ที่หยุดรถไฟพระราชวังสนามจันทร์
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
ที่หยุดรถไฟพระราชวังสนามจันทร์ Sanam Chan Palace | |
---|---|
สถานีรถไฟทางไกล | |
![]() | |
ข้อมูลทั่วไป | |
ที่ตั้ง | ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม |
พิกัด | 13°49′26″N 100°02′29″E / 13.82380°N 100.04125°Eพิกัดภูมิศาสตร์: 13°49′26″N 100°02′29″E / 13.82380°N 100.04125°E |
เจ้าของ | การรถไฟแห่งประเทศไทย |
สาย | ทางรถไฟสายใต้ |
ชานชาลา | 1 |
โครงสร้าง | |
ประเภทโครงสร้าง | ระดับดิน |
ข้อมูลอื่น | |
รหัสสถานี | 4017 |

ที่หยุดรถพระราชวังสนามจันทร์ ตั้งอยู่ ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม เป็นที่หยุดรถไฟของทางรถไฟสายใต้
ประวัติ[แก้]
ที่หยุดรถไฟพระราชวังสนามจันทร์ ในอดีตเคยเป็นสถานีรถไฟหลวงประจำพระราชวังสนามจันทร์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างอาคารสถานีรถไฟหลวงขึ้นในราวปี พ.ศ. 2453 เป็นอาคารทรงไทยประยุกต์ และทรงใช้สถานีรถไฟหลวงพระราชวังสนามจันทร์นี้ เป็นสถานีสำหรับเสด็จโดยรถไฟไปยังที่ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเสด็จไปเพื่อตรวจตราการซ้อมรบของกองเสือป่าและลูกเสือทั่วประเทศ ยามที่เสด็จมาประทับที่พระราชวังสนามจันทร์[2] ซึ่งตำแหน่งที่ตั้งของสถานีรถไฟหลวงดังกล่าว จะอยู่ห่างจากจุดพักผู้โดยสารในปัจจุบันออกไปประมาณ 360 เมตร โดยจะอยู่ด้านหลังของพระราชวังสนามจันทร์พอดี (ประมาณ สทล.ที่ 19/14) ในขณะที่ตำแหน่งของศาลาพักผู้โดยสารของที่หยุดรถพระราชวังสนามจันทร์ในปัจจุบัน จะตั้งเยื้องมาทางฝั่งของมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ (สทล.ที่ 50/13)[3]
จนเมื่อสิ้นรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สถานีรถไฟหลวงพระราชวังสนามจันทร์ก็มิได้ถูกใช้งานอีก เนื่องจากไม่มีเจ้านายพระองค์ใดเสด็จมาประทับที่พระราชวังสนามจันทร์ การรถไฟแห่งประเทศไทย จึงได้ทำการรื้อถอนอาคารสถานีรถไฟหลวงพระราชวังสนามจันทร์มาเก็บรักษาไว้ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2511 ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย จึงได้ลงมติว่าจะนำอาคารสถานีรถไฟหลวงนี้มาประกอบขึ้นใหม่ที่สถานีรถไฟหัวหิน เพื่อให้เป็นสถานีขึ้น-ลงรถไฟ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ยามที่เสด็จมาประทับที่วังไกลกังวล อาคารสถานีรถไฟหลวงพระราชวังสนามจันทร์ จึงถูกนำมาประกอบขึ้นใหม่ที่สถานีรถไฟหัวหิน
การประกอบสถานีรถไฟหลวงขึ้นใหม่นี้แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2517 ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2517 โดยมีสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เป็นองค์ประธาน ในการนี้ พระองค์ได้ทรงพระราชทานนามอาคารรถไฟหลวงพระราชวังสนามจันทร์นี้ขึ้นใหม่ว่า พลับพลาพระมงกุฎเกล้าฯ[4]
สำหรับพื้นที่เดิมของสถานีรถไฟหลวงพระราชวังสนามจันทร์ หลังจากที่ทางการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ย้ายอาคารสถานีออกไปแล้ว ก็ได้มีการสร้างอาคารที่พักผู้โดยสารขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. 2540 ห่างจากที่ตั้งเดิมของสถานีรถไฟหลวงประมาณ 360 เมตร เยื้องมาทางด้านหลังของมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ ซึ่งอาคารที่พักผู้โดยสารหลังใหม่นี้ได้มีการออกแบบให้เข้ากับสถาปัตยกรรมของพระราชวังสนามจันทร์[5] จากนั้นจึงจัดตั้งเป็น ที่หยุดรถไฟพระราชวังสนามจันทร์ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยศิลปากร และโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร ที่โดยสารรถไฟ
ข้อมูลจำเพาะ[แก้]
ศัพท์เทคนิค | ข้อมูลจำเพาะ |
---|---|
รหัส | 4017 |
ชื่อภาษาไทย | พระราชวังสนามจันทร์ |
ชื่อภาษาอังกฤษ | Sanam Chan Palace |
ชื่อย่อภาษาไทย | |
ชื่อย่อภาษาอังกฤษ | - |
ชั้นสถานี | ที่หยุดรถ |
ระบบอาณัติสัญญาณ | อาณัติสัญญาณรถไฟ |
พิกัดที่ตั้ง | กม. 50.13 |
ที่อยู่ | ถนนเหนือวัง ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม |
ตารางเวลาการเดินรถ[แก้]
เที่ยวล่อง[แก้]
ขบวนรถ | ต้นทาง | พระราชวังสนามจันทร์ | ปลายทาง | หมายเหตุ | ||
---|---|---|---|---|---|---|
ชื่อสถานี | เวลาออก | ชื่อสถานี | เวลาถึง | |||
ธ255 | ธนบุรี | 08:15 | 08.44 | หลังสวน | 09:15 | |
ธ257 | ธนบุรี | 07.45 | 09.05 | น้ำตก | 12.35 | |
ธ261 | กรุงเทพ | 09.20 | 10.05 | หัวหิน | 14.15 | |
ช355 | กรุงเทพ | 17.40 | 18.11 | ชุมทางหนองปลาดุก | 18.28 | งดการเดินรถชั่วคราวจากชุมทางหนองปลาดุก - สุพรรณบุรี |
ธ351 | ธนบุรี | 18.25 | 19.31 | ราชบุรี | 20.30 | |
* ดพ= รถด่วนพิเศษ / ด= รถด่วน / ร= รถเร็ว / ธ= รถธรรมดา / ช= รถชานเมือง / พช= รถพิเศษชานเมือง / ท= รถท้องถิ่น / น= รถนำเที่ยว / ส= รถสินค้า |
เที่ยวขึ้น[แก้]
ขบวนรถ | ต้นทาง | พระราชวังสนามจันทร์ | ปลายทาง | หมายเหตุ | ||
---|---|---|---|---|---|---|
ชื่อสถานี | เวลาออก | ชื่อสถานี | เวลาถึง | |||
ธ352 | ราชบุรี | 05.00 | 06.00 | ธนบุรี | 07.10 | |
ช356 | ชุมทางหนองปลาดุก | 5:55 | 06.21 | กรุงเทพ | 08.10 | งดการเดินรถชั่วคราวจากชุมทางหนองปลาดุก - สุพรรณบุรี |
ธ254 | หลังสวน | 06:20 | 15.00 | ธนบุรี | 18:30 | |
ธ258 | น้ำตก | 12.55 | 16.27 | ธนบุรี | 17.40 | |
ธ262 | หัวหิน | 14.30 | 17.12 | กรุงเทพ | 20.20 | |
* ดพ= รถด่วนพิเศษ / ด= รถด่วน / ร= รถเร็ว / ธ= รถธรรมดา / ช= รถชานเมือง / พช= รถพิเศษชานเมือง / ท= รถท้องถิ่น / น= รถนำเที่ยว / ส= รถสินค้า |
อ้างอิง[แก้]
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- http://www.railway.co.th/checktime/checktime.asp เก็บถาวร 2016-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- http://www.railway.co.th/ticket/south.asp เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- https://web.archive.org/web/20150402120702/http://www.geocities.com/railsthai/south.htm
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ ที่หยุดรถไฟพระราชวังสนามจันทร์
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°49′26″N 100°02′29″E / 13.82382°N 100.04130°E{{#coordinates:}}: ไม่สามารถมีป้ายกำกับหลักมากกว่าหนึ่งป้ายต่อหน้าได้
![]() |
บทความเกี่ยวกับอาคาร หรือ สถานที่สำคัญนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |