พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจินดา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจินดา
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 3
พระองค์เจ้าชั้นเอก
ประสูติ16 ตุลาคม พ.ศ. 2370
สิ้นพระชนม์พ.ศ. 2392
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาเจ้าจอมมารดาพลับ ในรัชกาลที่ 3

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจินดา (16 ตุลาคม พ.ศ. 2370 – พ.ศ. 2392) เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาพลับ

พระประวัติ[แก้]

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจินดา ประสูติเมื่อวันอังคารที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2370[1] เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 50 ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาพลับ (ธดาของพระยาอินทราทิศ (จุ้ย)

เมื่อปี พ.ศ. 2392 ในสยามเกิดอหิวาตกโรคระบาดอย่างหนักไปทั่วทุกหนแห่ง ผู้คนเสียชีวิตมากมาย พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าจินดา ประชวรด้วยพระโรคอหิวาในเหตุการณ์ครั้งนั้น ปรากฏใน พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 ว่า

"ฝ่ายที่กรุงเทพมหานคร เมื่อเดือน ๗ แรม ๑ ค่ำ เกิดความไข้ป่วงทั้งแผ่นดิน ไข้นั้นเป็นมาแต่ประเทศฝ่ายทะเล เป็นมาแต่เมืองฝ่ายตะวันตกขึ้นมาก่อน ไข้นั้นเป็นขึ้นมาถึงกรุงเทพมหานคร เป็นขึ้นไปจนถึงเมืองฝ่ายเหนือ เสียพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าเฉลิมวงศ์องค์ ๑ พระองค์เจ้าจินดาองค์ ๑ พระราชธิดา พระองค์เจ้าพวงแก้วองค์ ๑ เสนาบดี เจ้าพระยาบดินทรเดชา ๑..."[2]

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจินดา สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. 2392 สิริพระชันษา 22 ปี พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร เมื่อปี พ.ศ. 2393[3]

พระองค์มีพระโอรสพระธิดา 3 องค์ โดยราชสกุลนี้ไม่มีนามสกุลพระราชทาน เนื่องจากในสมัยรัชกาลที่ 6 ซึ่งมีการพระราชทานนามสกุลให้แก่พระราชวงศ์นั้น สมาชิกในราชสกุลนี้ไม่มีใครหลงเหลืออยู่แล้ว

  1. หม่อมเจ้าแดง
  2. หม่อมเจ้าหญิงยุพา
  3. หม่อมเจ้าดารารัตน์ (พ.ศ. 2391 – 28 มีนาคม พ.ศ. 2421)

พระอิสริยยศ[แก้]

ธรรมเนียมพระยศของ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจินดา
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ
  • พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าจินดา (16 ตุลาคม พ.ศ. 2370 – พ.ศ. 2392)

ภายหลังสิ้นพระชนม์

  • พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจินดา (สมัยรัชกาลที่ 4 – รัชกาลที่ 6)
  • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจินดา (สมัยรัชกาลที่ 6)

พงศาวลี[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (2554). ราชสกุลวงศ์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. p. 48. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2013-09-17.
  2. [1]
  3. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์, จดหมายเหตุบัญชีน้ำฝน เล่ม 1, (พระนคร : ราชบัณฑิตยสภา, 2471) หน้า 15.