พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นชาญไชยบวรยศ
พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นชาญไชยบวรยศ | |
---|---|
พระราชวรวงศ์เธอ ชั้น 5 พระองค์เจ้าชั้นโท | |
![]() | |
พระบุตร | 8 องค์ |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ |
พระมารดา | จอมมารดาปริกเล็ก |
ประสูติ | 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2413 |
สิ้นพระชนม์ | 29 สิงหาคม พ.ศ. 2463 (50 ปี) |
รับใช้ | กรมราชองครักษ์ กระทรวงกลาโหม |
---|---|
ชั้นยศ | ![]() |
นายพันเอก พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นชาญไชยบวรยศ (25 กรกฎาคม พ.ศ. 2413 – 29 สิงหาคม พ.ศ. 2463) ประสูติเมื่อวันจันทร์ เดือน 8 แรม 13 ค่ำ ปีมะเมีย โทศก จุลศักราช 1232 ตรงกับวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2413 พระนามเดิมว่า พระบวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากาญจโนภาสรัศมี เป็นพระราชโอรสในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ประสูติแต่จอมมารดาปริกเล็ก เป็นต้นราชสกุลกาญจนะวิชัย ออกพระนามโดยทั่วไปว่า พระองค์ชายกลาง พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นชาญไชยบวรยศ ทรงเริ่มเข้ารับราชการในกรมทหารรักษาพระองค์ จนได้เลื่อนยศเป็น "พันโท ราชองครักษ์ประจำการ" จากนั้นทรงย้ายไปดำรงตำแหน่ง "ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 14" เมื่อถึงกำหนดได้กลับมารับราชการเป็นราชองครักษ์ประจำการและเลื่อนยศเป็น "นายพันเอก" ต่อมาได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นผู้บังคับการกองดับเพลิงสวนดุสิต และในปี พ.ศ. 2452 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ออกจากตำแหน่งราชองครักษ์ประจำการ เป็นสารวัตรทหารบกบริเวณฝ่ายเหนือ
ต่อมาในปี พ.ศ. 2451 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น กรมหมื่นชาญไชยบวรยศ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2451
นายพันเอก พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นชาญไชยบวรยศ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 6 เมื่ออาทิตย์ เดือน 9 ขึ้น 15 ค่ำ ปีมะเมีย โทศก จุลศักราช 1282 ตรงกับวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2463 สิริพระชันษา 51 ปี พระราชทานเพลิง ณ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2469
พระโอรส-พระธิดา[แก้]
พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นชาญไชยบวรยศ เป็นต้นราชสกุลกาญจนะวิชัย มีพระโอรส-พระธิดา 8 องค์ ได้แก่
- หม่อมเจ้าหญิงสุคนธมาลย์รัศมี กาญจนะวิชัย (พ.ศ. 2432 – พ.ศ. 2470)
- หม่อมเจ้ารัตโนภาษ หรือ หม่อมเจ้ารัตโนภาษเพ็ญจันทร์ กาญจนะวิชัย ต.จ. (พ.ศ. 2436 – พ.ศ. 2521) เสกสมรสครั้งแรกกับหม่อมเอิบ กาญจนะวิชัย ณ อยุธยา และทรงรับน้องสาวของหม่อมเอิบมาเป็นหม่อมด้วยอีกคน คือ หม่อมปฐม กาญจนะวิชัย ณ อยุธยา แต่ต่อมาทรงหย่าขาดกับหม่อมเอิบและหม่อมปฐม จนในปี พ.ศ. 2477 ทรงเสกสมรสใหม่กับหม่อมสนิท กาญจนะวิชัย ณ อยุธยา (สกุลเดิม สิงหเสนี; ธิดาพระยาสิงห์เสนี (สอาด สิงหเสนี) ต่อมาในปี พ.ศ. 2486 หม่อมสนิทถึงแก่กรรม หม่อมเจ้ารัตโนภาษจึงเสกสมรสใหม่อีกครั้งกับหม่อมอรุณ กาญจนะวิชัย ณ อยุธยา มีโอรสและธิดากับหม่อมต่างๆดังนี้
- หม่อมราชวงศ์แสงแก้ว กาญจนะวิชัย มีหม่อมเอิบเป็นมารดา
- หม่อมราชวงศ์หญิงสุวรรณโณภาศ กาญจนะวิชัย มีหม่อมปฐมเป็นมารดา
- หม่อมราชวงศ์หญิงวรนาถนารี กาญจนะวิชัย มีหม่อมปฐมเป็นมารดา
- หม่อมราชวงศ์โอภาส กาญจนะวิชัย มีหม่อมสนิทเป็นมารดา
- หม่อมราชวงศ์หญิงโศภา กาญจนะวิชัย มีหม่อมหม่อมสนิทเป็นมารดา
- หม่อมราชวงศ์หญิงจันทร์เพ็ญ กาญจนะวิชัย มีหม่อมอรุณเป็นมารดา
- หม่อมเจ้ากาญจนวิจิตร กาญจนะวิชัย (พ.ศ. 2439 – 26 เมษายน พ.ศ. 2472; พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ)
- หม่อมเจ้าหญิงพานสุคนธ์ หรือ หม่อมเจ้าหญิงพานทองสุคนธ์ กาญจนะวิชัย (พ.ศ. 2440 – พ.ศ. 2518)
- หม่อมเจ้าหญิงสุวรรณรัศมี กาญจนะวิชัย (พ.ศ. 2441 – พ.ศ. 2519)
- หม่อมเจ้าหญิงศิริวรรณา กาญจนะวิชัย (พ.ศ. 2445 – พ.ศ. 2523)
- หม่อมเจ้าหญิงแจ่มจำรัส กาญจนะวิชัย (1 มกราคม พ.ศ. 2460 – พ.ศ. 2538) เสกสมรสกับหม่อมเจ้าพุฒิสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ์ (พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงอดิศรอุดมเดช)
- หม่อมเจ้าหญิงสุพรรณโนมาศ กาญจนะวิชัย (พ.ศ. 2461 – พ.ศ. 2539) ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์เพื่อสมรสกับสามัญชน
พระอิสริยยศ[แก้]
- พระบวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากาญจโนภาสรัศมี (25 กรกฎาคม พ.ศ. 2413 – 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2451)
- พระบวรวงศ์เธอ กรมหมื่นชาญไชยบวรยศ (16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2451 – 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2454)
- พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นชาญไชยบวรยศ (15 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 – 29 สิงหาคม พ.ศ. 2463)
พระยศ[แก้]
- พ.ศ. 2430 ร้อยตรี[1]
- พ.ศ. 2431 ร้อยโท[2]
- 12 ตุลาคม พ.ศ. 2435 พันตรี[3]
- 3 เมษายน พ.ศ. 2444 พันโท[4]
- 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2451 พันเอก[5]
ตำแหน่ง[แก้]
- 11 เมษายน พ.ศ. 2441 ราชองครักษ์ประจำการ[6]
- 16 ธันวาคม พ.ศ. 2445 ออกจากราชองครักษ์ประจำการ เป็นผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 4[7]
- 16 เมษายน พ.ศ. 2446 ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 2[8]
- 3 กันยายน พ.ศ. 2447 ราชองครักษ์ประจำการ[9]
- มกราคม พ.ศ. 2452 ออกจากราชองครักษ์ประจำการ เป็นสารวัตรทหารบกบริเวณฝ่ายเหนือ[10]
- สิงหาคม พ.ศ. 2454 เจ้ากรมเสบียงทหารบก[11]
- เมษายน พ.ศ. 2455 ออกจากประจำการ[12]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2449 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[13](ชื่อเดิม:มหาสุราภรณ์)
- พ.ศ. 2451 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[14]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น 5 เบญจมาภรณ์ช้างเผือก (บ.ช.)[15] (ชื่อเดิม:ทิพยาภรณ์)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[15]
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ -
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 3 (จ.ป.ร.3)[15]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ข่าวพระราชทานสัญญาบัตร
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรข้าราชการฝ่ายทหารและพลเรือน (หน้า 162)
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรทหาร
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก
- ↑ รายนามผู้ที่เป็นราชองครักษ์
- ↑ แจ้งความกรมยุทธนาธิการ
- ↑ แจ้งความกรมยุทธนาธิการ
- ↑ แจ้งความกรมยุทธนาธิการ
- ↑ แจ้งความกรมยุทธนาธิการ
- ↑ แจ้งความกระทรวงกลาโหม
- ↑ แจ้งความกระทรวงกลาโหม
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
- ↑ พระราชทายพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้า
- ↑ 15.0 15.1 15.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อบาญชี
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-221-818-8
- บรรเจิด อินทุจันทร์ยง. ราชสกุลพระบรมราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : องค์การค้าของคุรุสภา, พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2539. หน้า หน้าที่. ISBN 974-005-650-8
- ศ. วรพัทธ์ทวีโชติ. เฉลิมพระยศเจ้านาย ฉะบับมีพระรูป. [ม.ป.ท.] : [ม.ป.พ.], [ม.ป.ป.]. หน้า หน้าที่.