ข้ามไปเนื้อหา

อำเภอเมืองกาญจนบุรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอเมืองกาญจนบุรี
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Mueang Kanchanaburi
สะพานข้ามแม่น้ำแคว
คำขวัญ: 
สุสานสัมพันธมิตร พิพิธภัณฑ์บ้านเก่า
เรื่องเล่าสงครามเก้าทัพ งามสรรพสวนศรีนครินทร์
แดนถิ่นประวัติศาสตร์ ชมธรรมชาติแม่น้ำแคว
แผนที่จังหวัดกาญจนบุรี เน้นอำเภอเมืองกาญจนบุรี
แผนที่จังหวัดกาญจนบุรี เน้นอำเภอเมืองกาญจนบุรี
พิกัด: 14°0′12″N 99°33′0″E / 14.00333°N 99.55000°E / 14.00333; 99.55000
ประเทศ ไทย
จังหวัดกาญจนบุรี
พื้นที่
 • ทั้งหมด1,236.28 ตร.กม. (477.33 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด169,737 คน
 • ความหนาแน่น137.30 คน/ตร.กม. (355.6 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 71000,
71190 (เฉพาะตำบลวังด้ง ช่องสะเดา หนองบัว และลาดหญ้า)
รหัสภูมิศาสตร์7101
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอเมืองกาญจนบุรี ถนนแสงชูโต ตำบลปากแพรก อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 71000
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เมืองกาญจนบุรี เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดกาญจนบุรี เป็นศูนย์กลางทางด้านเศรษฐกิจ การศึกษา การขนส่ง และการปกครอง เป็นที่ตั้งของสำนักงานและส่วนราชการต่าง ๆ หลายแห่ง ตั้งอยู่บริเวณ "ปากแพรก" ซึ่งเป็นจุดที่แม่น้ำสำคัญสองสาย ได้แก่ แม่น้ำแควใหญ่ (แม่น้ำศรีสวัสดิ์) และแม่น้ำแควน้อย (แม่น้ำไทรโยค) ไหลมาบรรจบกันเป็นแม่น้ำแม่กลอง ตัวเมืองกาญจนบุรีในปัจจุบันเป็นเมืองใหม่ แต่เดิมเมืองกาญจนบุรีเก่าตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำแควใหญ่ บริเวณเชิงเขาชนไก่ ปัจจุบันคือเขตโบราณสถานกาญจนบุรีเก่า ตำบลลาดหญ้า อำเภอเมืองกาญจนบุรี เดิมมีพื้นที่กว้างขวางมาก ทำให้ไม่สามารถดูแลได้อย่างทั่วถึง จึงได้มีการแบ่งพื้นที่ออกดังนี้

รับพื้นที่ของกิ่งอำเภอบ่อพลอย จากอำเภอพนมทวน เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2473 ขึ้นกับอำเภอเมืองกาญจนบุรี และได้ยกฐานะเป็นอำเภอเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2506

และต่อมาได้แบ่งพื้นที่ตำบลจรเข้เผือก(ออกจากตำบลบ้านเก่า) ตำบลกลอนโต และตำบลด่านมะขามเตี้ย เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533 ขึ้นเป็นกิ่งอำเภอด่านมะขามเตี้ย และยกฐานะเป็นอำเภอเมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2538

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

อำเภอเมืองกาญจนบุรีตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ราบเชิงเขาทางตอนใต้ของจังหวัด มีพรมแดนทิศตะวันตกติดกับประเทศพม่า และมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

อำเภอเมืองกาญจนบุรีแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 13 ตำบล 101 หมู่บ้าน ได้แก่

1. บ้านเหนือ (Ban Nuea) - 8. วังด้ง (Wang Dong) 12 หมู่บ้าน
2. บ้านใต้ (Ban Tai) - 9. ช่องสะเดา (Chong Sadao) 7 หมู่บ้าน
3. ปากแพรก (Pak Phraek) 13 หมู่บ้าน 10. หนองหญ้า (Nong Ya) 9 หมู่บ้าน
4. ท่ามะขาม (Tha Makham) 5 หมู่บ้าน 11. เกาะสำโรง (Ko Samrong) 9 หมู่บ้าน
5. แก่งเสี้ยน (Kaeng Sian) 9 หมู่บ้าน 12. บ้านเก่า (Ban Kao) 15 หมู่บ้าน
6. หนองบัว (Nong Bua) 8 หมู่บ้าน 13. วังเย็น (Wang Yen) 7 หมู่บ้าน
7. ลาดหญ้า (Lat Ya) 7 หมู่บ้าน
 

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

ท้องที่อำเภอเมืองกาญจนบุรี ประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 15 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลเมืองกาญจนบุรี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านเหนือและตำบลบ้านใต้ทั้งตำบล รวมถึงบางส่วนของตำบลปากแพรกและตำบลท่ามะขามในเขตอำเภอเมืองกาญจนบุรี และบางส่วนของตำบลท่าล้อในเขตอำเภอท่าม่วง
  • เทศบาลเมืองปากแพรก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปากแพรก (นอกเขตเทศบาลเมืองกาญจนบุรี)
  • เทศบาลตำบลแก่งเสี้ยน ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลแก่งเสี้ยน
  • เทศบาลตำบลลาดหญ้า ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลลาดหญ้า
  • เทศบาลตำบลหนองบัว ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลหนองบัว
  • เทศบาลตำบลท่ามะขาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่ามะขาม (นอกเขตเทศบาลเมืองกาญจนบุรี)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแก่งเสี้ยน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแก่งเสี้ยน (นอกเขตเทศบาลตำบลแก่งเสี้ยน)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองบัว (นอกเขตเทศบาลตำบลหนองบัว)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลลาดหญ้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลาดหญ้า (นอกเขตเทศบาลตำบลลาดหญ้า)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวังด้ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังด้งทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลช่องสะเดา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลช่องสะเดาทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองหญ้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองหญ้าทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสำโรง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกาะสำโรงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเก่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านเก่าทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวังเย็น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังเย็นทั้งตำบล

สถานที่สำคัญ

[แก้]
สะพานข้ามแม่น้ำแคว (ถ่ายเมื่อ พ.ศ. 2547)
สุสานทหารสัมพันธมิตรดอนรัก

สถานที่ท่องเที่ยว

[แก้]

วัด

[แก้]

พระอารามหลวงมหานิกาย

[แก้]

วัดราษฏร์มหานิกาย

[แก้]

วัดราษฏร์ธรรมยุติกนิกาย

[แก้]

วัดราษฏร์จีนนิกาย

[แก้]

วัดราษฏร์อนัมนิกาย

[แก้]

สถานศึกษา

[แก้]

โรงเรียน

[แก้]

โรงเรียนมัธยม สังกัด สพม. เขต 8

[แก้]

โรงเรียนประถม สพฐ.

[แก้]

โรงเรียนเอกชน

[แก้]

โรงพยาบาล

[แก้]

แม่น้ำ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]