พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูมินทรภักดี
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูมินทรภักดี | |
---|---|
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 3 พระองค์เจ้าชั้นเอก | |
ประสูติ | 24 มกราคม พ.ศ. 2359 |
สิ้นพระชนม์ | 27 มิถุนายน พ.ศ. 2417 (58 ปี) |
หม่อม | คุณหญิงพลับ เจ้าจอมมารดาจีน หม่อมมาลัย หม่อมหรั่ง หม่อมสาด หม่อมทรัพย์[1] |
พระบุตร | 41 พระองค์ |
ราชสกุล | ลดาวัลย์ |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระมารดา | เจ้าจอมมารดาเอมน้อย ในรัชกาลที่ 3 |
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูมินทรภักดี มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าลดาวัลย์ เป็นพระราชโอรสลำดับที่ 15 ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และเจ้าจอมมารดาเอมน้อย ประสูติเมื่อวันพุธ แรม 10 ค่ำ เดือนยี่ ตรงกับวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2358[2]
พระองค์ทรงรับราชการกำกับกรมช่างสิบหมู่ ทรงเป็นผู้กำกับการก่อสร้างพระพุทธไสยาส วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร[3][4] พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเป็นกรมหมื่นภูมินทรภักดี
เมื่อทรงพระชราภาพ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูมินทรภักดี ประชวรดวงพระเนตรเป็นต้อ ทอดพระเนตรไม่เห็น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ติดต่อแพทย์ชาวดัตช์เข้ามาผ่าตัดพระเนตรจนหายเป็นปกติ พร้อมกับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค) ซึ่งป่วยเป็นต้อเช่นกัน[5]
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูมินทรภักดี สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันเสาร์ ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 8 บูรพาษาฒ ปีจอ ตรงกับวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2417
พระโอรส-พระธิดา
[แก้]พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูมินทรภักดี ทรงเป็นต้นราชสกุลลดาวัลย์ (รัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสกุลแก่หม่อมเจ้าเพิ่ม พระโอรสลำดับที่ 24 ในพระองค์เจ้าลดาวัลย์ เมื่อ พ.ศ. 2458) [6]
- คุณหญิงพลับ ธิดาของพระพงษ์นรินทร์ (อดีตสมเด็จเจ้าฟ้าทัศพงศ์ พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี)[7]
- หม่อมเจ้าสารภี ลดาวัลย์
- หม่อมเจ้าชาย ลดาวัลย์
- หม่อมเจ้าเผือก ลดาวัลย์
- เจ้าจอมมารดาจีน มีพระธิดา 3 พระองค์ และได้ถวายพระองค์เป็นพระอรรคชายาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[8][9]
- หม่อมเจ้าบัว ลดาวัลย์ มีอิสริยยศสุดท้ายเป็น "พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าอุบลรัตนนารีนาค กรมขุนอรรควรราชกัลยา"
- หม่อมเจ้าปิ๋ว ลดาวัลย์ มีอิสริยยศสุดท้ายเป็น "พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคนารีรัตน์" สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. 2430
- หม่อมเจ้าสาย ลดาวัลย์ มีอิสริยยศเป็น "พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์" ได้รับอิสสริยยศสุดท้ายเป็น พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา" ในรัชกาลที่ 7
- หม่อมหรั่ง[10]
- หม่อมเจ้ากระจ่าง ลดาวัลย์ (ประสูติ พ.ศ. 2385) อุปสมบทเป็นพระภิกษุ และได้รับสถาปนาเป็น "พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพระอรุณนิภาคุณากร" เป็นเจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหารพระองค์แรก และได้รับเลื่อนสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ "สมเด็จพระพุฒาจารย์" กระทั่งสิ้นพระชนม์[11]
- หม่อมมาลัย
- หม่อมเจ้าพร้อม ลดาวัลย์ (ประสูติ พ.ศ. 2412) อุปสมบทเป็นพระภิกษุ และได้รับเลื่อนสมณศักดิ์เป็นลำดับ จนสุดท้ายเป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่หม่อมเจ้าพระศรีสุคตคัตยานุวัตร เป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ 4 ของวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร และเป็นนายกสภามหามกุฏราชวิทยาลัย และได้ลาสิกขาบทในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2441[12][13]
- หม่อมสาด
- หม่อมเจ้าปาน ลดาวัลย์ บิดาของ หม่อมราชวงศ์มานพ ลดาวัลย์
- หม่อมเจ้าเพิ่ม ลดาวัลย์ บิดาของเจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ในรัชกาลที่ 5
- หม่อมทรัพย์
- หม่อมเจ้าสารภี ลดาวัลย์ (ประสูติ พ.ศ. 2399 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2473)
พระโอรส-พระธิดา เรียงตามพระประสูติกาล
[แก้]- หม่อมเจ้าหญิงใหญ่ ลดาวัลย์ (สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2452 พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2455) [14]
- หม่อมเจ้าหญิงประภา ลดาวัลย์ (สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2439 พระราชทานเพลิง ณ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2440)
- หม่อมเจ้าชายกระจ่าง ลดาวัลย์ ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ในภายหลังทรงได้เป็นพระราชาคณะ สถิต ณ วัดราชบพิธ ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงได้รับสถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพระอรุณนิภาคุณากร (ประสูติเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2385 สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2444)
- หม่อมเจ้าหญิงถนอม ลดาวัลย์ (ประสูติ พ.ศ. 2386 สิ้นชีพิตักษัย พ.ศ. 2425 พระราชทานเพลิงเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2427)
- หม่อมเจ้าหญิงไม่ปรากฏพระนาม (ประสูติ พ.ศ. 2387)
- หม่อมเจ้าหญิงอ่าง ลดาวัลย์ (ประสูติ พ.ศ. 2387 สิ้นชีพิตักษัย พ.ศ. 2389)
- หม่อมเจ้าชายด้วง ลดาวัลย์ (ประสูติ พ.ศ. 2388 สิ้นชีพิตักษัย พ.ศ. 2390)
- หม่อมเจ้าหญิงไม่ปรากฏพระนาม (ประสูติ พ.ศ. 2389)
- หม่อมเจ้าหญิงบัว ลดาวัลย์ ทรงรับราชการฝ่ายในเป็นพระมเหสีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตำแหน่งพระอรรคชายา โดยรัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาขึ้นเป็นพระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าอุบลรัตนนารีนาค กรมขุนอรรควรราชกัลยา (ประสูติเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2390 สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2444)
- หม่อมเจ้าหญิงไม่ปรากฏพระนาม
- หม่อมเจ้าหญิงพิศวง ลดาวัลย์ (ประสูติ พ.ศ. 2392 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2470 พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2475) ประสูติแต่หม่อมทรัพย์ ลดาวัลย์ ณ อยุธยา[15]
- หม่อมเจ้าชายฉาย ลดาวัลย์ (ประสูติ พ.ศ. 2392 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2427) บิดาของเจ้าจอมหม่อมราชวงศ์เฉียด ในรัชกาลที่ 5
- หม่อมเจ้าหญิงไม่ปรากฏพระนาม (ประสูติ พ.ศ. 2493)
- หม่อมเจ้าชายปั๋ง ลดาวัลย์ (ประสูติ พ.ศ. 2396 สิ้นชีพิตักษัย พ.ศ. 2400)
- หม่อมเจ้าหญิงนวลจันทร์ ลดาวัลย์
- หม่อมเจ้าหญิงทับทิม ลดาวัลย์ (ประสูติ พ.ศ. 2397 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2465 พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ)
- หม่อมเจ้าหญิงปิ๋ว ลดาวัลย์ ทรงรับราชการฝ่ายในเป็นพระมเหสีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตำแหน่งพระอรรคชายา โดยรัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาขึ้นเป็นพระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน์ (ประสูติเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2397 สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2430 พระราชทานเพลิง ณ พระเมรุท้องสนามหลวง)
- หม่อมเจ้าหญิงไม่ปรากฏพระนาม (ประสูติ พ.ศ. 2397)
- หม่อมเจ้าหญิงไม่ปรากฏพระนาม (ประสูติ พ.ศ. 2398 สิ้นชีพิตักษัย พ.ศ. 2400)
- หม่อมเจ้าหญิงสารภี ลดาวัลย์ ว.ป.ร.3 (ประสูติ พ.ศ. 2399 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2473 พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2475)
- หม่อมเจ้าชายปาน ลดาวัลย์ (ประสูติเดือนตุลาคม พ.ศ. 2399 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2433)
- หม่อมเจ้าหญิงพลบ ลดาวัลย์ (ประสูติเดือนมกราคม พ.ศ. 2400 สิ้นชีพิตักษัย พ.ศ. 2429)
- หม่อมเจ้าหญิงเนื่อง ลดาวัลย์ (ประสูติเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2401 สิ้นชีพิตักษัย พ.ศ. 2425)
- หม่อมเจ้าหญิงไม่ปรากฏพระนาม (ประสูติเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2401)
- หม่อมเจ้าชายชาย ลดาวัลย์ (ประสูติ พ.ศ. 2401 และสิ้นชีพิตักษัยในปีที่ประสูติ)
- หม่อมเจ้าชายไม่ปรากฏพระนาม (ประสูติเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2402)
- หม่อมเจ้าชายทั่ง ลดาวัลย์ (ประสูติเดือนมีนาคม พ.ศ. 2402 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2428)
- หม่อมเจ้าเพิ่ม ลดาวัลย์ (ประสูติเมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ 2402 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2478) ประสูติแด่หม่อมสาด ลดาวัลย์ ณ อยุธยา ทรงสมรสกับหม่อมช้อย ลดาวัลย์ ณ อยุธยา,หม่อมห่วง ลดาวัลย์ ณ อยุธยา,หม่อมคลี่ ลดาวัลย์ ณ อยุธยาและหม่อมหวาน ลดาวัลย์ ณ อยุธยา โดยทรงมีโอรสและธิดาหลายคน เช่น เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ในรัชกาลที่ 5 ผู้รับราชการฝ่ายในเป็นเจ้าจอมพระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
- หม่อมเจ้าหญิงพิน ลดาวัลย์ หรือ หม่อมเจ้าหญิงยุพิน (ประสูติเดือนพฤษภาคม 2403 สิ้นชีพิตักษัย พ.ศ. 2424 พระราชทานเพลิง พ.ศ. 2427)
- หม่อมเจ้าชายขาว ลดาวัลย์ (ประสูติเดือนเมษายน พ.ศ. 2405 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2438 พระราชทานเพลิง ณ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2440)
- หม่อมเจ้าหญิงสาย ลดาวัลย์ ทรงรับราชกาลฝ่ายในเป็นพระมเหสีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตำแหน่งพระอรรคชายา โดยรัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาขึ้นเป็น พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ และต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 7 ทรงสถาปนาขึ้นเป็นพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา (ประสูติเมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2406 สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2472 พระราชทานเพลิง ณ พระเมรุท้องสนามหลวง)
- หม่อมเจ้าชายเมือง ลดาวัลย์ (พระราชทานเพลิงเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2427)
- หม่อมเจ้าหญิงเผือก ลดาวัลย์ (ประสูติเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2408 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2435)
- หม่อมเจ้าชายบุญรอด ลดาวัลย์ (ประสูติเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2409 สิ้นชีพิตักษัยในวันที่ประสูติ)
- หม่อมเจ้าชายไม่ปรากฏพระนาม (ประสูติเดือนกันยายน พ.ศ. 2410 สิ้นชีพิตักษัยในวันที่ประสูติ)
- หม่อมเจ้าหญิงทองดี ลดาวัลย์ (ประสูติเดือนมีนาคม พ.ศ. 2410 สิ้นชีพิตักษัย พ.ศ. 2414)
- หม่อมเจ้าพร้อม ลดาวัลย์ (ประสูติเมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2412 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2498) ประสูติแต่หม่อมมาลัย ลดาวัลย์ ณ อยุธยา
- หม่อมเจ้าหญิงเป๋า ลดาวัลย์
- หม่อมเจ้าไม่แน่ชัดว่าเป็นพระโอรสหรือพระธิดา (ทรงตกโลหิตแท้ง)
- หม่อมเจ้าหญิงปุ๋ย ลดาวัลย์
พระเกียรติยศ
[แก้]ธรรมเนียมพระยศของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูมินทรภักดี | |
---|---|
การทูล | ใต้ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | พ่ะย่ะค่ะ/เพคะ |
พระอิสริยยศ
[แก้]- หม่อมเจ้าชายลดาวัลย์ (24 มกราคม พ.ศ. 2358 - 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367)
- พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าลดาวัลย์ (21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 - 2 เมษายน พ.ศ. 2394)
- พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลดาวัลย์ ( 2 เมษายน พ.ศ. 2394 - พ.ศ. 2409)
- พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นภูมินทรภักดี (พ.ศ. 2409 - 27 มิถุนายน พ.ศ. 2417)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูมินทรภักดี (15 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 - ปัจจุบัน)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2416 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)
พงศาวลี
[แก้]พงศาวลีของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูมินทรภักดี | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ข่าวพระราชทานเพลิง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 6 (2): 12–13. 14 เมษายน พ.ศ. 2432.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-14. สืบค้นเมื่อ 2006-08-20.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-05-09. สืบค้นเมื่อ 2006-08-20.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-26. สืบค้นเมื่อ 2009-10-26.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 2021-09-26.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-14. สืบค้นเมื่อ 2006-08-20.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 2021-09-26.
- ↑ http://theyoung.net/tamneap_vip/49_queen/49_37.htm
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 2021-08-18.
- ↑ พระราชทานเพลิงศพ
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-26. สืบค้นเมื่อ 2006-08-20.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-10-30. สืบค้นเมื่อ 2006-08-20.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2006-08-20.
- ↑ ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-221-818-8
- ↑ "แจ้งความมาแต่กรมพยาบาล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 6 (8): 72. 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2432.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help)