กรมศิลปากร
ไปยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา
กรมศิลปากร ราชอาณาจักรไทย | |
---|---|
![]() | |
ตราพระพิคเณศ | |
![]() | |
อาคารกรมศิลปากร | |
ที่ทำการ | |
![]() ถนนหน้าพระธาตุ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร อาคารสำนักงานกรมศิลปากร เทเวศร์ 81/1 ถ.ศรีอยุธยา แขวง วชิระ เขต ดุสิต กทม.10300 | |
ภาพรวม | |
วันก่อตั้ง | 27 มีนาคม พ.ศ. 2454 |
เขตอำนาจ | ทั่วราชอาณาจักร |
งบประมาณ | 2,444.9905 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)[1] |
ผู้บริหารหลัก | ประทีป เพ็งตะโก, อธิบดี [2] อรุณศักดิ์ กิ่งมณี, รองอธิบดี พนมบุตร จันทรโชติ, รองอธิบดี สตวัน ฮ่มซ้าย, รองอธิบดี |
ต้นสังกัด | กระทรวงวัฒนธรรม |
ลูกสังกัด | ดูในบทความ |
เว็บไซต์ | |
FineArts.go.th |
กรมศิลปากร (อังกฤษ: Fine Arts Department) เป็นหน่วยงานของรัฐซึ่งมีภารกิจคุ้มครอง ป้องกัน อนุรักษ์ บำรุงรักษา ฟื้นฟู ส่งเสริม สร้างสรรค์ เผยแพร่ จัดการศึกษา ค้นคว้า วิจัย พัฒนา สืบทอดศิลปะและทรัพย์สินมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ เพื่อธำรงคุณค่าและเอกลักษณ์ของความเป็นชาติ อันจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของสังคมไทยและความมั่นคงของชาติ
ประวัติ[แก้]
- พ.ศ. 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริให้โอนกิจการของช่างมหาดเล็ก จากกระทรวงวัง และกรมพิพิธภัณฑ์ จากกระทรวงธรรมการ มาจัดตั้งเป็น "กรมศิลปากร"
- พ.ศ. 2469 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้โอนงานพิพิธภัณฑ์ ไปอยู่ในความควบคุมดูแลของ กรรมการหอพระสมุดฯ และได้โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งราชบัณฑิตยสภา เรียกว่า "ศิลปากรสถาน" ดังนั้น กรมศิลปากร จึงถูกยกเลิกไป
- พ.ศ. 2476 มีพระราชบัญญัติจัดตั้งกรมศิลปากร ขึ้นมาใหม่ โดยสังกัดกระทรวงธรรมการ และมีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง ส่วนราชการภายใน และย้ายสังกัด เพื่อความเหมาะสมหลายครั้ง
- พ.ศ. 2501 มีพระราชบัญญัติ โอนกรมศิลปากร มาสังกัด กระทรวงศึกษาธิการ และต่อมาได้โอนมาสังกัดกระทรวงวัฒนธรรมซึ่งได้รับการสถาปนาขึ้นใหม่ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545
บทบาท และหน้าที่[แก้]
- ปกป้อง คุ้มครอง อนุรักษ์ ฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมธำรงจารีตประเพณี พระราชพิธี และรัฐพิธีให้คงความเป็นเอกลักษณ์ของชาติเพื่อเป็นรากฐานในการพัฒนาประเทศไทย
- สืบทอด สร้างสรรค์ เผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม
- ปรับเปลี่ยนระบบและกลไกการบริหารจัดการมรดกศิลปวัฒนธรรม
- บริหารจัดการองค์ความรู้และพัฒนามรดกศิลปวัฒนธรรมให้เป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยว
- จัดการศึกษาเฉพาะด้านศิลปวัฒนธรรมเพื่อการอนุรักษ์ สืบทอดและพัฒนาอย่างยั่งยืน
การแบ่งส่วนราชการ[แก้]
กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมศิลปากรกระทรวงวัฒนธรรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2557 ให้แบ่งส่วนราชการกรมศิลปากร ดังต่อไปนี้
- สำนักบริหารกลาง[3]
- กองโบราณคดี
- กองโบราณคดีใต้น้ำ
- ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศมรดกศิลปวัฒนธรรม
- สำนักการสังคีต
- สำนักช่างสิบหมู่
- สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
- สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์
- สำนักศิลปากรที่ 1 - 12
- สำนักสถาปัตยกรรม
- สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
- สำนักหอสมุดแห่งชาติ
หน่วยงานในสังกัด[แก้]
สำนักศิลปากร[แก้]
|
|
สำนักการสังคีต[แก้]
- โรงละครแห่งชาติ
- โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี
- โรงละครแห่งชาติภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดนครราชสีมา
กองโบราณคดี[แก้]
กองโบราณคดีใต้น้ำ[แก้]
สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ[แก้]
สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ 81/1 ถนนศรีอยุธยา แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300 โทร. 0 2628 5036-39 ต่อ 305, 307 โทรสาร 0 2281 6766
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ภาคกลาง
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ถนนหน้าพระธาตุ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี ริมคลองบางกอกน้อย แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์ ในบริเวณกรมศิลปากร ถนนหน้าพระธาตุ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ช้างต้น บริเวณรัฐสภา ถนนอู่ทองใน แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ วัดเบญจมบพิตร บริเวณวัดเบญจมบพิตร กรุงเทพมหานคร
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ จังหวัดลพบุรี
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี จังหวัดชัยนาท
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย จังหวัดสุพรรณบุรี
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี จังหวัดราชบุรี
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี จังหวัดเพชรบุรี
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พาณิชย์นาวี จังหวัดจันทบุรี
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ภาคเหนือ
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง จังหวัดสุโขทัย
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก จังหวัดสุโขทัย
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน จังหวัดน่าน
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย จังหวัดลำพูน
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน จังหวัดเชียงราย
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์ จังหวัดนครราชสีมา
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ภาคใต้
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง จังหวัดภูเก็ต
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา จังหวัดสงขลา
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ วัดมัชณิมาวาส จังหวัดสงขลา
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชุมพร จังหวัดชุมพร
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สตูล จังหวัดสตูล
สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์[แก้]
สำนักสถาปัตยกรรม[แก้]
สำนักหอสมุดแห่งชาติ[แก้]
สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ[แก้]
ดูบทความหลักที่: สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
- หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
- หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่ พื้นที่รับผิดชอบ : เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน ตาก กำแพงเพชร พิษณุโลก และนครสวรรค์
- หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ตรัง พื้นที่รับผิดชอบ : ตรัง กระบี่ ภูเก็ต พังงา และระนอง
- หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ยะลา พื้นที่รับผิดชอบ : ยะลา นราธิวาส ปัตตานี และสตูล
- หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สงขลา พื้นที่รับผิดชอบ : สงขลา พัทลุง นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และชุมพร
- หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พะเยา พื้นที่รับผิดชอบ : พะเยา เชียงราย น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิจิตร และเพชรบูรณ์
- หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร อุบลราชธานี พื้นที่รับผิดชอบ : อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ นครราชสีมา ชัยภูมิ ขอนแก่น เลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ ยโสธร ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ และมหาสารคาม
- หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จังหวัดสุพรรณบุรี พื้นที่รับผิดชอบ : สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์
- หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จังหวัดจันทบุรี พื้นที่รับผิดชอบ : จันทบุรี ตราด ระยอง ชลบุรี ฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี และสระแก้ว
- หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ทำหน้าที่รวบรวมเก็บรักษาเอกสารและสิ่งของที่เนื่องในภารกิจของพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ
- หอเกียรติยศ ฯพณฯ บรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 21 ทำหน้าที่รวบรวมเก็บรักษาเอกสารรวมทั้งการจัดนิทรรศการประวัติผลงานและสิ่งของที่เนื่องในภารกิจของนายบรรหาร ศิลปอาชา อดีตนายกรัฐมนตรี ตั้งอยู่ที่บริเวณศูนย์ราชการจังหวัดสุพรรณบุรี (ดอนย่างแย้)
สำนักช่างสิบหมู่[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สำนักบริหารกลาง[แก้]
- ฝ่ายเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 เล่ม 132 ตอนที่ 91ก วันที่ 25 กันยายน 2558
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/089/36.PDF
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
วิกิซอร์ซ มีงานต้นฉบับเกี่ยวกับ: |