คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะอุตสาหกรรมเกษตร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Faculty of Agro-Industry,
Kasetsart University
ไฟล์:คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.png
ชื่อย่ออก.
สถาปนา23 พฤษภาคม พ.ศ. 2523
(43 ปี 340 วัน)
คณบดีรศ.ดร.อนุวัตร แจ้งชัด
ที่อยู่
เพลงอุตสาหกรรมเกษตร
สี███ สีชมพูกลีบบัว [1]
มาสคอต
กระป๋อง
เว็บไซต์www.agro.ku.ac.th

คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นคณะอุตสาหกรรมเกษตรแห่งแรกของประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่เป็นผู้นำทางด้านอุตสาหกรรมเกษตรของประเทศ ที่สามารถบริหารจัดการ ควบคุมกระบวนการผลิต และควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และสามารถทำวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพของอุตสาหกรรมเกษตรของประเทศให้สามารถแข่งขันในตลาดโลก

ประวัติ[แก้]

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้จัดตั้งคณะอุตสาหกรรมเกษตรเป็นคณะแรกของประเทศไทย ตามนโยบายส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรเพื่อการส่งออก เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2523 โดยได้รับโอน "แผนกวิชาวิทยาศาสตร์การอาหาร" ซึ่งมีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2505 จาก คณะเกษตร มาสังกัดเป็นภาควิชาหนึ่งของคณะด้วย

หน่วยงาน[แก้]

ภาควิชา สำนัก สถาบัน และศูนย์ ภายในคณะอุตสาหกรรมเกษตร

หลักสูตร[แก้]

ระดับปริญญาตรี ระดับประกาศนียบัตร ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการบรรจุ
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
  • สาขาวิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีนวัตกรรมอุตสาหกรรมเกษตร (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งทอ
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
  • สาขาวิชาวิศวกรรมอาหาร

หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต (ป.บัณฑิต)

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีของน้ำตาล

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการบรรจุ
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ (ภาคปกติและหลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งทอ
  • สาขาวิชาการจัดการสินค้าสิ่งทอ
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การอาหาร
  • สาขาวิชาวิศวกรรมอาหาร
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การอาหาร (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด)

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการบรรจุ
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ (ภาคปกติและหลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การอาหาร (ภาคปกติและหลักสูตรนานาชาติ)

โครงการปริญญาตรีร่วมกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ[แก้]

นิสิตสามารถเลือกที่จะเข้าร่วมหรือไม่เข้าร่วมก็ได้

ที่มาของโครงการและวัตถุประสงค์
โครงการปริญญาตรีร่วมกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศนั้น เป็นโครงการที่ริเริ่มขึ้นในปี 2549 โดยความร่วมมือระหว่างคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กับ University of Reading ประเทศอังกฤษ โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้นิสิตที่เข้าร่วมโครงการได้มีประสบการณ์ในการศึกษาใน ต่างประเทศ ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาต่อ รวมถึงได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและเพิ่มพูนทักษะในการใช้ภาษาอังกฤษ
ลักษณะของโครงการ
นิสิตที่เข้าร่วมโครงการจะเข้าเรียนชั้นปีที่ 1 ถึงปีที่ 3 ที่มหาวิทยาลัยเกษตร์ศาสตร์และเดินทางไปเรียนชั้นปีที่ 4 ที่ University of Reading (Department of Food Bioscience) ประเทศอังกฤษเป็นเวลาประมาณ 8-10 เดือน (ขึ้นอยู่กับคะแนนภาษาอังกฤษ) โดยในช่วง 1-3 เดือนแรกนิสิตจะได้เข้าเรียนภาษาอังกฤษร่วมกับนักเรียนต่างชาติจากประเทศต่างๆเพื่อเตรียมพร้อมก่อนเข้าชั้นเรียนในเดือนตุลาคม นิสิตที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์พร้อมประกาศนียบัตรจาก University of Reading หากนิสิตมีความประพฤติและมีผลการเรียนดีผ่านเกณฑ์การเข้าศึกษาต่อของมหาวิทยาลัยก็สามารถเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโทที่ University of Reading (Department of Food Bioscience) ได้โดยไม่จำเป็นต้องสอบภาษาอังกฤษอีกครั้งหนึ่ง

แนวทางการประกอบอาชีพ[แก้]

ภาควิชาเทคโนโลยีการบรรจุและวัสดุ[แก้]

ผู้ที่เรียนจบสาขาวิชาเทคโนโลยีการบรรจุและวัสดุ สามารถทำงานเป็นนักเทคโนโลยีการบรรจุ ที่ออกแบบและควบคุมการผลิตภาชนะบรรจุ หรือเป็นผู้เชี่ยวชาญในการแนะนำภาชนะบรรจุให้เหมาะสมกับชนิดของผลิตภัณฑ์ สถานที่ทำงานหลังจบการศึกษาได้แก่ บริษัทในกลุ่มอุปโภคบริโภค เช่น Procter & Gamble Manufacturing Ltd., คอลเกต ปาล์มโอลีฟ ประเทศไทย จำกัด, จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน ประเทศไทย จำกัด, 3 เอ็ม ประเทศไทย จำกัด ฯลฯ บริษัทในกลุ่มวัสดุบรรจุ เช่น ฟิล์มมาสเตอร์ จำกัด, สยามคราฟท์อุตสาหกรรม จำกัด, เยื่อกระดาษสยาม จำกัด ฯลฯ และกลุ่มการพิมพ์ภาชนะบรรจุ เช่น สยามบรรจุภัณฑ์ จำกัด, สยามทบพัน จำกัด, Fuji Ace Co.,Ltd ฯลฯ

ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ[แก้]

ผู้ที่จบสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพสามารถทำงานในภาคอุตสาหกรรมการหมัก อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม ฯลฯ ในบทบาทของนักวิจัย ผู้ควบคุมการผลิต ผู้ควบคุมคุณภาพ หรือศึกษาต่อปริญญาโทเพื่อเพิ่มพูนความรู้ทั้งในสาขาเทคโนโลยีชีวภาพ หรือวิศวกรรมเคมี บัณฑิตของภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพได้มีโอกาสเข้าไปทำงานในบริษัทต่างๆ เช่น บริษัทเนสเล่(ประเทศไทย) จำกัด, บริษัทอายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัทไทยเทพรสผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน), บริษัทเบทาโกรอโกรกรุ๊ฟ จำกัด (มหาชน), บริษัทซี.พี.อินเตอร์ฟูด (ไทยแลนด์) จำกัด ฯลฯ หรือทำงานในหน่วยงานราชการต่างๆ เช่น สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย และมหาวิทยาลัยต่างๆ ฯลฯ

ภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์[แก้]

ผู้ที่เรียนจบสาขาวิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์สามารถเป็นนักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เป็นพนักงานควบคุมการผลิตในบริษัทเอกชนต่างๆ ที่มีกิจการเกี่ยวข้องกับสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร ทั้งที่เป็นอาหารและไม่ใช่อาหาร หรือทำงานในองค์กรของรัฐต่างๆ เช่น สภาวิจัย ศูนย์พันธุวิศวกรรม สถาบันอาหาร ฯลฯ ในตำแหน่งนักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ และผู้ควบคุมคุณภาพสินค้า หรือศึกษาต่อในสถาบันการศึกษาต่างๆ ในสาขาเดิมหรือสาขาอื่น เช่น สาขาสิ่งแวดล้อม,Food Engineering, Chemical Engineering, MBA, Marketing, Industrial Engineering, Packaging ฯลฯ

ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร[แก้]

ผู้จบการศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารสามารถทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร ในฝ่ายควบคุมการผลิต ฝ่ายควบคุมคุณภาพ ฝ่ายวิจัยและพัฒนา หรือฝ่ายขาย และ ผู้จบการศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมอาหารสามารถทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมอาหารในตำแหน่งวิศวกรกระบวนการแปรรูปอาหาร และเจ้าหน้าที่ฝ่ายควบคุมการผลิต บัณฑิตของภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารสามารถทำงานในบริษัทต่างๆ เช่น บริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี), บริษัทลีเวอร์บราเธอร์ (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัทเนสท์เล่ (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัทยูไนเต็ดฟูดส์ จำกัด ฯลฯ หรือทำงานในหน่วยงานรัฐบาลต่างๆ เช่น สำนักงานอาหารและยา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงสาธารณสุข โครงการหลวงและโครงการส่วนพระองค์ ฯลฯ

ภาควิชาวิทยาการสิ่งทอ[แก้]

ผู้ที่เรียนจบสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งทอสามารถก้าวสู่มืออาชีพด้านการจัดการธุรกิจสิ่งทอและผลิตภัณฑ์ หรือเป็นผู้ควบคุมการผลิต หรือหัวหน้างานในโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มต่างๆ เช่น โรงงานปั่นด้าย โรงงานฟอกย้อม โรงงานพิมพ์ผ้า โรงงานผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป โรงงานผลิตภัณฑ์สิ่งทอต่างๆ โรงงานเคหะสิ่งทอ หรือเป็นนักวิจัยในหน่วยงานราชการต่างๆ เช่น กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันสิ่งทอ สถาบันค้นคว้าและวิจัยต่างๆ ฯลฯ

อันดับและมาตรฐาน[แก้]

Academic Ranking of World Universities (ARWU)
Global Ranking of Academic Subjects
Subject 2021 2020 2019 2018 2017
Food Science & Technology 201-300 201-300 101-150 101-150 101-150
Biotechnology - - 401-500 401-500 -

ผลการจัดอันดับแยกตามสาขา ARWU Global Ranking of Academic Subjects [2] จัดโดยมหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้เจียวทงของประเทศจีน โดยใช้เกณฑ์พิจารณาจากผลงานวิจัย (Q1) อิทธิพลของงานวิจัย (CNCI) ความร่วมมือระหว่างประเทศ (IC) คุณภาพการวิจัย (TOP) และรางวัลวิชาการระดับนานาชาติ (Award) พบว่าในสาขา Food Science & Technology และ สาขา Biotechnology ซึ่งเป็นสาขาของ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับการจัดอันดับให้ติดอันดับโลก

โดยในสาขา Food Science & Technology ปี 2017 อยู่ในอันดับที่ 101-150,[3] ปี 2018 อยู่ในอันดับที่ 101-150,[4] ปี 2019 อยู่ในอันดับที่ 101-150,[5] ปี 2020 อยู่ในอันดับที่ 201-300,[6] และปี 2021 อยู่ในอันดับที่ 201-300[7] และสาขา Biotechnology ปี 2018 อยู่ในอันดับที่ 401-500[8] และปี 2019 อยู่ในอันดับที่ 401-500[9]

U.S. News & World Report
Global
USNWR Food Science and Technology 166 (2022)[10]

U.S. News & World Report เป็นนิตยสารการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของสหรัฐอเมริกา มีเกณฑ์การจัดอันดับหลายด้าน เช่น ชื่อเสียงการวิจัยในระดับโลก และระดับภูมิภาค สื่อสิ่งพิมพ์ การถูกนำไปอ้างอิง ความร่วมมือระหว่างประเทศ จำนวนบุคลากรระดับปริญญาเอก เป็นต้น โดยในปี 2022 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับการจัดอันดับตามสาขาวิชา (Subject Rankings) ในสาขา Food Science and Technology ให้อยู่ในอันดับที่ 166 ของโลก[11]

ศิษย์เก่าดีเด่น[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่อง ชื่อปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ และเข็มวิทยฐานะของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๙ ประกาศเมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๖ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ๑๓ มิ.ย. ๒๕๕๙ เล่ม ๑๓๓ ตอนพิเศษ ๑๓๔ ง หน้า ๖ สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2566
  2. "Global Ranking of Academic Subjects". shanghairanking.com. สืบค้นเมื่อ 27 Aug 2020.
  3. "2017 Global Ranking of Academic Subjects - Food Science & Technology". shanghairanking.com. สืบค้นเมื่อ 27 Aug 2020.
  4. "2018 Global Ranking of Academic Subjects - Food Science & Technology". shanghairanking.com. สืบค้นเมื่อ 27 Aug 2020.
  5. "2019 Global Ranking of Academic Subjects - Food Science & Technology". shanghairanking.com. สืบค้นเมื่อ 27 Aug 2020.
  6. "2020 Global Ranking of Academic Subjects - Food Science & Technology". shanghairanking.com. สืบค้นเมื่อ 27 Aug 2020.
  7. "2021 Global Ranking of Academic Subjects - Food Science & Technology". shanghairanking.com. สืบค้นเมื่อ 4 Aug 2021.
  8. "2018 Global Ranking of Academic Subjects - Biotechnology". shanghairanking.com. สืบค้นเมื่อ 27 Aug 2020.
  9. "2019 Global Ranking of Academic Subjects - Biotechnology". shanghairanking.com. สืบค้นเมื่อ 27 Aug 2020.
  10. "Best Global Universities for Food Science and Technology 2022 - Kasetsart University". U.S. News & World Report. สืบค้นเมื่อ 2021-11-08.
  11. "Best Global Universities for Food Science and Technology 2022 - Kasetsart University". U.S. News & World Report. สืบค้นเมื่อ 2021-11-08.
  12. "ประวัติคณะกรรมการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข - พิศาล พงศาพิชณ์" (PDF). hsri.or.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-08-04. สืบค้นเมื่อ 4 Aug 2021.
  13. "ผู้บริหาร มกอช. - พิศาล พงศาพิชณ์". สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. สืบค้นเมื่อ 4 Aug 2021.
  14. "ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านต่าง ๆ เล่ม ๑๓๔, ตอนพิเศษ ๒๐๕ ง, ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๐, หน้า ๑" (PDF). สืบค้นเมื่อ 4 Aug 2021.
  15. "ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน เล่ม ๑๑๖, ตอน ๙๓ ง, ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๒, หน้า ๕" (PDF). สืบค้นเมื่อ 4 Aug 2021.
  16. "คณะผู้บริหาร - นายธานี พรพิสุทธิ์ศักดิ์". investor.oishigroup.com. สืบค้นเมื่อ 24 Sep 2021.
  17. "คณะผู้บริหาร - ผู้อำนวยการฝ่ายการผลิต - นายธานี พรพิสุทธิ์ศักดิ์". sermsukplc.com. สืบค้นเมื่อ 24 Sep 2021.
  18. "ม.ล.ภาสันต์ สวัสดิ์วัตน์ กูรูเรื่องความอร่อย...ฉายา ปิ่นโตเถาเล็ก". 10 Aug 2012. สืบค้นเมื่อ 4 Aug 2021.
  19. "รู้จักคน รู้จักข่าว - ภาสันต์ สวัสดิวัตน์". thairath.co.th. สืบค้นเมื่อ 4 Aug 2021.
  20. "ร้านอาหารครึ่งหมื่นกับลิ้นเทวดา 'ม.ล.ภาสันต์ สวัสดิวัตน์'". thairath.co.th. 23 April 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-29. สืบค้นเมื่อ 4 Aug 2021.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]