พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านภางค์นิพัทธพงศ์
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านภางค์นิพัทธพงศ์ | |
---|---|
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 5 พระองค์เจ้าชั้นเอก | |
ประสูติ | 8 สิงหาคม พ.ศ. 2417 |
สิ้นพระชนม์ | 17 กันยายน พ.ศ. 2419 (2 ปี) |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระมารดา | เจ้าจอมมารดาแสง ในรัชกาลที่ 5 |
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านภางค์นิพัทธพงศ์ หรือ นภางค์นิพัทธวงศ์[1] (8 สิงหาคม พ.ศ. 2417 – 17 กันยายน พ.ศ. 2419) เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 13 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาแสง
พระประวัติ
[แก้]พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านภางค์นิพัทธพงศ์ประสูติเมื่อวันเสาร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2417 เป็นพระราชโอรส ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาแสง ธิดาพระยาไชยวิชิต (ช่วง กัลยาณมิตร)
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านภางค์นิพัทธพงศ์สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2419 พระชันษา 1 ปี 325 วัน พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร[2] เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2420
ภายหลังจากงานพระราชเพลิงพระศพของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพ็ชรรัตน์แล้ว ในวันถัดมาก็ทรงมีการบำเพ็ญพระราชกุศลเกี่ยวกับพระอัฐิตามพระราชประเพณี หนึ่งในนั้นมีพระอัฐิของพระองค์เจ้านภางค์นิพัทธพงศ์อยู่ด้วย ปรากฏในจดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ฉบับประจำวันที่ 4504 วันพฤหัสบดีแรม 3 ค่ำ เดือน 4 ปีมะโรง โทศก จุลศักราช 1242 ตรงกับวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2423 ว่า 27 กุมภาพันธ์ 2423[3]
"...เจ้าพนักงานเชิญพระอังคารขึ้นยานุมาศมีกระบวนแห่เทวดาเครื่องสูงกลองชะนะไปลงท่าพระ เชิญพระอังคารลงเรือชัย ๒ ลำมีเรือแห่ไปลอยที่หน้าวัดปทุมคงคาตามอย่างโบราณประเพณี แล้วกระบวนแห่ซึ่งเชิญพระอังคารไปส่งลงเรือ แล้วกลับเข้ามารับพระบรมอัฐิจากพระบรมมหาราชวัง เชิญออกพระที่นั่งทรงธรรมสดับปกรณ์ดังเช่นแต่ก่อน พระบรมอัฐิที่เชิญออกมาวันนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ๑ สมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ ๑ เชิญสถิตบนบุษบกทองคำเปลวกลางพระที่นั่งทรงธรรม สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอิศริยาลงกรณ์ พระองค์เจ้าอุณากรรณอนันตนรไชย พระองค์เจ้าอิศรวงศ์วรราชกุมาร พระองค์เจ้านภางค์นิพัทธพงศ์ เชิญสถิตในบุษบกห้ายอดแล้วพระราชทานรางวัลเจ้านายข้าราชการที่ถวายของในการพระเมรุ แล้วเสด็จขึ้นข้างใน…"
พระอนุสรณ์
[แก้]กุฏินภางค์นิพัทธพงศ์ ณ คณะ 3 วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร สร้างขึ้นเมื่อพ.ศ. 2555 เดิมใช้เป็นกุฎิรับรองรับเถระผู้ใหญ่ ปัจจุบันใช้เป็นสถานที่ศึกษาพระปริยัติธรรม โดยในการจัดสร้างได้อัญเชิญพระนามของพระองค์มาเป็นชื่อกุฏิ เนื่องจากพระองค์เป็นเจ้านายที่มีเชื่อสายสกุลกัลยาณมิตร และเพื่อเป็นพระราชกุศลแด่พระองค์ด้วย[4]
พระอิสริยยศ
[แก้]ธรรมเนียมพระยศของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านภางค์นิพัทธพงศ์ | |
---|---|
การทูล | ใต้ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | พ่ะย่ะค่ะ/เพคะ |
- พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้านภางค์นิพัทธพงศ์ (8 สิงหาคม พ.ศ. 2417 – 17 กันยายน พ.ศ. 2419)
ภายหลังสิ้นพระชนม์
- พระเจ้าพี่ยาเธอ พระองค์เจ้านภางค์นิพัทธพงศ์ (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 – 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านภางค์นิพัทธพงศ์ (10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478)
พงศาวลี
[แก้]พงศาวลีของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านภางค์นิพัทธพงศ์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ภาณุพันธุ์วงศ์วรเดช, กรมพระยา. ราชินิกูลรัชกาลที่ 5. กรุงเทพ : [ม.ป.พ.], พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2522. 223 หน้า. หน้า หน้าที่ 118.
- ↑ สถาปัตยกรรมไทย : พระเมรุมาศ พระเมรุ และเมรุ สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ วันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2552
- ↑ แก้วใจจุลจอม : พระเมรุมาศ (3) วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2559 โดย Golftime
- ↑ อาคารเจ้าพระยานิกรบดินทร เชิดชูเกียรติประวัติ ต้นสกุลผู้สร้างวัด "กัลยาณมิตร"[ลิงก์เสีย] สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2560