เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไอยรา
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไอยรา | |
---|---|
![]() | |
ประเภท | เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นเดียว |
วันสถาปนา | พ.ศ. 2236 |
ประเทศ | ![]() |
ผู้สมควรได้รับ | พระบรมวงศานุวงศ์และประมุขแห่งรัฐต่างประเทศที่มีความสัมพันธไมตรีต่อประเทศเดนมาร์ก |
สถานะ | ยังมีการมอบ |
ผู้สถาปนา | สมเด็จพระเจ้าคริสเตียนที่ 5 แห่งเดนมาร์ก |
ประธาน | สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก |
สถิติการมอบ | |
รายแรก | สมเด็จพระเจ้าคริสเตียนที่ 5 แห่งเดนมาร์ก |
รายล่าสุด | เจ้าหญิงอิงกริด อเล็กซันดราแห่งนอร์เวย์ |
ลำดับเกียรติ | |
สูงกว่า | ไม่มี |
รองมา | เครื่องราชอิสริยาภรณ์แดนเนอโบร |
หมายเหตุ | ![]() แพรแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ |
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไอยรา หรือ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้าง (เดนมาร์ก: Elefantordenen) เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งประเทศเดนมาร์ก และเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดของประเทศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ถูกสร้างขึ้นตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 แต่สร้างเสร็จอย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 2236 ในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าคริสเตียนที่ 5 แห่งเดนมาร์ก[1] และบรรจุอยู่ในรัฐธรรมนูญของประเทศใน พ.ศ. 2392 เครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้จะพระราชทานให้สำหรับพระบรมวงศานุวงศ์และประมุขรัฐของต่างประเทศเท่านั้น[2]
ประวัติ[แก้]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ เริ่มสร้างตั้งแต่ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยมีความเชื่อมาจากพระแม่มารีอุ้มพระโอรสของพระนางไว้ภายในวงพระจันทร์เสี้ยว และล้อมรอบด้วยแสงอาทิตย์ และถูกห้อยจากคอเสื้อเป็นรูปช้างจึงเป็นที่มาของสายสร้อยของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ แม้จะมีการปฏิรูปประเทศไปแล้วใน พ.ศ. 2079 แต่ก็ยังคงมีการพระราชทานต่อเนื่องมาในสมัยสมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 2 แห่งเดนมาร์ก จนกระทั่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ถูกปรับปรุงใหม่ในแบบปัจจุบันในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าคริสเตียนที่ 5 แห่งเดนมาร์ก เมื่อ พ.ศ. 2236 และเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ถูกกำหนดในรัฐธรรมนูญของประเทศตั้งแต่ พ.ศ. 2392 เดิมเครื่องราชอิสริยาภรณ์ี้จำกัดไว้เฉพาะพระมหากษัตริย์และพระราชโอรสของพระมหากษัตริย์ รวมถึงบุรุษ แต่ต่อมาใน พ.ศ. 2501 เครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้สามารถพระราชทานให้แก่สตรีได้
ลักษณะของเครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- สายสร้อย : ทำด้วยทองคำ ประกอบด้วยรูปช้างและหอคอยสลับกันไปมา บนตัวรูปช้างมีตัวอักษร "D" ซึ่งย่อมาจาก "Dania" มักจะสวมในช่วงเทศกาลปีใหม่ หรือพิธีการสำคัญของประเทศ
- ดวงตรา : เป็นรูปช้างที่ทำด้วยทองคำขาว ตัวเรือนสีฟ้า มีความสูงประมาณ 5 เซนติเมตร ด้านหลังรูปช้างซ้อนด้วยรูปหอนาฬิกาที่ทำด้วยอิฐเคลือบสีชมพู ล้อมรอบด้วยเพชรขนาดเล็กที่ผ่านการเจียระไน และมีรูปควาญช้างสวมชุดหลากสีนั่งอยู่บนหลังช้างและถือไม้เท้าทองคำ โดยดวงตราจะห้อยกับสายสร้อยหรือสายสะพาย[3]
- ดารา : มีลักษณะเป็นดาวสีเงินแปดแฉก ตรงกลางเป็นพื้นสีแดง ประดับด้วยไม้กางเขนสีขาว โดยประดับอยู่ที่หน้าอกด้านซ้าย
- สายสะพาย : เป็นผ้าไหมมัวร์สีฟ้าอ่อน สำหรับบุรุษกว้าง 10 เซนติเมตร สหรับสตรีกว้าง 6 เซนติเมตร ใช้สะพายจากบ่าขวาเฉียงลงทางซ้าย
สมาชิกแห่งราชอิสริยาภรณ์[แก้]
สมาชิกปัจจุบันแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไอยรา เรียงตามวันที่ได้รับการถวาย/พระราชทาน[แก้]
- 20 เมษายน 1947: สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก ประธานแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (
เดนมาร์ก)
- 20 เมษายน 1947: เจ้าหญิงเบเนดิกเทอแห่งเดนมาร์ก (
เดนมาร์ก)[4]
- 20 เมษายน 1947: สมเด็จพระราชินีอันเนอ-มารีแห่งกรีซ ขณะนั้นคือ เจ้าหญิงอันเนอ-มารีแห่งเดนมาร์ก (
เดนมาร์ก)[4]
- 8 สิงหาคม 1953: จักรพรรดิอากิฮิโตะแห่งญี่ปุ่น ขณะนั้นคือ มกุฎราชกุมารอากิฮิโตะ (
ญี่ปุ่น)[4]
- 21 กุมภาพันธ์ 1958: สมเด็จพระราชาธิบดีฮารัลด์ที่ 5 แห่งนอร์เวย์ (
นอร์เวย์)[4]
- 6 กันยายน 1960: สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ บรมราชชนนีพันปีหลวง ขณะนั้นคือ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ (
ไทย) [4]
- 17 กุมภาพันธ์ 1961: เคานต์อิงกลอฟแห่งโรเซินบอร์ก ขณะนั้นคือ เจ้าชายแห่งเดนมาร์ก (
เดนมาร์ก) [4]
- 4 มกราคม 1962: สมเด็จพระราชาธิบดีกอนสตันดีโนสที่ 2 แห่งกรีซ เจ้าชายแห่งเดนมาร์ก (
กรีซ)[4]
- 3 พฤษภาคม 1963: สมเด็จพระจักรพรรดินีฟาราห์แห่งอิหร่าน (
อิหร่าน)[4]
- 11 กันยายน 1964: เจ้าหญิงไอรีนแห่งกรีซและเดนมาร์ก (
กรีซ)[4]
- 11 กันยายน 1964: เจ้าชายไมเคิลแห่งกรีซและเดนมาร์ก (
กรีซ) [4]
- 12 มกราคม 1965: สมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 16 กุสตาฟแห่งสวีเดน ขณะนั้นคือ มกุฎราชกุมารคาร์ล กุสตาฟ (
สวีเดน)[4]
- 28 กันยายน 1965: เจ้าชายมาซาฮิโตะ ฮิตาจิโนะมิยะแห่งญี่ปุ่น (
ญี่ปุ่น) [4]
- 18 มิถุนายน 1968: สมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 2 แห่งเบลเยียม (
เบลเยียม)[4]
- 14 มกราคม 1972: เจ้าชายเฟรเดอริก มกุฎราชกุมารแห่งเดนมาร์ก (
เดนมาร์ก)
- 14 มกราคม 1972: เจ้าชายโจอาคิมแห่งเดนมาร์ก (
เดนมาร์ก)
- 16 มกราคม 1973: เจ้าหญิงคริสตินาแห่งสวีเดน นางแม็กนูซัน (
สวีเดน)[4]
- 12 กุมภาพันธ์ 1973: สมเด็จพระราชินิซอนยาแห่งนอร์เวย์ (
นอร์เวย์)[4]
- 30 เมษายน 1974: สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร ขณะนั้นคือ เจ้าชายแห่งเวลส์ (
สหราชอาณาจักร)[4]
- 29 ตุลาคม 1975: เจ้าหญิงเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์ ต่อมาคือ สมเด็จพระราชินีนาถ (
เนเธอร์แลนด์)[4]
- 17 มีนาคม 1980: สมเด็จพระราชาธิบดีฆวน การ์โลสที่ 1 แห่งสเปน (
สเปน)[4]
- 17 มีนาคม 1980: สมเด็จพระราชินีโซเฟียแห่งสเปน (
สเปน)[4]
- 25 กุมภาพันธ์ 1981: วิกดิส ฟินโบกาดาตีร์ อดีตประธานาธิบดีสาธารณรัฐไอซ์แลนด์ (
ไอซ์แลนด์)[4]
- 25 มิถุนายน 1984: อังตอนียู รามัลยู ยานึช อดีตประธานาธิบดีสาธารณรัฐโปรตุเกส (
โปรตุเกส)[4]
- 3 กันยายน 1985: สมเด็จพระราชินีซิลเวียแห่งสวีเดน (
สวีเดน)[4]
- 20 กรกฎาคม 1991: เจ้าชายโฮกุน มกุฎราชกุมารแห่งนอร์เวย์ (
นอร์เวย์)[4]
- 13 ตุลาคม 1992: เจ้าหญิงมาร์ธา ลุยเซอแห่งนอร์เวย์ (
นอร์เวย์)[4]
- 5 กรกฎาคม 1993: เลค วาเลซา อดีตประธานาธิบดีสาธารณรัฐโปแลนด์ (
โปแลนด์)[4]
- 7 กันยายน 1994: มาร์ตติ อะห์ติซาริ อดีตประธานาธิบดีสาธารณรัฐฟินแลนด์ (
ฟินแลนด์)[4]
- 16 พฤษภาคม 1995: สมเด็จพระราชินีเปาลาแห่งเบลเยียม (
เบลเยียม)[4]
- 14 กรกฎาคม 1995: เจ้าหญิงวิกตอเรีย มกุฎราชกุมารีแห่งสวีเดน (
สวีเดน)[4]
- 17 พฤศจิกายน 1995: อเล็กซันดรา เคาน์เตสแห่งเฟรเดอริกสบอร์ก เดิม เจ้าหญิงอเล็กซันดรา เคาน์เตสแห่งเฟรเดอริกสบอร์ก (
เดนมาร์ก)[4]
- 18 พฤศจิกายน 1996: โอลาฟือร์ แรกนาร์ กริมส์สัน อดีตประธานาธิบดีสาธารณรัฐไอซ์แลนด์ (
ไอซ์แลนด์)[4]
- 14 มกราคม 1997: เจ้าชายปัฟโลส มกุฎราชกุมารแห่งกรีซ เจ้าชายแห่งเดนมาร์ก (
กรีซ) [4]
- 18 มีนาคม 1997: กุนติส อุลมานิส อดีตประธานาธิบดีสาธารณรัฐลัตเวีย (
ลัตเวีย)[4]
- 31 มกราคม 1998: สมเด็จพระราชาธิบดีวิลเลม-อเล็กซานเดอร์แห่งเนเธอร์แลนด์ เดิม เจ้าชายวิลเลม-อเล็กซานเดอร์ เจ้าชายแห่งออร์เรนจ์ (
เนเธอร์แลนด์)[4]
- 27 เมษายน 1998: สมเด็จพระราชินีนูร์แห่งจอร์แดน (
จอร์แดน)[4]
- 2 มิถุนายน 1998: สมเด็จพระจักรพรรดินีมิจิโกะแห่งญี่ปุ่น (
ญี่ปุ่น)[4]
- 3 พฤษภาคม 1999: เฟร์นังดู เอ็งรีกี การ์โดซู อดีตประธานาธิบดีสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล (
บราซิล)[4]
- 23 พฤษภาคม 2000: เอมิล คอนสแตนติเนสคู อดีตประธานาธิบดีสาธารณรัฐโรมาเนีย (
โรมาเนีย)[4]
- 17 ตุลาคม 2000: พีตาร์ สโตยานอฟ อดีตประธานาธิบดีสาธารณรัฐบัลแกเรีย (
บัลแกเรีย)[4]
- 7 กุมภาพันธ์ 2001: พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เดิม สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร (
ไทย)[4]
- 3 เมษายน 2001: ตารยา ฮาโลเนน อดีตประธานาธิบดีสาธารณรัฐฟินแลนด์ (
ฟินแลนด์)[4]
- 10 ตุลาคม 2001: มิลาน คูชาน อดีตประธานาธิบดีสาธารณรัฐสโลวีเนีย (
สโลวีเนีย)[4]
- 28 พฤษภาคม 2002: สมเด็จพระราชาธิบดีฟิลีปแห่งเบลเยียม เดิม เจ้าชายฟิลีป ดยุกแห่งบราบันต์ (
เบลเยียม)[4]
- 20 ตุลาคม 2003: แกรนด์ดยุกอ็องรีแห่งลักเซมเบิร์ก (
ลักเซมเบิร์ก)[4]
- 20 ตุลาคม 2003: แกรนด์ดัชเชสมาเรีย เตเรซาแห่งลักเซมเบิร์ก (
ลักเซมเบิร์ก)[4]
- 16 มีนาคม 2004: ไอออน อิเลียสกู อดีตประธานาธิบดีสาธารณรัฐโรมาเนีย (
โรมาเนีย)[4]
- 9 เมษายน 2004: เจ้าหญิงแมรี มกุฎราชกุมารีแห่งเดนมาร์ก พระวรชายา (
เดนมาร์ก)[4]
- 16 พฤศจิกายน 2004: สมเด็จพระจักรพรรดินารูฮิโตะแห่งญี่ปุ่น ขณะนั้นคือ มกุฎราชกุมารนารูฮิโตะ (
ญี่ปุ่น)[4]
- 29 มีนาคม 2006: จอร์จี้ ปาร์วานอฟ อดีตประธานาธิบดีสาธารณรัฐบัลแกเรีย (
บัลแกเรีย)[4]
- 12 กันยายน 2007: ลูอิส อีนาซียู ลูลา ดา ซิลวา อดีตประธานาธิบดีสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล (
บราซิล)[4]
- 18 กุมภาพันธ์ 2008: ฟิลิป แคลเดรอน ฮิโนโฆซา อดีตประธานาธิบดีสาธารณรัฐเม็กซิโก (
เม็กซิโก)[4]
- 24 พฤษภาคม 2008: เจ้าหญิงมารีแห่งเดนมาร์ก พระชายาในเจ้าชายโจอาคิมแห่งเดนมาร์ก (
เดนมาร์ก)[4]
- 11 พฤษภาคม 2011: ลี มย็อง-บัก อดีตประธานาธิบดีสาธารณรัฐเกาหลี (
เกาหลีใต้)[4]
- 23 ตุลาคม 2012: อีวาน กาสพาโรวิก อดีตประธานาธิบดีสาธารณรัฐสโลวาเกีย (
สโลวาเกีย)
- 4 เมษายน 2013: เซาลี นีนิสเตอ ประธานาธิบดีสาธารณรัฐฟินแลนด์ (
ฟินแลนด์)
- 17 พฤษภาคม 2014: เจ้าหญิงเม็ตเตอ-มาริต มกุฎราชกุมารีแห่งนอร์เวย์ พระวรชายา (
นอร์เวย์)
- 21 ตุลาคม 2014: อิโว โยซิโปวิช อดีตประธานาธิบดีสาธารณรัฐโครเอเชีย (
โครเอเชีย)
- 17 มีนาคม 2015: สมเด็จพระราชินีมักซิมาแห่งเนเธอร์แลนด์ (
เนเธอร์แลนด์)
- 13 เมษายน 2016: เอนริเก เปญญา นิเอโต อดีตประธานาธิบดีสาธารณรัฐเม็กซิโก (
เม็กซิโก)
- 24 มกราคม 2017: กืดนี โทลาเซียส โยฮาเนสสัน ประธานาธิบดีสาธารณรัฐไอซ์แลนด์ (
ไอซ์แลนด์)
- 28 มีนาคม 2017: สมเด็จพระราชินีมาตีลด์แห่งเบลเยียม (
เบลเยียม)
- 28 สิงหาคม 2018: แอมานุแอล มาครง ประธานาธิบดีสาธารณรัฐฝรั่งเศส (
ฝรั่งเศส)
- 10 พฤศจิกายน 2021: ฟรังค์-วัลเทอร์ ชไตน์ไมเออร์ ประธานาธิบดีสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (
เยอรมนี)
- 21 มกราคม 2022: เจ้าหญิงอิงกริด อเล็กซันดราแห่งนอร์เวย์ (
นอร์เวย์)[5]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Rosenborg Slot – Objects[ลิงก์เสีย]
- ↑ "The Royal Orders of Chivalry". The Danish Monarchy. 14 January 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 March 2011. สืบค้นเมื่อ 1 March 2011.
- ↑ In an article entitled "Has anyone seen our elephant?" The 1 July 2004 issue of the Copenhagen Post reported that the original mold for the elephant badge had been stolen from the court jeweler, Georg Jensen.
- ↑ 4.00 4.01 4.02 4.03 4.04 4.05 4.06 4.07 4.08 4.09 4.10 4.11 4.12 4.13 4.14 4.15 4.16 4.17 4.18 4.19 4.20 4.21 4.22 4.23 4.24 4.25 4.26 4.27 4.28 4.29 4.30 4.31 4.32 4.33 4.34 4.35 4.36 4.37 4.38 4.39 4.40 4.41 4.42 4.43 4.44 4.45 4.46 4.47 4.48 4.49 4.50 4.51 Official List of Knights of the Order of the Elephant เก็บถาวร 16 กรกฎาคม 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. (ในภาษาเดนมาร์ก) อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "borger" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน - ↑ Kongehuset
![]() |
บทความเกี่ยวกับเครื่องอิสริยาภรณ์หรือเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |