พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนราชสีหวิกรม มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าชุมสาย เป็นพระราชโอรสลำดับที่ 21 ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวและเจ้าจอมมารดาเอมใหญ่ ประสูติเมื่อวันพุธ ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 4 ปีชวด ตรงกับวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2359 [1] พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นราชสีหวิกรม แล้วต่อมาทรงเลื่อนเป็นกรมขุนราชสีหวิกรม โปรดเกล้าฯ ให้ทรงกำกับกรมช่างศิลาในกรมช่างสิบหมู่ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4 เมื่อวันศุกร์ ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 11 ปีมะโรง ตรงกับ 25 กันยายน พ.ศ. 2411 พระชันษา 53 ปี
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนราชสีหวิกรม ทรงเป็นต้นราชสกุล ชุมสาย ทรงมีหม่อม 1 ท่านคือหม่อมน้อย อดีตหม่อมในกรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสกุลแก่ หลวงสฤษดิ์สุทธิวิจารณ (หม่อมราชวงศ์ผัด) ผู้ขอเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2456 เป็นสกุลอันดับที่ 365[2] ตามประกาศวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2456
พระโอรส-ธิดา[แก้]
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนราชสีหวิกรม มีหม่อมและพระโอรส-ธิดา ดังนี้[3][4]
- ประสูติแต่หม่อมพึ่ง ชุมสาย ณ อยุธยา (นามเดิม: คุณหญิงพึ่ง) ธิดาของนายวัน หรืออดีตพระองค์เจ้าอัมพวันในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี[5]
- หม่อมเจ้าเปีย ชุมสาย
- หม่อมเจ้าหญิงมลิวรรณ ชุมสาย หรือ หม่อมเจ้าหญิงมาลีวัณ (ประสูติ พ.ศ. 2383 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2467)
- ประสูติแต่หม่อมน้อย ชุมสาย ณ อยุธยา (สกุลเดิม : ภมรมนตรี) ธิดาของพระยาราชมนตรี (ภู่ ภมรมนตรี) กับท่านผู้หญิงอิน ราชมนตรี
- หม่อมเจ้าระเบียบ ชุมสาย (สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2450 พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2454) มีโอรส คือ
- หม่อมราชวงศ์ตั๋ว ชุมสาย มีศักดิ์เป็นหม่อมราชนิกูล (หม่อมสีหพงศ์เพ็ญภาคย์) สมรสกับสวน ชุมสาย ณ อยุธยา มีบุตร คือ
- พลตรี หม่อมหลวงอภิรุม ชุมสาย
- พันเอก หลวงเอนกนัยวาที (หม่อมราชวงศ์นารถ ชุมสาย) มีหม่อมหุ่นเป้นหม่อมมารดา สมรสกับเจิม ชุมสาย ณ อยุธยา มีบุตรธิดา คือ
- หม่อมหลวงมานิจ ชุมสาย
- หม่อมหลวงมานัศ ชุมสาย
- หม่อมหลวงอนงค์ ชุมสาย
- หม่อมเจ้าอรุณ ชุมสาย
- หม่อมเจ้าหญิงจำรัส ชุมสาย (พระราชทานเพลิง ณ วัดสังเวชวิทยาราม เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2457)
- หม่อมเจ้าหญิงประภา ชุมสาย หรือ ท่านหญิงปุก (ประสูติ พ.ศ. 2387 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2455 พระราชทานเพลิง ณ วัดคฤหบดี)
- หม่อมเจ้าเจริญ ชุมสาย บางแห่งว่าชื่อหม่อมเจ้าจำเริญ (ประสูติ พ.ศ. 2388 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2429 พระราชทานเพลิง ณ วัดคฤหบดี พ.ศ. 2436)
- เสวกเอก หม่อมเจ้าประวิช ชุมสาย หรือ ท่านชายต๋ง (ประสูติเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2390 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2468 พระราชทานเพลิง ณ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2469) เสกสมรสกับหม่อมเจ้าหญิงสารภี ชุมสาย (ราชสกุลเดิม : สนิทวงศ์) พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท,หม่อมจำเริญ ชุมสาย ณ อยุธยา (สกุลเดิม : ภมรมนตรี),หม่อมโหมด ชุมสาย ณ อยุธยาและหม่อมพวง ชุมสาย ณ อยุธยา[6] มีโอรสและธิดา คือ
- พระยาสีศักดิ์สนิทวงศ์ (หม่อมราชวงศ์ถัด ชุมสาย) มีหม่อมเจ้าหญิงสารภีเป็นพระมารดา สมรสกับคุณหญิงติ๊ สีศักดิ์สนิทวงศ์ ธิดาขุนโภคาสมบัติ มีบุตรธิดา 7 คน คือ
- หม่อมหลวงติ๋ว ชุมสาย
- หม่อมหลวงต๋อย ชุมสาย
- หม่อมหลวงต้อย ชุมสาย
- หม่อมหลวงตุ้ย ชุมสาย
- หม่อมหลวงต่อ ชุมสาย
- หม่อมหลวงเติบ ชุมสาย
- หม่อมหลวงสีตอง ชุมสาย
- หม่อมราชวงศ์หญิงจรูญ ชุมสาย มีหม่อมจำเริญเป็นหม่อมมารดา
- พระยาสีหพงศ์เพ็ญภาคย์ (หม่อมราชวงศ์ประเวศ ชุมสาย) มีหม่อมจำเริญเป็นหม่อมมารดา สมรสกับคุณหญิงเปลี่ยน สีหพงศ์เพ็ญภาคย์ มีบุตร คือ
- หม่อมหลวงประวาศ ชุมสาย
- หม่อมหลวงศุภนิธิ์ ชุมสาย
- หม่อมหลวงจิตรสาร ชุมสาย
- หลวงพิเศษโลหะศิลป์ (หม่อมราชวงศ์เต๋า ชุมสาย) มีหม่อมจำเริญเป็นหม่อมมารดา
- หม่อมราชวงศ์ไวย ชุมสาย มีหม่อมจำเริญเป็นหม่อมมารดา
- หม่อมราชวงศ์หญิงเล็ก ชุมสาย มีหม่อมจำเริญเป็นหม่อมมารดา
- หม่อมราชวงศ์อาจ ชุมสาย มีหม่อมพวงเป็นหม่อมมารดา
- นายพันเอกพิเศษ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ มีพระนามเดิมว่าหม่อมเจ้าปฤษฎางค์ ชุมสาย ได้รับสถาปนาขึ้นเป็นพระองค์เจ้าในสมัยรัชกาลที่ 5 (ประสูติเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2394 สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2477) เสกสมรสกับหม่อมตลับ ชุมสาย ณ อยุธยา
อ้างอิง[แก้]
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
|
---|
| สมเด็จพระ / กรมสมเด็จพระ | | |
---|
| กรมพระยา | |
---|
| กรมพระ | |
---|
| กรมหลวง | |
---|
| กรมขุน | |
---|
| กรมหมื่น |
= สืบราชสมบัติ • ตัวเอียง = ฝ่ายใน |
---|
| |
|
|
---|
| รัชกาลที่ 1 | | |
---|
| รัชกาลที่ 2 | |
---|
| รัชกาลที่ 3 | |
---|
| รัชกาลที่ 4 | |
---|
| รัชกาลที่ 5 | |
---|
| รัชกาลที่ 6 | ไม่มีพระราชโอรส |
---|
| รัชกาลที่ 7 | ไม่มีพระราชโอรส-ธิดา |
---|
| รัชกาลที่ 8 | ไม่มีพระราชโอรส-ธิดา |
---|
| รัชกาลที่ 9 | |
---|
| รัชกาลที่ 10 | |
---|
| ( )* สืบราชสมบัติ** กรมพระราชวังบวรสถานมงคล( )^ สยามมกุฎราชกุมารX ถูกถอดจากฐานันดรศักดิ์ |
|