นราชสกุลคเนจร[2]

เมื่อพระบิดาครองราชย์แล้วจึงทรงยกขึ้นเป็นพระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าคเนจร ถึงวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2388 จึงได้รับโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ากรมหมื่นอมเรนทรบดินทร[3][4] และโปรดให้กำกับกรมช่างมุก ทรงดูแลการก่อสร้างวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร และบูรณะวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร เป็นต้น[1]

กรมหมื่นอมเรนทรบดินทร์สิ้นพระชนม์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันพุธ เดือน 10 ขึ้น 8 ค่ำ ปีขาล สัมฤทธิศก จุลศักราช 1240 ตรงกับวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2421 พระชันษา 64 ปี พระราชทานเพลิงพระศพ ณ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2422[5] และในวันที่ 15 กรกฎาคม ร.ศ. 130 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ใช้คำนำพระนามว่าพระเจ้าบรมวงษ์เธอ[6]

พระโอรส-ธิดา

[แก้]

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอมเรนทรบดินทร์ มีพระโอรสและธิดา 31 พระองค์ คือ[7]

  1. หม่อมเจ้าชายพวงวาส คเนจร (พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ พ.ศ. 2407)
  2. หม่อมเจ้าหญิงประภาพิศ คเนจร
  3. หม่อมเจ้าชายเฉลิม คเนจร
  4. หม่อมเจ้าชายเจริญ คเนจร บางแห่งว่าชื่อหม่อมเจ้าจำเริญ (สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2444)
  5. หม่อมเจ้าชายสง่า คเนจร
  6. หม่อมเจ้าชายเมฆิน คเนจร (ประสูติเมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2388 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2462) มีโอรส คือ หม่อมอมรวงษ์วิจิตร (หม่อมราชวงศ์ปฐม คเนจร)
  7. หม่อมเจ้าหญิงราษี คเนจร (ประสูติ พ.ศ. 2388 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2463)
  8. หม่อมเจ้าหญิงเยาวเรศ คเนจร
  9. หม่อมเจ้าชายสายทรวง คเนจร
  10. หม่อมเจ้าชายดวงเนตร คเนจร
  11. หม่อมเจ้าหญิงนิกร คเนจร
  12. หม่อมเจ้าชายกลาง คเนจร
  13. หม่อมเจ้าชายรอง คเนจร
  14. หม่อมเจ้าหญิงกลาง คเนจร
  15. หม่อมเจ้าหญิงรอง คเนจร
  16. หม่อมเจ้าชายเล็ก คเนจร
  17. หม่อมเจ้าหญิงเล็ก คเนจร
  18. หม่อมเจ้าชายเชื้อชิต คเนจร (ประสูติ พ.ศ. 2397 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2439 พระราชทานเพลิง ณ วัดไตรมิตรวิทยาราม) เสกสมรสกับหม่อมราชวงศ์หญิงนารี คเนจร (ราชสกุลเดิม : นรินทรกุล) มีโอรส คือ หม่อมราชวงศ์จิตร คเนจร (พระชาติกระการ)
  19. หม่อมเจ้าชายศฤงฆารเครือ คเนจร บางแห่งว่าชื่อหม่อมเจ้าสิงฆาร (ประสูติ พ.ศ. 2401 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2435)
  20. หม่อมเจ้าชายสิงห์ คเนจร (พระราชทานเพลิง ณ วัดไตรมิตรวิทยาราม เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2439)
  21. หม่อมเจ้าชายจังหวัด คเนจร (สิ้นชีพิตักษัย พ.ศ. 2439)
  22. หม่อมเจ้าชายทิชากร คเนจร (ประสูติ พ.ศ. 2407)
  23. หม่อมเจ้าหญิงกานดาดวง คเนจร (พระราชทานเพลิง ณ วัดจักรวรรดิราชาวาส เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2433)
  24. หม่อมเจ้าหญิงปฤษฎางค์ คเนจร (สิ้นชีพิตักษัย 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2439)
  25. หม่อมเจ้าหญิงยุภาพิน คเนจร (สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2450)
  26. หม่อมเจ้าหญิงยุพินพงษ์ คเนจร บางแห่งว่าชื่อหม่อมเจ้าหญิงยุภิมท์ (พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ พ.ศ. 2409)
  27. หม่อมเจ้าชายเขมน คเนจร
  28. หม่อมเจ้าหญิงไพ คเนจร
  29. หม่อมเจ้าชายสารพัดเพ็ชร์ คเนจร (พระราชทานเพลิง ณ วัดราชาธิวาส เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2443)
  30. หม่อมเจ้าหญิงสำอางองค์ คเนจร (พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ เมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2429)
  31. หม่อมเจ้าสว่างวัฒนา คเนจร[8] มีโอรส คือ 1.หม่อมราชวงศ์มุ้ย คเนจร 2.หม่อมราชวงศ์หญิงแห้ว คเนจร

พงศาวลี

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
เชิงอรรถ
  1. 1.0 1.1 ราชสกุลวงศ์, หน้า 39
  2. "ประกาศกระทรวงมุรธาธร เรื่อง ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ ๓" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 30 (0 ง): 834. 27 กรกฎาคม 2456. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. จดหมายเหตุเรื่องทรงตั้งพระบรมวงศานุวงศ์กรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๑, หน้า 73
  4. พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ ๓ : ๕. ทรงสถาปนาสมเด็จพระพันปีหลวงและพระบรมวงศานุวงศ์
  5. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี, หน้า 67
  6. "พระบรมราชโองการ ประกาศ คำนำพระนามพระบรมวงษานุวงษ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 28 (ก): 155. 30 กรกฎาคม ร.ศ. 130. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน พ.ศ. 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  7. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี, หน้า 131-133
  8. หนังสืออนุสรณ์พระราชทานเพลิงศพ หม่อมหลวงนกแก้ว คเนจร (คุณหญิงรามจตุรงค์)
บรรณานุกรม