พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นเชษฐาธิเบนทร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นเชษฐาธิเบนทร์
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 3
พระองค์เจ้าชั้นเอก
ประสูติ4 พฤษภาคม พ.ศ. 2358
สิ้นพระชนม์14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2405 (46 ปี)
หม่อมหม่อมราชวงศ์เอี่ยม
พระบุตร9 องค์
ราชสกุลโกเมน
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาเจ้าจอมมารดาเฟือง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นเชษฐาธิเบนทร์[1] (4 พฤษภาคม พ.ศ. 2358 – 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2404) มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าโกเมน เป็นพระราชโอรสลำดับที่ 11 ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นลำดับที่ 2 ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเฟือง เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 6 แรม 11 ค่ำ ปีกุน สับตศก จุลศักราช 1177 ตรงกับวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2358

ในปี พ.ศ. 2394 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนา พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโกเมน ขึ้นเป็น พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นเชษฐาธิเบนทร์[2]

พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นเชษฐาธิเบนทร์ สิ้นพระชนม์เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 3 แรม 2 ค่ำ ปีระกา ตรีศก จุลศักราช 1223 ตรงกับวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2404 (แบบสากล คือ พ.ศ. 2405) สิริพระชันษา 46 ปี

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นเชษฐาธิเบนทร์ เป็นต้นราชสกุล โกเมน ณ อยุธยา โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามราชสกุลแก่หม่อมหลวงวงศ์ ผู้ขอ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2459 เป็นสกุลอันดับที่ 3202 ตามประกาศวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2459

พระโอรสและพระธิดา[แก้]

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นเชษฐาธิเบนทร์ มีพระโอรสและพระธิดา 9 องค์ ได้แก่[3]

  1. หม่อมเจ้าหญิงนารี โกเมน (ประสูติ พ.ศ. 2382)
  2. หม่อมเจ้าหญิงถัด โกเมน
  3. หม่อมเจ้าหญิงอ่าง โกเมน (10 กรกฎาคม พ.ศ. 2383 – 6 มีนาคม พ.ศ. 2459; พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2465) ประสูติแด่หม่อมราชวงศ์หญิงเอี่ยม โกเมน (ราชสกุลเดิม: ปาลกะวงศ์)
  4. หม่อมเจ้า (ไม่ปรากฏพระนาม)
  5. หม่อมเจ้า (ไม่ปรากฏพระนาม)
  6. หม่อมเจ้า (ไม่ปรากฏพระนาม)
  7. หม่อมเจ้าหญิงวณิดา[4] (พ.ศ. 2388 – 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2435; พระราชทานเพลิง ณ วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2438)
  8. หมม่อมเจ้าชายศักดิ์ศรี (พ.ศ. 2394 – 19 สิงหาคม พ.ศ. 2433)
  9. หม่อมเจ้าหญิงสถิตย (พ.ศ. 2395 – 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2418)

พระอิสริยยศ[แก้]

ธรรมเนียมพระยศของ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นเชษฐาธิเบนทร์
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ
  • 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2358 – 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 : หม่อมเจ้าโกเมน
  • 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 – 2 เมษายน พ.ศ. 2394 : พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าโกเมน
  • 2 เมษายน พ.ศ. 2394 – 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2394 : พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโกเมน
  • 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2394 – 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2404 : พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นเชษฐาธิเบนทร์
  • 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 : พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นเชษฐาธิเบนทร์

พงศาวลี[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 14, กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. หน้า 39. ISBN 978-974-417-594-6
  2. พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ ๔ : ๑๒. ตั้งกรมเจ้านาย
  3. ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า 130. ISBN 974-221-818-8
  4. "พระราชทานเพลิง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 12 (9): 73–74. 2 มิถุนายน พ.ศ. 2438. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)