ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมคิด จาตุศรีพิทักษ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{กล่องข้อมูล นักการเมือง
{{กล่องข้อมูล นักการเมืองอิอิ
| name = สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
| name = สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
| image = SomkidJat2006.JPG
| image = SomkidJat2006.JPG

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:49, 21 กุมภาพันธ์ 2562

แม่แบบ:กล่องข้อมูล นักการเมืองอิอิ

รองศาสตราจารย์ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ปัจจุบันเป็นรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประธานกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ[1] รองประธานกรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เฉพาะกิจ) กรรมการในคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง อดีตรองนายกรัฐมนตรี ดูแลด้านเศรษฐกิจ และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร และเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหลายสมัย และยังเป็นที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติและอดีตสมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 122/2557

ประวัติ

รศ.ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เกิดเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2496 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นคนไทยเชื้อสายจีนฮกเกี้ยน จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา จบการศึกษา ปริญญาตรีเศรษฐศาสตร์การคลัง และเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และต่อปริญญาโท MBA สาขาบริหารการเงิน สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และ ปริญญาเอก สาขาบริหารธุรกิจ เน้นการจัดการด้านการตลาด ที่ มหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น สหรัฐอเมริกา ชีวิตส่วนตัว สมรสกับ นางอนุรัชนี จาตุศรีพิทักษ์ (สกุลเดิม "ภิงคารวัฒน์") ในปี พ.ศ. 2550 เขาได้รับการแต่งตั้งเป็น ศาสตราภิชาน สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

มีบุตร 3 คน ได้แก่ นายณภัทร จาตุศรีพิทักษ์ สมรสกับ อาจารย์ วณิศรา บุญยะลีพรรณ นายณพล จาตุศรีพิทักษ์ และเด็กชายณฉัตร จาตุศรีพิทักษ์ เขาเป็นลูกพี่ลูกน้องกับ นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ อภิรดี ตันตราภรณ์

การทำงาน

งานการเมือง

  • เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (ดร.ทนง พิทยะ)
  • ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)
  • ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)
  • ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (ศ.ดร.สม จาตุศรีพิทักษ์)
  • ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการอุตสาหกรรม สภาผู้แทนราษฎร
  • 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 9 ตุลาคม พ.ศ. 2544 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
  • 9 ตุลาคม พ.ศ. 2544 – 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 รองนายกรัฐมนตรี
  • 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 – 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
  • 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 – 9 มีนาคม พ.ศ. 2547 รองนายกรัฐมนตรี
  • 10 มีนาคม พ.ศ. 2547 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
  • 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 รองนายกรัฐมนตรี[2]
  • 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
  • 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์[3]
  • 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 – 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ประธานคณะกรรมการประสานงานและกระชับความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

ชีวิตภายหลังการรัฐประหาร 2549

ดร.สมคิด ได้ชื่อว่าเป็นขุนพลเศรษฐกิจคนสำคัญของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โดยที่นโยบายประชานิยมหรือนโยบายเศรษฐกิจหลายอย่างก็มาจากแนวความคิดของ ดร.สมคิดเอง ในระหว่างการทำงานการเมืองได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่มีภาพลักษณ์ดี เพราะเก่งกาจ มีความเชี่ยวชาญสามารถคนหนึ่ง และได้ชื่อว่าบางครั้งก็ไม่ทำตามนโยบายหรือแนวทางของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กำหนดไว้เสมอไป

หลังรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ได้ทำการลาออกจากการเป็น สมาชิกพรรคไทยรักไทย หลังจากนั้นได้เป็นหนึ่งในตัวแทนกลุ่มมัชฌิมา หลังจากนั้นเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ให้เป็นผู้ทำความเข้าใจเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงกับต่างชาติโดยเฉพาะไทยกับญี่ปุ่น แต่เป็นได้เพียงไม่กี่วันก็ลาออกไป เนื่องจากแรงกดดันจากหลายฝ่าย ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[4] จากนั้นจึงร่วมในการก่อตั้งพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา โดยทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาพรรค

ในวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2552 เขาขึ้นศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เป้นโจทก์ฟ้องความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ฉ้อโกง ผู้ใช้ ผู้สนับสนุน ความผิดต่อพระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ ความผิดต่อพระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีคำพิพากษายกฟ้อง[5]

ดร.สมคิด ยังนับได้ว่าเป็นผู้ที่มีอิทธิพลในฐานะแกนนำกลุ่ม ส.ส. ซึ่งสื่อมวลชนให้ชื่อกลุ่มแกนนำนี้ว่า "8ส.+ส.พิเศษ" อันประกอบด้วย สมศักดิ์ เทพสุทิน สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล สุวิทย์ คุณกิตติ สุวัจน์ ลิปตพัลลภ สุรนันทน์ เวชชาชีวะ สนธยา คุณปลื้ม และสรอรรถ กลิ่นประทุม ส่วน ส.พิเศษ คือ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์[6]

หลังการรัฐประหาร 2557

ดร.สมคิด ได้เข้ารับหน้าที่ที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งนำโดยพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ดูแลรับผิดชอบเป็นที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจ ท่ามกลางกระแสข่าวความขัดแย้งกับหม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ จนกระทั่งในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2558 ดร.สมคิด จึงได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ และปรับให้หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี เขาเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ กรณีกระทรวงการคลังไล่ออกนายสาธิต รังคสิริ พ้นจากตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการคลัง ตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2559[7]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/E/096/14.PDF
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และแต่งตั้งรัฐมนตรีราชกิจจานุเบกษา เล่ม 122 ตอนพิเศษ 57ง 2 สิงหาคม 2548
  4. เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!
  5. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2552/A/082/9.PDF
  6. บุญจง ยัน ภท.มีเอกภาพ ปัดสมคิด เป็นหัวหน้า [ลิงก์เสีย]
  7. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/E/043/7.PDF
  8. ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย (ชั้นสายสะพาย ในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๔๕) เล่ม 119 ตอนที่ 21ข วันที่ 4 ธันวาคม 2545
  9. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกีรติยศยิ่งมงกุฎไทย (ชั้นสายสะพาย ในวโรกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๔๔)

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ถัดไป
หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล
ยงยุทธ ยุทธวงศ์
ไฟล์:Seal Prime Minister of Thailand.png
รองนายกรัฐมนตรี (ครม. 61)
(19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 – ปัจจุบัน)
อยู่ในวาระ
สุวิทย์ คุณกิตติ รองนายกรัฐมนตรี (ครม. 54)
(9 ตุลาคม พ.ศ. 2544 – 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545)
จาตุรนต์ ฉายแสง
นายแพทย์ พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช
วิษณุ เครืองาม
สุวัจน์ ลิปตพัลลภ
พินิจ จารุสมบัติ
สมศักดิ์ เทพสุทิน
รองนายกรัฐมนตรี (ครม. 55)
(11 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549)
หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
ธารินทร์ นิมมานเหมินท์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (ครม. 54)
(17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546)
ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ
ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (ครม. 5455)
(10 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548)
ทนง พิทยะ
ทนง พิทยะ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (ครม. 55)
(2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549)
เกริกไกร จีระแพทย์