ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
KungDekZa (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
KungDekZa (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 204: บรรทัด 204:
{{GMSARN}}
{{GMSARN}}


[[หมวดหมู่:สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย| ]]
[[หมวดหมู่:สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย| ]]
[[หมวดหมู่:มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี|อเชีย,สถาบันเทคโนโลยีแห่ง]]
[[หมวดหมู่:มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี|อเชีย,สถาบันเทคโนโลยีแห่ง]]
[[หมวดหมู่:สถาบันอุดมศึกษานานาชาติในประเทศไทย|อเชีย,สถาบันเทคโนโลยีแห่ง]]
[[หมวดหมู่:สถาบันอุดมศึกษานานาชาติในประเทศไทย|อเชีย,สถาบันเทคโนโลยีแห่ง]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:40, 21 มกราคม 2562

สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย
ชื่อเดิมโรงเรียนวิศวกรรม สปอ.
SEATO Graduate School of Engineering
ชื่อย่อเอไอที / AIT
คติพจน์Learning beyond Boundaries
ประเภทองค์การระหว่างประเทศ[1]
สถาปนา8 กันยายน พ.ศ. 2502 (64 ปี)
อธิการบดีศ.เอเดน วูน
อธิการบดีศ.เอเดน วูน
ผู้ศึกษา2,192 คน (2559)
ที่ตั้ง
ศูนย์หลัก
58 หมู่ 9 ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120 ประเทศไทย
ศูนย์เวียดนาม
อาคาร B3 มหาวิทยาลัยการสื่อสารและคมนาคม Lang Thuong Ward, Dong Da Dist. ฮานอย ประเทศเวียดนาม
วิทยาเขต2 ศูนย์หลัก
สี
  •   สีเขียว
เครือข่ายLAOTSE, ASAIHL, GMSARN
เว็บไซต์www.ait.ac.th

สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (อังกฤษ: Asian Institute of Technology) หรือ เอไอที เป็นสถาบันการศึกษาที่มีสถานะเป็นองค์การระหว่างประเทศ[2] ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2502 โดยความร่วมมือจากกลุ่มประเทศสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ซีโต้ หรือ สปอ.) ในชื่อ โรงเรียนวิศวกรรม สปอ. (SEATO Graduate School of Engineering) ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็นสถาบันอิสระในชื่อปัจจุบันเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2510 เปิดสอนระดับอุดมศึกษา (ปริญญาโท และปริญญาเอก) โดยเน้นทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการจัดการ ในสาขาที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาในภูมิภาคเอเชีย มีศูนย์กลางการบริหารงานตั้งอยู่ที่จังหวัดปทุมธานี ประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีศูนย์การศึกษาในประเทศเวียดนามด้วย

สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย เป็นสมาชิกของเครือข่าย LAOTSE ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยชั้นนำในเอเชียและยุโรป ตามกรอบความร่วมมืออาเซม โดยได้รับการยกย่องว่าเป็นสถาบันการศึกษานานาชาติที่ดีที่สุดในโลกเมื่อปี พ.ศ. 2558 โดย U-Multirank[3] ขณะเดียวกันยังได้รับการประเมินจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยให้เป็นสถาบันที่มีผลงานวิจัยเป็นเลิศ[4]

ประวัติ

เมื่อปี พ.ศ. 2500 องค์การสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้มีแนวคิดที่จะก่อตั้งโรงเรียนวิศวกรรมขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนจากประเทศสมาชิกองค์กรซีโต้ ทั้งประเทศออสเตรเลีย ประเทศฝรั่งเศส ประเทศนิวซีแลนด์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา รวมถึงประเทศสมาชิกในภูมิภาค ได้แก่ ประเทศปากีสถาน ประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศไทย โดยแนวคิดนี้ได้รับการอนุมัติในการประชุมที่กรุงมะนิลาในปีถัดมา จนกระทั่งมีการประกาศก่อตั้งโรงเรียนวิศวกรรม สปอ. ขึ้นภายหลังจากการประชุมที่กรุงเวลลิงตันในปี พ.ศ. 2502 ต่อมาโรงเรียนวิศวกรรม สปอ. ได้เปลี่ยนสถานะเป็นสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียในปี พ.ศ. 2510 เมื่อสภาร่างรัฐธรรมนูญได้ประกาศให้กฎบัตรสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียมีผลตามกฎหมาย ซึ่งทำให้สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียเป็นสถาบันอิสระและไม่ขึ้นตรงกับหน่วยงานใด

เมื่อปี พ.ศ. 2532 สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียได้รับรางวัลรามอน แมกไซไซ ในสาขาสันติภาพและความเข้าใจระหว่างประเทศ จากการพัฒนาทรัพยากรบุคคลยุคใหม่ โดยเฉพาะวิศวกรและผู้จัดการ ในทวีปเอเชีย โดยมีบรรยากาศการเรียนการสอนที่ดีเยี่ยมและมีความเป็นมิตร[5] ต่อมาในปี พ.ศ. 2536 สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียได้ลงบันทึกความร่วมมือกับรัฐบาลเวียดนามในการเปิดศูนย์เวียดนามที่กรุงฮานอย ทำให้หลังจากนั้นรัฐบาลเวียดนามได้มอบรางวัลเหรียญมิตรภาพให้สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียในปี พ.ศ. 2549[6] ซึ่งถือเป็นรางวัลที่สูงที่สุดที่มีการมอบในระดับระหว่างประเทศ และมีการเสนอไปยังสถาบันระหว่างประเทศที่กระจายการฝึกทักษะทรัพยากรบุคคลแก่เวียดนาม และการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามกับประเทศอื่น

จากการที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียเป็นสถาบันการศึกษาที่มีสถานะแตกต่างจากสถาบันการศึกษาอื่นในประเทศไทย เนื่องจากมีสถานะเป็นองค์การระหว่างประเทศ จึงไม่ได้เป็นทั้งสถาบันของรัฐบาลและเอกชน แต่มีสถานะเทียบเท่ากับสถาบันอิสระระหว่างประเทศ โดยเมื่อปี พ.ศ. 2555 ได้เกิดประเด็นเกี่ยวกับการไม่รับรองในระบบราชการไทยขึ้นจากการที่ไม่ได้เป็นสถาบันการศึกษาเอกชน แต่ปัญหาดังกล่าวได้รับการแก้ไขในเวลาต่อมา ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.) ได้ให้การรับรองคุณวุฒิจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียจัดอยู่ในการรับรองคุณวุฒิต่างประเทศ[7]

ทำเนียบอธิการบดี

ที่ ชื่อ การอยู่ในตำแหน่ง
เริ่ม สิ้นสุด
1 สหรัฐ ศาสตราจารย์ มิลตัน เบนเดอร์ จูเนียร์ พ.ศ. 2511 พ.ศ. 2520
2 สหรัฐ ศาสตราจารย์ โรเบิร์ต แบงส์ พ.ศ. 2520 พ.ศ. 2526
3 สกอตแลนด์ ศาสตราจารย์ อลาสแตร์ นอร์ต พ.ศ. 2526 พ.ศ. 2539
4 ไอร์แลนด์เหนือ ศาสตราจารย์ โรเจอร์ ดาวเนอร์ พ.ศ. 2539 พ.ศ. 2541
5 ฝรั่งเศส ศาสตราจารย์ ฌอง หลุยส์ อาร์มองด์ พ.ศ. 2541 พ.ศ. 2547
6 สวีเดน ศาสตราจารย๋ ซาอิด อิรานดุส พ.ศ. 2547 พ.ศ. 2556
7 ไทย ศาสตราจารย์ วรศักดิ์ กนกนุกุลชัย พ.ศ. 2556 พ.ศ. 2561
8 สหรัฐ ศาสตราจารย์ เอเดน วูน พ.ศ. 2561 ปัจจุบัน

การศึกษา

สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียมีการจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก[8] โดยทุกหลักสูตรของสถาบันจะใช้ภาษาอังกฤษทั้งหมด เนื่องจากเป็นสถาบันที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือของหลายประเทศ ทำให้นักศึกษาและบุคลากรของสถาบันส่วนใหญ่เป็นชาวต่างประเทศ ซึ่งสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียเป็นสถาบันที่มีชื่อเสียงอย่างมากในกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเฉพาะในด้านวิศวกรรม สิ่งแวดล้อม และการจัดการข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศ[9] มีการจำแนกสำนักวิชาออกเป็น 3 สำนัก ได้แก่ สำนักวิชาวิศวกรรมและเทคโนโลยี สำนักวิชาสิ่งแวดล้อม ทรัพยากร และการพัฒนา และสำนักวิชาการจัดการ[10]

สำนักวิชาวิศวกรรมและเทคโนโลยี

สำนักวิชาวิศวกรรมและเทคโนโลยี (School of Engineering and Technology) ประกอบด้วยภาควิชาและสาขาต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและโครงสร้างพื้นฐาน (Department of Civil and Infrastructure Engineering)
    • สาขาวิชาวิศวกรรมการก่อสร้างและการจัดการโครงสร้างพื้นฐาน (Construction, Engineering and Infrastructure Management)
    • สาขาวิชาวิศวกรรมธรณีเทคนิคและธรณีสิ่งแวดล้อม (Geotechnical and Earth Resources Engineering)
    • สาขาวิชาวิศวกรรมโครงสร้าง (Structural Engineering)
    • สาขาวิชาวิศวกรรมการขนส่ง (Transportation Engineering)
    • สาขาวิชาวิศวกรรมทางน้ำและการจัดการ (Water Engineering and Management)
    • สาขาวิชาเทคโนโลยีและการจัดการชายฝั่ง (Offshore Technology and Management)
  • ภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Department of Information and Communication Technologies)
    • สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science)
    • สาขาวิชาการจัดการสารสนเทศ (Information Management)
    • สาขาวิชาการสำรวจระยะไกลและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Remote Sensing and Geographic Information Systems)
    • สาขาวิชาโทรคมนาคม (Telecommunications)
    • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information & Communications Technologies)
  • ภาควิชาวิศวกรรมระบบอุตสาหการ (Department of Industrial Systems Engineering)
    • สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์เครื่องกล (Mechatronics)
    • สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการและการบริหาร (Industrial and Manufacturing Engineering)
    • สาขาวิชาเทคโนโลยีนาโน (Nanotechnology)
    • สาขาวิชาไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (Microelectronics and Embedded Systems)

สำนักวิชาสิ่งแวดล้อม ทรัพยากร และการพัฒนา

สำนักวิชาสิ่งแวดล้อม ทรัพยากร และการพัฒนา (School of Environment, Resources, and Development) ประกอบด้วยภาควิชาและสาขาต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • ภาควิชาการพัฒนาและความยั่งยืน (Department of Development and Sustainability)
    • สาขาวิชาการพัฒนาบทบาทหญิงชาย (Gender and Development Studies)
    • สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ (Natural Resources Management)
    • สาขาวิชาการวางแผนพัฒนาภูมิภาคและชนบท (Regional and Rural Development Planning)
    • สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อมเมือง (Urban Environmental Management)
  • ภาควิชาพลังงาน สิ่งแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Department of Energy, Environment, and Climate Change)
    • สาขาวิชาเทคโนโลยีพลังงาน เศรษฐศาสตรพลังงานและระบบพลังงาน (Energy)
    • สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและการจัดการ (Environmental Engineering and Management)
    • สาขาวิชาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและการพัฒนาอย่างยั่งยืน(Climate Change and Sustainable Development)
  • ภาควิชาอาหาร เกษตรกรรม และทรัพยากรชีวภาพ (Department of Food, Agriculture, and BioResources)
    • สาขาวิชาวิศวกรรมและระบบการเกษตร (Agricultural Systems & Engineering)
    • สาขาวิชาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการจัดการทรัพยากรทางน้ำ (Aquaculture and Aquatic Resources Management)
    • สาขาวิชาวิศวกรรมอาหารและเทคโนโลยีชีวภาพ (Food Engineering and Bioprocess Technology)
    • สาขาวิชาการจัดการธุรกิจเกษตรกรรม (AgriBusiness Management)

สำนักวิชาการจัดการ

สำนักวิชาการจัดการ (School of Management) ประกอบด้วยสาขาวิชาต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ (Business Administration)
  • สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ (International Business - Management of Technology)

หน่วยงานอื่น

  • ศูนย์เอไอทีเวียดนาม
  • โครงการพัฒนาการจัดการ สวิส-เอไอที-เวียดนาม
  • ศูนย์การศึกษาทางไกล
  • ห้องสมุดเอไอที
  • สถาบันภาษา

ที่ตั้งและวิทยาเขต

อาคารเรียนและสภาพแวดล้อมภายในเอไอที

ระยะแรกของการก่อตั้ง บัณฑิตวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ สปอ. (ชื่อของสถาบันในขณะนั้น) ตั้งอยู่ในพื้นที่ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมาได้รับการอนุมัติให้ใช้พื้นที่ประมาณ 1,000 ไร่ซึ่งเป็นที่ดินของรัฐบาลไทย อยู่บริเวณติดกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตในปัจจุบัน จึงได้พัฒนาเป็นที่ตั้งจนถึงทุกวันนี้

ด้านหน้าของสถาบันฯ เป็นพื้นที่สีเขียวเป็นแนวกว้าง เดิมได้ออกแบบเพื่อเป็นพื้นที่ถอยร่นใช้กันเสียงและมลภาวะจากภายนอก และใช้เป็นพื้นที่สนามกอล์ฟ 9 หลุมสำหรับนักศึกษาและบุคลากรของสถาบันฯ จนเมื่อปี พ.ศ. 2546 ได้มีโครงการเปลี่ยนพื้นที่สนามกอล์ฟเป็นพื้นที่สวนพฤกษศาสตร์เปิดให้บุคคลภายนอกได้ใช้ เป็นหนึ่งในพื้นที่สีเขียวที่สำคัญของจังหวัดปทุมธานี

นอกจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แล้ว พื้นที่ติดกับสถาบันยังเป็นที่ตั้งของหน่วยงานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำคัญอย่าง อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

นอกจากศูนย์หลักที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยแล้ว ยังมีศูนย์เอไอทีเวียดนามที่ตั้งกระจายอยู่ตามเมืองสำคัญในประเทศเวียดนาม ได้แก่ กรุงฮานอย นครโฮจิมินห์ซิตี และเกิ่นเทอ ซึ่งเป็นศูนย์หลักในประเทศเวียดนามทั้ง 3 แห่ง และยังมีสำนักงานย่อยกระจายในเมืองต่างๆอีก 4 แห่ง โดยศูนย์เอไอทีเวียดนามนั้นก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 ภายใต้ข้อตกลงร่วมกับรัฐบาลเวียดนาม ทำให้เป็นสถาบันการศึกษานานาชาติแห่งแรกที่ตั้งอยู่ในประเทศเวียดนาม[11]

ชีวิตนักศึกษา

ปัจจุบันสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียมีการเปิดการเรียนการสอนในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก โดยจากรายงานประจำปี พ.ศ. 2559 พบว่า สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียมีนักศึกษาเข้าใหม่มาจากประเทศต่างๆในทุกปี สามารถแบ่งออกเป็นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ร้อยละ 60 เอเชียใต้และเอเชียตะวันตก ร้อยละ 27 เอเชียตะวันออกและเอเชียกลาง ร้อยละ 7 ทวีปยุโรป ร้อยละ 4 และทวีปแอฟริกา ร้อยละ 2 รวมมีนักศึกษารวมทุกระดับจำนวน 2,192 คน ที่มาจาก 49 ประเทศทั่วโลก เป็นนักศึกษาไทยเพียงร้อยละ 30 ส่วนเพศของนักศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศชายถึงร้อยละ 65 และเป็นเพศหญิงร้อยละ 35[12]

นักศึกษาในสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาที่มีผลการเรียนดี จึงได้รับทุนการศึกษาที่สถาบัน โดยแบ่งออกเป็นนักศึกษาที่ได้รับทุนให้เปล่าแบบเต็มจำนวน เช่น ทุนรัฐบาลไทย ทุนญี่ปุ่น ฯลฯ ร้อยละ 46 และมีเพียงนักศึกษาร้อยละ 20 เท่านั้น ที่ออกค่าใช้จ่ายในการศึกษาเองทั้งหมด ส่วนที่เหลือเป็นนักศึกษาที่ได้รับทุนบางส่วน[13][14] โดยอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้นักศึกษาส่วนใหญ่เป็นนักเรียนทุนคือการที่สถาบันกำหนดค่าเล่าเรียนไว้ค่อนข้างสูง

อันดับและมาตรฐานมหาวิทยาลัย

การประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิงวิชาการโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้มีการประกาศผลการประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิงวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2557 โดยสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียได้รับการประเมินให้เป็นสถาบันที่มีจำนวนหน่วยงานได้รับการประเมินในระดับ "ดีเยี่ยม" (TRF Index 5.0) มากที่สุดในสถาบันระดับอุดมศึกษาทั่วประเทศ ซึ่งสาขาที่ได้รับการประเมินในระดับดีเยี่ยม ได้แก่ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ สาขาวิชาเทคโนโลยีพลังงาน สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม และสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ[15]

การจัดอันดับโดยเว็บโอเมตริกซ์ (Webometrics)

การจัดอันดับโดยเว็บโอเมตริกซ์ (Webometrics) ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อแสดงความตั้งใจของสถาบันต่าง ๆ ในการเผยแพร่ความรู้สู่เว็บไซต์ และเป็นความริเริ่มเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความรู้อย่างเปิดกว้าง (Open Access) ทั่วโลก โดยบ่งบอกถึงปริมาณและคุณภาพของสิ่งตีพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ของสถาบัน เพื่อใช้ร่วมกับตัวชี้วัดอื่น ๆ ในการประเมินผลงานวิจัยของสถาบัน ซึ่งทางเว็บโอเมตริกซ์ได้จัดอันดับปีละ 2 ครั้งในเดือนมกราคม และกรกฎาคม โดยเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2553 สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย อยู่ในอันดับที่ 1,104 ของโลก อันดับที่ 35 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันดับที่ 13 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย[16]

การจัดอันดับโดย U-Multirank

สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียได้การจัดอันดับมหาวิทยาลัยนานาชาติยอดเยี่ยมของโลกจาก U-Multirank 2015 International Ranking ในฐานะมหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้นความเป็นนานาชาติเมื่อปี พ.ศ. 2558 โดยเป็นสถาบันการศึกษานานาชาติเพียงแห่งเดียวในทวีปเอเชียที่ได้รับการจัดระดับในระดับ A ครบทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ การเรียนการสอน การวิจัย การถ่ายทอดองค์ความรู้ การมุ่งเน้นความเป็นนานาชาติ และความเกี่ยวข้องในระดับภูมิภาค[17]

นอกจากนี้ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียยังได้รับการให้คะแนนระดับ A ถึง 11 ตัวชี้วัด จากทั้งหมด 31 ตัวชี้วัด ซึ่ง U-Multirank ให้การยกย่องว่าเป็นสถาบันที่แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพดีและมีความกว้างขวาง โดยเป็นสถาบันการศึกษาที่ดีที่สุดในประเทศไทย และเป็นอันดับที่ 15 ของทวีปเอเชีย ในการวัดระดับในภาพรวม[18][19]

การเดินทาง

นักศึกษา บุคลากร และบุคคลทั่วไปสามารถเดินทางมายังสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียได้หลายเส้นทาง เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ที่มีพื้นที่ติดต่อกัน โดยสามารถเดินทางได้ทั้งทางรถยนต์โดยผ่านถนนพหลโยธิน หรือ ทางพิเศษอุดรรัถยา และ ถนนกาญจนาภิเษก โดยผ่านถนนเชียงราก/ถนนคลองหลวง รถเมล์ สาย 29 39 และ 510 รถตู้โดยสารร่วม ขสมก. สาย ต.85 จาก อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ และ สาย ต.118 จาก รถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีหมอชิต/รถไฟฟ้ามหานคร สถานีสวนจตุจักร รถตู้โดยสารปรับอากาศท่าพระจันทร์–ศูนย์รังสิต และรถตู้โดยสารปรับอากาศจากฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต รวมทั้งสามารถเดินทางโดยรถไฟ มาลงที่สถานีรถไฟมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้อีกทางหนึ่ง สำหรับสถานีรถไฟมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สร้างขึ้นเพื่อรองรับการแข่งขันเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 โดยตั้งอยู่หลังมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ปัจจุบันมีขบวนรถชานเมืองและธรรมดา หยุดรับส่งผู้โดยสาร 11 ขบวนต่อวัน

บุคคลที่มีชื่อเสียงจากสถาบัน

ชาวไทย

  • สุบิน ปิ่นขยัน - อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ และทบวงมหาวิทยาลัย และผู้ก่อตั้ง บริษัท เอ็มดีเอ็กซ์ จำกัด
  • ศาสตราจารย์ ศรีศักดิ์ จามรมาน - อดีตหัวหน้าคณะทำงานหลายคณะในคณะกรรมการคอมพิวเตอร์ของรัฐ สำนักนายกรัฐมนตรี และผู้ได้รับการยกย่องเป็นบิดาแห่งระบบอิเล็กทรอนิกส์ไทย
  • ศาสตราจารย์ อาณัติ อาภาภิรม - อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • ทองฉัตร หงศ์ลดารมภ์ - ผู้ว่าการการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยคนแรก
  • ประเสริฐ ภัทรมัย - ผู้ก่อตั้งบริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด
  • พลเอก บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ - อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด
  • ประสาร ไตรรัตน์วรกุล - อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
  • รองศาสตราจารย์ กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย - อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น คนที่ 10
  • พนิตา กำภู ณ อยุธยา - อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
  • สามารถ ราชพลสิทธิ์ - อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ฝ่ายโยธาและจราจร
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นพดล อินนา - อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระบบบัญชีรายชื่อของพรรคไทยรักไทย และอดีตรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ยงยุทธ ติยะไพรัช - อดีตประธานรัฐสภา และอดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร
  • ห้างทอง ธรรมวัฒนะ - อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร พรรคประชากรไทย
  • มณทิพย์ ศรีรัตนา - อดีตรองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • โสภณ พรโชคชัย - นักวิชาการด้านอสังหาริมทรัพย์ การประเมินค่าทรัพย์สิน การพัฒนาเมือง
  • อริยา อรุณินท์ - อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้ร่วมออกแบบงานผังของ สวนหลวง ร.9
  • รองศาสตราจารย์ ยงธนิศร์ พิมลเสถียร - อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และหนึ่งในคณะอนุกรรมการอนุรักษ์ และพัฒนาเกาะกรุงรัตนโกสินทร์

ชาวต่างประเทศ

  • เหมา จื้อกั๋ว - อดีตนายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐจีน[20]
  • Bindu Lohani - อดีตรองประธานธนาคารพัฒนาเอเชีย[21]
  • Dang Hoang An - รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม[22]
  • ยู่ เสี่ยวกัง - นักสิ่งแวดล้อมชาวจีน และผู้ได้รับรางวัลรามอน แมกไซไซ 2009[23]

อ้างอิง

  1. รายชื่อองค์การระหว่างประเทศ| กระทรวงการต่างประเทศ
  2. INTERNATIONAL ORGANIZATIONS : AIT| กระทรวงการต่างประเทศ
  3. [1] RYT9
  4. สกว. ยืนยันว่า สถาบันเอไอที ยังเป็นมหาวิทยาลัยที่มีผลงานวิจัยเป็นเลิศในประเทศไทย ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
  5. The 1989 Ramon Magsaysay Award for International Understanding http://www.rmaf.org.ph/Awardees/Citation/CitationAIT.htm
  6. "Vietnam bestows highest international relations honor to AIT". ait.asia. สืบค้นเมื่อ 2014-04-12.
  7. การพิจารณารับรองคุณวุฒิและกำหนดอัตราเงินเดือนของผู้สำเร็จการศึกษาจาก Asian Institute of Technology สำนักงาน ก.พ.
  8. Eligibility Asian Institute of Technology
  9. Academics Asian Institute of Technology
  10. Schools Asian Institute of Technology
  11. About AIT-VN
  12. Annual Report 2016
  13. ทุนเยอะ!เอไอทีเปิดบ้านโชว์หลักสูตร-แจงข้อมูลทุน
  14. Scholarships
  15. สกว.ประกาศผลประเมินคุณภาพผลงานวิชาการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
  16. Ranking Web of World UniversitiesTop South East Asia
  17. สถาบัน"เอไอที" ยอดเยี่ยมโลก ฐานะ"ม.อินเตอร์" ไทยโพสต์
  18. "เอไอที" ติดอันดับโลกเร่งเสริมจุดแข็ง ไทยรัฐออนไลน์
  19. AIT ranked ‘top international university’ in the world Inquirer
  20. AIT alumnus is Premier of Taiwan
  21. ADB names AIT alumnus Bindu Lohani as Vice-President
  22. AIT alumnus appointed Minister in Viet Nam
  23. AIT doctoral candidate Yu Xiaogang was one of six winners of this year’s Goldman Prize

แหล่งข้อมูลอื่น