เกรอนอบล์
เกรอนอบล์ | |
---|---|
จากด้านซ้ายบน: ภาพปริทัศน์ของเมือง, รถกระเช้าเกรอนอบล์, ปลัสแซ็งต็องเดร, ฌาร์แด็งเดอวีล, ฝั่งน้ำอีแซร์ | |
ประเทศ | ฝรั่งเศส |
แคว้น | โอแวร์ญ-โรนาลป์ |
จังหวัด | อีแซร์ |
เขต | เกรอนอบล์ |
อำเภอ | เกรอนอบล์-1, 2, 3 และ 4 |
สหเทศบาล | เกรอนอบลาลป์เมทรอปอล |
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี (2020–2026) | เอริก ปียอล[1] (EELV) |
พื้นที่1 | 18.13 ตร.กม. (7.00 ตร.ไมล์) |
• เขตเมือง | 358.1 ตร.กม. (138.3 ตร.ไมล์) |
• รวมปริมณฑล | 2,876 ตร.กม. (1,110 ตร.ไมล์) |
ประชากร (มกราคม ค.ศ. 2018)2 | 157,650 คน |
• ความหนาแน่น | 8,700 คน/ตร.กม. (23,000 คน/ตร.ไมล์) |
• เขตเมือง (2018[2]) | 451,096 คน |
• ความหนาแน่นเขตเมือง | 1,300 คน/ตร.กม. (3,300 คน/ตร.ไมล์) |
• รวมปริมณฑล (2018[2]) | 714,799 คน |
• ความหนาแน่นรวมปริมณฑล | 250 คน/ตร.กม. (640 คน/ตร.ไมล์) |
เขตเวลา | UTC+1 (CET) |
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง) | UTC+2 (CEST) |
รหัสอีนเซ/ไปรษณีย์ | 38185 /38000, 38100 |
สูงจากระดับน้ำทะเล | 212–500 m (696–1,640 ft) (avg. 398 m หรือ 1,306 ft) |
1 ข้อมูลอาณาเขตที่ตามขึ้นทะเบียนไว้โดยไม่รวมทะเลสาบ, หนองน้ำ, ธารน้ำแข็งที่ขนาดใหญ่กว่า 1 ตารางกิโลเมตรตลอดจนปากแม่น้ำ 2 Population without double counting: residents of multiple communes (e.g., students and military personnel) only counted once. |
เกรอนอบล์ (ฝรั่งเศส: Grenoble, ออกเสียง: [ɡʁənɔbl] ( ฟังเสียง); อาร์เปอตัง: Grenoblo หรือ Grainóvol; อุตซิตา: Graçanòbol) เป็นเมืองหนึ่งทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศฝรั่งเศส ตั้งอยู่ตีนเทือกเขาเฟรนช์แอลป์บริเวณที่แม่น้ำดรักบรรจบกับแม่น้ำอีแซร์ในแคว้นโอแวร์ญ-โรนาลป์ เกรอนอบล์เป็นเมืองหลักของจังหวัดอีแซร์[3] และเป็นศูนย์กลางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญแห่งหนึ่งของยุโรป[4][5] เมืองนี้ประกาศตนเองว่าเป็น "เมืองหลวงของเทือกเขาแอลป์" เนื่องจากขนาดของเมืองและความใกล้กับเทือกเขาดังกล่าว
ประวัติศาสตร์ของเกรอนอบล์ย้อนไปได้กว่า 2,000 ปี ถึงช่วงเวลาที่ยังเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ในภูมิภาคกอล ต่อมาได้กลายเป็นศูนย์กลางของดินแดนโดฟีเนในคริสต์ศตวรรษที่ 11[3]
การพัฒนาอุตสาหกรรมได้ส่งเสริมความโดดเด่นของเกรอนอบล์ผ่านการขยายตัวทางเศรษฐกิจหลายช่วงในสามศตวรรษที่ผ่านมา เริ่มต้นด้วยอุตสาหกรรมถุงมือที่เฟื่องฟูในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 ต่อด้วยการพัฒนาอุตสาหกรรมไฟฟ้าพลังน้ำที่แข็งแกร่งในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 และสิ้นสุดลงด้วยการเติบโตทางเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่สองซึ่งแสดงให้เห็นจากการเป็นเจ้าภาพมหกรรมกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวครั้งที่ 10 ใน ค.ศ. 1968 ต่อมาเมืองนี้ได้เติบโตจนกลายเป็นศูนย์กลางการวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของยุโรป โดยประชากรของเมืองหนึ่งคนจากทุก ๆ ห้าคนทำงานโดยตรงในสาขาเหล่านี้[4][5][6]
ประชากร
[แก้]
|
|
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ที่มา: EHESS[7] และ INSEE[8] |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Répertoire national des élus: les maires". data.gouv.fr, Plateforme ouverte des données publiques françaises (ภาษาฝรั่งเศส). 2 December 2020.
- ↑ 2.0 2.1 Comparateur de territoire, INSEE
- ↑ 3.0 3.1 This article incorporates text from a publication now in the public domain: Coolidge, William Augustus Brevoort (1911). "Grenoble." In Chisholm, Hugh (ed.). Encyclopædia Britannica. 12 (11th ed.). Cambridge University Press. pp. 579–580.
- ↑ 4.0 4.1 Graff, James (22 August 2004). "Secret Capitals". Time. New York. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-08-23. สืบค้นเมื่อ 29 October 2009.
- ↑ 5.0 5.1 Pentland, William (9 July 2013). "World's 15 Most Inventive Cities". Forbes. New York. สืบค้นเมื่อ 16 July 2013.
- ↑ Communauté Université Grenoble Alpes (23 April 2015). "Université Grenoble Alpes : "1 out of 5" (english version)" – โดยทาง YouTube.
- ↑ Des villages de Cassini aux communes d'aujourd'hui: รายการข้อมูลเทศบาล Grenoble, EHESS. (ในภาษาฝรั่งเศส)
- ↑ Population en historique depuis 1968, INSEE
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Grenoble City website (ในภาษาฝรั่งเศส)