ข้ามไปเนื้อหา

กรมขุนสุนทรภูเบศร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กรมขุนสุนทรภูเบศร์
พระบุตรหม่อมเจ้าดวง
หม่อมเจ้าก้อง
หม่อมเจ้าเม่น
อ้น
เจ้าจอมมารดาเขียว
ราชวงศ์จักรี (สถาปนา)

กรมขุนสุนทรภูเบศร์ (จีนเรือง สุนทรกุล ณ ชลบุรี)[1] หรือ กรมขุนสุนทรภูเบศร (เรือง)[2] มีพระนามเดิมว่า เรือง[3] หรือ จีนเรือง[4] เป็นเศรษฐีชาวเมืองบางปลาสร้อย (ชลบุรี) ที่เคยถวายการอุปการะสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเมื่อครั้งยกทัพไปตีเมืองจันทบุรี ภายหลังพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็นเจ้านาย ด้วยเกี่ยวข้องกับราชวงศ์จักรีจากการเป็นภราดาร่วมสาบานกับสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท

กรมขุนสุนทรภูเบศร์เป็นต้นราชสกุล "สุนทรกุล ณ ชลบุรี" ถือเป็นหนึ่งในราชสกุลของราชวงศ์จักรี[5] และทายาทบางสายใช้สกุล "สุนทรมนูกิจ"[3]

พระประวัติ

[แก้]

กรมขุนสุนทรภูเบศร์ แต่เดิมเป็นเศรษฐีเมืองบางปลาสร้อย มีพระนามเดิมว่า "เรือง" หรือ "จีนเรือง" ที่ทรงอุปการะสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เมื่อครั้งเสด็จยกทัพไปตีเมืองจันทบูร มีความสนิทชิดเชื้อกับสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทมาก ถึงขั้นร่วมสาบานเป็นภราดรภาพคือเป็นพี่น้องร่วมสาบานกัน[6]

ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงปราบดาภิเษก จึงโปรดเกล้าฯ สถาปนา "จีนเรือง" ขึ้นเป็นเจ้านาย นามว่า "หม่อมเรือง" ต่อมาได้สถาปนาเป็นเจ้าราชนิกูล[7]: 16  ด้วยความชอบด้านสงครามว่า "เจ้าบำเรอภูธร"[7]: 16  (บ้างว่า หม่อมเจ้าบำเรอภูธร)[3], "กรมหมื่นสุนทรภูเบศร์"[3] และจนท้ายที่สุดได้สถาปนาที่พระยศที่ "กรมขุนสุนทรภูเบศร์"[4][7]: 16  ตามลำดับ ดังพระราชประสงค์ของสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท[3] ภายหลังพระราชทานให้ทรงสร้างวังอยู่ปากคลองวัดชนะสงคราม (หรือปากคลองโรงไหม) ตรงข้ามวังหน้า

กรมขุนสุนทรภูเบศร์ สิ้นพระชนม์เมื่อใดไม่ปรากฏทราบแต่เพียงว่าน่าจะสิ้นพระชนม์หลังปี พ.ศ. 2348 เพราะมีหลักฐานว่าในปีนั้นพระองค์ยังมีพระชนม์ชีพอยู่[8] หลังการสิ้นพระชนม์ วังปากคลองโรงไหมได้ตกเป็นของเจ้าฟ้าอิศราพงศ์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3

ผู้สืบเชื้อสาย

[แก้]
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอดุลยลักษณสมบัติ ทายาทกรมขุนสุนทรภูเบศร์ ต้นราชสกุล อุไรพงศ์

กรมขุนสุนทรภูเบศร์ ทรงมีโอรส-ธิดาอยู่จำนวนหนึ่ง ที่บางท่านมีฐานันดรศักดิ์เป็น "หม่อมเจ้า" ซึ่งอาจได้รับพระราชทานเป็นรายบุคคลตามพระราชประสงค์เท่านั้น[9] โดยพระโอรสและธิดาเท่าที่ปรากฏพระนามและนาม ได้แก่

กรมขุนสุนทรภูเบศร์ ทรงเป็นต้นสกุล "สุนทรกุล ณ ชลบุรี" เป็นนามสกุลพระราชทานลำดับที่ 4603 พระราชทานให้แก่หม่อมหลวงจาบ ตามราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 35 หน้า 1719 พระราชทานเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2461 สำหรับบรรดาผู้สืบสกุลโดยตรงลงมาจากกรมขุนสุนทรภูเบศร์ นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2485 หลวงสุนทรมนูกิจ (ทิพย์ สุนทรกุล ณ ชลบุรี) ได้ขอพระบรมราชานุญาตใช้ราชทินนามเป็นนามสกุลใหม่ว่า "สุนทรมนูกิจ"[9]

พระอิสริยยศ

[แก้]
  • หม่อมเรือง
  • เจ้าบำเรอภูธร (บ้างว่า หม่อมเจ้าบำเรอภูธร)
  • กรมหมื่นสุนทรภูเบศร์
  • กรมขุนสุนทรภูเบศร์

อ้างอิงและเชิงอรรถ

[แก้]
  1. ประโยชน์ เนื่องจำนงค์. พระประวัติ กรมขุนสุนทรภูเบศร์ (จีนเรือง สุนทรกุล ณ ชลบุรี). พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานทำบุญคล้ายวันสิ้นชีพิตักษัย ปีที่ 10 ของนายนารถ มนตเสวี อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี 10 มิถุนายน พ.ศ. 2528
  2. ประชุมประกาศรัชกาลที่ 4 ภาคปกิรณกะ ส่วนที่ 1. กรุงเทพฯ : หอพระสมุดวชิรญาณ. 2467, หน้า 84-7
    "...แต่กรมหมื่นนรินทรพิทักษ (มุข) ๑ กรมขุนสุนทรภูเบศร (เรือง) ๑ ไม่ได้ยินใครเรียกคำหน้าพระนามว่ากระไรเลยมาแต่เดิม..."
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 "ราชสกุลวงศ์" (PDF). กรมศิลปากร, สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 16 พฤษภาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. 4.0 4.1 จุลลดา ภักดีภูมินทร์. "จีนกุน จีนเรือง จีนมั่วเส็ง," เวียงวัง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : อักษรโสภณ, 2551. หน้า 38-43.
  5. ราชสกุลวงศ์, หน้า 243
  6. "พระเจ้าวรวงศ์เธอ (ตอนที่ ๓)". ราชบัณฑิตยสถาน. 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2552. สืบค้นเมื่อ 16 พฤษภาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  7. 7.0 7.1 7.2 ทิพากรวงษ์มหาโกษาธิบดี (ขำ), เจ้าพระยา. (2445). พระราชพงษาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ เก็บถาวร 2023-02-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. พระนคร: โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ. 275 หน้า.
  8. ประกาศเรื่องบำเพ็ญพระราชกุศลเทศน์มหาชาติในรัชชกาลที่ 1. พระนคร:ราชบัณฑิตยสภา. 2474, หน้า 3
  9. 9.0 9.1 ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า 288. ISBN 974-221-818-8

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]