หม่อมเจ้ามารยาตรกัญญา ดิศกุล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หม่อมเจ้ามารยาตรกัญญา ดิศกุล
หม่อมเจ้า ชั้น 4
ประสูติ8 เมษายน พ.ศ. 2445
สิ้นชีพตักษัย11 ธันวาคม พ.ศ. 2549 (104 ปี)
ราชสกุลดิศกุล
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
พระมารดาหม่อมแสง ดิศกุล ณ อยุธยา

หม่อมเจ้ามารยาตรกัญญา ดิศกุล (8 เมษายน พ.ศ. 2445 – 11 ธันวาคม พ.ศ. 2549) พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ประสูติแต่หม่อมแสง ดิศกุล ณ อยุธยา

ประวัติ[แก้]

หม่อมเจ้ามารยาตรกัญญา ดิศกุล มีพระนามลำลองว่า ท่านหญิงแย้ม[1] เป็นพระธิดาองค์แรกในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่ประสูติแต่หม่อมแสง ดิศกุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม ศตะรัต) ทรงเติบโตมาพร้อมกับหม่อมเจ้าจงจิตรถนอม ดิศกุล (เชษฐภคินีต่างพระมารดา) พร้อมกับพระธิดาทั้งห้าพระองค์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ที่ประสูติแต่หม่อมเจ้าประสงค์สม บริพัตร ในสำนักของสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี ที่วังบางขุนพรหม[2]

หม่อมเจ้ามารยาตรกัญญาเป็นเลขานุการสภากาชาดไทย มาตั้งแต่ครั้งสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าเป็นองค์สภานายิกา กระทั่งเกษียณอายุราชการ

ภายหลังการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 เมื่อสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดา เสด็จไปลี้ภัยที่ปีนัง ระหว่างปี พ.ศ. 2476 - พ.ศ. 2485 หม่อมเจ้ามารยาตรกัญญาประทับอยู่ที่เรือนไม้ของเจ้าจอมมารดาชุ่ม ในรัชกาลที่ 4 อัยยิกาฝ่ายพระบิดา ในวังวรดิศ พร้อมกับหม่อมเจ้าจงจิตรถนอม[3]

ปั้นปลายชีวิต[แก้]

ในบั้นปลายชนม์ชีพ หม่อมเจ้ามารยาตรกัญญาประชวรและเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ นานหลายปี จนกระทั่งสิ้นชีพตักษัยเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2549 สิริชันษา 104 ปี เป็นเจ้านายที่ชันษายืนยาวเป็นอันดับที่สอง รองจากหม่อมเจ้าพงษ์พิศมัย เกษมสันต์ ซึ่งสิ้นชีพตักษัยเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 สิริชันษา 109 ปี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นองค์ประธานในพิธีพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2550 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

พงศาวลี[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และ หม่อมเจ้าหญิง จงจิตรถนอม ดิศกุล. จดหมายถึงหญิงใหญ่ (ฉบับชำระใหม่). กรุงเทพ : สถาพรบุ๊คส์, 2551. ISBN 978-974-16-6535-8
  2. "หม่อมเจ้ามารยาตรกัญญา ดิศกุล , ส.ศิวรักษ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-25. สืบค้นเมื่อ 2008-10-14.
  3. พูนพิศมัย ดิศกุล, หม่อมเจ้า. สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น ภาคจบ. กรุงเทพฯ : มติชน, พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2545, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2551. 263 หน้า. ISBN 978-974-02-0188-5
  4. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี 2537" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 111 (21 ข): 4. 3 ธันวาคม 2537. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-01-08. สืบค้นเมื่อ 2013-06-20.
  5. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ประจำปี 2529" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 103 (82ง ฉบับพิเศษ): 3. 15 พฤษภาคม 2529.
  6. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี 2539" (PDF). 113 (22ข). 4 ธันวาคม 2539: 2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-15. สืบค้นเมื่อ 2020-08-04. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  7. "แจ้งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเหรียญช่วยราชการภายใน การรบสงครามอินโดจีน ประจำปี 2484" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 58: 1956. 21 มิถุนายน 2484.
  8. "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามมหาเอเชียบูรพา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 61 (33): 953. 9 พฤษภาคม 2487.