พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป | |
---|---|
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4 พระองค์เจ้าชั้นเอก | |
![]() | |
อธิบดีกรมพิพิธภัณฑ์[1] | |
ดำรงตำแหน่ง | 5 เมษายน พ.ศ. 2430 |
หม่อม | 7 คน |
พระบุตร | 23 องค์ |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระมารดา | เจ้าจอมมารดาเที่ยง ในรัชกาลที่ 4 |
ประสูติ | 27 สิงหาคม พ.ศ. 2404 |
สิ้นพระชนม์ | 28 มกราคม พ.ศ. 2479 (74 ปี) |
พระราชทานเพลิง | 27 มกราคม พ.ศ. 2480 พระเมรุ วัดเทพศิรินทราวาส |
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป (27 สิงหาคม พ.ศ. 2404 – 28 มกราคม พ.ศ. 2479) เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเที่ยง เป็นต้นราชสกุลชยางกูร[2] ทรงเคยดำรงตำแหน่งองคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[3] และเป็นอธิบดีกรมพิพิธภัณฑ์พระองค์แรก
พระประวัติ[แก้]
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าไชยานุชิต เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 55 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเที่ยง พระสนมเอก (ธิดาพระยาอัพภันตริกามาตย์ (ดิศ โรจนดิศ)) เมื่อวันอังคาร เดือน 9 แรม 6 ค่ำ ปีระกาตรีศก จ.ศ. 1223 ตรงกับวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2404[4] มีพระโสทรภราดาและพระโสทรภคินีได้แก่
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสมรรัตนศิริเชฐ
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเสวตรวรลาภ
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีนาคสวาดิ
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากนกวรรณเลขา
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแขไขดวง
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญฤทธิเดช
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์[5]
พระองค์มีศักดิ์เป็นพระญาติของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี พระมเหสีในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โดยพระองค์สืบเชื้อสายมาจากนายจำปา ณ เวียงจันทน์ ซึ่งเป็นพระญาติของเจ้าจอมมารดาทองสุก พระราชธิดาของพระเจ้าอินทวงศ์แห่งเวียงจันทน์[6]
ปี พ.ศ. 2417 ขณะมีพระชันษาได้ 13 ปี ทรงผนวชเป็นสามเณรที่วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร โดยมีสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์[7] ต่อมา ปี พ.ศ. 2424 ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าไชยานุชิต[8] ทรงดำรงตำแหน่งผู้ว่าการมิวเซียมหลวง[9] ต่อมาทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมพิพิธภัณฑ์พระองค์แรก เมื่อ พ.ศ. 2430 ภายหลังจากที่ยกฐานะเป็นกรม[10] หนึ่งในกระทรวงธรรมการ[11] ทรงรับราชการกรมชลประทาน ทรงอำนวยการขุดคลองตั้งแต่คลองสิบสี่ถึงคลองยี่สิบเอ็ดในจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นนายด่าน ควบคุมการซ่อมแปลงพระที่นั่ง ทรงทำฉัตรทองนาคเงิน 9 ชั้นในการพระเมรุกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ และทรงปฏิสังขรณ์พระอารามต่างๆ เช่นวัดพระศรีรัตนศาสดาราม นอกจากนี้ยังทรงดำรงตำแหน่งองคมนตรี (เดิมคือ ปรีวีเคาน์ซิล) เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2430[12][13] ในปี พ.ศ. 2445 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นมรรคนายกวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร[14] อีกทั้งยังทรงเป็นกรรมสัมปาทิกหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร โดยทรงดำรงตำแหน่งเป็นสภานายก[15] เลขาธิการ สารานิยกร[16] ผู้ช่วยเหรัญญิก[17] และปฏิคม[18]
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นเป็นพระองค์เจ้าต่างกรม มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป มุสิกนาม ทรงศักดินา 15000 เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2441[19] พร้อมทั้งพระราชทานเครื่องยศอันประกอบด้วย พระมาลาเส้าสะเทิน, ประคำทอง, ฉลองพระองค์เข้มขาบจีบเอว, เจียรบาด, พระแสงดาบญี่ปุ่นฝักถม, กากระบอกถาดรองทองคำ, และหีบหมากเสวยทองคำลงยาตรามงกุฏ[20]
ต่อมาวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงเปลี่ยนคำนำพระนามเป็นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ[21]
การสิ้นพระชนม์[แก้]
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป สิ้นพระชนม์[22] ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เมื่อวันอังคาร ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 3 ปีกุน สัปตศก จ.ศ. 1297 ตรงกับวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2478 (หรือ พ.ศ. 2479 ตามปฏิทินใหม่) สิริพระชันษา 74 ปี พระราชทานเพลิงพระศพ[23] ณ พระเมรุ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร เมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2479 (หรือ พ.ศ. 2480 ตามปฏิทินใหม่)[24]
สาเหตุการสิ้นพระชนม์นั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงระบุไว้ใน สาส์นสมเด็จ ว่า "เกล้ากระหม่อมได้ไปเยี่ยมประชวรเมื่อวันที่ 27 ได้ความว่า ทรงรื่นเริงตรุษจีน มีการเลี้ยง เสวยหมูหันแล้วเที่ยวทรงรถกลางคืนตากอากาศหนาว ทำให้ประชวรพระอุทรเสียและพระปัปผาสะอักเสบ"[25]
พระโอรสและธิดา[แก้]
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป มีหม่อม 7 คน ได้แก่
- หม่อมเอี่ยม ชยางกูร ณ อยุธยา
- หม่อมบัว ชยางกูร ณ อยุธยา
- หม่อมพร้อม ชยางกูร ณ อยุธยา
- หม่อมละม้าย ชยางกูร ณ อยุธยา
- หม่อมถม ชยางกูร ณ อยุธยา
- หม่อมศรี ชยางกูร ณ อยุธยา (สกุลเดิม บุญยมาลิก)
- หม่อมแหวนศุลี ชยางกูร ณ อยุธยา (สกุลเดิม บุญยมาลิก)
มีพระโอรส 15 องค์ และมีพระธิดา 8 องค์ รวม 23 องค์ ได้แก่
ลำดับ | พระรูปและพระนาม | เพศ | พระมารดา | ประสูติ | สิ้นชีพิตักษัย | เสกสมรส/คู่สมรส |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | หม่อมเจ้าสฤษดิเดช ชยางกูร[26] ป.ช. ป.ม. ท.จ.ว. (องคมนตรี) | ช. | หม่อมเอี่ยม ชยางกูร ณ อยุธยา | 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2424[27] | 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 2498 | หม่อมเจ้าผุดผ่องพรรณ ชยางกูร หม่อมเนื่อง หม่อมเชื้อ |
2 | หม่อมเจ้าวิเศษศักดิ์ ชยางกูร | ช. | หม่อมเอี่ยม ชยางกูร ณ อยุธยา | 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2430[27] | 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 2512 | หม่อมเจ้าเฉลียววรรณมาลา หม่อมศิลา |
3 | หม่อมเจ้าพักตร์พิสุทธิ์ ชยางกูร | ญ. | หม่อมบัว ชยางกูร ณ อยุธยา | 26 มกราคม พ.ศ. 2435[27] | 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 2508 | |
4 | หม่อมเจ้าผุดผ่องพรรณ ชยางกูร | ญ. | หม่อมพร้อม ชยางกูร ณ อยุธยา | 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436[27] | พ.ศ. 2508 | หม่อมเจ้าสฤษดิเดช ชยางกูร |
5 | หม่อมเจ้าฉันทวิเชียร ชยางกูร | ญ. | หม่อมพร้อม ชยางกูร ณ อยุธยา | พ.ศ. 2437 | พ.ศ. 2464 | |
6 | หม่อมเจ้าลักษณ์เลิศ ชยางกูร | ช. | หม่อมละม้าย ชยางกูร ณ อยุธยา | 6 ธันวาคม พ.ศ. 2439[27] | 1 เมษายน ค.ศ. 2518 | หม่อมน้อมสิริ |
7 | พิศเพี้ยนแขไข หรือพิศเพียงแขไข วณิกสัมบัน | ญ. | หม่อมพร้อม ชยางกูร ณ อยุธยา | 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2440[27] | พ.ศ. 2523 | เพิ่ม วณิกสัมบัน |
8 | หม่อมเจ้าประเสริฐศรี ชยางกูร ม.ว.ม., ป.ช., ท.จ.ว. | ช. | หม่อมละม้าย ชยางกูร ณ อยุธยา | 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2443[27] | 21 ตุลาคม ค.ศ. 2534 | หม่อมเจริญศรี |
9 | หม่อมเจ้าทวีผล ชยางกูร | ช. | หม่อมละม้าย ชยางกูร ณ อยุธยา | 10 ธันวาคม พ.ศ. 2444[27] | 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 2493 | หม่อมฉอ้อน |
10 | หม่อมเจ้า | ช. | ไม่มีข้อมูล | ไม่มีข้อมูล | 11 มิถุนายน ค.ศ. 2446 | |
11 | หม่อมเจ้ามงคลอุดม ชยางกูร | ช. | หม่อมละม้าย ชยางกูร ณ อยุธยา | 4 ตุลาคม พ.ศ. 2446[27] | 2 กันยายน ค.ศ. 2518 | หม่อมเจ้าอุบลเกษร หม่อมลมูล |
12 | ประไพพงศ์ ศิริเวทิน | ญ. | หม่อมถม ชยางกูร ณ อยุธยา | 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2450[27] | 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2538 | ขุนสมบูรณ์ยุทธศิลป์ (สมบูรณ์ ศิริเวทิน)[28] |
13 | หม่อมเจ้าวงษ์มหิป ชยางกูร | ช. | หม่อมถม ชยางกูร ณ อยุธยา | 19 เมษายน พ.ศ. 2452[27] | 19 สิงหาคม ค.ศ. 2530 | หม่อมแมรี หม่อมละไม |
14 | หม่อมเจ้าทิพย์ลักษณ์สุดา ชยางกูร | ญ. | หม่อมถม ชยางกูร ณ อยุธยา | 10 เมษายน พ.ศ. 2454[27] | 13 กรกฎาคม ค.ศ. 2532 | ขุนประทนคดี |
15 | หม่อมเจ้าโสภาเพียงจันทร์ จันทรทัต | ญ. | หม่อมถม ชยางกูร ณ อยุธยา | 21 สิงหาคม พ.ศ. 2455[27] | 20 กันยายน ค.ศ. 2524 | หม่อมเจ้าอุรคินทร์ จันทรทัต |
16 | หม่อมเจ้าสรรพไชยา ชยางกูร | ช. | หม่อมถม ชยางกูร ณ อยุธยา | 20 มีนาคม พ.ศ. 2458[27] | 8 พฤษภาคม ค.ศ. 2469 | |
17 | หม่อมเจ้าจุฬาชัย ชยางกูร | ช. | หม่อมศรี ชยางกูร ณ อยุธยา | 27 มกราคม พ.ศ. 2463[27] | 5 ธันวาคม ค.ศ. 2534 | หม่อมเสงี่ยม หม่อมปลิว |
18 | หม่อมเจ้าฤทัยเที่ยง ชยางกูร | ช. | หม่อมศรี ชยางกูร ณ อยุธยา | 22 มกราคม พ.ศ. 2465[27] | 1 ตุลาคม ค.ศ. 2508 | หม่อมรจิต |
19 | หม่อมเจ้าเวียงวัฒนา ชยางกูร | ช. | หม่อมแหวนศุลี ชยางกูร ณ อยุธยา | 30 เมษายน พ.ศ. 2467[27] | 30 มิถุนายน ค.ศ. 2564 | หม่อมชมชื่น |
20 | หม่อมเจ้าวราชัย ชยางกูร | ช. | หม่อมศรี ชยางกูร ณ อยุธยา | 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2471 | เมษายน พ.ศ. 2558 | หม่อมชูศรี |
21 | หม่อมเจ้าอุทัยเที่ยง ชยางกูร | ญ. | หม่อมแหวนศุลี ชยางกูร ณ อยุธยา | 1 มิถุนายน พ.ศ. 2473 | ยังมีชนม์ชีพ | |
22 | หม่อมเจ้าจรูญฤทธิเดช ชยางกูร | ช. | หม่อมแหวนศุลี ชยางกูร ณ อยุธยา | 10 มกราคม พ.ศ. 2476 | ยังมีชนม์ชีพ | หม่อมจรุงใจ |
23 | หม่อมเจ้า | ช. | ไม่มีข้อมูล | ไม่มีข้อมูล | ไม่มีข้อมูล |
ทายาท[แก้]
(1) หม่อมเจ้าสฤษดิเดช ชยางกูร[แก้]
ก.ทายาทในหม่อมเนื่อง (สกุลเดิม ณ นคร)
- 1.1 หม่อมราชวงศ์ทิพยวดี สมรสกับหม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ (หม่อมราชวงศ์เฉลิมลาภ ทวีวงศ์)
- หม่อมหลวงถวัลยวดี เตวิทย์
- ท่านผู้หญิงนราวดี ชัยเฉนียน
- 1.2 หม่อมราชวงศ์ศรีสฤษดิ์ สมรสกับหลวงสุขุมนัยประดิษฐ (ประดิษฐ์ สุขุม)
- 1.3 หม่อมราชวงศ์วิจิตรโฉม สมรสกับหม่อมเจ้าขจรจบกิตติคุณ กิติยากร
- หม่อมราชวงศ์เกียรติคุณ สมรสมรสกับอาภัสรา หงสกุล
- หม่อมราชวงศ์สฤษดิ์คุณ สมรสกับหม่อมราชวงศ์เดือนเด่น (ราชสกุลเดิม สวัสดิวัตน์)
- หม่อมราชวงศ์สุจิตคุณ สมรสกับอาสา สารสิน
- 1.4 หม่อมราชวงศ์โสมสมร สมรสกับหม่อมหลวงชวนชื่น กำภู
- 1.5 หม่อมราชวงศ์พรพรรณ สมรสกับหม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ (หม่อมราชวงศ์เฉลิมลาภ ทวีวงศ์) (เมื่อหม่อมราชวงศ์ทิพยวดี ถึงแก่กรรมแล้ว)
ข.ทายาทในหม่อมเชื้อ (สกุลเดิม โรจนดิศ)
- 1.6 หม่อมราชวงศ์เดชสิทธิ์ สมรสกับลัดดา (สกุลเดิม ทองมิตร)
- หม่อมหลวงเรืองเดช ชยางกูร
- พลเอก หม่อมหลวงวิชัย ชยางกูร
- หม่อมหลวงเดชา ชยางกูร
- หม่อมหลวงสุดารัตน์ สมรสกับณรงค์ฤทธิ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
- หม่อมหลวงภัทราวดี สมรสกับศาสตราจารย์ฟรานซิส เคเนดี
- 1.7 หม่อมราชวงศ์รุ่งฤทธี สมรสกับชูศรี (สกุลเดิม ศศิผลิน)
- หม่อมหลวงรื่นรมย์ บุณยทรรพ
- หม่อมหลวงชาติชาย ชยางกูร
- หม่อมหลวงไพจิตร สมรสกับพลเรือโทนฤดล บุราคำ
- 1.8 หม่อมราชวงศ์มีชัย สมรสกับชุลี (สกุลเดิม เอี่ยมกระสิทธุ์)
- หม่อมหลวงอังสนา ลีลายนกุล
- หม่อมหลวงจันทราวดี สงกราน
- หม่อมหลวงเผด็จ ชยางกูร
- 1.9 หม่อมราชวงศ์เชื้อชยาง สมรสกับนายแพทย์มณเฑียร บุนนาค
- มณทิรัช บุนนาค
- ลวลี บุนนาค
- 1.10 พันเอก (พิเศษ) หม่อมราชวงศ์จุมพล สมรสกับสุโข (สกุลเดิม เกตุพันธุ์)
- หม่อมหลวงพิศเพียงแข สมรสกับพลเอกวราห์ บุญญะสิทธิ์
- หม่อมหลวงพักตร์เพียงเพ็ญ ชยางกูร
- หม่อมหลวงพรรณเพียงเดือน สมรสกับพันตำรวจโทไพศิษฎ์ สังคหะพงศ์
- 1.11 หม่อมราชวงศ์ศุภชัย ชยางกูร
ค.ทายาทในหม่อมเจ้าผุดผ่องพรรณ ชยางกูร
- 1.12 หม่อมราชวงศ์ผ่องพรรณแสง ชยางกูร
- 1.13 หม่อมราชวงศ์แจลงพรรณศรี ชยางกูร
- 1.14 หม่อมราชวงศ์อภิรมณ์ ชยางกูร
- 1.15 หม่อมราชวงศ์สรรพจารี ชยางกูร
- 1.16 ร้อยตำรวจเอก หม่อมราชวงศ์เศวตวรชัย ชยางกูร สมรสกับขวัญเรือน (สกุลเดิม ใจพรมเมือง)
(2) หม่อมเจ้าวิเศษศักดิ์ ชยางกูร[แก้]
ก.ทายาทในหม่อมเจ้าเฉลียววรรณมาลา (ราชสกุลเดิม กมลาศม์)
- 2.1 หม่อมราชวงศ์เลอชัย สมรสกับโรซ่า (สกุลเดิม แอลเวียร์)
- หม่อมหลวงรัชฎาราศี ชยางกูร
- หม่อมหลวงราศี ชยางกูร
- หม่อมหลวงรูสบีมินดา ชยางกูร
ข.ทายาทในหม่อมศิลา (สกุลเดิม วสันตพฤกษ์)
- 2.2 หม่อมราชวงศ์ขุนพล ชยางกูร
- 2.3 หม่อมราชวงศ์ไชยพันธุ์ ชยางกูร
- 2.4 หม่อมราชวงศ์ขันธุ์แข่งแข ชยางกูร
- 2.5 หม่อมราชวงศ์แก่ชัย สมรสกับอมรา (สกุลเดิม รักษาสัจ)
- หม่อมหลวงพงศ์มหิป ชยางกูร
- หม่อมหลวงอดิศรณ์ ชยางกูร
- หม่อมหลวงพีระศักดิ์ สมรสกับทิพย์วรรณ
- หม่อมหลวงสิรินทร สมรสกับนิสากร
- 2.6 หม่อมราชวงศ์วัยวัฒนา ชยางกูร
- 2.7 หม่อมราชวงศ์สุชาดา สมรสกับพงศ์เดช มนตรีกุล ณ อยุธยา
- สุภาวดี มนตรีกุล ณ อยุธยา
- วรพงศ์ มนตรีกุล ณ อยุธยา
- สุรภี มนตรีกุล ณ อยุธยา
- สุรพร เกตุจินดา
- 2.8 หม่อมราชวงศ์สารีบุตร ชยางกูร
- 2.9 หม่อมราชวงศ์แสงโสม สมรสกับพลเรือตรีสุทิน ปูชนีย์
- กนกวรรณ แช่มประชุม
- ศักดิ์สิทธิ์ ปูชนีย์
- ศักดิ์ศิริ ปูชนีย์
(6) หม่อมเจ้าลักษณ์เลิศ ชยางกูร[แก้]
ก.ทายาทในหม่อมน้อมสิริ
- 6.1 หม่อมราชวงศ์เลิศลักษณ์ สมรสกับยินดี
- 6.2 หม่อมราชวงศ์เลิศลักษณา สมรสกับพยง ชุติกุล
- กอบศักดิ์ สมรสกับหม่อมหลวงลักษสุภา (สกุลเดิม กฤดากร)
- อาภาสิริ ชุติกุล
- ถิระ ชุติกุล
- สิริลักษณา สมรสกับฐิระวุฒิ คอมันตร์
- วสมน คอมันตร์
- ปัฐมน คอมันตร์
- สารกิต สมรสกับปราณี (สกุลเดิม วัฒนานันท์)
- กอบศักดิ์ สมรสกับหม่อมหลวงลักษสุภา (สกุลเดิม กฤดากร)
ข.ทายาท
- 6.3 หม่อมราชวงศ์ภคพล สมรสครั้งแรกและหย่ากับลักษณา (สกุลเดิม บุญสนอง) และสมรสครั้งที่สองกับพรสวรรค์ (สกุลเดิม วงศ์สาคร)
- หม่อมหลวงลิสา สมรสกับคริสโตเฟอร์ โจนส์
- มากาเร็ต โจนส์
- หม่อมหลวงอาภาริณี สมรสกับคริส ปีเตอร์สัน
- ปาร์คเกอร์ ปีเตอร์สัน
- แมกซ์ซี ปีเตอร์สัน
- หญิง ปีเตอร์สัน
- หม่อมหลวงฉัตรวิรัชยา ชยางกูร
- หม่อมหลวงลิสา สมรสกับคริสโตเฟอร์ โจนส์
(9) หม่อมเจ้าทวีผล ชยางกูร[แก้]
ทายาทในหม่อมฉอ้อน
- 9.1 หม่อมราชวงศ์อรรถทวี สมรสและหย่ากับอนันต์ สุขะศิริวัฒน์
- นันทนา เกียรติรักษ์
- ณัฐนันท์ พุทธวงศ์
- อัจฉริยา สมรสกับจุมพล อินทรสูต
- อนันญา สมรสกับปิยชนก ใจเย็น
- ศรายุทธ อินทรสูต
- อัจฉราวรรณ สมรสกับอำนาจ เลิศไกร
- อกนิษฐ์ เลิศไกร
- อดิศักดิ์ สมรสกับเสาวนิตย์
- นันทนา เกียรติรักษ์
- 9.2 หม่อมราชวงศ์ศุภชัยชนะ ชยางกูร
- หม่อมหลวงชัยภัทร ชยางกูร
- หม่อมหลวงสุพิชญา ชยางกูร
- 9.3 หม่อมราชวงศ์พงษ์พรรณ ชยางกูร
- 9.4 หม่อมราชวงศ์พิพัฒน์พงษ์ สมรสกับรัมภา
- หม่อมหลวงวัลลภา ชยางกูร
- ชัญญา ชินภัทรเจริญ
- กีรติกร ชินภัทรเจริญ
- ธนวัน ชินภัทรเจริญ
- หม่อมหลวงสุภาวดี ชยางกูร
- หม่อมหลวงมนตรี สมรสกับทิพยวรรณ (สกุลเดิม ใจเด็ด)
- มนต์ภักดี ชยางกูร ณ อยุธยา
- หม่อมหลวงรัชพล สมรสกับนันท์มนัส
- หม่อมหลวงวัลลภา ชยางกูร
(11) หม่อมเจ้ามงคลอุดม ชยางกูร[แก้]
ก.ทายาทในหม่อมเจ้าอุบลเกษร (ราชสกุลเดิม ศุขสวัสดิ์)
- 11.1 หม่อมราชวงศ์ไชยสุข สมรสกับพิศพรรณ (สกุลเดิม อารัมภีร)
- หม่อมหลวงอภิชัย สมรสกับสุวรัตน์ (สกุลเดิม ธีระวชิรานนท์)
- อภิรัตน์ ชยางกูร ณ อยุธยา
- เฉลิมพร สมรสกับฉัฐญาภรณ์ (สกุลเดิม ธีระภักดีพันธ์)
- วิกรม ชยางกูร ณ อยุธยา
- หม่อมหลวงพรรณพิมล สมรสกับชัยยศ จินดาอุดมเศรษฐ์
- หม่อมหลวงอุบลวดี สมรสกับทวีชัย เลิศอร่ามรัตน์
- สิโรบล เลิศอร่ามรัตน์
- หม่อมหลวงอภิชัย สมรสกับสุวรัตน์ (สกุลเดิม ธีระวชิรานนท์)
- 11.2 พันโท หม่อมราชวงศ์ธงชัย สมรสกับกาญจนา (สกุลเดิม ลิ้มวิไล)
- หม่อมหลวงทวีศักดิ์ ชยางกูร
- หม่อมหลวงเรวดี ชยางกูร
- เตชิต ชุลีวัฒนกุล
- หม่อมหลวงถวัลย์วดี สมรสกับพลตำรวจโทมนตรี สัมบุณณานนท์
- วัฐากร สัมบุณณานนท์
- หม่อมหลวงสุรัตวดี ชยางกูร
- กิติยาวดี อมาตยกุล
- หม่อมหลวงธวัชชัย ชยางกูร
- หม่อมหลวงจิราวดี สมรสกับวิวัฒน์ ผสมทรัพย์
- วิจิร์ ผสมทรัพย์
- แพทย์หญิงวิจิรา ผสมทรัพย์
- หม่อมหลวงสุทธิชัย สมรสกับนฤภรณ์
- ณัฐฐศศิ ชยางกูร ณ อยุธยา
- หม่อมหลวงมนัสนันท์ ชยางกูร
- 11.3 หม่อมราชวงศ์ไชยมงคล ชยางกูร
ข.ทายาทในหม่อมลมูล (สกุลเดิม ศุภวรรณ)
- 11.4 หม่อมราชวงศ์ศรีนาค นกแก้ว
- 11.5 หม่อมราชวงศ์วรรณี ชยางกูร
- 11.6 หม่อมราชวงศ์ชยานุพนธ์ ชยางกูร
- 11.7 หม่อมราชวงศ์ประมณฑศรี สมรสกับปรีชา ชัยอนันต์
- ชญาวดี ชัยอนันต์
- สิตาภา ชัยอนันต์ สมรสกับ ชีวินท์ ณ ถลาง
- 11.8 หม่อมราชวงศ์ประณีตา สมรสกับพันตำรวจเอกสำนอง พีรานนท์
- อุศณา พีรานนท์
- จิรัสยา พีรานนท์
- สัณฐิต พีรานนท์
- 11.9 หม่อมราชวงศ์ปรียาจรา ชยางกูร
- 11.10 หม่อมราชวงศ์แป๊ะ ชยางกูร
(13) หม่อมเจ้าวงษ์มหิป ชยางกูร[แก้]
ทายาทในหม่อมแมรี่
- 13.1 หม่อมราชวงศ์อรรควงษ์ เอกเซล ชยางกูร
- 13.2 หม่อมราชวงศ์พงษ์ชัย แพทริก ชยางกูร
(15) หม่อมเจ้าโสภาเพียงจันทร์ จันทรทัต[แก้]
ทายาทในหม่อมเจ้าอุรคินทร์ จันทรทัต
- 15.1 หม่อมราชวงศ์พงษ์จันทร์ สมรสกับพันตำรวจโทโชติศักดิ์ ภาษีผล
- ชยะพงษ์ ภาษีผล
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทัตดาว ภาษีผล
(17) หม่อมเจ้าจุฬาชัย ชยางกูร[แก้]
ทายาทในหม่อมเสงี่ยม
- 17.1 หม่อมราชวงศ์เผ่าชัย สมรสกับศรีสุดา (สกุลเดิม ตู้จินดา)
- หม่อมหลวงดิเรก สมรสกับปลิว
(18) หม่อมเจ้าฤทัยเที่ยง ชยางกูร[แก้]
ทายาทในหม่อมรจิต (สกุลเดิม ภิญโญวนิช)
- 18.1 หม่อมราชวงศ์ชยางค์ สมรสกับนภาพร (สกุลเดิม ชำนาญการ)
- หม่อมหลวงกิจติพล ชยางกูร
- หม่อมหลวงนฤดล ชยางกูร
(19) หม่อมเจ้าเวียงวัฒนา ชยางกูร[แก้]
ทายาทในหม่อมชมชื่น (สกุลเดิม โกมารกุล ณ นคร)
- 19.1 หม่อมราชวงศ์พงษ์ไชยา สมรสกับศรีรัตนา (สกุลเดิม กัณหะยูวะ)
- หม่อมหลวงรัตนพงษ์ ชยางกูร
- หม่อมหลวงอธิพรพงษ์ ชยางกูร
(20) หม่อมเจ้าวราชัย ชยางกูร[แก้]
ทายาทในหม่อมชูศรี
- 20.1 หม่อมราชวงศ์ถวัลย์ชัย สมรสกับรุ่งอรุณ (สกุลเดิม ชีพชล)
- หม่อมหลวงกุลยุวดี สมรสกับสุวัฒนา เลขยานนท์
- หม่อมหลวงจินดาภรณ์ ชยางกูร
- 20.2 หม่อมราชวงศ์จุฑาชัย สมรสกับปรียา (สกุลเดิม มาโนษยวงศ์)
(22) หม่อมเจ้าจรูญฤทธิ์เดช ชยางกูร[แก้]
ทายาทในหม่อมจรุงใจ
- 22.1 หม่อมราชวงศ์ชฎาทิพย์ ชยางกูร
- 22.2 หม่อมราชวงศ์มาลาทิพย์ สมรสกับพันตำรวจเอกภิญโญ ใหญ่ไล้บาง
- ร้อยตรี นายแพทย์อภิรม ใหญ่ไล้บาง
- ฤทธิไชย ใหญ่ไล้บาง
- กันตวัฒน์ ใหญ่ไล้บาง
- 22.3 หม่อมราชวงศ์จุฑาทิพย์ สมรสกับสุวัชชัย ปานพิพัฒน์
- อนัตตา ปานพิพัฒน์
สถานที่และสิ่งสืบเนื่องด้วยพระนาม[แก้]
- คลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต[29]
- ตลาดน้ำคลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต[30]
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212 หรือ ถนนชยางกูร (ถวายเกียรติแด่หม่อมเจ้าวิเศษศักดิ์ ชยางกูร[31])
พระเกียรติยศ[แก้]
พระอิสริยยศ[แก้]
- พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าไชยานุชิต (27 สิงหาคม พ.ศ. 2404 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411)
- พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าไชยานุชิต (1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 – 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2441)
- พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2441 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 – ปัจจุบัน)
ธรรมเนียมพระยศของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป | |
---|---|
![]() ธงประจำพระอิสริยยศ | |
การทูล | ใต้ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | พ่ะย่ะค่ะ/เพคะ |
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2441 –
เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.) (ฝ่ายหน้า)[32]
- พ.ศ. 2430 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[33]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)(ชื่อเดิม:จุลวราภรณ์)
- พ.ศ. 2433 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[34] (ชื่อเดิม:จุลสุราภรณ์)
- พ.ศ. 2420 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)(ชื่อเดิม:นิภาภรณ์)
- พ.ศ. 2429 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)[35] (ชื่อเดิม:มัณฑนาภรณ์)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ –
เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 4 ชั้นที่ 3 (ม.ป.ร.3)
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 3 (จ.ป.ร.3)
พงศาวลี[แก้]
พงศาวลีของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป[36] | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง[แก้]
- เชิงอรรถ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความกระทรวงพระธรรมการ แผนกพิพิธภัณท์
- ↑ "ประกาศกรมราชเลขานุการ เรื่อง พระราชทานนามสกุล สำหรับสืบเชื้อพระวงศ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น ๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 32 (0 ง): 137. 18 เมษายน พ.ศ. 2458. สืบค้นเมื่อ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2561.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา,การประชุมองคมนตรี
- ↑ ราชสกุลวงศ์, หน้า 69
- ↑ ส.พลายน้อย. พระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดาแห่งราชสำนักสยาม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : ฐานบุ๊คส์. 2554, หน้า 297
- ↑ "ข้อมูลโดยสังเขปหม่อมราชวงศ์ศุภดิศ ดิศกุล - สายสกุลของท้าวมังสี (ขำ)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-03. สืบค้นเมื่อ 2020-03-21.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-06. สืบค้นเมื่อ 2021-06-06.
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2436/030/319.PDF
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ข่าวตั้งรองอธิบดีหอรัษฎากรพิพัฒนแลผู้จัดการมิเวซียม เล่ม 4
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศกรมศึกษาธิการ เล่ม 6 หน้า 333
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ตำแหน่งข้าราชการกระทรวงธรรมการ เล่ม 9 หน้า 96-97
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวตั้งปริวีเคาน์ซิลเลอร์, เล่ม 4, หน้า 45
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, สัญญาบัตรปริวีเคาน์ซิลเลอร์, เล่ม 4, หน้า 47-48
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,มรรคนายกสำหรับวัด เล่ม 19 หน้า 208-209 23 มิถุนายน 2445
- ↑ https://www.sac.or.th/databases/siamrarebooksold/wachirayan/index.php/component/content/article/569[ลิงก์เสีย]
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2431/031/263.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2440/029/412.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2445/030/613.PDF
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ ในการพระราชทาน พระสุพรรณบัตร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 15 (33): 341–342. 13 พฤศจิกายน ร.ศ. 117. สืบค้นเมื่อ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2561.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา ,พระราชทานเครื่องยศ เล่ม 15 หน้า 343
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ คำนำพระนามพระบรมวงษานุวงษ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 15 (27): 1. 30 ตุลาคม ร.ศ. 129. สืบค้นเมื่อ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2561.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 หน้า 3197 2 กุมภาพันธ์ 2478
- ↑ http://drmlib.parliament.go.th/securepdf/p_203777.pdf[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, หมายกำหนดการ ที่ 15/2479 พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุวัดเทพศิรินทราวาส พุทธศักราช 2479 เล่ม 53, ตอน 0 ง, 17 มกราคม พ.ศ. 2479, หน้า 2640
- ↑ กรมศิลปากร (ผู้รวบรวม). (2495). สาสน์สมเด็จ ลายพระหัตถ์สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ (ภาค 8 และภาค 9). พระนคร: โรงพิมพ์กรุงศิลป์. (พิมพ์ในงานฌาปนกิจศพคุณหญิงเหลียน นครไภยพิเฉท ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495). หน้า 46.
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2435/001/4.PDF
- ↑ 27.00 27.01 27.02 27.03 27.04 27.05 27.06 27.07 27.08 27.09 27.10 27.11 27.12 27.13 27.14 27.15 27.16 นราธิปประพันธ์พงศ์, กรมพระ, 2404-2474, ผู้รวบรวม. บาญชีมหามกุฏราชสันตติวงศ์ พุทธศก 2468 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงรวบรวม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, พ.ศ. 2468. 167 หน้า.
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2488/D/046/1301.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2470/D/878.PDF
- ↑ https://cities.trueid.net/central/samut-prakarn/%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%8A%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%95-trueidintrend_6614
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2493/D/067/6377.PDF
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เล่ม ๑๕ หน้า ๓๔๓
- ↑ พระราชพิธีฉัตรมงคล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๔ หน้า ๒๘๕
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2433/044/399.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2429/046/385_1.PDF
- ↑ ข้อมูลโดยสังเขปหม่อมราชวงศ์ศุภดิศ ดิศกุล - ราชสกุลสายพระยาอัพภันตริกามาตย์ (ดิศ โรจนดิศ)
- ↑ ธงทอง จันทรางศุ. ในกำแพงแก้ว. กรุงเทพฯ : เอส.ซี.พริ้นท์แอนด์แพค, พิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2550, หน้า 113
- บรรณานุกรม
- สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 14, กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. หน้า 69. ISBN 978-974-417-594-6
- Jeffy Finestone. 2542. สมุดพระรูป พระราชโอรส พระราชธิดา พระราชนัดดาใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. ปรียนันทนา รังสิต,ม.ร.ว. โลมาโฮลดิ้ง
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
ก่อนหน้า | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาณีรัตนกัญญา | ![]() |
กุลเชษฐ์ในราชวงศ์จักรี (24 – 28 มกราคม พ.ศ. 2479) |
![]() |
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ |
![]() |
บทความเกี่ยวกับชีวประวัตินี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2404
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2479
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4
- พระองค์เจ้าชาย
- กรมหมื่น
- พระราชโอรสในรัชกาลที่ 4
- องคมนตรีในรัชกาลที่ 5
- ราชสกุลชยางกูร
- สกุลโรจนดิศ
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.จ.ก. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว. (ฝ่ายหน้า)
- พระกุลเชษฐ์ในราชวงศ์จักรี
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์