พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวรศักดาพิศาล สุพรรฒนาการสวัสดิ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวรศักดาพิศาล สุพรรฒนาการสวัสดิ | |
---|---|
พระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น 2 พระองค์เจ้าชั้นเอก | |
ประสูติ | 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2355 |
สิ้นพระชนม์ | 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2431 (76 ปี) |
หม่อม | หม่อมเขียว, หม่อมราชวงศ์ตาบ |
ราชสกุล | อรุณวงษ์ |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย |
พระมารดา | เจ้าจอมมารดาเอม ในรัชกาลที่ 2 |
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวรศักดาพิศาล สุพรรฒนาการสวัสดิ (22 กรกฎาคม พ.ศ. 2355 – 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2431) มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอรุณวงษ์ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 58 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเอม ในรัชกาลที่ 2 เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 7 แรม 6 ค่ำ ปีวอก ตรงกับวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2355[1][2][3] ทรงรับราชการในรัชกาลที่ 4 ว่าการกรมกองแก้วจินดา และกรมช่างหล่อ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเป็นกรมหมื่นวรศักดาพิศาล เมื่อปีกุน พ.ศ. 2394
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเป็น กรมหลวงวรศักดาพิศาล สุพรรฒนาการสวัสดิ เมื่อปีจอ พ.ศ. 2417
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวรศักดาพิศาล สุพรรฒนาการสวัสดิ สิ้นพระชนม์ เมื่อวันศุกร์ แรม 4 ค่ำ เดือน 8 ปีชวด ตรงกับวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2431 สิริพระชันษา 76 ปี[4] นับเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้้านภาลัยที่มีพระชันษาสูงที่สุด
การพระเมรุพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวรศักดาพิศาล สุพรรฒนาการสวัสดิ
[แก้]พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธีการพระเมรุขึ้นที่วัดสระเกศราชวรมหาวิหารในระหว่างวันที่ 2 ถึง 6 ธันวาคม พุทธศักราช 2432 ในการนี้ได้เสด็จพระราชดำเนินโดยรถพระที่นั่งไปพระราชทานเพลิงพระศพ ในวันวันที่ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2432 ประทับอยู่จนเวลาค่ำ แล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับพระบรมมหาราชวัง
พระโอรส-พระธิดา
[แก้]พระองค์เป็นต้นราชสกุลอรุณวงษ์ มีพระโอรสและพระธิดา ดังนี้
- หม่อมเจ้าประวัติ อรุณวงษ์ (สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2452)
- หม่อมเจ้าหญิงสอิ้ง อรุณวงษ์ (พ.ศ. 2390? – 26 ตุลาคม พ.ศ. 2456 พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2461)
- หม่อมเจ้าชายไม่ปรากฏพระนาม (ประสูติเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2402)
- หม่อมเจ้าชายไม่ปรากฏพระนาม
- หม่อมเจ้าทัศนา อรุณวงษ์ (พ.ศ. 2405 – 22 มกราคม พ.ศ. 2471 พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2472) มีโอรส คือ
- หม่อมราชวงศ์คอย อรุณวงษ์ (มีบรรดาศักดิ์เป็นหลวงแก้วกาญจนเขตต์)
- หม่อมเจ้าหญิงระเบียบ อรุณวงษ์ (พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ เมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2471)
- หม่อมเจ้าหญิงเล็ก อรุณวงษ์ (พ.ศ. 2411 – 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2440 พระราชทานเพลิง ณ วัดจักรวรรดิราชาวาส เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2447)
- หม่อมเจ้าหญิงเฉลิม อรุณวงษ์ (ประสูติ พ.ศ. 2411)
- หม่อมเจ้าน้อย อรุณวงษ์ หรือ หม่อมเจ้าหนูน้อย (15 สิงหาคม พ.ศ. 2420 – 7 กันยายน พ.ศ. 2473 พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2475)
- หม่อมเจ้าหญิงชอ้อน อรุณวงษ์ มีหม่อมราชวงศ์หญิงตาบ เป็นมารดา ทรงเสกสมรสกับหม่อมเจ้าสุบรรณ ดวงจักร พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นณรงค์หริรักษ์
- หม่อมเจ้าสนธยา อรุณวงษ์ มีหม่อมราชวงศ์หญิงตาบ เป็นมารดา (พระราชทานเพลิงเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2427) ทรงสมรสกับหม่อมพร้อม อรุณวงษ์ ณ อยุธยา ธิดาพระยาวิเศษสัจธาดา (โต ไชยนันน์) ทรงมีโอรสและธิดา 2 คน คือ
- หม่อมราชวงศ์ลพ อรุณวงษ์ (พระยาพิพิธไอสุริยะ)
- หม่อมราชวงศ์หญิงสำอางค์ อรุณวงษ์
- หม่อมเจ้าหญิงเสาวคนธ์ อรุณวงษ์ (พระราชทานเพลิง ณ วัดอนงคาราม เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2447)
- หม่อมเจ้าหญิงแฉล้ม อรุณวงษ์ (สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2426)
พระกรณียกิจ
[แก้]พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวรศักดาพิศาล สุพรรฒนาการสวัสดิ เป็นหนึ่งในคณะ ปรีวีเคาน์ซิล ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีหน้าที่ถวายคำปรึกษาส่วนพระองค์ สืบสวนข้อเท็จจริงในราชการต่าง ๆ เพื่อกราบบังคมทูลและถวายความเห็นให้ทรงทราบ สอดส่องเหตุการณ์สำคัญในบ้านเมือง รวมไปถึงการชำระความฎีกาที่มีผู้นำมาถวาย ซึ่ง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวรศักดาพิศาลฯ มีพระกรณียกิจช่วยราชการ สนองงานพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจนมีผลงานปรากฏดังนี้
- การเลิกทาส พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดฯ ให้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวรศักดาพิศาล วินิจฉัยการเลิกทาสเด็ก ซึ่งพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวรศักดาพิศาลน้อมเกล้าฯ ถวายความเห็นสนับสนุนพระราชดำริในพระองค์[5]
- การโทรเลข พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดฯ ให้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวรศักดาพิศาล วินิจฉัยเรื่องการติดตั้งสายโทรเลขจากอังกฤษมายังกรุงเทพฯ ซึ่งทางอังกฤษยื่นข้อเสนอที่จะเป็นฝ่ายดำเนินการ แต่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวรศักดาพิศาลถวายคำปรึกษาว่า ควรที่จะให้บริษัทของสยามเป็นผู้ดำเนินการเองจะส่งผลดีต่อประเทศชาติในระยะยาวมากกว่า [5]
- การจัดศาล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดฯ ให้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวรศักดาพิศาล วินิจฉัยการจัดศาล เพื่อมิให้เกิดคดีค้างศาล อันเป็นความเดือดร้อนของพสกนิกร ซึ่งพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวรศักดาพิศาลน้อมเกล้าฯ ถวายความเห็นเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการยุติธรรม และออกหมายเร่งรัดลูกขุนให้เร่งตัดสินคดีความ[5]
- การลดเงินค่าราชการ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดฯ ให้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวรศักดาพิศาล วินิจฉัยการปรับค่าธรรมเนียมราชการ ซึ่งราษฏรแต่ละคนต้องเสียค่าธรรมเนียมราชการในอัตราที่แตกต่างกัน ตามสถานภาพที่แตกต่างกัน ซึ่งพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวรศักดาพิศาลน้อมเกล้าฯ ถวายความเห็นว่า อัตราค่าธรรมเนียมเดิม ทำให้คนบางคนอยากเป็นทาสเพื่อที่จะไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในอัตราที่สูง จึงควรปรับปรุงให้เสมอภาคกัน และจะต้องจัดตั้งอำเภอเพื่อควบคุมบัญชี เพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการเรียกงานราชการ[5]
พระเกียรติยศ
[แก้]ธรรมเนียมพระยศของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวรศักดาพิศาล สุพรรฒนาการสวัสดิ | |
---|---|
การทูล | ใต้ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | พ่ะย่ะค่ะ/เพคะ |
พระอิสริยยศ
[แก้]- 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2355 - 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 : พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอรุณวงษ์
- 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 - พ.ศ. 2394 : พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าอรุณวงษ์
- พ.ศ. 2394 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 : พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวรศักดาพิศาล
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 - พ.ศ. 2417 : พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวรศักดาพิศาล
- พ.ศ. 2417 - 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2431 : พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวรศักดาพิศาล สุพรรฒนาการสวัสดิ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. – เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.) (ฝ่ายหน้า)
- พ.ศ. 2428 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ (น.ร.) (ฝ่ายหน้า)[6]
- พ.ศ. – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)
พงศาวลี
[แก้]พงศาวลีของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวรศักดาพิศาล สุพรรฒนาการสวัสดิ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ กิตติพงษ์ วิโรจน์ธรรมากูร. ย้อนรอยราชสกุลวงศ์ "วังหลวง". กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ดอกหญ้า, พิมพ์ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2549. 304 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-941-205-2
- ↑ ในหนังสือ ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ. ราชสกุลจักรีวงศ์ และราชสกุลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2544. 490 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-222-648-2 ระบุวันประสูติไว้ไม่ตรงกัน ระบุว่าประสูติวันอาทิตย์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2355 ความจริงแล้ววันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2355 ตรงกับวันพุธ 1
- ↑ เจ้าจอมมารดาเอม เป็นธิดาของพระยารัตนจักร (หงส์ทอง) หรือสมิงดาบเพชร เจ้ากรมกองมอญ เป็นพี่น้องต่างมารดาของเจ้าจอมมารดาป้อม ในรัชกาลที่ 1, เจ้าจอมเพ็ง ในรัชกาลที่ 2 และคุณม่วง ยายของหม่อมน้อย ศิริวงศ์ ณ อยุธยา (พระชนนีในสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวสิ้นพระชนม์ กรมหลวงวรศักดาพิศาลสุพรรฒนาการสวัสดิ, เล่ม 5, ตอน 19, 9 กันยายน จ.ศ. 1888, หน้า 155
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 ราชบัณฑิตยสภา. คำปรึกษาราชการบางเรื่องซึ่งกรมหลวงวรศักดาพิศาลทำความเห็นถวายในรัชกาลที่ ๕. [ม.ป.ท.] : [ม.ป.พ.], พ.ศ. 2472.
- ↑ "พระราชทานเครื่องราชอิสริยยศ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2020-06-30.
- ประวัติ พระยารัตนจักร (หงส์ทอง) เก็บถาวร 2011-07-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ราชกิจจานุเบกษา, ประวัติของพระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมหลวงวรศักดาพิศาล สุพรรฒนาการสวัสดิ, เล่ม 5, ตอน 19, 9 กันยายน จ.ศ. 1888, หน้า 156