อร่าม รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อร่าม รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์
เกิด24 สิงหาคม พ.ศ. 2463
เสียชีวิต3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525 (61 ปี)
สัญชาติไทย
คู่สมรสสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (2487–2493; หย่า)
บุตรท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม
บิดามารดาพลเอกจรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์
คุณหญิงเอิบ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์

พันเอก อร่าม รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ (24 สิงหาคม พ.ศ. 2463 – 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525) เป็นอดีตพระสวามีในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และเป็นบุตรของพลเอกจรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ เจ้าหน้าที่การทหาร อดีตแม่ทัพกองทัพพายัพ ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ และกระทรวงพาณิชย์ ในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม อธิบดีกรมรถไฟและผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย ตามลำดับ

ประวัติ[แก้]

พันเอก อร่าม รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์เกิดเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2463 เป็นบุตรของพลเอก จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ กับคุณหญิงเอิบ (สกุลเดิม โกมลวรรธนะ) มีพี่ชายร่วมบิดามารดาคือ พลตำรวจตรี อุดม รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นภูวลาภ)

พันเอกอร่ามสมรสกับสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา พระเชษฐภคินีในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อ พ.ศ. 2487 มีธิดาคือท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม (เกิด 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2488 ที่สวิตเซอร์แลนด์)

พันเอกอร่ามเป็นบุคคลเดียวที่โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร อยู่ในรถยนต์พระที่นั่งขณะที่เกิดอุบัติเหตุรถชนกับรถบรรทุก ที่ทะเลสาบเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2491 และได้รับบาดเจ็บสาหัส

ในปี พ.ศ. 2496 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ ร้อยเอกอร่าม รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ เป็นราชองครักษ์พิเศษ รับราชการสนองพระเดชพระคุณตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2496 เป็นต้นไป[1]

เมื่อเดินทางกลับประเทศไทย พันเอกอร่ามรับราชการเป็นอาจารย์สอนหนังสือ เมื่อ พ.ศ. 2500 เป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนส่งเสริมอาชีพก่อสร้าง (ปัจจุบันคือคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง)[2]จนเกษียณอายุเมื่อ พ.ศ. 2523

พันเอก อร่าม รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525 การนี้พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2525 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร[3]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชองครักษ์พิเศษ
  2. "A royal and not-so-royal past". The Nation (Thailand). 5 January 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-14. สืบค้นเมื่อ 21 February 2011.
  3. "ข่าวในพระราชสำนัก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 99 (43): 16. 25 มีนาคม 2525. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  4. ราชกิจจานุเบกษา 12 พฤษภาคม 2496 เล่ม 70 ตอนที่ 29 เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2496/D/029/2051.PDF
  5. ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ หน้า ๒๙๖๖ เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๕๔ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๖