ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยศิลปากร"

พิกัด: 13°45′10.93″N 100°29′27.98″E / 13.7530361°N 100.4911056°E / 13.7530361; 100.4911056
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
Good dharma (คุย | ส่วนร่วม)
แก้ไขในส่วนของบุคคลสำคัญจากมหาวิทยาลัยศิลปากร โดยทำเป็นอีกหน้าหนึ่งแล้วใส่ลิงก์ไว้ให้
บรรทัด 242: บรรทัด 242:


== บุคคลสำคัญจากมหาวิทยาลัยศิลปากร ==
== บุคคลสำคัญจากมหาวิทยาลัยศิลปากร ==
ดูที่[[บุคคลสำคัญจากมหาวิทยาลัยศิลปากร|บุคคลสำคัญจากมหาวิทยาลัยศิลปากร]]
=== ปูชนียบุคคล ===
* [[สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]] ทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาโทในสาขาวิชาจารึกภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีการศึกษา 2522
* [[พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์]] ทรงเข้าสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีในคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีการศึกษา 2548 และปัจจุบันทรงศึกษาต่อในระดับปริญญาโท สาขาศิลปไทย คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
* [[อังคาร กัลยาณพงศ์]] กวี,จิตรกร และ[[ศิลปินแห่งชาติ]]
* [[ชวน หลีกภัย]] อดีตนายกรัฐมนตรี 2 สมัย ศิษย์เก่าโรงเรียนศิลปากร แผนกจิตรกรรมและประติมากรรม
* [[พนิตา กำภู ณ อยุธยา]] ปลัด[[กระทรวงศึกษาธิการ]]
* [[พูน เกษจำรัส]] ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ภาพถ่ายศิลปะ)
* พลอากาศตรี ศาสตราจารย์ [[อาวุธ เงินชูกลิ่น]] ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ประยุกต์ศิลป์) อดีตอธิบดีกรมศิลปากร
* [[ธงชัย รักปทุม]] อดีตอธิการบดี[[สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์]]
* [[ บรรณพจน์ ดามาพงศ์]] พี่ชายคนโตของคุณหญิง[[พจมาน ดามาพงศ์]]
* [[ชลูด นิ่มเสมอ|ศาสตราจารย์ชลูด นิ่มเสมอ]] ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ประติมากรรม)
* [[ถวัลย์ ดัชนี]] ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม)
* [[เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์]] ศิลปินแห่งชาติ (สาขาจิตรกรรม) ศิลปินระดับนานาชาติ ผู้สร้างวัดร่องขุ่น จ.เชียงราย
* [[กมล สุวุฒโฑ]] อธิการบดี[[สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์]]
* [[เสนีย์ วิลาวรรณ]] อดีตคณบดีคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร นักภาษาศาสตร์ชาวไทยซึ่งมีผลงานการเรียบเรียงตำราและแบบเรียนภาษาไทยจำนวนมาก
* [[ขรรค์ชัย บุนปาน]] ผู้ก่อตั้งและเจ้าของบริษัทในเครือ[[มติชน]]
* [[ภราเดช พยัฆวิเชียร]] อดีตผู้อำนวยการ[[การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย]]
* [[สุจิตต์ วงศ์เทศ]] นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณกรรม
* [[สุวรรณี สุคนธ์เที่ยง]] หรือ นามปากกา '''สุวรรณี สุคนธา''' นักเขียนเรื่องสั้น ศิษย์เก่าคณะจิตรกรรมและประติมากรรม
* [[จักรพันธุ์ โปษยกฤต]] ศิลปินแห่งชาติ นักเขียน จิตรกร
* [[ปรีชา เถาทอง|ศาสตราจารย์ ปรีชา เถาทอง]] ศิลปินแห่งชาติ (ทัศนศิลป์)
* [[เผ่าทอง ทองเจือ|อาจารย์ เผ่าทอง ทองเจือ]] นักประวัติศาสตร์ไทย นักประวัติศาสตร์ศิลปะ (ผ้าไทย)
* [[เกียรติศักดิ์ ชานนนารถ|ศาสตราจารย์ เกียรติศักดิ์ ชานนนารถ]] ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) คณบดี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ [[สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง]]
* [[นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน]] ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ประติมากรรม)
* [[ตรึงใจ บูรณสมภพ|ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ตรึงใจ บูรณสมภพ]] อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากรและสถาปนิกหญิงชั้นแนวหน้าของเอเชีย
* [[มานิต ภู่อารีย์|ศาสตราจารย์ ดร.มานิต ภู่อารีย์]] ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ภาพพิมพ์)
* [[ประเวศ ลิมปรังษี|อาจารย์ ประเวศ ลิมปรังษี]] ศิลปินแห่งชาติ สาขาสถาปัตยกรรม (สถาปัตยกรรม)
* [[เมธา บุนนาค]] ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรม) ผู้ก่อตั้ง สำนักงานสถาปนิก บริษัท บุนนาค อาร์คิเท็คส์ จำกัด
* [[เสนอ นิลเดช|รองศาสตราจารย์ เสนอ นิลเดช]] นักวิชาการประวัติศาสตร์ ศิลปสถาปัตยกรรม
* [[สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์|ศาสตราจารย์ ดร.ม.ร.ว.สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์]] นักประวัติศาสตร์
* [[ฤทัย ใจจงรัก]] ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะสถาปัตยกรรม
* [[วนิดา พึ่งสุนทร|อาจารย์ วนิดา พึ่งสุนทร]] ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะสถาปัตยกรรม (แบบประเพณี) สถาปนิกหญิงของชาติ
* [[อิทธิพล ตั้งโฉลก|ศาสตราจารย์ อิทธิพล ตั้งโฉลก]] ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ภาพพิมพ์)
* [[ชัยชาญ ถาวรเวช|ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชัยชาญ ถาวรเวช]] อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร
* [[ทรงยศ วีระทวีมาศ|ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทรงยศ วีระทวีมาศ]] คณบดี [[คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น]]
* [[เฉลิมชัย เงารังษี|ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เฉลิมชัย เงารังษี]] คณบดี [[คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร]]
* [[เสรี พุกกะมาน|พลเอก เสรี พุกกะมาน]] คณบดี [[คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม]]
* [[ประยูร อุลุชาฎะ]] ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) เจ้าของนามปากกา น. ณ ปากน้ำ
* [[มานะ สุดสงวน]] กรรมการบริหาร [[สหพันธ์สหภาพครูเสรีระหว่างประเทศภาคพ้นเอเซีย-แปซิฟิก International of Federation Teachers Union (IFFTU)
* [[ทวศักด์ เสนาณรงค์]] เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ
* [[สุจิตต์ วงษ์เทศ]] กรรมการผทู้รงคุณวฒุสาขา การศึกษาศิลปศาสตร์และสังคมศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
* นิรันดร์ [[ไกรฤกษ์]]
* [[อรศิริ ปาณินท์|ศาสตราจารย์ อรศิริ ปาณินท์]] สถาปนิกหญิงแถวหน้าของไทย
* [[กุลกุมุท สิงหรา ณ อยุธยา]] รองกงสุลใหญ่ กระทรวงการต่างประเทศ
* [[ปรีชา กาญจนาคม|ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ปรีชา กาญจนาคม]] นักโบราณคดี
* [[ผาสุข อินทราวุธ|ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ผาสุข อินทราวุธ]] นักโบราณคดี
* [[ทวีเกียรติ โกไศยกานนท์|พลโท ทวีเกียรติ โกไศยกานนท์]] หัวหน้าฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บังคับบัญชา กรมราชองครักษ์
* [[พิชัย นิรันต์|ศาสตราจารย์เกียรติคุณ พิชัย นิรันต์]] ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม)
* [[ทวี รัชนีกร]] ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม)
* [[สุภัทรา เตียวเจริญ|แพทย์หญิง สุภัทรา เตียวเจริญ]] กรรมการสภาอาจารย์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
* [[พลเอก เสรี พุกกะมาน]] ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการทหารสูงสุด และอดีตผู้อำนวยการสำนักงานยุทธโยธาทหาร กรมยุทธบริการทหาร
* [[พุฒ วีระประเสริฐ]] อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร และอดีต Member of the board of Co-ordinators Concerning SPAFA Regional Centre
* [[ศาสตราจารย์ ประศาสน์ คุณะดิลก]] คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
* [[ม.ล.เติมแสง (ลดาวัลย์) สรรพโส]] ผู้อำนวยการกองกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม
* [[พลตรีหญิง วิภาสิริ จินตสุวรรณ]] ผู้ชำนาญการ กองบัญชาการทหารสูงสุด
* [[หม่อมหลวงเพชรี สุขสวัสดิ์]]
* [[รองศาสตราจารย์ วิชัย สิทธิรัตน์]] อุปนายกสมาคมประติมากรไทย
* วีระพันธุ์ [[ ชินวัตร]] ผู้ออกแบบวางผัง [[มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง]] จังหวัดเชียงราย
* [[รองศาสตราจารย์ ดร. คุณหญิง อารมณ์ ฉนวนจิตร]] กรรมการบริหาร มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์
* [[มณเฑียร บุญมา]] ศิลปินไทยที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล
* [[ช่วง มูลพินิจ]] ศิลปินระดับนานาชาติ
* [[ศาสตราจารย์เกียรติคุณ กำจร สุนพงษ์ศรี]]
* [[พลอากาศโท ยศสมบัติ สุเสวี]] เลขาธิการกองบัญชาการสนับสนุนทางอากาศ
* [[นันทนมาลา มาลากุล ณ อยุธยา]] นายกสมาคมการค้าส่งเสริมหัตถกรรมไทย
* [[รองศาสตราจารย์ ดร.ธาดา สุทธิธรรม]] คณบดี [[คณะศิลปะประยุกต์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี]]
* [[ชิบ จิตนิยม]] ผู้สื่อข่าวอาวุโสสายงานด้านต่างประเทศ
* [[ศาสตราจารย์ สุรพล ดำริห์กุล]]
* [[พลอากาศเอก จารึก สนิทวงศ์ ณ อยุธยา]] รองสมุหราชองครักษ์ [[กรมราชองครักษ์]]
* [[สมศักดิ์ เชาวน์ธาดาพงศ์]] ผู้ตรวจราชการ กระทรวงวัฒนธรรม
* [[ศาสตราจารย์ วิโชค มุกดามณี]] กรรมการสภามหาวิทยาลัยทักษิณ และ The World Masters in Arts and Culture ในสาขา Art Department จากสาธารณรัฐเกาหลี
* [[ศาสตราจารย์ สายันต์ ไพรชาญจิตร์]] นักโบราณคดี และนักประวัติศาสตร์
* [[เผ่าทอง ทองเจือ]] นักประวัติศาสตร์ไทย นักโบราณคดี พิธีกรและวิทยากรผู้ให้ความรู้เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ไทย
* [[อินสนธ์ วงศ์สาม]] ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ ประจำปีพ.ศ. 2542
* ดร.[[เฉลียว ยาจันทร์]] ผู้อำนวยการ[[โรงเรียนบางบัวทอง]]

=== บุคคลในวงการบันเทิง ===
* [[นนทรีย์ นิมิบุตร]] ผู้กำกับภาพยนตร์ จบการศึกษาปริญญาตรี [[คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร|คณะมัณฑนศิลป์]]
* [[วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง]] ผู้กำกับภาพยนตร์
* [[ยุทธเลิศ สิปปภาค]] ผู้กำกับภาพยนตร์
* [[จุฑามาศ อิสรานุกฤต]]([[สุทธิพงษ์ วัฒนจัง | วัฒนจัง]]) (บุ๋ม) ศิลปินนักร้อง อดีตนักร้องนำวง[[ปุยฝ้าย]] จบการศึกษาปริญญาตรี [[คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร | คณะโบราณคดี]] สมรสกับ [[สุทธิพงษ์ วัฒนจัง]] (ชมพู ฟรุตตี้)
* [[จรูญวิทย์ พัวพันวัฒนะ]] (บิว The Voice) นักศึกษาปี 4 [[คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร|คณะโบราณคดี]]
* [[เอมิสา รักสยาม]] พิธีกรรายการ Chic Channel/Five Live, นักแสดง จบการศึกษาปริญญาตรี [[คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร|คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์]]
* [[กรสิริ นาคสมภพ]] ศิลปินนักร้อง จบการศึกษาปริญญาตรี [[คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร|คณะมัณฑนศิลป์]] สาขาประยุกตศิลปศึกษา (ภาพพิมพ์)
* [[กฤตธีรา อินพรวิจิตร]] (เข็ม) มีชื่อเสียงจากการเป็นพิธีกรร่วมในรายการตีสิบ จึงนิยมเรียกเธอว่า เข็ม ตีสิบ ทางช่อง 3 จบการศึกษาปริญญาตรี [[คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร|คณะมัณฑนศิลป์]]
* [[รณภพ รากะรินทร์]] ศิลปินนักร้องนักแสดง จบการศึกษาปริญญาตรี [[คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร|คณะศึกษาศาสตร์]] รหัส 0647153 สาขาจิตวิทยา
* [[ธีร์ วณิชนันทธาดา]] ศิลปิน นักแสดง นายแบบ จบการศึกษาปริญญาตรี [[คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร|คณะศึกษาศาสตร์]] รหัส 0647142 สาขาจิตวิทยา
* [[นัฏฐา ลอยด์]] นักแสดง จบการศึกษาปริญญาตรี [[คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร|คณะอักษรศาสตร์]]
* [[มนตรี เจนอักษร]] นักแสดง จบการศึกษาปริญญาตรี [[คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร|คณะอักษรศาสตร์]]
* [[โยโกะ ซันจิกิ]]นักแสดง จบการศึกษาปริญญาตรี [[คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร|คณะอักษรศาสตร์]]
* [[วิริยาภา จันทร์สุวงศ์ ]] (นุ้ย) ศิลปินนักร้อง นักร้องนำวงเดอะ พีชแบนด์ (The Peach Band) จบปริญญาตรี จาก[[คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร | คณะโบราณคดี]]
* [[นทพร ธีรวัฒนสุข]](แย้) ผู้เข้ารอบ 44 คนสุดท้าย Miss Thailand Universe ๒๕๕๒ จบปริญญาตรี(เกียรตินิยมอันดับ 2) เกรดเฉลี่ย 3.38 [[คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร|คณะอักษรศาสตร์]] เอกภาษาอังกฤษ
* [[ชนกวนัน รักชีพ (วัชรคุณ)]] นักแสดง นางแบบ จบการศึกษาปริญญาตรี [[คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร|คณะเภสัชศาสตร์]] สาขาเน้นเภสัชกรรมคลินิก รหัส 0838024
* [[เปรื่องปราชญ์ ประสาตร์สาน]] ศิลปินนักร้อง นักศึกษา[[คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร|คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์]] รหัส 0145031 สาขาจิตรกรรม
* [[ชวัลกร วรรธนพิสิฐกุล]] รองอันดับ 2 มิสไทยแลนด์ยูนิเวอร์ส 2551 ดารา-นักแสดง [[คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร|คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์]]
* [[สาธิกา ศิริปุญโญทัย]] รองชนะเลิศอันดับ 3 รายการเรียลลิตี้โชว์ ACADEMY FANTASIA 5 (V.10) นักศึกษา[[คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร|คณะดุริยางคศาสตร์]]
* [[วิชญาณี เปียกลิ่น]] หรือ (แก้ม เดอะสตาร์ 4) ผู้ชนะเลิศการประกวด The star ค้นฟ้าคว้าดาว 4 นักศึกษา[[คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร|คณะดุริยางคศาสตร์]] รหัส 10510105 สาขาวิชาดนตรีแจ๊ส
* [[วรรณรท สนธิไชย]] หรือ วิว ดารา-นักแสดงค่ายเอ็กแซ็กท์ นักศึกษา[[คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร | คณะโบราณคดี]] รหัส 03500168 สาขาวิชามานุษยวิทยา
* [[พรรณนภา ปราบภัย]] รองอันดับ 2 นางสาวไทยประจำปี 2549 และตัวแทนประเทศไทยประกวด Miss Asia 2008 นักศึกษา[[คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร|คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร]] สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการออกแบบ
* [[วรรณกร กองเมือง]] รองอันดับ 2 นางสาวไทยประจำปี 2551 นักศึกษา[[คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร|คณะดุริยางคศาสตร์]]
* [[จุฬาลักษณ์ ศรีสาคร]] ชนะเลิศการประกวดดัชชี่บอยแอนด์เกิร์ล สาขาร้องเพลง ประจำปี 2550 [[คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร|คณะอักษรศาสตร์]]
* [[คมพิญญ์ เข็มกำเนิด]] ผู้กำกับภาพยนตร์แอนนิเมชั่น(ก้านกล้วย) จบการศึกษาปริญญาตรี [[คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร|คณะมัณฑนศิลป์]] สาขาออกแบบนิเทศศิลป์
* [[ต่อพงศ์ จันทบุบผา]](บอล) ศิลปินนักร้อง สมาชิกวง scrubb จบการศึกษาปริญญาตรี [[คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร|คณะศึกษาศาสตร์]]
* [[ธวัชพนธ์ วงศ์บุญศิริ]](เมื่อย) ศิลปินนักร้อง สมาชิกวง scrubb จบการศึกษาปริญญาตรี [[คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร|คณะศึกษาศาสตร์]]
* [[พล นพวิชัย]](พีท เดอะสตาร์ 2) ศิลปินนักร้อง นักแสดงและนายแบบ ได้รับรางวัล อันดับ 3 จากการประกวด The star นักศึกษา[[คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร|คณะดุริยางคศาสตร์]] รหัส 1048098 สาขาดนตรีเชิงพาณิชย์
* [[ปองขวัญ ล้อเจริญ]] หรือ ปุ๋ย ตำแหน่งสาวผมสวยสุขภาพดี และตำแหน่ง Editors' choice ในการประกวดThailand Super Model Contest 2008 และตัวแทนประเทศไทยไปประกวดThe Asia Pacific Super Model 2008 [[คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร|คณะศึกษาศาสตร์]] สาขาวิชาจิตวิทยา
* [[พงศธร สุภิญโญ]](ดิว [[เดอะสตาร์ 5]]) อันดับ 2 จากการประกวด The star ค้นฟ้าคว้าดาว 5 นักศึกษา[[คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร|คณะมัณฑนศิลป์]] สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์
* [[เหมือนแพร พานะบุตร]] (กิ่ง [[เดอะสตาร์ 5]]) อันดับ 4 จากการประกวด The star ค้นฟ้าคว้าดาว 5 นักศึกษา[[คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร|คณะดุริยางคศาสตร์]] สาขาวิชาดนตรีแจ๊ส
* [[วนัสนันท์ จันทร์นิ่ม]] นางงามมิตรภาพ และผู้ผ่านเข้ารอบ 10 คนสุดท้าย มิสไทยแลนด์เวิลด์ 2552 สำเร็จการศึกษาจาก[[คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร|คณะโบราณคดี]] สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
* [[วิลาสินี กัลยาเลิศ]] รองอันดับ 2 มิสไทยแลนด์ยูนิเวอร์ส ประจำปี 2553 นักศึกษา[[คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร|คณะอักษรศาสตร์]]
* [[ปาณิกา วรบุญศิริ]] รองอันดับ 2 มิสไทยแลนด์เวิร์ล ประจำปี 2553 บัณฑิต[[คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร|คณะโบราณคดี]]
* [[ภัทราพร สังข์พวงทอง]] ผู้ดำเนินรายการ "[[กบนอกกะลา]]" จบการศึกษาปริญญาตรี [[คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร|คณะอักษรศาสตร์]]
* [[เกริกเกียรติ สว่างวงศ์]] มือกีต้าร์วง[[ค็อกเทล (วงดนตรี)|ค็อกเทล]] จบการศึกษาปริญญาตรี[[คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร|คณะโบราณคดี]]
* [[ชวรัตน์ หรรษคุณาฒัย]] มือเบสวง[[ค็อกเทล (วงดนตรี)|ค็อกเทล]] จบการศึกษาปริญญาตรี[[คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร|คณะโบราณคดี]]
* [[ไอรดา ศิริวุฒิ]] หรือ ไอด้า นักแสดง และนางแบบ จบการศึกษาปริญาบัณฑิต [[คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร|คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม]]
* [[ธัญสญา เกิดนาวี]]หรือกิฟ โปรดิวเซอร์ ช่องทีวีพูล มิวสิกแชนแนล และพิธีกรรายการทีวีพูลไลฟ์ จบการศึกษาจาก[[คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร|คณะอักษรศาสตร์]]
* [[รชา รุกขะพันธุ์]]หรือบุ้งกี๋ รองอันดับ 1 มิสไทยแลนด์เวิลด์ ประจำปี 2556 จบการศึกษาจาก[[คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร|คณะดุริยางคศาสตร์]]
* [[พงศกร ลิ่มสกุล]] หรือ แอร์ นักร้องนำ วง [[The Mousses]] จบการศึกษาปริญญาตรี [[คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร|คณะดุริยางคศาสตร์]] สาขาการแสดงดนตรี
* [[อธิศ อมรเวช]] หรือ จ๊ะ มือกีต้าร์ วง [[The Mousses]] จบการศึกษาปริญญาตรี [[คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร|คณะดุริยางคศาสตร์]] สาขาการแสดงดนตรี
* [[อริญชย์ ภาณุเวศย์]] หรือ ริน มือคีย์บอร์ด วง [[The Mousses]] จบการศึกษาปริญญาตรี [[คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร|คณะดุริยางคศาสตร์]] สาขาดนตรีเชิงพาณิชย์
*[[ปุณสิษฐ์ แช่ม]] ผู้สื่อข่าวสถานีโทรทัศน์ [[อมรินทร์ทีวี]] จบการศึกษาปริญญาตรี [[คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร|คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม]] รหัส 09521649


== แหล่งข้อมูลอื่น ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 04:09, 16 กุมภาพันธ์ 2560

มหาวิทยาลัยศิลปากร
ไฟล์:Silpakorn1.png
ชื่อย่อมศก. / SU
คติพจน์Ars longa vita brevis
ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ
สถาปนา12 ตุลาคม พ.ศ. 2486
อธิการบดีผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยชาญ ถาวรเวช
อธิการบดีผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยชาญ ถาวรเวช
นายกสภาฯดร.ภราเดช พยัฆวิเชียร[1]
ที่ตั้ง
สำนักงานอธิการบดีตลิ่งชัน
22 ถนนบรมราชชนนี แขวงตลิ่งชัน เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร

วังท่าพระ
31 ถนนหน้าพระลาน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์
6 ถนนราชมรรคาใน ตำบลสนามจันทร์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม
วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี
1 หมู่ที่ 3 ถนนชะอำ-ปราณบุรี ตำบลสามพระยา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี

วิทยาเขตบางรัก
73 อาคารกสท.โทรคมนาคม ชั้น8-11 ถนนเจริญกรุง แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร
เว็บไซต์www.su.ac.th

มหาวิทยาลัยศิลปากร (อังกฤษ: Silpakorn University; ชื่อย่อ: มศก. - SU) เป็นมหาวิทยาลัยศิลปะแห่งแรกในประเทศไทย มีชื่อเสียงทางด้านศิลปกรรม สถาปัตยกรรม และโบราณคดีปัจจุบัน เปิดสอนครอบคลุมทุกสาขาวิชา ทั้งวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ และวิทยาศาสตร์การเกษตร ตามมาตรฐานของมหาวิทยาลัยสากลอย่างสมบูรณ์

ถือกำเนิดจากโรงเรียนปราณีตศิลปกรรม สังกัดกรมศิลปากร ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ได้พัฒนาขึ้นเป็นลำดับจนเป็นโรงเรียนศิลปากร และเมื่อวันที่12 ตุลาคมพ.ศ. 2486 พระยาอนุมานราชธนร่วมกับศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี พัฒนาหลักสูตรจนได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น มหาวิทยาลัยศิลปากร เพื่อเป็นสถาบันอุดมศึกษาขั้นสูงทางศิลปะของชาติ โดยมีปณิธานที่จะสร้างสรรค์ศิลปะ วิทยาการ และภูมิปัญญาเพื่อสังคม มีผลให้งานศิลปะของชาติพัฒนาและก้าวหน้า มีกิจกรรมและวิชาการต่างๆ ที่ดำเนินการเอื้ออำนวยประโยชน์ให้แก่ประชาชนเสมอมา นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบันพ.ศ. 2553 มหาวิทยาลัยศิลปากรมีผู้อำนวยการและอธิการบดีมาแล้ว 18 คน อธิการบดีคนปัจจุบัน คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยชาญ ถาวรเวช

ชื่อ "ศิลปากร" นั้นมาจากการที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่6 มีพระบรมราชโองการ ณ วันที่ 27 มีนาคม ร.ศ.130 ว่า “...(ให้) แยกการช่างที่เป็นประณีตศิลปไว้ส่วนหนึ่ง แลให้ยกกรมพิพิธภัณฑ์จากกระทรวงธรรมการ มารวมกันตั้งขึ้นเป็น ‘กรมศิลปากร‘ มีผู้บัญชาการกรมขึ้นตรงต่อพระเจ้าแผ่นดิน" [2]

ประวัติ

มหาวิทยาลัยศิลปากร เดิมคือ โรงเรียนปราณีตศิลปกรรม สังกัดกรมศิลปากร ท่านศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี (เดิมชื่อ Corrado Feroci) ชาวอิตาเลียน ซึ่งเดินทางมารับราชการในประเทศไทย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ร่วมกับคุณพระสาโรช รัชตมินมานก์ (สาโรช สุขยางค์) ท่านทั้งสองได้ก่อตั้งโรงเรียนปราณีตศิลปกรรมขึ้นในปีพ.ศ. 2476 ใช้พื้นที่วังกลาง และวังตะวันออก หน้าพระบรมมหาราชวังเป็นที่ตั้งของโรงเรียนแห่งนี้ เปิดสอนให้แก่ข้าราชการและนักเรียนในสมัยนั้นโดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน ต่อมาปีพ.ศ. 2478 ได้รวมเอาโรงเรียนนาฏยดุริยางคศาสตร์ ที่ตั้งอยู่วังหน้าไว้ด้วย และเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า “โรงเรียนศิลปากร”

โรงเรียนศิลปากรได้เจริญเติบโตเป็นลำดับเรื่อยมา กระทั่งพระยาอนุมานราชธนร่วมกับอาจารย์ศิลป์ พัฒนาหลักสูตรจนได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น มหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2486 [3]จัดตั้งคณะจิตรกรรมและประติมากรรม ขึ้นเป็นคณะวิชาแรก (ปัจจุบันคือ คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์) ในปี พ.ศ. 2498 อาจารย์ศิลป์ผลักดันให้เกิดคณะวิชาใหม่ คือ คณะสถาปัตยกรรมไทย ซึ่งมี พระพรหมพิจิตร (อู๋ ลาภานนท์) เป็นผู้ก่อตั้ง (ซึ่งต่อมาได้ปรับหลักสูตรและเปลี่ยนชื่อเป็นคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์) คณะโบราณคดี วางรากฐานโดยหลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ (ป่วน อินทุวงศ์) และต่อมาจึงมี คณะมัณฑนศิลป์ซึ่งแยกตัวออกมาจากคณะจิตรกรรมฯ จากนั้นได้ขยายพื้นที่มหาวิทยาลัยโดยได้จัดซื้อที่ดินวังท่าพระซึ่งอยู่ติดกับที่ตั้งเดิมจากทายาทสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์

ต่อมาเมื่อผู้แทนขององค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมของสหประชาชาติได้ให้คำแนะนำในการจัดตั้ง สถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยให้มีลักษณะสอดคล้องกับหลักการสากล คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาโครงการปรับปรุงมหาวิทยาลัยศิลปากร เพื่อขยายการศึกษาวิชาต่าง ๆ โดยไม่จำกัดเฉพาะศิลปะและโบราณคดีเท่านั้น ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร จึงได้ ดำเนินการจัดตั้งคณะอักษรศาสตร์ขึ้นเป็นคณะวิชาลำดับที่ 5 เป็นคณะวิชาแรกของวิทยาเขตแห่งใหม่ คือ วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ ณ จังหวัดนครปฐม โดยเริ่มเปิดสอนนักศึกษารุ่นแรก เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2511 และคณะอักษรศาสตร์ได้ถือวันดังกล่าวเป็นวันสถาปนาคณะฯ ตลอดมา และได้มีการจัดตั้งคณะศึกษาศาสตร์ในปีพ.ศ. 2513 คณะวิทยาศาสตร์ในปีพ.ศ. 2515 คณะเภสัชศาสตร์ในปีพ.ศ. 2529 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมในปีพ.ศ. 2535 (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม) และคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตรในปีพ.ศ. 2544(เปิดการเรียนการสอนรวมกับคณะวิทยาศาสตร์)ตามลำดับ

ระหว่างปีพ.ศ. 2542 มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งคณะดุริยางคศาสตร์ เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 36 พรรษา ในวันที่2 เมษายน พ.ศ. 2536 และเพื่อให้เป็นมหาวิทยาลัยที่มีความสมบูรณ์ทางด้านศิลปะมากยิ่งขึ้น โดยจัดการเรียนการสอนตลอดหลักสูตรที่สำนักงานอธิการบดีตลิ่งชัน

จากนั้นมหาวิทยาลัยจึงได้มีมติก่อตั้งวิทยาเขตใหม่เพื่อรองรับการขยายตัวของมหาวิทยาลัยในอนาคต โดยมีมติเลือกอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี คือ วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี โดยมีคณะวิทยาการจัดการในปีพ.ศ. 2545เป็นคณะสาขาวิชาแรกของวิทยาเขต จากนั้นคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตรจึงได้ย้ายมาเปิดการเรียนการสอนเต็มรูปแบบที่วิทยาเขตนี้ ตามด้วยการจัดตั้ง คณะเทคโนโลยีสารเทศและการสื่อสาร ในปีพ.ศ. 2546เป็นคณะล่าสุด

วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2559 ราชกิจจานุเบกษา ได้ประกาศใช้ พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. 2559 โดยได้ยกเลิก พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. 2530 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมปี พ.ศ. 2541 และกำหนดให้มหาวิทยาลัยมีสถานะเป็นนิติบุคคลซึ่งพระราชบัญญัติฉบับนี้มีผลบังคับใช้เมื่อพ้นสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาคือวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 [4]

สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย

ไฟล์:Sug.png
ตราประจำมหาวิทยาลัยศิลปากร

ตราสัญลักษณ์

พระพิฆเนศวร เทพเจ้าแห่งศิลปวิทยาการและการประพันธ์ประทับบนเมฆ พระหัตถ์ขวาบนถือตรีศูล พระหัตถ์ขวาล่างถืองาช้าง พระหัตถ์ซ้ายบนถือปาศะ (เชือก) พระหัตถ์ซ้ายล่างถือครอบน้ำ ประทับบนลวดลายกนก ภายใต้มีอักษรว่า "มหาวิทยาลัยศิลปากร" ประกาศใช้เมื่อ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2494 ซึ่งคล้ายคลึงกับกรมศิลปากร [5]

สีประจำมหาวิทยาลัย

สีเขียวตั้งแช หรือเขียวเวอร์ริเดียน เป็นสีของน้ำทะเลระดับลึกที่สุด แต่ในระยะแรกก่อตั้งมหาวิทยาลัยได้กำหนดใช้สีเขียว ซึ่งเป็นสีพื้นป้ายมหาวิทยาลัยป้ายแรก แต่ช่วงนั้นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และมหาวิทยาลัยมหิดลก็ใช้สีเขียวเป็นสีประจำมหาวิทยาลัยเช่นกัน จึงมีแนวคิดที่จะสร้างความแตกต่าง และเนื่องจากนักศึกษาคณะจิตกรรมฯนิยมพารุ่นน้องปี1ไปทำกิจกรรมรับน้องที่เกาะเสม็ด จึงได้มีโอกาสชื่นชมสีของน้ำทะเลใส และได้นำมาเป็นสีประจำมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นสีที่บ่งบอกถึงความสร้างสรรค์ของชาวศิลปากร

เพลงประจำมหาวิทยาลัย

  • Santa Lucia เป็นเพลงพื้นเมืองของประเทศอิตาลี แต่งขึ้นในราวศตวรรษที่ 19 เป็นบทเพลงที่แต่งขึ้นเพื่อชมความงามของชายหาดที่มีชื่อเสียงของเมืองเนเปิลส์ นอกจากนี้ เพลง Santa Lucia ยังเป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัยศิลปากรอีกด้วย สืบเนื่องจาก ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร ท่านเป็นชาวอิตาลี ซึ่งมีชื่อเดิมว่า คอร์ราโด เฟโรชี (Corrado Feroci) และชอบร้องเพลงนี้บ่อย ๆ เวลาทำงาน หลังจากนั้น คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ ได้นำทำนองเพลงนี้ มาใส่เนื้อร้องภาษาไทย โดยใช้ชื่อเพลงว่า "ศิลปากรนิยม"
  • กลิ่นจันเป็นเพลงที่มาจากคณะอักษรศาสตร์ ผู้ประพันธ์เพลงนี้คือ คุณหญิงวินิตา ดิถียนต์ เจ้าของนามปากกา ว.วินิจฉัยกุลและแก้วเก้า

ซึ่งท่านเคยเป็นอาจารย์สอนอยู่ที่คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เวลาผ่านไป เพลงกลิ่นจันก็แพร่หลายไปทั่วมหาวิทยาลัย

  • สวัสดีศิลปากร แต่งโดยนักศึกษานักศึกษาคณะโบราณคดี เพื่อที่จะนำไปเต้นเรี่ยไรเงินสมทบทุนช่วยภัยน้ำท่วมช่วงน้ำท่วมกรุงเทพฯครั้งใหญ่ ปัจจุบันเป็นเพลงสันทนาการประจำมหาวิทยาลัยที่นักศึกษาทุกคณะสามารถร้องและเต้นพร้อมกัน แต่ท่าเต้นจะต่างกันเล็กน้อย

ต้นจัน

ต้นจันเป็นต้นไม้ใหญ่ ผลมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ยืนต้นเก่าแก่อยู่คู่กับวังท่าพระมาช้านาน และยังมีต้นเก่าแก่อีกต้นที่พระตำหนักทับขวัญ พระราชวังสนามจันทร์ มหาวิทยาลัยจึงกำหนดให้ต้นจันเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย เป็นที่มาของเพลงกลิ่นจัน ปัจจุบันมีการปลูกต้นจันที่วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรีเพิ่มขึ้นด้วย

ดอกแก้ว

ด้านข้างท้องพระโรง วังท่าพระ มีสวนแก้วอยู่ด้านใน ยามเมื่อดอกแก้วออกดอก จะส่งกลิ่นหอมฟุ้งไปทั่วทั้งวัง

การบูมคณะ

เอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของมหาวิทยาลัยศิลปากรที่แต่ละคณะวิชาจะมีการบูมสำหรับคณะตนเองซึ่งแตกต่างกันในแต่ละคณะ ขณะที่จะไม่มีการบูมมหาวิทยาลัยโดยเป็นมหาวิทยาลัยแห่งเดียวของประเทศไทยที่ไม่มีการบูมมหาวิทยาลัย[6]

ทำเนียบผู้อำนวยการและอธิการบดี

นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2557) นับได้ 71 ปี มหาวิทยาลัยศิลปากรมีผู้อำนวยการและอธิการบดีมาแล้ว 19 คน ดังรายพระนาม และรายนามต่อไปนี้

ผู้อำนวยการ วาระการดำรงตำแหน่ง
1. ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี
2. ศาสตราจารย์ พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ) พ.ศ. 2486 - พ.ศ. 2492
3. ศาสตราจารย์ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พ.ศ. 2492 - พ.ศ. 2494
4. ศาสตราจารย์ พลเอก หลวงรณสิทธิพิชัย พ.ศ. 2494 - พ.ศ. 2501
5. ศาสตราจารย์ ธนิต อยู่โพธิ์ พ.ศ. 2501 - พ.ศ. 2508
อธิการบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
6. ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล พ.ศ. 2508 - พ.ศ. 2514
7. ศาสตราจารย์ พันเอก หม่อมเจ้ายาใจ จิตรพงศ์ พ.ศ. 2514 - พ.ศ. 2517
8. ศาสตราจารย์ แสวง สดประเสริฐ (รักษาการแทนอธิการบดี) พ.ศ. 2517 - พ.ศ. 2518
9. ศาสตราจารย์ ดร.อดุล วิเชียรเจริญ พ.ศ. 2518 - พ.ศ. 2522
10. ศาสตราจารย์ พลตรี หม่อมราชวงศ์ทองใหญ่ ทองใหญ่ พ.ศ. 2522 - พ.ศ. 2525
11. ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล พ.ศ. 2525 - พ.ศ. 2529
12. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เอนก วีรเวชชพิสัย พ.ศ. 2529 - พ.ศ. 2531
13. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ คุณหญิง ไขศรี ศรีอรุณ พ.ศ. 2531 - พ.ศ. 2539
14. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ตรึงใจ บูรณสมภพ พ.ศ. 2539 - พ.ศ. 2543
15. อาจารย์ พุฒ วีระประเสริฐ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 - 31 ตุลาคม พ.ศ. 2547
16. รองศาสตราจารย์ ดร.วิวัฒน์ชัย อัตถากร 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 - 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2550
17. นายภราเดช พยัฆวิเชียร 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 - 30 เมษายน พ.ศ. 2551
18. ดร.อุทัย ดุลยเกษม 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 - 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555
19. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชัยชาญ ถาวรเวช 1 ธันวาคม พ.ศ. 2555 - 12 มีนาคม พ.ศ. 2556 (รักษาราชการแทนอธิการบดี)
13 มีนาคม พ.ศ. 2556 - ปัจจุบัน[7]

คณะวิชา

คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์

มหาวิทยาลัยศิลปากรเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอก ครอบคลุมสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ และสาขามนุษยศาสตร์ โดยมีหน่วยงานจัดการเรียนการสอนทั้งหมด ดังต่อไปนี้

สถานที่ตั้งหรือวิทยาเขต

วังท่าพระ

ตั้งอยู่ในพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์ชั้นใน ตรงข้ามพระบรมมหาราชวังและท่าช้าง มีพื้นที่ประมาณ 11 ไร่ เดิมเป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เป็นวิทยาเขตแรกและจุดกำเนิดของมหาวิทยาลัย เป็นที่ตั้งของคณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์(ชั้นปีที่2-5) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์(ชั้นปีที่ 1-5) คณะโบราณคดี คณะมัณฑนศิลป์(ชั้นปีที่2-4) และหอศิลป์ต่างๆ

สำนักงานอธิการบดี ตลิ่งชัน

เป็นที่ตั้งของสำนักงานอธิการบดี คณะดุริยางคศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัยทั้งภาคไทยและอังกฤษ และวิทยาลัยนานาชาติสาขาการจัดการโรงแรม (เริ่มทำการย้ายไปเขตบางรัก)

วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์

มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ เป็นที่รู้จักในชื่อว่า "ม.ทับแก้ว" ตั้งอยู่ในบริเวณพระราชวังสนามจันทร์ ตำบลสนามจันทร์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม ซึ่งเคยเป็นพระราชวังของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพื้นที่ประมาณ 888 ไร่ แต่ใช้เป็นที่ก่อสร้างอาคารของมหาวิทยาลัยเพียง 428 ไร่ โดยเป็นที่ตั้งของคณะอักษรศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์(ชั้นปีที่1) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์(ชั้นปีที่ 1-2) และคณะมัณฑนศิลป์(ชั้นปีที่1)นอกจากนี้ ยังเป็นที่ตั้งของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งเปิดให้มีการเรียนการสอนแบบสหศึกษาแก่นักเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาล ประถมศึกษาปีที่ 1-6และชั้นมัธยมปีที่ 1-6 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม ศูนย์วิจัยและพัฒนา ศูนย์วิทยาศาสตร์ และศูนย์บริการวิชาการต่างๆ

สาเหตุที่เลือกจังหวัดนครปฐมเป็นที่ตั้งวิทยาเขตแห่งใหม่ พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม เหมาะสมที่จะเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยศิลปากรด้วยเหตุผลดังนี้

  • ประการแรก พระราชวังสนามจันทร์เคยเป็นพระราชวังของพระบาทสมเด็จพระ มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ผู้สนพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่งในทาง โบราณคดีและศิลปะทั้งปวง ทรงเป็นนักโบราณคดีและศิลปินชั้นเยี่ยมโดยเฉพาะ ทาง วรรณศิลป์ ทรงสนับสนุนนาฏศิลป์ตลอดรัชสมัยของพระองค์
  • ประการที่สอง บริเวณพระราชวังสนามจันทร์เป็นที่ตั้งของเทวาลัยคเณศ ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น นอกจากนี้ พระคเณศยังเป็นเทพเจ้าแห่งศิลปะ และเป็นตราของทางมหาวิทยาลัยศิลปากร อยู่แล้ว
  • ประการสุดท้าย ที่จังหวัดนครปฐมมีพระปฐมเจดีย์ประดิษฐานอยู่ นับได้ว่าเป็น ศูนย์กลางของโบราณคดีและศิลปะที่สำคัญในประเทศไทย ดังนั้นบริเวณพระราชวัง สนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม จึงเหมาะที่จะเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยศิลปากร

วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี

ตั้งอยู่ที่ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี มีพื้นที่ 621 ไร่ วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี เป็นวิทยาเขตแห่งแรกของประเทศไทย ที่มีการออกแบบอาคารและวางแผนแม่บทให้ ประหยัดพลังงาน และรักษาสภาพแวดล้อม (Clean and Green Campus) โดยอาคารทุกหลังจะสูงไม่เกิน 5 ชั้น ใช้บันไดติดต่อสัญจรทางตั้ง โดยไม่ต้องใช้ลิฟท์ ออกแบบโดยการใช้หลักการในการประหยัดพลังงาน ทั้งในเรื่องการลดความร้อน การใช้แสงสว่าง และลมธรรมชาติ รวมทั้งการนำของเสีย และพลังงาน หมุนเวียนมาใช้ประโยชน์

การวางผังจะให้รถยนต์จอดที่ด้านหน้าวิทยาเขต แต่ภายในจะใช้จักรยาน ทางเดิน และรถไฟฟ้าเท่านั้น ถนนทุกสายรวมทั้งการเดินเท้า ร่มรื่นด้วยต้นไม้ใหญ่ให้ร่มเงาตลอดทุกสาย ทางเดินติดต่อระหว่างอาคารที่สำคัญมีหลังคาคลุมกันแดด และฝน มีคลองเรียบถนนสายหลัก มีสระน้ำ คูน้ำ บ่อน้ำ และบึง กระจายอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ทางเดินติดต่อของบ้านพักอาจารย์ และข้าราชการ เป็นสะพานลอย เช่นเดียวกับหมู่บ้านชาวประมง เพราะอยู่บนที่ราบลุ่มมีน้ำท่วมถึง การใช้สะพานเป็นทางเดินติดต่อจะช่วยรักษาระบบนิเวศน์ได้เป็นอย่างดี และยังมีการนำบรรยากาศของวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์มาผสมผสาน เมื่อจัดทำภูมิสถาปัตยกรรมเสร็จเรียบร้อย จะเป็นวิทยาเขตที่งดงาม และปราศจากมลพิษ ถือเป็นวิทยาเขตแห่งอนาคตของมหาวิทยาลัยศิลปากร(ปัจจุบันวิทยาเขตไม่สามารถดำเนินการได้ตามแผนทั้งหมด ทั้งนี้เนื่องจากมีข้อขัดข้องบางประการ โดยเฉพาะการขยายตัวอย่างรวดเร็วของการรับนักศึกษาเข้าเรียนและการขาดแคลนงบประมาณ จึงยังไม่สามารถดำเนินการได้ตามแผนที่กำหนดไว้)

วิทยาเขตนี้เป็นที่ตั้งของคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาการจัดการ และคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ชั้นปีที่1-3) คลังโบราณวัตถุของคณะโบราณคดี และในอนาคตตามแผนพัฒนาของคณะรัฐมนตรีเมื่อปี 2550 มีมติให้มีการขยายสาขาด้านการศึกษาของมหาวิทยาลัยศิลปากร เพื่อเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคตะวันตก ไว้ที่ "วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี" โดยจะมีคณะตั้งใหม่ คือ คณะรัฐประศาสนศาสตร์,คณะสัตวแพทยศาสตร์,คณะรัฐศาสตร์,คณะแพทยศาสตร์,คณะพยาบาลศาสตร์ ,คณะการออกแบบยานพาหนะ,คณะทันตแพทยศาสตร์และคณะกายภาพบำบัด รวมถึงวิทยาลัยนานาชาติ สาขาทัศนศิลป์และสถาบันศิลปะร่วมสมัยแห่งภูมิภาคเอเชียด้วย

บางรัก

ในปี พ.ศ. 2551 ตามนโยบายของสภามหาวิทยาลัย ได้เปิดวิทยาเขตใหม่ ขึ้นที่อาคารของบริษัท ก.ส.ท.หรือตึกแคทเทเลคอม ในเขตบางรัก ซึ่งพื้นที่ที่จะใช้งานคือโฮมออฟฟิศชั้นที่10และ11 ของอาคารจอดรถของบริษัท ก.ส.ท. ซึ่งอยู่ในซอยหลังที่ทำการไปรษณีย์กลาง กรุงเทพมหานคร ทั้งนี้จะมี นักศึกษาจากวิทยาลัยนานาชาติสาขาการออกแบบมัลติมีเดียและคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สาขานิเทศศาสตร์ กับชั้นปีที่4ของสาขาออกแบบกับสาขาธุรกิจ และสาขาธุรกิจภาคต่อเนื่อง ศึกษาอยู่ที่วิทยาเขตบางรักทั้งหมด โดยจะใช้บริเวณชั้นที่ 8 เป็นหลัก โดยตามประกาศคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้ทำตามนโยบายของสภามหาวิทยาลัยในหัวข้อ "หนึ่งคณะสองวิทยาเขต" จึงทำให้มีการปรับปรุงและโยกย้ายนักศึกษา ที่เคยศึกษาเดิมที่วิทยาเขตท่าพระ และตลิ่งชันนั้นมาสู่วิทยาเขตบางรัก ทางมหาวิทยาลัยได้อนุมัติงบพัฒนาพื้นที่บริเวณโฮมออฟฟิศดังกล่าวให้ทันสมัย โดยชั้นที่8ของนักศึกษาคณะเทคโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้มีการสร้างห้องเรียน ขนาด 45 60 80 120ที่นั่ง เพื่อการรองรับนักศึษาที่เพิ่มขึ้นทุกปีของสาขานิเทศศาสตร์ และห้องแลปคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยเทียบเท่าห้องแลปสองที่ตึกอาคารบริหาร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี ที่มีความทันสมัยและเหมาะแก่การปฏิบัติงานทางกราฟิกและแอนิเมชั่น ปัจจุบันวิทยาลัยนานาชาติสาขาการจัดการโรงแรมได้ย้ายที่ตั้งศูนย์ปฏิบัติการ Vatel Restaurant และบางวิชาภาคทฤษฏี เริ่มเปิดบริการวันที่ 9 มกราคม 2555 และภาควิชาภาคทฤษฏีที่อื่นๆจะตามมาเป็นทีหลังเป็นลำดับไป

สถานที่สำคัญ

ประตูและกำแพงวังท่าพระ

กำแพงก่ออิฐถือปูนมีใบเสมาประกอบ กำแพงนี้คาดว่าก่อสร้างพร้อมกับวังท่าพระตั้งแต่สมัยรัชกาลที่1 ปัจจุบันคงเหลือเฉพาะด้านริมถนนหน้าพระลาน ถือเป็นสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยศิลปากร

ท้องพระโรงและกำแพงแก้ว

ปัจจุบันเป็นหอศิลป์ของมหาวิทยาลัย ลักษณะท้องพระโรงเป็นแบบเรือน 5 ห้อง เฉลียงรอบหันหน้ายาวออกหน้าวัง รูปทรงท้องพระโรงที่ปฏิสังขรณ์ใหม่นั้นภายนอกคงยึดตามแบบที่ปรากฏเมื่อครั้งรัชกาลที่ 3 แต่ภายในคงไว้แต่เสาเดิม มีบันไดใหญ่เข้าทางด้านหน้าได้ทางเดียว กำแพงนั้นเป็นสถาปัตยกรรมในรัชกาลที่ 5 มีลูกกรงที่ทำด้วยเหล็กหล่อเป็นลายสวยงาม และได้รับการขึ้นทะเบียนโบราณสถาน

ตำหนักกลางและตำหนักพรรณราย

สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกรุ่นแรกๆในรัชกาลที่ 5 กล่าวคือเป็นตึกสองชั้น มีเฉลียงหลังหนึ่งหันเข้าหาอีกหลังหนึ่ง ส่วนหลังนอกนั้นอยู่ข้างสวนแก้ว ตึกหลังในที่มีเฉลียงทำเรียบกว่าหลังนอก และมีเสาทึบ หัวเสาเป็นแบบศิลปะโรมัน ช่องคูหาด้านล่างเป็นช่องโค้ง มีการตกแต่งที่ส่วนต่างๆ ภายนอกอาคารเล็กน้อย ส่วนตึกหลังนอกมีรูปทรงทึบกว่า มีการตกแต่งผิวหนังโดยการเซาะเป็นร่องในชั้นล่าง ส่วนชั้นบนผนังเรียบ มีเสาติดผนังระหว่างช่องหน้าต่างและประตูต่างๆ ด้วยลายปูนปั้นหรือตีตารางไม้ไว้ในช่องแสงเหนือประตูบางส่วน ตึกหลังนอกมีกันสาด มีเท้าแขนรับกันสาดทำอย่างเรียบๆ และประดับชายคาด้วยลายฉลุไม้ ตึกหลังในนี้เป็นที่ประทับของ พระองค์เจ้าพรรณราย พระมารดาของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ โดยตำหนักกลางนั้นได้รับการขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ปัจจุบันใช้เป็นที่ตั้งของหอศิลป์และหน่วยงานของมหาวิทยาลัย

ศาลาในสวนแก้ว

เรียกว่า ศาลาดนตรี เมื่อครั้งรัชกาลที่ 5 องค์เจ้าของวังเคยประทับที่ศาลานี้เพื่อชมการแสดงหรือประชันดนตรีซึ่งจะตั้งวงกันในสวนแก้ว เพราะในวังท่าพระขณะนั้นมีวงดนตรีประจำวังที่มีชื่อเสียง ศาลาในสวนนี้ทำเป็นศาลาโปร่งมีผนังด้านเดียว หันหน้าเข้าหาสวนแก้ว หลังคาเป็นแบบปั้นหยา มีลายประดับอาคารอย่างละเอียดซับซ้อนกว่าตัวตำหนัก จึงเข้าใจว่าสร้างทีหลัง ลายฉลุไม้ทั้งที่ชายคาท้าวแขนระเบียบทำอย่างประณีตงดงาม

รูปเคารพอาจารย์ศิลป์

เป็นหนึ่งในศูนย์รวมใจของชาวศิลปากร สร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัย ตั้งอยู่บริเวณลานอาจารย์ศิลป์ หลังตึกกรมศิลปากร

พระตำหนักชาลีมงคลอาสน์

พระตำหนักชาลีมงคลอาสน์และอนุสาวรีย์ย่าเหล

พระตำหนักที่โดดเด่นที่สุดในหมู่พระตำหนักและพระที่นั่ง และเป็นสัญลักษณ์ของพระราชวังสนามจันทร์ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของสนามใหญ่ สร้างขึ้นราวปี พ.ศ. 2451 โดยมีหม่อมเจ้าอิทธิเทพสรร กฤดากร เป็นสถาปนิกผู้ออกแบบ จุดเด่นของพระตำหนักองค์นี้คือสถาปัตยกรรมที่มีลักษณะคล้ายกับปราสาท ซึ่งเป็นการผสมระหว่างศิลปะเรอเนซองส์ของฝรั่งเศส กับอาคารแบบฮาล์ฟ ทิมเบอร์ของอังกฤษ แต่ดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพอากาศในประเทศไทย

ในปี พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามพระตำหนักว่า พระตำหนักชาลีมงคลอาสน์ และโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีขึ้นพระตำหนัก เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2460

พระตำหนักมารีราชรัตบัลลังก์

พระตำหนัก ๒ ชั้น สร้างด้วยไม้สักทอง ทาสีแดง มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมแบบนีโอคลาสสิก ของประเทศทางตะวันตก แต่ได้มีการปรับปรุงองค์ประกอบบางส่วน ให้เหมาะกับภูมิอากาศแบบเมืองร้อน พระตำหนักองค์นี้ สร้างขึ้นคู่กับพระตำหนักชาลีมงคลอาสน์ โดยมีฉนวนทางเดินทำเป็นสะพาน จากชั้นบนด้านหลังของพระตำหนักชาลีมงคลอาสน์ ข้ามคูน้ำเชื่อมกับชั้นบนด้านหน้าของพระตำหนัก สะพานดังกล่าวหลังคามุงกระเบื้อง และติดหน้าต่างกระจกทั้งสองด้าน ตลอดความยาวของสะพานที่เชื่อมติดต่อถึงกัน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระตำหนักนี้ ในราวปีพ.ศ. 2459 โดยมีหม่อมเจ้าอิทธิเทพสรร กฤดากร เป็นสถาปนิกออกแบบ

พระตำหนักทับแก้ว

อาคารตึกสองชั้น ในพระราชวังสนามจันทร์ เคยเป็นที่ประทับในฤดูหนาว ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ภายในอาคารมีเตาผิงและหลังคา มีปล่องไฟตามแบบตะวันตก ในระหว่างที่มีการซ้อมรบเสือป่า พระตำหนักเป็นที่ตั้งกองบัญชาการเสือป่ากองเสนาน้อยราบเบารักษาพระองค์ โดยพื้นที่ด้านหลังของพระตำหนักเป็นที่ตั้งของวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ อันเป็นที่มาของคำว่า"ม.ทับแก้ว"

พระตำหนักทับขวัญ

เป็นเรือนไทยภาคกลางที่อาจเรียกได้ว่าสมบูรณ์แบบที่สุด พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นเพื่อรักษาศิลปะบ้านไทยแบบโบราณ และใช้พระตำหนักองค์นี้เป็นที่ตั้งกองบัญชาการเสือป่าราบหนักรักษาพระองค์ โดยบริเวณกลางชานเรือนปลูกต้นจันใหญ่แผ่กิ่งก้านไว้ให้ร่มเงาอยู่ เหตุนี้ต้นจันจึงถูกกำหนดให้เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย

รูปเคารพหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล

สร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล บุคคลสำคัญของโลกและศิลปินแห่งชาติ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้ก่อตั้งวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ ตั้งอยู่บริเวณหน้าคณะศึกษาศาสตร์

สระแก้ว สะพานสระแก้ว และศาลาสระแก้ว

สระน้ำขนาดใหญ่กลางมหาวิทยาลัย อยู่คู่กับพระราชวังสนามจันทร์มานาน มีบรรยากาศร่มรื่น มีการสร้างสะพานข้ามสระหลายแห่ง แต่ที่โดดเด่นคือสะพานไม้หน้าตึกยูเนี่ยน ใกล้กันมีศาลาไม้แปดเหลี่ยมแบบโปร่ง ฉลุตามตามแบบตะวันตก สระน้ำนี้เป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ของวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและใช้จัดงานลอยกระทงที่มีชื่อเสียง

องค์พระพิฆเนศ

พระพิฆเนศหล่อโลหะขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย หน้าตักกว้าง 96 นิ้ว ประดิษฐานเมื่อปีพ.ศ. 2550 บริเวณลานประติมากรรม เนื่องในปีมหามงคลในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธานในพิธีเททองหล่อองค์พระพิฆเนศ ออกแบบปั้นและหล่อโดยอาจารย์เศวต เทศน์ธรรม ประติมากรอาวุโส ศิษย์คนสำคัญของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เป็นศูนย์รวมจิตใจและเป็นสิริมงคลแก่วิทยาเขตสารเทศเพชรบุรี

ลานประติมากรรม

ลานเนินสูงต่ำหลายเนิน ปูคลุมทั้งหมดด้วยสนามหญ้า มีต้นไม้และสระน้ำขนาดใหญ่ กว้างขวาง จัดแสดงผลงานประติมากรรมขนาดกลางและขนาดใหญ่ของศิลปินที่มีชื่อเสียงจากทั้งในและต่างประเทศหลายชิ้น ตั้งอยู่บริเวณหน้าวิทยาเขตมีชื่อเล่นว่า"ลานเทเลทับบี้" เนื่องจากมีลักษณะคล้ายกับสถานที่ในละครทีวีเรื่องเทเลทับบี้ เป็นสถานที่พักผ่อนและใช้จัดกิจกรรมต่างๆเช่น พิธีบรวงสวงพระพิฆเนศ เทศกาลตลาดศิลป์ และพิธีลอยกระทง เป็นต้น

อาคารบริหาร

อาคารสูง 7 ชั้น มีลักษณะโดดเด่น ก่อสร้างด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ใช้วัสดุและแนวคิดประหยัดพลังงาน เป็นที่ตั้งของสำนักงานอธิการบดีและหน่วยงานต่างๆในวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี และเป็นสัญลักษณ์ของวิทยาเขตสารสนเทศ ด้านข้างอาคารมีทางเดินเชื่อมกับอาคารเรียนรวม1 เรียกว่า"ระเบียงชงโค"

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร

พิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยศิลปากรจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงเดือนกรกฎาคม อดีตผู้ที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยศิลปากรได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรจากพระหัตถ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช โดยเสด็จฯครั้งแรกในปีพ.ศ. 2508 ณ วังท่าพระ ปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินมาปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต

บุคคลสำคัญจากมหาวิทยาลัยศิลปากร

ดูที่บุคคลสำคัญจากมหาวิทยาลัยศิลปากร

แหล่งข้อมูลอื่น

ข้อมูลเส้นทางการเดินรถ ไป-กลับ ม.ศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์

13°45′10.93″N 100°29′27.98″E / 13.7530361°N 100.4911056°E / 13.7530361; 100.4911056

อ้างอิง

  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/E/011/4.PDF
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ จัดราชการและเปลี่ยนนามกระทรวงโยธาธิการใหม่กับตั้งกรมศิลปากรขึ้นใหม่ กรมหนึ่ง
  3. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศิลปากร พุทธศักราช ๒๔๘๖, เล่ม๖๐, ตอน ๕๔ ก, ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๖, หน้า ๑๔๙๖
  4. พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. 2559 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 133 ตอน 49 ก หน้า 1 2 มิถุนายน พ.ศ. 2559
  5. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ ๒๔) เรื่อง กำหนดภาพเครื่องหมายราชการตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช ๒๔๘๒
  6. หนังสือสำหรับน้องใหม่ปีการศึกษา 2551 หน้า 41
  7. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2556/E/035/7.PDF ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓o ตอนพิเศษ ๓๕ ง หน้า ๗ ลงวันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๖ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร


แม่แบบ:ศูนย์สะเต็มศึกษา