สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าเยาวมาลย์นฤมล กรมขุนสวรรคโลกลักษณวดี
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าเยาวมาลย์นฤมล | |
---|---|
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 5 เจ้าฟ้าชั้นโท กรมขุนสวรรคโลกลักษณวดี | |
![]() | |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระมารดา | พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าอุบลรัตนนารีนาค กรมขุนอรรควรราชกัลยา |
ประสูติ | 4 มิถุนายน พ.ศ. 2416 |
สิ้นพระชนม์ | 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2452 (36 ปี) |
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าเยาวมาลย์นฤมล กรมขุนสวรรคโลกลักษณวดี (4 มิถุนายน พ.ศ. 2416 – 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2452) เป็นพระราชธิดาพระองค์ที่ 11 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าอุบลรัตนนารีนาค กรมขุนอรรควรราชกัลยา เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2416 เมื่อแรกประสูติทรงพระนามว่า "พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าเยาวมาลย์นฤมล"
เมื่อปี พ.ศ. 2431 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระราชโอรสและพระราชธิดาที่ประสูติแต่พระอรรคชายาเธอขึ้นเป็นเจ้าฟ้า ดังนั้น พระองค์จึงได้รับสถาปนาขึ้นเป็นพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าเยาวมาลย์นฤมล หลังจากนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระสุพรรณบัตรเลื่อนเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าเยาวมาลย์นฤมล สรรพสกนธ์กัลยานี ทรงศักดินา 20,000[1] ต่อมาในปี พ.ศ. 2447 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เฉลิมพระเกียรติเป็นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าเยาวมาลย์นฤมล สรรพสกนธ์กัลยาณี กรมขุนสวรรคโลกลักษณวดี[2] พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตรัสเรียกพระองค์ว่า หญิงเล็กเยาวมาลย์
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าเยาวมาลย์นฤมล กรมขุนสวรรคโลกลักษณวดี เป็นองค์อุปนายิกาสภาอุณาโลมแดง (หรือภายหลังคือสภากาชาดไทย)[3]
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าเยาวมาลย์นฤมล กรมขุนสวรรคโลกลักษณวดี ประชวรพระวัณโรค สิ้นพระชนม์เมื่อวันเสาร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2452 เวลาบ่ายโมง สิริพระชันษา 36 ปี ประดิษฐานพระศพ ณ หอธรรมสังเวช[4]
พระเกียรติยศ[แก้]
ธรรมเนียมพระยศของ กรมขุนสวรรคโลกลักษณวดี | |
---|---|
![]() ธงประจำพระอิสริยยศ | |
การทูล | ใต้ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | พ่ะย่ะค่ะ/เพคะ |
พระอิสริยยศ[แก้]
- พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าเยาวมาลย์นฤมล (4 มิถุนายน พ.ศ. 2416 - พ.ศ. 2431)
- พระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าเยาวมาลย์นฤมล (พ.ศ. 2431)
- สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าเยาวมาลย์นฤมล สรรพสกนธ์กัลยาณี (พ.ศ. 2431 - 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2447)
- สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าเยาวมาลย์นฤมล สรรพสกนธ์กัลยาณี กรมขุนสวรรคโลกลักษณวดี (10 พฤษภาคม พ.ศ. 2447 - 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2452)
ภายหลังการสิ้นพระชนม์
- สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้าเยาวมาลย์นฤมล สรรพสกนธ์กัลยาณี กรมขุนสวรรคโลกลักษณวดี (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 - 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478)
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าเยาวมาลย์นฤมล สรรพสกนธ์กัลยาณี กรมขุนสวรรคโลกลักษณวดี (10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2431 –
เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.) (ฝ่ายใน)
- พ.ศ. 2448 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ (น.ร.) (ฝ่ายใน)[5]
- พ.ศ. 2436 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายใน)[6]
- พ.ศ. 2451 –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 1 (จ.ป.ร.1)[7]
พงศาวลี[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศเลื่อนพระนามพระอัครชายาเธอและสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้า, เล่ม 5, ตอน 8, 25 มิถุนายน พ.ศ. 2431, หน้า 63
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศเฉลิมพระสุพรรณบัตร ตั้งกรมฝ่ายในตั้งกรมสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าเยาวมาลย์นฤมล, เล่ม 22, ตอน 8, 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2448, หน้า 161
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-28. สืบค้นเมื่อ 2006-08-20.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวสิ้นพระชนม์, เล่ม 26, ตอน 0 ง, 11 กรกฎาคม ร.ศ. 128, หน้า 634-636
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, การเฉลิมพระสุพรรณบัตร ตั้งกรมฝ่ายใน สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าเยาวมาลย์นฤมล, เล่ม 22, ตอน 8, 21 พฤษภาคม ร.ศ. 124, หน้า 159
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม 10, ตอน 35, 26 พฤศจิกายน ร.ศ. 112, หน้า 374
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายใน, เล่ม 25, ตอน 39, 27 ธันวาคม พ.ศ. 2451, หน้า 1153
![]() |
บทความเกี่ยวกับชีวประวัตินี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2416
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2452
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 5
- พระราชธิดาในรัชกาลที่ 5
- เจ้าฟ้าหญิง
- กรมขุน
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.จ.ก. (ฝ่ายใน)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ น.ร.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ. (ฝ่ายใน)
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ จ.ป.ร.1
- เสียชีวิตจากวัณโรค
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์