วิทยาลัยอาชีวศึกษาเสาวภา สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิทยาลัยอาชีวศึกษาเสาวภา
ชื่ออื่นSaowabha Vocational College
ชื่อย่อวอศ.สภ.
คติพจน์ประพฤติดี มีวินัย ใช้ปัญญา
เพลงประจำสถาบันมาร์ชเสาวภา
ประเภทอาชีวศึกษา สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
สถาปนาพ.ศ. 2444
ผู้อำนวยการรังสรรค์ บางรักน้อย
ที่ตั้ง
377 ถนนบ้านหม้อ แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
โทรศัพท์02-222-1786, 02-222-1888
โทรสาร02-225-9781
สีน้ำเงิน
เว็บไซต์www.swbvc.ac.th
ตราประจำวิทยาลัยอาชีวศึกษาเสาวภา

วิทยาลัยอาชีวศึกษาเสาวภา  เป็นวิทยาลัยด้านคหกรรมและศิลปกรรม สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร โดยเปิดสอน 3 หลักสูตร คือ ปวช., ปวส. และปริญญาตรี (ต่อเนื่อง)

ประวัติ[แก้]

วิทยาลัยอาชีวศึกษาเสาวภา เดิมคือ "โรงเรียนเสาวภา" จัดตั้งขึ้นด้วยพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง (พระนามเดิม พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี) ทรงบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ตั้งโรงเรียนสำหรับสตรี และพระราชทานพระนามาภิไธยของพระองค์เป็นชื่อโรงเรียน ต่อมา เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2523 กระทรวงศึกษาธิการ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “วิทยาลัยอาชีวศึกษาเสาวภา” แต่เดิมเปิดสอนวิชาชีพด้านคหกรรมศาสตร์ ปี พ.ศ. 2519 เปิดสอนหลักสูครศิลปหัตถกรรมเป็นปีแรก ปัจจุบัน วิทยาลัยอาชีวศึกษาเสาวภาเป็นวิทยาเขตในส่วนสถาบันการอาชีวศึกษามหานคร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เปิดสอนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช) และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส)

การจัดการศึกษา[แก้]

วิทยาลัยอาชีวศึกษาเสาวภาดำเนินการทางการศึกษา โดยแบ่งออกเป็น 10 แผนกวิชา ได้แก่

  • สาขาวิชาสามัญสัมพันธ์
  • สาขาวิชาแฟชั่นและสิ่งทอ สาขางานเสื้อผ้าแฟชั่น
  • สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ สาขางานอาหารและโภชนาการ
  • สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ สาขางานธุรกิจดอกไม้และงานประดิษฐ์
  • สาขาวิชาการโรงแรม สาขางานการโรงแรม
  • สาขาวิชาวิจิตรศิลป์ สาขางานวิจิตรศิลป์
  • สาขาวิชาการออกแบบ สาขางานการออกแบบ
  • สาขาวิชาศิลปหัตถกรรม สาขางานศิลปหัตถกรรม
  • สาขาวิชาศิลปกรรม สาขางานการพิมพ์สกรีน
  • สาขาวิชาศิลปกรรม สาขาออกแบบนิเทศศิลป์

คุณสมบัติผู้เข้าศึกษาต่อ[แก้]

  • ระดับ ปวช. - สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.3 ) หรือเทียบเท่า
  • ระดับ ปวส. - สำเร็จการศึกษาระดับ ปวช. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือเทียบเท่า

การจัดการศึกษาระบบทวิภาคี[แก้]

การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี (Dual Vocational Training: DVT) เป็นความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาและสถานประกอบการโดยสถานศึกษาจะเน้นการจัดการเรียนการสอนภาคทฤษฎีและการปฏิบัติขั้นพื้นฐานสถานประกอบการจะเน้นการฝึกทักษะอาชีพการปฏิบัติจริงในสาขาวิชาชีพนั้น ๆ นักศึกษาในระบบทวิภาคี จะมีระยะเวลาการฝึกอาชีพเป็นเวลาครึ่งหลักสูตร แต่นักเรียนนักศึกษาปกติจะฝึกงาน 1 ภาคเรียน เมื่อสำเร็จการศึกษานักศึกษาทวิภาคีจะได้รับประกาศนียบัตรการฝึกอาชีพจากสถานประกอบการอีกด้วย

ทุนการศึกษา[แก้]

  • กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
  • ทุนมูลนิธิเสาวภา
  • ทุนสหกรณ์วิทยาลัย
  • ทุนบริจาคจากหน่วยงานภายนอกสถานศึกษา
  • ทุนบริจาคจากบุคลากรภายในและภายนอกสถานศึษา

การเดินทาง[แก้]

รถโดยสารประจำทางที่ผ่าน ได้แก่ 2, 3, 6, 7ก, 8, 9, 42, 47, 53, 82, ปอ73, ปอ73ก

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]