คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 61

หน้าถูกกึ่งป้องกัน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คณะรัฐมนตรีประยุทธ์ 1
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 61 แห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ. 2557 - 2562
วันแต่งตั้ง30 สิงหาคม พ.ศ. 2557
วันสิ้นสุด10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
(4 ปี 314 วัน)
บุคคลและองค์กร
พระมหากษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (ถึง 2559)
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (เริ่ม 2559)
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
รองนายกรัฐมนตรี
จำนวนรัฐมนตรี17
จำนวนอดีตรัฐมนตรี42
จำนวนรัฐมนตรีทั้งหมด59
ประวัติ
การเลือกตั้ง
การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี21 สิงหาคม พ.ศ. 2557
สภานิติบัญญัติสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
วาระสภานิติบัญญัติไม่ได้กำหนดไว้
งบประมาณพ.ศ. 2558
พ.ศ. 2559
พ.ศ. 2560
พ.ศ. 2561
พ.ศ. 2562
ก่อนหน้าคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 60
ถัดไปคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 62

คณะรัฐมนตรีคณะที่ 61 (30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 – 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562) คณะรัฐมนตรีไทย ซึ่งจัดตั้งขึ้นตาม พระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี ลงวันที่ 31 สิงหาคม 2557 ภายหลังรัฐประหารในนามคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และการแต่งตั้ง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีตาม พระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 24 สิงหาคม 2557 โดยลำดับ เป็นคณะรัฐมนตรีไทย คณะแรกที่ ประกาศใช้ กฎอัยการศึก ทั้งประเทศ ยาวนานที่สุดในบรรดาคณะรัฐมนตรีไทย โดยใช้ระหว่าง 20 พฤษภาคม 2557 ถึง 1 เมษายน 2558[1]และเป็นคณะรัฐมนตรีที่อยู่เกิน 4 ปี ในรอบ 13 ปี นับจาก คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 54

การแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี

ในวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรมีพระบรมราชโองการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 19 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรี (ตามรายนามข้างล่าง) ประกาศ ณ วันที่ 30 สิงหาคม 2557 โดยมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

การถวายสัตย์ปฏิญาณ

เมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2557 เวลา 18:03 น. พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเสด็จออก ณ ห้องประชุมสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ชั้น 14 อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นำคณะรัฐมนตรีเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่[2]ในการนี้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นำคณะรัฐมนตรี กล่าวถวายสัตย์ปฏิญาณว่า “ข้าพระพุทธเจ้า จะจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อ ประโยชน์ของประเทศและประชาชน ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ”[3]

รายชื่อคณะรัฐมนตรี

รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ดำรงตำแหน่งเมื่อตั้งคณะรัฐมนตรี ดำรงตำแหน่งจนสิ้นสุดคณะรัฐมนตรี
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง แต่งตั้งเพิ่ม เปลี่ยนแปลง/โยกย้ายไปตำแหน่งอื่น
รัฐมนตรีลอย ย้ายมาจากตำแหน่งอื่น ออกจากตำแหน่ง


คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 61
ตำแหน่ง ลำดับ รายนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ หมายเหตุ
นายกรัฐมนตรี * พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา 24 สิงหาคม พ.ศ. 2557 9 มิถุนายน พ.ศ. 2562
รองนายกรัฐมนตรี 1 พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ปรับออกจากตำแหน่ง
ยงยุทธ ยุทธวงศ์ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ปรับออกจากตำแหน่ง
พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ปรับออกจากตำแหน่ง
2 วิษณุ เครืองาม 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ลาออกจากตำแหน่ง
พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ปรับออกจากตำแหน่ง
3 สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ลาออกจากตำแหน่ง
สำนักนายกรัฐมนตรี หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ไปเป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
สุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ไปเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ออมสิน ชีวะพฤกษ์ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ปรับออกจากตำแหน่ง
สุวิทย์ เมษินทรีย์ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ไปเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ลาออกจากตำแหน่ง
กอบศักดิ์ ภูตระกูล 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 29 มกราคม พ.ศ. 2562 ลาออกจากตำแหน่ง
กลาโหม * พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
พลเอก อุดมเดช สีตบุตร 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ปรับออกจากตำแหน่ง
4 พลเอก ชัยชาญ ช้างมงคล 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
การคลัง สมหมาย ภาษี 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ปรับออกจากตำแหน่ง
5 อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ลาออกจากตำแหน่ง
การต่างประเทศ พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ปรับออกจากตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
6 ดอน ปรมัตถ์วินัย 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
ดอน ปรมัตถ์วินัย 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ไปเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
วีระศักดิ์ ฟูตระกูล 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ลาออกจากตำแหน่ง
การท่องเที่ยวและกีฬา กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ปรับออกจากตำแหน่ง
วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ลาออกจากตำแหน่ง
การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ไปเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ลาออกจากตำแหน่ง
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(เปลี่ยนชื่อเป็นกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม
เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2562)
พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ไปเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
อรรชกา สีบุญเรือง 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ปรับออกจากตำแหน่ง
สุวิทย์ เมษินทรีย์ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 29 มกราคม พ.ศ. 2562 ลาออกจากตำแหน่ง
เกษตรและสหกรณ์ ปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ปรับออกจากตำแหน่ง
พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ไปเป็น รองนายกรัฐมนตรี
7 กฤษฎา บุญราช 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
อำนวย ปะติเส 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ปรับออกจากตำแหน่ง
ชุติมา บุณยประภัศร 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ไปเป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
ลักษณ์ วจนานวัช 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ลาออกจากตำแหน่ง
8 วิวัฒน์ ศัลยกำธร 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
คมนาคม พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ไปเป็นรองนายกรัฐมนตรี
9 อาคม เติมพิทยาไพสิฐ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
อาคม เติมพิทยาไพสิฐ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ไปเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
ออมสิน ชีวะพฤกษ์ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ไปเป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
พิชิต อัคราทิตย์ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ปรับออกจากตำแหน่ง
10 ไพรินทร์ ชูโชติถาวร 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ไปเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ลาออกจากตำแหน่ง
ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
(อดีตกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
พรชัย รุจิประภา 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ปรับออกจากตำแหน่ง
อุตตม สาวนายน 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 12 กันยายน พ.ศ. 2559 ลาออกจากตำแหน่ง
11 พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
พลังงาน ณรงค์ชัย อัครเศรณี 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ปรับออกจากตำแหน่ง
พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ไปเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
12 ศิริ จิระพงษ์พันธ์ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
พาณิชย์ พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ไปเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
อภิรดี ตันตราภรณ์ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ปรับออกจากตำแหน่ง
สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 29 มกราคม พ.ศ. 2562 ลาออกจากตำแหน่ง
อภิรดี ตันตราภรณ์ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ไปเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
สุวิทย์ เมษินทรีย์ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ไปเป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ไปเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
13 ชุติมา บุณยประภัศร 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
มหาดไทย 14 พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
สุธี มากบุญ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ลาออกจากตำแหน่ง
ยุติธรรม พลเอก ไพบูลย์ คุ้มฉายา 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ลาออกจากตำแหน่ง[4] เพื่อไปดำรงตำแหน่งองคมนตรี[5]
สุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ไปเป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ลาออกจากตำแหน่ง
แรงงาน พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ไปเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ลาออกจากตำแหน่ง
พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ลาออกจากตำแหน่ง
วัฒนธรรม 15 วีระ โรจน์พจนรัตน์ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
ศึกษาธิการ พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ไปเป็นรองนายกรัฐมนตรี
พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ลาออกจากตำแหน่ง[6] เพื่อไปดำรงตำแหน่งองคมนตรี[7]
ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ลาออกจากตำแหน่ง
กฤษณพงศ์ กีรติกร 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ปรับออกจากตำแหน่ง
พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ลาออกจากตำแหน่ง
ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ไปเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ปรับออกจากตำแหน่ง
อุดม คชินทร 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ลาออกจากตำแหน่ง
สาธารณสุข รัชตะ รัชตะนาวิน 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ปรับออกจากตำแหน่ง
16 ปิยะสกล สกลสัตยาทร 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ปรับออกจากตำแหน่ง
อุตสาหกรรม จักรมณฑ์ ผาสุกวนิช 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ปรับออกจากตำแหน่ง
อรรชกา สีบุญเรือง 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ไปเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
อุตตม สาวนายน 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559 29 มกราคม พ.ศ. 2562 ลาออกจากตำแหน่ง
สมชาย หาญหิรัญ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ลาออกจากตำแหน่ง

คณะรัฐมนตรีประยุทธ์ 1 [8] [9]

ดำรงตำแหน่งเมื่อตั้งคณะรัฐมนตรี

  • พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ) เป็น นายกรัฐมนตรี
  • พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ (รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ) เป็น รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
  • หม่อมราชวงศ์ ปรีดิยาธร เทวกุล เป็น รองนายกรัฐมนตรี
  • ศาสตราจารย์ ดร. ยงยุทธ ยุทธวงศ์ เป็น รองนายกรัฐมนตรี
  • พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร (รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ) เป็น รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ
  • ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. วิษณุ เครืองาม เป็น รองนายกรัฐมนตรี
  • หม่อมหลวง ปนัดดา ดิศกุล เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  • นาย สุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  • พลเอก อุดมเดช สีตบุตร เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
  • นาย สมหมาย ภาษี เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
  • นาย ดอน ปรมัตถ์วินัย เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
  • นาง กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา
  • พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว (รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ) เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
  • นาย ปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • พลอากาศเอก ดร. ประจิน จั่นตอง (รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ) เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
  • นาย อาคม เติมพิทยาไพสิฐ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
  • พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • ดร. พรชัย รุจิประภา เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  • ดร. ณรงค์ชัย อัครเศรณี เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
  • พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
  • นาง อภิรดี ตันตราภรณ์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
  • พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
  • นายกองเอก สุธี มากบุญ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
  • พลเอก ไพบูลย์ คุ้มฉายา เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
  • พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
  • นาย วีระ โรจน์พจนรัตน์ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
  • ดร. พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย (รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ) เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  • ดร. กฤษณพงศ์ กีรติกร เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  • พลโท สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ยศในขณะนั้น)
  • ศาสตราจารย์ นายแพทย์ รัชตะ รัชตะนาวิน เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
  • นายแพทย์ สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
  • นาย จักรมณฑ์ ผาสุกวนิช เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

คณะรัฐมนตรีประยุทธ์ 2[10]

แต่งตั้งเพิ่ม

  • นาย วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
  • นาย อำนวย ปะติเส เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

คณะรัฐมนตรีประยุทธ์ 3[11]

ถูกปรับออกจากตำแหน่ง

  • หม่อมราชวงศ์ ปรีดิยาธร เทวกุล (รองนายกรัฐมนตรี)
  • ศาสตราจารย์ ดร. ยงยุทธ ยุทธวงศ์ (รองนายกรัฐมนตรี)
  • พลเอก ดร. ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ)
  • นาย สมหมาย ภาษี (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง)
  • นาย ปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
  • นาย อำนวย ปะติเส (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
  • ดร. พรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
  • ดร. ณรงค์ชัย อัครเศรณี (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน)
  • ดร. กฤษณพงศ์ กีรติกร (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ)
  • ศาสตราจารย์ นายแพทย์ รัชตะ รัชตะนาวิน (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข)
  • นายแพทย์ สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข)
  • นาย จักรมณฑ์ ผาสุกวนิช (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม)

โยกย้าย

  • พลอากาศเอก ดร. ประจิน จั่นตอง (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม) เป็น รองนายกรัฐมนตรี
  • พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ) เป็น รองนายกรัฐมนตรี
  • นาย ดอน ปรมัตถ์วินัย (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ) เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
  • พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์) เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • นาย อาคม เติมพิทยาไพสิฐ (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม) เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
  • พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน) เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • นาง อภิรดี ตันตราภรณ์ (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์) เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
  • พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

แต่งตั้งเพิ่ม

  • ศาสตราภิชาน ดร. สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็น รองนายกรัฐมนตรี
  • นาย อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
  • นาย ออมสิน ชีวะพฤกษ์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
  • ดร. อุตตม สาวนายน เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  • พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
  • เภสัชกร สุวิทย์ เมษินทรีย์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
  • พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
  • นายแพทย์ ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  • ศาสตราจารย์คลินิก กิตติคุณ นายแพทย์ ปิยะสกล สกลสัตยาทร เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
  • ดร. อรรชกา สีบุญเรือง เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

คณะรัฐมนตรีประยุทธ์ 4 [12]

โยกย้าย

  • นาย ออมสิน ชีวะพฤกษ์ (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม) เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  • เภสัชกร สุวิทย์ เมษินทรีย์ (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์) เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  • ดร. พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี) เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
  • นาย สุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ (รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี) เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
  • ดร. อรรชกา สีบุญเรือง (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม) เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • นายแพทย์ ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ) เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  • หม่อมหลวง ปนัดดา ดิศกุล (รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี) เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  • ดร. อุตตม สาวนายน เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

แต่งตั้งเพิ่ม

  • นาย วีระศักดิ์ ฟูตระกูล เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
  • นางสาว ชุติมา บุณยประภัศร เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • ดร. พิชิต อัคราทิตย์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
  • นาย สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์

คณะรัฐมนตรีประยุทธ์ 5 [13]

ถูกปรับออกจากตำแหน่ง

  • พลเอก ดร. ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร (รองนายกรัฐมนตรี)
  • พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย (รองนายกรัฐมนตรี)
  • นาย ออมสิน ชีวะพฤกษ์ (รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี)
  • พลเอก อุดมเดช สีตบุตร (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม)
  • นาง กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา)
  • ดร. พิชิต อัคราทิตย์ (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม)
  • นาง อภิรดี ตันตราภรณ์ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์)
  • ดร. อรรชกา สีบุญเรือง (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)
  • หม่อมหลวง ปนัดดา ดิศกุล (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ)

โยกย้าย

  • พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์) เป็น รองนายกรัฐมนตรี
  • นาย สุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม) เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  • พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน) เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
  • นาย สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์) เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
  • นางสาว ชุติมา บุณยประภัศร (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์) เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
  • พลอากาศเอก ดร. ประจิน จั่นตอง (รองนายกรัฐมนตรี) เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม อีกตำแหน่งหนึ่ง
  • พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์) เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
  • เภสัชกร สุวิทย์ เมษินทรีย์ (รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี) เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

แต่งตั้งเพิ่ม

  • ดร. กอบศักดิ์ ภูตระกูล เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  • พลเอก ชัยชาญ ช้างมงคล เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
  • นาย วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
  • นายกองเอก กฤษฎา บุญราช เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • นาย ลักษณ์ วจนานวัช เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • นาย วิวัฒน์ ศัลยกำธร เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • นาย ไพรินทร์ ชูโชติถาวร เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
  • ดร. ศิริ จิระพงษ์พันธ์ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
  • ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์ อุดม คชินทร เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์(พิเศษ) สมชาย หาญหิรัญ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

ภายหลังคณะรัฐมนตรีประยุทธ์ 5

รัฐมนตรีจำนวน 4 ราย ได้ลาออกจากตำแหน่ง มีผลวันที่ 30 มกราคม 2562 ดังนี้[14]

  • นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  • นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
  • นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

รัฐมนตรีจำนวน 15 ราย ได้ลาออกจากตำแหน่ง โดยมีผลสิ้นสุดในวันที่ 9 พฤษภาคม 2562 จำนวน 14 ราย และวันที่ 10 พฤษภาคม 2562 จำนวน 1 ราย (นายลักษณ์ วจนานวัช) ดังนี้[15]

  • พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
  • พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี
  • นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  • นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
  • นายวีระศักดิ์ ฟูตระกูล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
  • นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
  • พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
  • นายสุธี มากบุญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
  • พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
  • นายธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  • พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  • นายอุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  • นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
  • นายลักษณ์ วจนานวัช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (มีผลวันที่ 10 พฤษภาคม)

อ้างอิง

  1. ประกาศใช้ กฎอัยการศึก ทั้งประเทศ ยาวนานที่สุดในบรรดาคณะรัฐมนตรีไทย
  2. ครม.ประยุทธ์เข้าเฝ้าถวายสัตย์ ในหลวง
  3. พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ นายกรัฐมนตรี นำคณะรัฐมนตรี ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง เฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่[ลิงก์เสีย]
  4. ประกาศลาออกจากตำแหน่ง
  5. ประกาศแต่งตั้งองคมนตรี
  6. ประกาศลาออกจากตำแหน่ง
  7. ประกาศแต่งตั้งองคมนตรี
  8. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี ลงวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557
  9. ในหลวงร.9 โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ครม.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แล้ว
  10. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
  11. พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และแต่งตั้งรัฐมนตรี ลงวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558
  12. พระราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และแต่งตั้งรัฐมนตรี ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559
  13. พระราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และแต่งตั้งรัฐมนตรี ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
  14. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง รัฐมนตรีลาออก (จำนวน 4 ท่าน)
  15. ราชกิจจานุเบกษา, รัฐมนตรีลาออก, เล่มที่ ๑๓๖, ตอน พิเศษ ๑๑๘ ง, ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒, หน้า ๑

แหล่งข้อมูลอื่น