สถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียว
東京工業大学 | |
คติพจน์ | ญี่ปุ่น: 時代を創る知・技・志・和の理工人; โรมาจิ: Jidai wo tsukuru chi, waza, kokorozashi, wa no rikōjin |
---|---|
คติพจน์อังกฤษ | Engineers of the Knowledge, Technology and Passion that Change our World. |
ประเภท | มหาวิทยาลัยแห่งชาติ |
สถาปนา | ค.ศ. 1881 |
อธิการบดี | ศ.ดร.โยชิโนะ มิชิมะ |
อาจารย์ | 1,324 |
ผู้ศึกษา | 4,940 |
ปริญญาตรี | 17,657 |
บัณฑิตศึกษา | 5,096 (โทและเอก) |
ที่ตั้ง | เมะงุโระ, ทามาชิ, โยะโกะฮะมะ , , |
สี | Royal Blue (DIC-641) |
ฉายา | ไทเทค (TiTech) หรือ โทโกได (東工大; Tōkōdai) หรือ โตเกียวเทค (Tokyo Tech) |
เครือข่าย | LAOTSE |
เว็บไซต์ | www |
สถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียว (ญี่ปุ่น: 東京工業大学; โรมาจิ: Tōkyō Kōgyō Daigaku; ทับศัพท์: ในชื่ออังกฤษ: Tokyo Institute of Technology) หรือนิยมเรียกว่า ไทเทค (TiTech) หรือ โทโกได (東工大; Tōkōdai) หรือ โตเกียวเทค (Tokyo Tech) เป็นสถาบันอุดมศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีชื่อเสียงมากและใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น
โตเกียวเทคก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 1881 ที่โตเกียว ในชื่อ วิทยาลัยอาชีวศึกษาโตเกียว (Tokyo Vocational School) ใน ค.ศ. 1929 ได้ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชาติ และตั้งแต่เดือนเมษายน ค.ศ. 2004 ได้แปรรูปเป็นกึ่งเอกชนภายใต้กฎหมายใหม่[1] ซึ่งประกาศใช้กับมหาวิทยาลัยแห่งชาติทุกแห่ง
สถาบันเป็นสมาชิกของเครือข่าย LAOTSE ("สานสัมพันธ์สู่เอเชียด้วยการฝึกงานและแลกเปลี่ยนนักศึกษา") ซึ่งเป็นเครือข่ายนานาชาติของมหาวิทยาลัยชั้นนำในทวีปยุโรปและเอเชีย เพื่อแลกเปลี่ยนนักศึกษาและอาจารย์อาวุโส
ในปี ค.ศ. 2014 มีนักศึกษาชาวไทยศึกษาที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียว 133 คน นับเป็นอันดับสองสำหรับจำนวนนักศึกษาต่างชาติรองจากนักศีกษาชาวจีน[2]
ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง
[แก้]- ฮิเดกิ ชิรากาวะ - ผู้ได้รับรางวัลโนเบล (สาขาเคมี ค.ศ. 2000)
- นาโอโตะ คัง - นายกรัฐมนตรีคนที่ 94 ของประเทศญี่ปุ่น
- ซาโตรุ อิวาตะ - ประธานกรรมการบริหารของนินเทนโด
ศิษย์เก่าคนไทยที่มีชื่อเสียง
[แก้]- ดร.สุรพันธ์ เมฆนาวิน
- ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวาณิชย์
- ศาสตราจารย์ ดร.ธนารักษ์ ธีระมั่นคง
อันดับมหาวิทยาลัย
[แก้]อันดับมหาวิทยาลัย | |
---|---|
อันดับในประเทศ(อันดับนานาชาติ) | |
สถาบันที่จัด | อันดับ |
QS WORLD (2021) | 3 (56) |
จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของคอกโครัลลีไซมอนส์ประจำปี ค.ศ. 2021 ได้จัดลำดับให้สถาบันเทคโนโลยแห่งโตเกียวอยู่ในอันดับที่ 56 ของโลก อันดับที่ 20 ของทวีปเอเชีย และอันดับที่ 3 ของประเทศญี่ปุ่น[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-12-05. สืบค้นเมื่อ 2006-09-01.
- ↑ 2014 年国または地域別留学生数, Tokyo Institute of Technology, accessed April 29, 2015 (ญี่ปุ่น)
- ↑ https://www.topuniversities.com/university-rankings/world-university-rankings/2021
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- สถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียว
- สำนักงานสถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียวประจำประเทศไทย เก็บถาวร 2006-06-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- สมาคมนักเรียนไทยในสถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียว
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ สถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียว
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
35°30′50″N 139°29′00″E / 35.513889°N 139.483333°E