คำนูณ สิทธิสมาน
คำนูณ สิทธิสมาน | |
---|---|
สมาชิกวุฒิสภา | |
ดำรงตำแหน่ง 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2498 |
คู่สมรส | สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน |
คำนูณ สิทธิสมาน (เกิด 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2498[1]) นักการเมืองและสื่อมวลชนชาวไทย สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 อดีตสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ปริญญาตรีจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยในระหว่างที่เรียนมีบทบาทเป็นเลขาธิการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (ศนท.) ในปี พ.ศ. 2518
คำนูณมีส่วนร่วมในเหตุการณ์ 14 ตุลา และเหตุการณ์ 6 ตุลา ได้ทำงานหนังสือพิมพ์แนวการเมืองหลายฉบับในช่วงเวลานี้ เช่น สู่อนาคต, ไทยนิกร, จัตุรัส เป็นต้น เป็นผู้สัมภาษณ์พระเทพกิตติปัญญาคุณ (กิตติวุฑโฒ ภิกขุ) ในหนังสือพิมพ์จัตุรัส "ฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป" ก่อนเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลา ไม่นาน[2][ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้]
ในปี พ.ศ. 2533 เข้าทำงานในเครือผู้จัดการมาจนปัจจุบัน โดยปัจจุบันมีตำแหน่งเป็นบรรณาธิการอาวุโสของเครือผู้จัดการ มีผลงานประจำทั้งคอลัมนิสต์ จัดรายการวิทยุ และพิธีกรรายการโทรทัศน์ เช่น เมืองไทยรายสัปดาห์ เป็นต้น
หลังเหตุการณ์รัฐประหารในปี พ.ศ. 2549 คำนูณได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในสัดส่วนของสื่อมวลชน ในต้นปี พ.ศ. 2551 คำนูณได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 10 จาก การสรรหาสมาชิกวุฒิสภาไทย พ.ศ. 2551จากที่ประชุมของคณะกรรมการสรรหา ซึ่งบทบาทของคำนูณถูกมองว่าอยู่ในกลุ่ม 40 ส.ว.
ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2554 คำนูณได้รับเลือกให้กลับมาเป็นสมาชิกวุฒิสภาแบบสรรหาอีกครั้งหนึ่ง พร้อมกับกลุ่ม 40 ส.ว. ส่วนใหญ่[3]และต่อมาได้เป็นสมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 11
หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ[4] และกรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกฎหมาย[5] ในปี พ.ศ. 2562 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา[6]
ครอบครัว
[แก้]คำนูณ สิทธิสมาน สมรสกับ สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน มีบุตรชาย 2 คน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2556 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
- พ.ศ. 2560 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 3 ตติยดิเรกคุณาภรณ์ (ต.ภ.)[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "คำนูณ สิทธิสมาน ศูนย์ข้อมูลการเมืองไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-11. สืบค้นเมื่อ 2010-03-02.
- ↑ คุณคำนูณ - คุณแอ๊ด คาราบาว เคยเป็นส่วนหนึ่งของพคท.แน่หรือครับ
- ↑ เพื่อไทยจวกคัดเลือกส.ว.ได้ชุดทายาทอสูร[ลิงก์เสีย] จากกรุงเทพธุรกิจ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ เล่ม 132 ตอน 239 ง พิเศษ หน้า 3 5 ตุลาคม 2558
- ↑ กรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกฎหมาย
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๓, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2013-12-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๑๓, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาถรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๐ เก็บถาวร 2017-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๘ ข หน้า ๓, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
- เครือผู้จัดการ
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2498
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- นักหนังสือพิมพ์ชาวไทย
- บรรณาธิการหนังสือพิมพ์
- นักเขียนชาวไทย
- คอลัมนิสต์
- นักจัดรายการวิทยุ
- พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- สมาชิกวุฒิสภาไทยแบบสรรหา
- สมาชิกวุฒิสภาไทยแบบแต่งตั้ง
- สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ
- บุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 14 ตุลา
- บุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 6 ตุลา
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต.ภ.
- บุคคลจากกรุงเทพมหานคร