คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Faculty of Architecture, Silpakorn University
สถาปนา12 มิถุนายน พ.ศ. 2498 (68 ปี)
คณบดีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นนท์ คุณค้ำชู
ที่อยู่
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ เลขที่ 31 ถนนหน้าพระลาน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ เลขที่ 6 ถนนราชมรรคาใน ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม 73000
วารสารวารสารหน้าจั่ว
สี██ สีเทาสวาด[1]
มาสคอต
หน้าจั่วในสี่เหลี่ยม
เว็บไซต์www.arch.su.ac.th

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (อังกฤษ: Faculty of Architecture, Silpakorn University) เป็นคณะวิชาลำดับที่ 2 ของ มหาวิทยาลัยศิลปากร และเป็นคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์แห่งที่ 2 ของประเทศไทย[ต้องการอ้างอิง] ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2498

ประวัติ[แก้]

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ได้รับการสถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พุทธศักราช 2498 ในนาม "คณะสถาปัตยกรรมไทย" ที่บริเวณวังตะวันออกของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ และพลเรือโท พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นปราบปรปักษ์ เจ้ากรมช่างสิปป์หมู่ โดยมี ศาสตราจารย์ พระพรหมพิจิตร (พรหม พรหมพิจิตร) ดำรงตำแหน่งคณบดี และอาจารย์ พินิจ สุวรรณะบุณย์ เป็นผู้ช่วยคณบดีทำหน้าที่คล้ายเลขานุการ

ระยะแรกเริ่มการก่อตั้งเปิดสอนในระดับอนุปริญญา 3 ปีการศึกษา และมีการเปลี่ยนแปลงตามช่วงเวลา ดังนี้

  • พ.ศ. 2501–2507 ขยายหลักสูตรการศึกษาต่อไปจนถึงระดับปริญญาตรีในหลักสูตร "ศิลปบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมไทย" ใช้ระยะเวลาศึกษาตลอดหลักสูตรทั้งสิ้น 5 ปี ตามระบบสากลนิยม (สมัย ศาสตราจารย์ อัน นิมมานเหมินท์ ดำรงตำแหน่งคณบดี)
  • พ.ศ. 2509 เปลี่ยนชื่อคณะวิชาเป็น "คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์" และชื่อหลักสูตรการศึกษา เป็น "สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต" (สมัย ศาสตราจารย์ นาวาเอก สมภพ ภิรมย์ ร.น. ดำรงตำแหน่งคณบดี)
  • พ.ศ. 2516 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาสถาปัตยกรรมไทย
  • พ.ศ. 2517 เปิดสอนหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาออกแบบชุมชน
  • พ.ศ. 2522 ปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาสถาปัตยกรรมไทย เพื่อเตรียมการเปิดสอนหลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต
  • พ.ศ. 2524 เปลี่ยนชื่อหลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต "สาขาวิชาออกแบบชุมชน" เป็น "สาขาวิชาการออกแบบชุมชนเมือง" เพื่อให้ตรงกับความหมายของคำว่า "Urban Design" และเปลี่ยนชื่อจาก "ภาควิชาออกแบบชุมชนและผังเมือง" เป็น "ภาควิชาการออกแบบและวางผังชุมชนเมือง" ตามคำแนะนำของคณะอนุกรรมการบัญญัติศัพท์อุดมศึกษา ราชบัณฑิตยสถาน
  • พ.ศ. 2529 เปิดสอนหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม
  • พ.ศ. 2530 เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการงานก่อสร้าง
  • พ.ศ. 2538 เปิดสอนระดับปริญญาบัณฑิตเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งหลักสูตร คือ หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมไทย
  • พ.ศ. 2542 เปิดหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมไทย และคณะฯ ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้จัดเตรียมกำลังคนด้านสถาปัตยกรรมไทย จึงดำเนินโครงการสถาปัตยกรรมไทยปริวรรตขึ้นเพื่อรับนักศึกษาเข้าศึกษาโดยตรง และจัดการเรียนการสอนที่อาคารศิลป์ พีระศรี 1 วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม
  • พ.ศ. 2543 เปิดสอนหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม
  • พ.ศ. 2545 เปิดสอนหลักสูตรนานาชาติ ในระดับปริญญามหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต คือหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต และหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการมรดกทางสถาปัตยกรรมกับการท่องเที่ยว
  • พ.ศ. 2547 เปิดสอนหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น
  • พ.ศ. 2548 เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโครงการก่อสร้าง (เดิมชื่อสาขาวิชาการจัดการงานก่อสร้าง)
  • พ.ศ. 2549 เปิดสอนหลักสูตรการวางแผนชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อมมหาบัณฑิต
  • พ.ศ. 2551 เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบทางสถาปัตยกรรมและหลักสูตรภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
  • พ.ศ. 2554 ปิดหลักสูตรอนุปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิชาสถาปัตยกรรมและสาขาวิชาสถาปัตยกรรมไทย

หน่วยงาน[แก้]

  • สำนักงานคณบดี
  • ภาควิชาสถาปัตยกรรม
  • ภาควิชาศิลปสถาปัตยกรรม
  • ภาควิชาเทคนิคสถาปัตยกรรม
  • ภาควิชาการออกแบบและวางผังชุมชนเมือง

หลักสูตร[แก้]

ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก

หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (สถ.บ.) 5 ปี

  • สาขาวิชาสถาปัตยกรรม
  • สาขาวิชาสถาปัตยกรรมไทย

หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (สถ.ม.)

  • สาขาวิชาการออกแบบชุมชนเมือง
  • สาขาวิชาสถาปัตยกรรม
  • สาขาวิชาสถาปัตยกรรมไทย

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)

  • สาขาวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น
  • สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม
  • สาขาวิชาการจัดการมรดกทางสถาปัตยกรรมกับการท่องเที่ยว (หลักสูตรนานาชาติ)

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)

  • สาขาวิชาการจัดการโครงการก่อสร้าง
  • สาขาวิชาคอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบทางสถาปัตยกรรม

หลักสูตรการวางแผนชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อมมหาบัณฑิต (ผ.ม.)
หลักสูตรภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (ภ.สถ.ม.)

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชาการจัดการมรดกทางสถาปัตยกรรมกับการท่องเที่ยว (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น
  • สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม
  • สาขาวิชาสถาปัตยกรรม

ทำเนียบคณบดี[แก้]

รายนามคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
ลำดับ คณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1
ศาสตราจารย์ พระพรหมพิจิตร (พรหม พรหมพิจิตร) พ.ศ. 2498 – พ.ศ. 2501
2
ศาสตราจารย์ อัน นิมมานเหมินท์ รักษาราชการแทนคณบดี 1 กันยายน พ.ศ. 2501 – พ.ศ. 2507[2]
3
ศาสตราจารย์ นาวาเอก สมภพ ภิรมย์ ร.น. พ.ศ. 2507 – พ.ศ. 2515
4
ศาสตราจารย์ แสวง สดประเสริฐ รักษาราชการแทนคณบดี พ.ศ. 2516
5
ศาสตราจารย์ หม่อมราชวงศ์ทองใหญ่ ทองใหญ่ พ.ศ. 2516 – พ.ศ. 2520
6
อาจารย์ วรรณะ มณี 4 มีนาคม พ.ศ. 2521 – 14 เมษายน พ.ศ. 2523[3]
7
รองศาสตราจารย์ อรศิริ ปาณินท์ 15 เมษายน พ.ศ. 2523 – 14 เมษายน พ.ศ. 2527[4]
8
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประสงค์ เอี่ยมอนันต์ 15 เมษายน พ.ศ. 2527 – 14 เมษายน พ.ศ. 2531[5]
9
รองศาสตราจารย์ ดร. ตรึงใจ บูรณสมภพ 15 เมษายน พ.ศ. 2531 – 21 เมษายน พ.ศ. 2535[6]
10
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุธน วิริยะสมบูรณ์ 22 เมษายน พ.ศ. 2535 – 21 เมษายน พ.ศ. 2539[7]
11
อาจารย์ ชัยชาญ ถาวรเวช 22 เมษายน พ.ศ. 2539 – 21 เมษายน พ.ศ. 2543[8]
12
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สิทธิพร ภิรมย์รื่น รักษาราชการแทนคณบดี 22 เมษายน พ.ศ. 2543 – 30 สิงหาคม พ.ศ. 2543[9]
31 สิงหาคม พ.ศ. 2543 – 30 สิงหาคม พ.ศ. 2547[10]
13
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วาสิฏฐ์ อิ่มแสงจันทร์ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2547 – 17 เมษายน พ.ศ. 2549 (ถึงแก่กรรม)[11]
14
อาจารย์ บัญชา ชุ่มเกษร รักษาราชการแทนคณบดี 20 เมษายน พ.ศ. 2549 – 13 กันยายน พ.ศ. 2549[12]
15
รองศาสตราจารย์ ชินศักดิ์ ตัณฑิกุล 14 กันยายน พ.ศ. 2549 – 13 กันยายน พ.ศ. 2553[13]
16
รองศาสตราจารย์ ดร. ชัยสิทธิ์ ด่านกิตติกุล 14 กันยายน พ.ศ. 2553 – 13 กันยายน พ.ศ. 2557[14]
14 กันยายน พ.ศ. 2557 – 13 กันยายน พ.ศ. 2561[15]
17
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นนท์ คุณค้ำชู 14 กันยายน พ.ศ. 2561 – ปัจจุบัน[16]
  • หมายเหตุ ตำแหน่งทางวิชาการในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งในขณะนั้น

เกร็ด[แก้]

  • คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์แห่งที่ 2 ในประเทศไทย
  • คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เดิมใช้ชื่อคณะว่า "คณะสถาปัตยกรรมไทย"

อ้างอิง[แก้]

  1. สรุปมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งที่ 4/2560 เมื่อวันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ 2560
  2. คำสั่ง มศก. ที่ 21/2501 ลงวันที่ 5 กันยายน 2501
  3. คำสั่ง มศก.ที่ 126/2521 ลงวันที่ 30 มีนาคม 2521
  4. คำสั่ง มศก. ที่ 615/2523 ลงวันที่ 25 สิงหาคม 2523
  5. คำสั่ง มศก.ที่ 263/2527 ลงวันที่ 5 เมษายน 2527
  6. คำสั่ง มศก.ที่ 271/2531 ลงวันที่ 14 เมษายน 2531
  7. คำสั่ง มศก.ที่ 354/2535 ลงวันที่ 21 เมษายน 2535
  8. คำสั่ง มศก.ที่ 235/2539 ลงวันที่ 12 มีนาคม 2539
  9. คำสั่ง มศก.ที่ 394/2543 ลงวันที่ 21 เมษายน 2543
  10. คำสั่ง มศก.ที่ 892/2543 ลงวันที่ 30 สิงหาคม 2543
  11. คำสั่ง มศก. ที่ 936/2547 ลงวันที่ 14 กรกฎาคม 2547
  12. คำสั่ง มศก.ที่ 598/2549 ลงวันที่ 20 เมษายน 2549
  13. คำสั่ง มศก.ที่ 1488/2549 ลงวันที่ 14 กันยายน 2549
  14. คำสั่ง มศก. ที่ 1291/2553 ลงวันที่ 13 กันยายน 2553
  15. คำสั่ง มศก.ที่ 1385/2557 ลงวันที่ 27 สิงหาคม 2557
  16. มติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยศิลปากร ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2561

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]