หม่อมเจ้ากาฬวรรณดิศ ดิศกุล
พลเรือเอก หม่อมเจ้า กาฬวรรณดิศ ดิศกุล ป.จ., ม.ป.ช., ม.ว.ม., ภ.ป.ร.2 | |
---|---|
สมุหราชองครักษ์ | |
ดำรงตำแหน่ง 2507–2517 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
ก่อนหน้า | พลเอก หลวงสุรณรงค์ |
ถัดไป | พลเอก จำเป็น จารุเสถียร |
สมาชิกวุฒิสภา | |
ดำรงตำแหน่ง 4 กรกฎาคม 2511 – 17 พฤศจิกายน 2514 | |
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 16 ธันวาคม 2515 – 16 ธันวาคม 2516 | |
สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ | |
ดำรงตำแหน่ง 5 กุมภาพันธ์ 2502 – 21 มิถุนายน 2511 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 5 มีนาคม พ.ศ. 2453 จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 25 มกราคม พ.ศ. 2527 (73 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
บิดา | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ |
มารดา | หม่อมอบ ดิศกุล ณ อยุธยา |
คู่สมรส | หม่อมฉวีทิพย์ ดิศกุล ณ อยุธยา |
บุตร | 3 คน |
การเข้าเป็นทหาร | |
ชื่อเล่น | ดำ |
รับใช้ | ![]() |
สังกัด | กรมราชองครักษ์ กองทัพเรือไทย |
ยศ | ![]() ![]() ![]() |
พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก หม่อมเจ้ากาฬวรรณดิศ ดิศกุล (5 มีนาคม 2453 – 25 มกราคม 2527) เป็นทหารเรือและนักการเมืองชาวไทย อดีตสมุหราชองครักษ์ อดีตสมาชิกวุฒิสภา อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ อดีตราชองครักษ์เวร อดีตผู้บัญชาการกรมนาวิกโยธิน
พระประวัติ[แก้]
พลเรือเอก หม่อมเจ้ากาฬวรรณดิศ ดิศกุล ประสูติเมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2453 ที่วังวรดิศ เป็นโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่ประสูติแต่หม่อมอบ ดิศกุล พระองค์มีพระนามลำลองว่า ท่านชายดำ
หม่อมเจ้ากาฬวรรณดิศ สมรสกับหม่อมฉวีทิพย์ ดิศกุล มีบุตร-ธิดาทั้งสิ้น 3 คนคือ
- หม่อมราชวงศ์ฉัตรแก้ว นันทาภิวัฒน์ สมรสกับ นายสืบกุล นันทาภิวัฒน์
- ฉัตรเบญจา นันทาภิวัฒน์
- หม่อมราชวงศ์ชื่นกมล ดิศกุล
- หม่อมราชวงศ์ดำรงดิศ ดิศกุล
พลเรือเอก หม่อมเจ้ากาฬวรรณดิศ ดิศกุล สิ้นชีพิตักษัยด้วยพระโรคพระหทัยวาย ณ โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2527 สิริพระชันษาได้ 72 ปี 10 เดือน ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โปรดเกล้าฯ ให้ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปวางพวงมาลาและพระราชทานน้ำหลวงสรงศพ และในการนี้ยังได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานโกศมณฑป ฉัตรเครื่องสูงทองแผ่ลวด เป็นเครื่องประดับพระเกียรติยศ
ต่อมาในวันอังคารที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2527 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ และ นาวาอากาศเอก วีระยุทธ ดิษยะศริน ไปยังเมรุหลวงหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร ในการพระราชทานเพลิงศพ พลเรือเอก หม่อมเจ้ากาฬวรรณดิศ ดิศกุล[1]
การศึกษา[แก้]
- โรงเรียนเทพศิรินทร์ สอบได้ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เมื่อปี พ.ศ. 2467
- โรงเรียนมัธยมกาเมลเฮเลอรุมยิมเนซีอุม ณ กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก สำเร็จชั้น 3 ก (มัธยม 8) เมื่อ พ.ศ. 2475
- สอบเข้าโรงเรียนนายเรือราชนาวีเดนมาร์ก ณ กรุงโคเปนเฮเกน เมื่อปี พ.ศ. 2475[2]
- ได้รับประกาศนียบัตรเดินเรืออย่างต้นหน เมื่อ พ.ศ. 2478
- ได้รับประกาศนียบัตรเดินเรืออย่างกัปตัน เมื่อ พ.ศ. 2479
- ได้เป็นว่าที่เรือตรี เมื่อปี พ.ศ. 2480
- ได้เป็นว่าที่เรือโท เมื่อปี พ.ศ. 2481
- เข้าศึกษาชั้นเสนาธิการแผนกกรมทหารรักษาฝั่ง (ป้อม) ณ โรงเรียนเสนาธิการทหารเรือ ณ กรุงสตอคโฮล์ม ประเทศสวีเดน เมื่อ พ.ศ. 2481
ตำแหน่ง[แก้]
- 18 กันยายน พ.ศ. 2496 - ราชองครักษ์เวร[3]
- พ.ศ. 2498 - ทูตทหารเรือประจำกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย
- 1 สิงหาคม พ.ศ. 2502 - ผู้บัญชาการ กรมนาวิกโยธิน[4]
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2505 - ที่ปรึกษากองทัพเรือ[5]
- 26 มิถุนายน พ.ศ. 2507 - สมุหราชองครักษ์[6]
- 1 ธันวาคม พ.ศ. 2507 - นายทหารพิเศษประจำ กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์[7]
พระยศ[แก้]
- 1 เมษายน พ.ศ. 2488 - นาวาตรี[8]
- 1 มกราคม พ.ศ. 2491 - นาวาโท[9]
- 1 มกราคม พ.ศ. 2495 - นาวาเอก[10]
- 1 มกราคม พ.ศ. 2498 - พลเรือจัตวา[11]
- 1 มกราคม พ.ศ. 2502 - พลเรือตรี[12]
- 1 มกราคม พ.ศ. 2506 - พลเรือโท[13]
- 1 ธันวาคม พ.ศ. 2507 - พลโท[14]
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2508 - พลเรือเอก[15]
- 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2509 - พลเอก[16]
- พ.ศ. 2511 - พลอากาศเอก[17]
ตำแหน่งทางการเมือง[แก้]
- 23 มีนาคม พ.ศ. 2504 - สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ[18]
- 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2511 - สมาชิกวุฒิสภา[19]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย[แก้]
- พ.ศ. 2516 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[20]
- พ.ศ. 2510 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[21]
- พ.ศ. 2508 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[22]
- พ.ศ. 2505 –
เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)[23]
- พ.ศ. 2513 –
เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[24]
- พ.ศ. 2486 –
เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ร.)[25]
- พ.ศ. 2510 –
เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[26]
- พ.ศ. 2492 –
เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)
- พ.ศ. 2509 –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 2 (ภ.ป.ร.2)[27]
- พ.ศ. 2496 –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[28]
- พ.ศ. 2508 –
เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 9 (ร.จ.ท.9)[29]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]
เดนมาร์ก : พ.ศ. 2501 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แดนเนอโบร ชั้นที่ 1[30]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ข่าวในพระราชสำนัก (หน้า ๒๔)
- ↑ นักเรียนหลวงกราบถวายบังคมลา
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ตั้งราชองครักษ์เวร
- ↑ ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารพ้นจากตำแหน่ง และรับราชการ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ (หน้า ๒๐๕๘)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้สมุหราชองครักษ์พ้นจากตำแหน่งและแต่งตั้งสมุหราชองครักษ์
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร (หน้า ๑๑๐๐)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร (หน้า ๔)
- ↑ ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร (หน้า ๓)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร (หน้า ๓)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
- ↑ พระราชทานยศทหาร
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (หน้า ๓๗๐)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา (จำนวน ๑๒๐ ราย) (หน้า ๘๔)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า หน้า 12 เล่ม 90 ตอน 51 10 พฤษภาคม 2516
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หน้า 28 เล่ม 84 ตอน 128 30 ธันวาคม 2510
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หน้า 14 เล่ม 82 ตอน 111 23 ธันวาคม 2508
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ หน้า 700 เล่ม 79 ตอน 83 8 กันยายน 2505
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน หน้า 2 เล่ม 87 ตอน 97 21 ตุลาคม 2513
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน หน้า 2615 เล่ม 60 ตอน 43 17 สิงหาคม 2486
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน หน้า 2 เล่ม 84 ตอน 78 23 สิงหาคม 2510
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ หน้า 1624 เล่ม 83 ตอน 33 12 เมษายน 2509
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เล่ม 70 ตอนที่ 29 ราชกิจจานุเบกษา 12 พฤษภาคม 2496
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชรุจิ หน้า 6 เล่ม 82 ตอน 65 13 สิงหาคม 2508
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ