สภากาชาดไทย
Thai Red Cross Society | |
ก่อนหน้า | สภากาชาดสยาม |
---|---|
ก่อตั้ง | 26 เมษายน พ.ศ. 2436 |
ผู้ก่อตั้ง | เปลี่ยน ภาสกรวงศ์ |
ประเภท | องค์กรสาธารณกุศลไม่แสวงหาผลกำไร |
สถานะตามกฎหมาย | องค์กรในพระบรมราชูปถัมภ์ |
สํานักงานใหญ่ | เลขที่ 1871 ถนนอังรีดูนังต์ แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 |
ที่ตั้ง |
|
ภูมิภาคที่รับผิดชอบ | ประเทศไทย |
สมาชิก | สหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ |
ภาษาทางการ | ภาษาไทย |
เลขาธิการ | เตช บุนนาค |
| |
บุคลากรหลัก | |
งบประมาณ (พ.ศ. 2568) | 9,178,645,600 บาท[1] |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ |
ชื่อในอดีต | สภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยาม |
สภากาชาดไทย เป็นสภากาชาดประจำประเทศไทย มีภารกิจปกป้องชีวิตและสุขภาพของมนุษย์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2436 (ร.ศ. 112) เดิมเรียก "สภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยาม" ริเริ่มก่อตั้งโดยท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ ภริยาของเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) ซึ่งมีสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงทรงเป็นสภานายิกาพระองค์แรก สันนิบาตสภากาชาดมีมติรับสภากาชาดสยามเป็นสมาชิกในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2464
ประวัติ
[แก้]- พ.ศ. 2436 เกิดกรณีพิพาทระหว่าง ประเทศสยาม กับ ประเทศฝรั่งเศส เรื่องดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ซึ่งส่งผลให้ทหารบาดเจ็บล้มตายมาก แต่ไม่มีองค์การกุศลหลักที่ทำหน้าที่ช่วยเหลือพยาบาลและบรรเทาทุกข์ ดังนั้น ท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ จึงได้ชักชวนสตรีอาสาสมัครขึ้น และได้กราบบังคมทูล สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี เพื่อขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ตั้ง "สภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยาม" เมื่อความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชกระแสว่า เป็นความคิดอันดีตามแบบอย่างประเทศที่เจริญแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้ง "สภาอุณาโลมแดง" ขึ้น เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2436 ซึ่งถือเป็น "วันสถาปนาสภากาชาดไทย" นอกจากนี้ ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี ทรงเป็น"สภาชนนี" สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระวรราชเทวี ทรงเป็น"สภานายิกา" และท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงษ์ เป็นเลขานุการิณีสภาอุณาโลมแดง [2]
- พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระดำริว่า ถ้าได้จัดโรงพยาบาลของกาชาด ก็จะเป็นประโยชน์แก่บ้านเมือง พระองค์จึงได้ร่วมกับพระราชภราดาภคินี ทรงบริจาคทรัพย์รวมกับทุนของสภาอุณาโลมแดง สร้างโรงพยาบาลขึ้นในที่ดินส่วนพระองค์ แล้วโปรดเกล้าฯ ขนานนามตามพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่า "โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์" เพื่อเป็นอนุสรณ์ในพระราชบิดา และให้โรงพยาบาลนี้เป็นของสภากาชาดสยาม
- พ.ศ. 2463 สภากาชาดไทยได้รับการรับรองจาก "ส่วนการรับรองระหว่างประเทศ คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ"
- พ.ศ. 2464 สภากาชาดไทยเข้าเป็นสมาชิกของ "สหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ"
สภากาชาดสยาม-สภากาชาดไทย
[แก้]สภานายิกา
[แก้]- พ.ศ. 2436 - 20 ตุลาคม พ.ศ. 2462 พันเอกหญิง สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
- 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2463 - 17 ธันวาคม พ.ศ. 2498 สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า [3]
- 12 สิงหาคม พ.ศ. 2499 - ปัจจุบัน จอมพลหญิง จอมพลเรือหญิง จอมพลอากาศหญิง สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง[4]
องค์บรมราชูปถัมภิกา
[แก้]- 2 มี.ค. 2497 - 22 พ.ค. 2527 พันเอกหญิง สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 7 - องค์บรมราชูปถัมภิกาแห่งกองบรรเทาทุกข์และอนามัย [5]
- 6 เม.ย. 2497 - 12 ส.ค. 2499 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง - องค์บรมราชูปถัมภิกาแห่งอนุกาชาดไทย [6]
องค์อุปถัมภิกา
[แก้]- 18 ส.ค. 2502 - 10 ต.ค. 2528 พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีในรัชกาลที่ 6 - องค์อุปถัมภิกากองอาสากาชาด สภากาชาดไทย
- 18 ส.ค. 2502 - 27 ก.ค. 2554 พลเอกหญิง พลเรือเอกหญิง พลอากาศเอกหญิง สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี - องค์อุปถัมภิกากองอาสากาชาด สภากาชาดไทย[7]
อุปนายก-อุปนายิกา
[แก้]- 3 เม.ย. 2457 - 13 มิ.ย. 2463 จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ[8]
- 12 ก.ค. 2463 - 30 มิ.ย. 2475 จอมพล จอมพลเรือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต[9]
- 30 มิ.ย. 2475 - 17 ก.พ. 2482 มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาพิชัยญาติ (ดั่น บุนนาค) [10]
- 27 ก.พ. 2482 - 16 ส.ค. 2482 พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอกมังกร พรหมโยธี (มังกร ผลโยธิน) [11]
- 28 ต.ค. 2486 - 31 ม.ค. 2491 พันเอกช่วง เชวงศักดิ์สงคราม (ช่วง ขวัญเชิด) [12]
- 13 ม.ค. 2491 - 15 ก.ย. 2502 พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต[13]
- 18 มี.ค. 2503 - 30 มิ.ย. 2507 มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) [14]
- 1 ก.ค. 2507 - 13 ก.พ. 2512 พระตีรณสารวิศวกรรม (ตรี ตีรณสาร)[15]
- 26 ก.พ. 2512 - 21 พ.ย. 2516 พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุขุมาภินันท์[16]
- 22 พ.ย. 2516 - 12 ธ.ค. 2520 ศาสตราจารย์ นายแพทย์ หม่อมหลวงเกษตร สนิทวงศ์ (รักษาการแทน)
- 13 ธ.ค. 2520 - ปัจจุบัน ศาสตราจารย์ พลเอกหญิง พลเรือเอกหญิง พลอากาศเอกหญิง สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี [17]
งานกาชาด
[แก้]งานกาชาด เป็นงานที่จัดขึ้นเพื่อหารายได้บำรุงสภากาชาดไทย มีการจัดงานทั้งในกรุงเทพมหานคร และจังหวัดต่าง ๆ
งานกาชาด จัดให้มีขึ้นเป็นครั้งแรกระหว่างวันที่ 31 มีนาคม 2465 – 8 เมษายน 2466 (สมัยนั้นวันขึ้นปีใหม่ยังเป็นวันที่ 1 เมษายน) ณ ท้องสนามหลวง แรกเริ่มเป็นการรับสมาชิกโดยเสียค่าบำรุงปีละ 1 บาท ต่อมาจึงเพิ่มกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ การละเล่น การออกร้านขององค์กรต่าง ๆ การประกวดธิดากาชาด เป็นต้น และได้ย้ายมาจัดที่ สถานเสาวภา และบริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า, สวนอัมพร และสนามเสือป่า ตามลำดับ โดยจัดในช่วงประมาณปลายเดือนมีนาคม ถึงต้นเดือนเมษายนของทุกปี เป็นเวลา 9 วัน
ภายในงานจะมีการออกร้านจำหน่ายสินค้าราคาถูก, บริการตรวจสุขภาพ, จำหน่ายสลากรางวัล "สลากกาชาด" เป็นต้น ซึ่งร้านในงานมาจากหน่วยงานต่าง ๆ เช่น หน่วยงานรัฐ, กองทัพ, สถานีโทรทัศน์, โรงพยาบาล มหาวิทยาลัย ตลอดจนถึงบริษัทเอกชน
งานกาชาดประจำปี พ.ศ. 2561 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 23 พฤศจิกายน ถึง 1 ธันวาคม พ.ศ. 2561 ณ สวนลุมพินี แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ภายใต้แนวคิด "125 ปี สภากาชาดไทย ร้อยดวงใจส่งต่อการให้ที่งดงาม"[18]
งานกาชาดประจำปี พ.ศ. 2563 มีการเปลี่ยนรูปแบบการจัดงานเป็นรูปแบบออนไลน์ครั้งแรก ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทย โดยจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 19 – 29 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ผ่านทางเว็บไซต์ของงานกาชาด ตลอด 24 ชั่วโมง [19]
ในปี พ.ศ. 2565 สภากาชาดไทยได้จัดงานกาชาดคู่ขนานทั้งที่สวนลุมพินีและผ่านเว็บไซต์ของงาน เพื่อเฉลิมพระเกียรติองค์สภานายิกา เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 รวมถึงฉลองครบรอบ 100 ปีของการจัดงาน[20]
หน่วยงานภายใน
[แก้]
|
|
ดูเพิ่ม
[แก้]- การบริจาคโลหิต
- โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
- สถานเสาวภา
- สถานีเอื้อน อนามัย จังหวัดเพชรบุรี
- โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา
- ยุวกาชาดไทย
- กาชาด
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๕๓๖, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
- ↑ ประกาศจากราชกิจจานุเบกษา วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2436
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งสภานายิกาแห่งสภากาชาดสยาม
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งสภานายิกาสภากาชาดไทย" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2007-07-29.
- ↑ https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2497/D/051/1843.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2497/D/051/1842_1.PDF
- ↑ "พระกรณียกิจ - พระราชประวัติสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-22. สืบค้นเมื่อ 2014-03-05.
- ↑ ประกาศจากราชกิจจานุเบกษา วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2457
- ↑ ประกาศจากราชกิจจานุเบกษา วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2463
- ↑ ประกาศจากราชกิจจานุเบกษา วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2475
- ↑ ประกาศจากราชกิจจานุเบกษา วันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2482
- ↑ ประกาศจากราชกิจจานุเบกสา วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2486 (ตัวสะกดตามต้นฉบับ)
- ↑ ประกาศจากราชกิจจานุเบกษา วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2491
- ↑ ประกาศจากราชกิจจานุเบกษา วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2503
- ↑ ประกาศจากราชกิจจานุเบกษา วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2507
- ↑ ประกาศจากราชกิจจานุเบกษา วันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2512
- ↑ ประกาศจากราชกิจจานุเบกษา วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2520
- ↑ https://www.redcross.or.th/news/information/5847/
- ↑ https://www.redcross.or.th/news/information/12218/ ครั้งแรก…กับงานกาชาดออนไลน์เต็มรูปแบบบนแพลตฟอร์มออนไลน์
- ↑ "สภากาชาดไทย จัดงานกาชาดประจำปี 2565 ภายใต้แนวคิด "9 ทศวรรษใต้ร่มพระบารมี สดุดีสภานายิกาสภากาชาดไทย"". thainews.prd.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-25. สืบค้นเมื่อ 2022-11-25.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- สภากาชาดไทย เก็บถาวร 2006-07-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- สำนักงานจัดหารายได้ สภากาชาดไทย
- สำนักงานยุวกาชาด สภากาชาดไทย เก็บถาวร 2009-01-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน