พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร | |
---|---|
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4 พระองค์เจ้าชั้นเอก | |
ประสูติ | 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2399 |
สิ้นพระชนม์ | 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474 (75 ปี)[1] |
หม่อม | หม่อมวาศน์ หม่อมส้มจีน หม่อมไป๋ |
พระบุตร | 27 องค์ |
ราชสกุล | กมลาศน์ |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระมารดา | เจ้าจอมมารดาเที่ยง ในรัชกาลที่ 4 |
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร (3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2399 - 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474) อดีตองคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ากมลาสน์เลอสรรค์ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเที่ยง
พระประวัติ
[แก้]พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 27 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเที่ยง พระสนมเอก (ธิดาพระยาอัพภันตริกามาตย์ (ดิศ โรจนดิศ)) เมื่อวันจันทร์ เดือน 12 ขึ้น 6 ค่ำ ปีมะโรงอัฐศก จ.ศ. 1218 ตรงกับวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2399 มีพระโสทรภราดาภคินีได้แก่
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสมรรัตนศิริเชฐ
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเสวตรวรลาภ
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีนาคสวาดิ
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากนกวรรณเลขา
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแขไขดวง
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญฤทธิเดช
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์[2]
พระองค์มีศักดิ์เป็นพระญาติของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี พระอัครมเหสีในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ผู้เป็นพระราชบิดาของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยพระองค์สืบเชื้อสายมาจากนายจำปา ณ เวียงจันทน์ ซึ่งเป็นพระญาติของเจ้าจอมมารดาทองสุก พระราชธิดาของพระเจ้าอินทวงศ์แห่งเวียงจันทน์[3]
ปี พ.ศ. 2419 ขณะมีพระชันษาได้ 20 ปี ทรงผนวชเป็นพระภิกษุที่วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร โดยมีสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์[4]
พระองค์ทรงเริ่มรับราชการในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 100 ปี เมื่อ พ.ศ. 2425 พระองค์ ทรงรับหน้าที่ซ่อมปรับปรุงเครื่องประดับประดาเครื่องศิลา กระถางต้นไม้ ประดับพระอารามวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และกำกับราชการกรมช่างหล่อ
ปี พ.ศ. 2426 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นเป็นพระองค์เจ้าต่างกรม มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นราชศักดิ์สโมร
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทรงดำรงตำแหน่งองคมนตรีเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2459[5][6] จนสิ้นพระชนม์
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร ประทับอยู่ที่วังบริเวณสี่กั๊กพระยาศรี ใกล้โรงพักสำราญราษฎร์ และสิ้นพระชนม์ในสมัยรัชกาลที่ 7 เมื่อวันศุกร์ เดือน 12 ขึ้น 4 ค่ำ ปีมะแม ตรีศก จ.ศ. 1293 ตรงกับวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474 สิริพระชันษา 74 ปี[7] มีพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพเมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2476 ณ พระเมรุ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร[8]
พระโอรสและพระธิดา
[แก้]พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร เป็นต้นราชสกุลกมลาศน์[9] มีหม่อมที่ปรากฏชื่อ 3 คน ได้แก่
- หม่อมวาศน์ (สกุลเดิม คชเสนี) ธิดาขุนพราหมณ์
- หม่อมส้มจีน
- หม่อมไป๋
มีพระโอรสธิดารวมทั้งหมด 27 องค์ เป็นชาย 14 องค์ และหญิง 13 องค์
พระรูป | พระนาม | หม่อมมารดา | ประสูติ | สิ้นชีพิตักษัย | คู่สมรส |
---|---|---|---|---|---|
1. หม่อมเจ้าทิพาภา กมลาศน์ | ไม่ทราบ | พ.ศ. 2422 | 22 สิงหาคม พ.ศ. 2463 | มิได้สมรส | |
2. หม่อมเจ้าสุรเชษฐพงษ์ กมลาศน์ | ไม่ทราบ | พ.ศ. 2423 | พ.ศ. 2463 | มิได้สมรส | |
3. หม่อมเจ้ามัณฑารพ กมลาศน์ | ที่ 1 ในหม่อมวาศน์ | 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2425 | 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 | มิได้สมรส | |
4. หม่อมเจ้าฉลาดลบเลอสรร กมลาศน์ | ที่ 2 ในหม่อมวาศน์ | 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2428 | 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2503 | มิได้สมรส | |
5. หม่อมเจ้าชาย (ไม่ปรากฏพระนาม) | ไม่ทราบ | พฤษภาคม พ.ศ. 2428 | ตุลาคม พ.ศ. 2429 | มิได้สมรส | |
6. หม่อมเจ้าหญิง (ไม่ปรากฏพระนาม) | ไม่ทราบ | พฤษภาคม พ.ศ. 2429 | ตุลาคม พ.ศ. 2431 | มิได้สมรส | |
7. หม่อมเจ้าหญิงกลาง | ไม่ทราบ | พ.ศ. 2429 | 14 ธันวาคม พ.ศ. 2433 | มิได้สมรส | |
8. หม่อมเจ้าเฉลียววรรณมาลา ชยางกูร (ท่านหญิงแป้น) | ที่ 3 ในหม่อมวาศน์ | พ.ศ. 2430 | 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2462 | หม่อมเจ้าวิเศษศักดิ์ ชยางกูร | |
9. หม่อมเจ้าดัชนี กมลาศน์ | ไม่ทราบ | 10 ตุลาคม พ.ศ. 2431 | 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2511 | มิได้สมรส | |
10. หม่อมเจ้าหญิงเล็ก | ไม่ทราบ | ตุลาคม พ.ศ. 2431 | พฤศจิกายน พ.ศ. 2432 | มิได้สมรส | |
11. หม่อมเจ้าชาย (ไม่ปรากฏพระนาม) | ไม่ทราบ | ไม่ทราบปี | ไม่ทราบปี | มิได้สมรส | |
12. หม่อมเจ้าหญิง (ไม่ปรากฏพระนาม) | ไม่ทราบ | ไม่ทราบปี | ไม่ทราบปี | มิได้สมรส | |
13. หม่อมเจ้าฉวีประภา กมลาศน์ | ที่ 1 ในหม่อมไป๋ | 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2432 | 30 กันยายน พ.ศ. 2519 | มิได้สมรส | |
14. หม่อมเจ้านภมณี กมลาศน์ | ที่ 2 ในหม่อมไป๋ | 7 มีนาคม พ.ศ. 2433 | 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2528 | มิได้สมรส | |
ไฟล์:หม่อมเจ้าศุขปรารภ.JPG | 15. หม่อมเจ้าศุขปรารภ กมลาศน์ (ท่านชายเล็ก) | ที่ 4 ในหม่อมวาศน์ | 1 สิงหาคม พ.ศ. 2433 | 5 ตุลาคม พ.ศ. 2500 | หม่อมพร้อม (เอี่ยมสะอาด)
หม่อมหลวงวงษ์ (กุญชร) |
16. หม่อมเจ้าพรปรีชา กมลาศน์ | หม่อมส้มจีน | 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2434 | 9 มีนาคม พ.ศ. 2503 | หม่อมลมุล | |
17. หม่อมเจ้าส้มจีน | ไม่ทราบ | พ.ศ. 2434 | ไม่ทราบปี | มิได้สมรส | |
18. หม่อมเจ้าธาดาพันธ์ กมลาศน์ | ที่ 3 ในหม่อมไป๋ | 22 มกราคม พ.ศ. 2435 | พ.ศ. 2476 | หม่อมอรชร (จาตุรงคกุล) | |
19. หม่อมเจ้ากลั่นแก้วสินธุ์ กมลาศน์ | ไม่ทราบ | 29 มกราคม พ.ศ. 2436 | พ.ศ. 2506 | หม่อมบุญรอด | |
20. หม่อมเจ้าถวิลวิถาร กมลาศน์ (ท่านหญิงเล็ก) | ที่ 5 ในหม่อมวาศน์ | 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2436 | 4 เมษายน พ.ศ. 2510 | มิได้สมรส | |
21. หม่อมเจ้าชาย (ไม่ปรากฏพระนาม) | ไม่ทราบ | พ.ศ. 2438 | พ.ศ. 2447 | มิได้สมรส | |
22. หม่อมเจ้าปฏิภาณว่อง กมลาศน์ | ไม่ทราบ | 21 สิงหาคม พ.ศ. 2439 | พ.ศ. 2506 | มิได้สมรส | |
23. หม่อมเจ้าถ่องวิทยา กมลาศน์ | ไม่ทราบ | 12 ตุลาคม พ.ศ. 2439 | พฤษภาคม พ.ศ. 2506 | มิได้สมรส | |
24. หม่อมเจ้าเตี้ย | ไม่ทราบ | พ.ศ. 2441 | ไม่ทราบปี | มิได้สมรส | |
25. หม่อมเจ้าบุญญราษี กมลาศน์ | ไม่ทราบ | 24 กันยายน พ.ศ. 2444 | 28 ธันวาคม พ.ศ. 2534 | มิได้สมรส | |
26. หม่อมเจ้าปรีชาพล กมลาศน์ | ไม่ทราบ | 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2448 | พ.ศ. 2506 | หม่อมวิศิษฐ์ศรี (สิงหเสนี) | |
27. หม่อมเจ้าหญิง (ไม่ปรากฏพระนาม | ไม่ทราบ | พ.ศ. 2448 | ไม่ทราบปี | มิได้สมรส |
พระเกียรติยศ
[แก้]พระอิสริยยศ
[แก้]- พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ากมลาสน์เลอสรรค์ (3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2399 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411)
- พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้ากมลาสน์เลอสรรค์ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 - พ.ศ. 2426)
- พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร (พ.ศ. 2426 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 - 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474)
ธรรมเนียมพระยศของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร | |
---|---|
ธงประจำพระอิสริยยศ | |
การทูล | ใต้ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | พ่ะย่ะค่ะ/เพคะ |
พระยศ
[แก้]นายกองตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร | |
---|---|
รับใช้ | กองเสือป่า |
ชั้นยศ | นายกองตรี |
พระยศเสือป่า
[แก้]- 8 ธันวาคม 2460 – นายกองตรี[10]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.) (ฝ่ายหน้า)
- พ.ศ. 2470 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[11]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)
- พ.ศ. 2428 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย (จ.ม.)[12]
- พ.ศ. 2447 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 4 ชั้นที่ 2 (ม.ป.ร.2)[13]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 2 (ว.ป.ร.2)
- พ.ศ. 2469 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 2 (ป.ป.ร.2)[14]
- พ.ศ. 2458 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[15]
- พ.ศ. 2469 – เหรียญศารทูลมาลา (ร.ศ.ท.)[16]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2474/D/3275.PDF
- ↑ สมบัติ พลายน้อย. พระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดาแห่งราชสำนักสยาม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : ฐานบุ๊คส์. 2554, หน้า 297
- ↑ "ข้อมูลโดยสังเขปหม่อมราชวงศ์ศุภดิศ ดิศกุล - สายสกุลของท้าวมังสี (ขำ)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-03. สืบค้นเมื่อ 2020-03-21.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-06. สืบค้นเมื่อ 2021-06-07.
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2459/D/113.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2459/D/114.PDF
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวสิ้นพระชนม์
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,หมายกำหนดการ พระราชทานเพลิงพระศพและศพ ณ พระเมรุวัดเทพศิรินทราวาส เล่ม 49, ตอน 0 ง, 12 มีนาคม พ.ศ. 2475, หน้า 4254
- ↑ "ประกาศกรมราชเลขานุการ เรื่อง พระราชทานนามสกุล สำหรับสืบเชื้อพระวงศ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น ๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 32 (0 ง): 135. 18 เมษายน 2458. สืบค้นเมื่อ 11 มกราคม 2563.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ พระราชทานยศเสือป่า
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ เก็บถาวร 2017-02-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเล่ม 44 หน้า 2567 วันที่ 20 พฤศจิกายน 2470
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2427/061/536.PDF
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๔ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 21, ตอน 32, 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2447, หน้า 564
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2469/D/3120.PDF
- ↑ พระราชทานเหรียญจักรมาลา
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2469/D/438.PDF
- Jeffy Finestone. 2542. สมุดพระรูป พระราชโอรส พระราชธิดา พระราชนัดาใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. ปรียนันทนา รังสิต,ม.ร.ว. โลมาโฮลดิ้ง
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Siam Chronicle เก็บถาวร 2006-06-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ก่อนหน้า | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสมรรัตนศิริเชฐ | กุลเชษฐ์ในราชวงศ์จักรี (5 พฤษภาคม พ.ศ. 2474 – 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474) |
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรุณวดี |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2399
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2474
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4
- พระองค์เจ้าชาย
- กรมหมื่น
- พระราชโอรสในรัชกาลที่ 4
- สกุลโรจนดิศ
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.จ.ก. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ม.ป.ร.2
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ป.ป.ร.2
- องคมนตรีในรัชกาลที่ 6