ประเทศสกอตแลนด์
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
สกอตแลนด์ แกลิกสกอต: Alba | |
---|---|
คำขวัญ: "In My Defens God Me Defend" (ภาษาสกอต) | |
ที่ตั้งของ สกอตแลนด์ (สีเขียวเข้ม) – ในทวีปยุโรป (สีเขียว & สีเทาเข้ม) | |
เมืองหลวง | เอดินบะระ |
เมืองใหญ่สุด | กลาสโกว์ |
ภาษาราชการ | ภาษาอังกฤษ ภาษาแกลิกแบบสกอต และภาษาสกอต |
เดมะนิม |
|
การปกครอง | สภานิติบัญญัติภายใต้ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญตามหลักการกระจายอำนาจ |
ชาลส์ที่ 3 | |
• มุขมนตรี | ฮัมซา ยูซาฟ |
การก่อตั้ง | |
พื้นที่ | |
• รวม | 78,772 ตารางกิโลเมตร (30,414 ตารางไมล์) (n/a) |
1.9 | |
ประชากร | |
• 2560 ประมาณ | 5,424,800 (n/a) |
• สำมะโนประชากร 2544 | 5,062,011 |
95 ต่อตารางกิโลเมตร (246.0 ต่อตารางไมล์) (n/a) | |
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | 2545 (ประมาณ) |
• รวม | $130 billion (n/a) |
• ต่อหัว | $25,546 (n/a) |
เอชดีไอ (2562) | 0.925[a][1] สูงมาก · อันดับที่ 4 |
สกุลเงิน | ปอนด์สเตอร์ลิง (£) (GBP) |
เขตเวลา | UTC+0 (GMT) |
รหัสโทรศัพท์ | 44 |
โดเมนบนสุด | .uk |
|
สกอตแลนด์ (อังกฤษ: Scotland; สกอต: Scotland; แกลิกสกอต: Alba, [ˈal̪ˠapə]( ฟังเสียง), อัลวะเปอะ) เป็นชาติของชนชาวสกอต และเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร โดยครอบคลุมพื้นที่หนึ่งในสามทางตอนเหนือของเกาะบริเตนใหญ่[2][3][4] มีพรมแดนร่วมกับประเทศอังกฤษทางทิศใต้ ส่วนที่เหลือล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติก ทางตะวันออกเป็นทะเลเหนือ และทิศตะวันตกเฉียงใต้จดช่องแคบเหนือและทะเลไอร์แลนด์ นอกเหนือจากแผ่นดินใหญ่แล้ว ประเทศสกอตแลนด์ยังมีเกาะอีกกว่า 790 เกาะ[5]
เอดินบะระ เมืองหลวงและนครใหญ่ที่สุดอันดับสองของประเทศ เป็นศูนย์กลางยุคเรืองปัญญาของชาวสกอตในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งเปลี่ยนสกอตแลนด์มาเป็นมหาอำนาจทางพาณิชย์ ทางการศึกษา และทางอุตสาหกรรมเมืองหนึ่งของทวีปยุโรป. ส่วนกลาสโกว์ นครใหญ่สุดของสกอตแลนด์[6] เคยเป็นนครอุตสาหกรรมชั้นนำของโลกและปัจจุบันเป็นศูนย์กลางของเขตเมืองขยายเกรตเตอร์กลาสโกว์ น่านน้ำสกอตแลนด์ประกอบด้วยทะเลแอตแลนติกเหนือและทะเลเหนือ[7] ซึ่งมีปริมาณน้ำมันสำรองใหญ่สุดในสหภาพยุโรป ทำให้เมืองแอเบอร์ดีน นครใหญ่สุดอันดับสามในสกอตแลนด์ ได้ชื่อว่าเป็นเมืองหลวงน้ำมันของทวีปยุโรป[8]
เดิมราชอาณาจักรสกอตแลนด์เป็นประเทศอิสระที่ไม่ขึ้นกับประเทศอังกฤษจนถึง ค.ศ. 1603 เมื่อพระเจ้าเจมส์ที่ 6 แห่งสกอตแลนด์ครองบัลลังก์อังกฤษโดยทรงใช้พระนามว่า พระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ จึงมีผลให้ทั้งสองประเทศมีพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวกัน เรียกว่า การรวมราชบัลลังก์ (Union of the Crowns) อย่างไรก็ตาม รัฐบาลของทั้งสองยังคงแยกจากกันอยู่จนกระทั่งวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1707 ในรัชสมัยของสมเด็จพระราชินีแอนน์ อังกฤษและสกอตแลนด์ได้รวมตัวกันด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจ ตามพระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1707 มีผลให้รวมเข้ากับราชอาณาจักรอังกฤษ และกลายเป็นราชอาณาจักรบริเตนใหญ่[9]
ระบบกฎหมายของสกอตแลนด์ยังแยกจากระบบกฎหมายของอังกฤษ เวลส์และไอร์แลนด์เหนือ และสกอตแลนด์อยู่ในเขตอำนาจศาลต่างหาก ทั้งในทางกฎหมายมหาชนและเอกชน[10] การคงไว้ซึ่งสถาบันกฎหมาย, การศึกษา, และศาสนาของตน อย่างเป็นอิสระจากสถาบันของสหราชอาณาจักร ล้วนส่งผลให้วัฒนธรรมสกอตแลนด์ และอัตลักษณ์ของชาติสามารถคงความต่อเนื่องไว้ได้ แม้ว่าสกอตแลนด์จะถูกรวมเข้าเป็นสหภาพมาตั้งแต่ ค.ศ. 1707[11] ใน ค.ศ. 1999 รัฐสภาสกอตแลนด์ สภานิติบัญญัติแบบระบบสภาเดี่ยวที่จัดตั้งขึ้น(ใหม่)ตามกระบวนการถ่ายโอนอำนาจ และการลงประชามติ ค.ศ. 1997 เปิดประชุมใหม่โดยมีอำนาจเหนือกิจการภายในหลายด้าน ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2011 พรรคชาติสกอตแลนด์ชนะการเลือกตั้งโดยมีเสียงข้างมากในรัฐสภาสกอตแลนด์ ทำให้นำไปสู่การลงประชามติเอกราชสกอตแลนด์ ซึ่งมีขึ้นเมื่อวันที่ 18 กันยายน ค.ศ. 2014 ซึ่งผลในครั้งนั้นประชากรสกอตแลนด์ข้างมากลงเสียงปฏิเสธ[12][13]
สกอตแลนด์มีผู้แทนในรัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักร 59 ที่นั่ง และมีผู้แทนในรัฐสภายุโรป 6 ที่นั่ง[14] เป็นชาติสมาชิกสภาบริเตน–ไอร์แลนด์[15] และสมัชชารัฐสภาบริเตน–ไอร์แลนด์
ประวัติศาสตร์สังเขป
[แก้]ศัพทมูลวิทยาของชื่อ
[แก้]"สกอตแลนด์" มาจากคำว่า Scoti ชื่อภาษาละตินสำหรับใช้เรียกพวกแกล ว่า Scotia ("ดินแดนของชาวแกล") เป็นภาษาละตินที่ใช้เรียกไอร์แลนด์มาก่อน[16] เมื่อถึงศตวรรษที่ 11 Scotia เริ่มถูกใช้เพื่ออ้างถึงสกอตแลนด์ (ส่วนที่พูดภาษาแกล) ทางตอนเหนือของแม่น้ำฟอร์ธ ใกล้กับ อัลเบเนีย หรือ อัลบานี ซึ่งทั้งสองมาจากคำภาษาแกลว่า Alba (อัลบา)[17] การใช้คำว่า สกอต และ สกอตแลนด์ เพื่อรวมทุกสิ่งที่กลายมาเป็นสกอตแลนด์ กลายมาเป็นปกตินิยมในช่วงปลายยุคกลาง[18]
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]
|
ประชากรศาสตร์
[แก้]
ประชากร
[แก้]จำนวนประชากรในสกอตแลนด์จากการสำรวจสำมะโนประชากร พ.ศ. 2544 มีจำนวน 5,062,011 คน เพิ่มขึ้นในการสำรวจสำมะโนประชากร พ.ศ. 2554 เป็น 5,295,400 คนซึ่งสูงที่สุดเท่าที่ทำการสำรวจมา[19] ประมาณการของสำนักงานสถิติแห่งชาติล่าสุดสำหรับช่วงกลางปี พ.ศ. 2560 คือ 5,424,800 คน[20]
อันดับ | ชื่อ | เทศมณฑล | ประชากร | อันดับ | ชื่อ | เทศมณฑล | ประชากร | ||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
กลาสโกว์ เอดินบะระ |
1 | กลาสโกว์ | นครกลาสโกว์ | 590,507 | 11 | ดันเฟิร์มลิน | ไฟฟ์ | 49,706 | แอเบอร์ดีน ดันดี |
2 | เอดินบะระ | นครเอดินบะระ | 459,366 | 12 | อินเวอร์เนสส์ | ไฮแลนด์ | 48,201 | ||
3 | แอเบอร์ดีน | นครแอเบอร์ดีน | 195,021 | 13 | เพิร์ท | เพิร์ท และ คินรอส | 46,970 | ||
4 | ดันดี | นครดันดี | 147,285 | 14 | แอร์ | เซาท์แอร์เชอร์ | 46,849 | ||
5 | เพสลีย์ | เรนฟรูว์เชอร์ | 76,834 | 15 | กิลมาร์นอค | อีสต์แอร์เชอร์ | 46,159 | ||
6 | อีสต์กิลไบรด์ | เซาท์แลนาร์กเชอร์ | 74,395 | 16 | กรีนอค | อินเวอร์ไคลด์ | 44,248 | ||
7 | ลิฟวิงสตัน | เวสต์โลเทียน | 56,269 | 17 | โคทบริดจ์ | นอร์ทแลนาร์กเชอร์ | 43,841 | ||
8 | แฮมิลตัน | เซาท์แลนาร์กเชอร์ | 53,188 | 18 | เกลนรอเทส | ไฟฟ์ | 39,277 | ||
9 | คัมเบอร์นอลด์ | นอร์ทแลนาร์กเชอร์ | 52,270 | 19 | แอร์ดรี | นอร์ทแลนาร์กเชอร์ | 37,132 | ||
10 | เกิร์กคาลดี | ไฟฟ์ | 49,709 | 20 | สเตอร์ลิง | สเตอร์ลิง | 36,142 |
ภาษา
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ศาสนา
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
กีฬา
[แก้]ฟุตบอล
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Sub-national HDI – Area Database – Global Data Lab". hdi.globaldatalab.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-07-21.
- ↑ "The Countries of the UK". Office for National Statistics. สืบค้นเมื่อ 24 June 2012.
- ↑ "Countries within a country". 10 Downing Street. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 April 2010. สืบค้นเมื่อ 24 August 2008.
The United Kingdom is made up of four countries: England, Scotland, Wales and Northern Ireland
- ↑ "ISO 3166-2 Newsletter Date: 28 November 2007 No I-9. "Changes in the list of subdivision names and code elements" (Page 11)" (PDF). International Organization for Standardization codes for the representation of names of countries and their subdivisions – Part 2: Country subdivision codes. สืบค้นเมื่อ 31 May 2008.
SCT Scotland country
- ↑ "Scottish Executive Resources" (PDF). Scotland in Short. Scottish Executive. 17 February 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-09-04. สืบค้นเมื่อ 14 September 2006.
- ↑ "A quick guide to glasgow". Glasgow City Centre. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-23. สืบค้นเมื่อ 20 June 2012.
- ↑ The Scottish Adjacent Waters Boundaries Order. London: The Stationery Office Limited. 1999. ISBN 0-11-059052-X. สืบค้นเมื่อ 20 September 2007.
- ↑ "Our City". Aberdeen City Council. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 September 2010. สืบค้นเมื่อ 1 December 2009.
Aberdeen's buoyant modern economy – is fuelled by the oil industry, earning the city its epithet as 'Oil Capital of Europe'
- ↑ "ข้อมูลประเทศสกอตแลนด์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-16. สืบค้นเมื่อ 2007-10-02.
- ↑ Collier, J. G. (2001) Conflict of Laws (Third edition)(pdf) Cambridge University Press. "For the purposes of the English conflict of laws, every country in the world which is not part of England and Wales is a foreign country and its foreign laws. This means that not only totally foreign independent countries such as France or Russia ... are foreign countries but also British Colonies such as the Falkland Islands. Moreover, the other parts of the United Kingdom – Scotland and Northern Ireland – are foreign countries for present purposes, as are the other British Islands, the Isle of Man, Jersey and Guernsey."
- ↑ Devine, T. M. (1999), The Scottish Nation 1700–2000, P.288–289, ISBN 0-14-023004-1 "created a new and powerful local state run by the Scottish bourgeoisie and reflecting their political and religious values. It was this local state, rather than a distant and usually indifferent Westminster authority, that in effect routinely governed Scotland"
- ↑ "Scotland: Independence Referendum Date Set". BSkyB. 21 March 2013. สืบค้นเมื่อ 4 May 2013.
- ↑ Gardham, Magnus (2 May 2011). "Holyrood election 2011: Alex Salmond: Referendum on Scottish independence by 2015". Daily Record. Scotland. สืบค้นเมื่อ 14 October 2011.
- ↑ "Scottish MEPs". Europarl.org.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 May 2014. สืบค้นเมื่อ 26 May 2014.
- ↑ "Scotland / Alba". British-Irish Council. สืบค้นเมื่อ 4 May 2013.
- ↑ The History Of Ireland. สืบค้นเมื่อ 17 September 2014.
- ↑ Ayto, John; Crofton, Ian. Brewer's Britain & Ireland: The History, Culture, Folklore and Etymology of 7500 Places in These Islands. WN. ISBN 0-304-35385-X.
- ↑ Keay, John; Keay, Julia (2001). Collins Encyclopedia of Scotland (2nd ed.). Harper Collins. p. 1101.
- ↑ "Scotland's Population at its Highest Ever". National Records of Scotland. 30 April 2015. สืบค้นเมื่อ 12 February 2015.
- ↑ Jonathan, McMullan (28 June 2018). "Population estimates for UK, England and Wales, Scotland and Northern Ireland". Ons.gov.uk. Office for National Statistics.
- ↑ "2011 Census population data for localities in Scotland". Scotlandscensus.gov.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-28. สืบค้นเมื่อ 10 July 2014.
บรรณานุกรม
[แก้]- Devine, T. M. [1999] (2000). The Scottish Nation 1700–2000 (New Ed. edition). London:Penguin. ISBN 0-14-023004-1
- Donnachie, Ian and George Hewitt. Dictionary of Scottish History. (2001). 384 pp.
- Keay, John; Keay, Julia (2001). Collins Encyclopedia of Scotland (2nd ed.). Harper Collins. p. 1101.
- Koch, J. T. Celtic Culture: a Historical Encyclopedia (ABC-CLIO, 2006), ISBN 1-85109-440-7, 999pp
- Tabraham, Chris, and Colin Baxter. The Illustrated History of Scotland (2004) excerpt and text search
- Trevor-Roper, Hugh, The Invention of Scotland: Myth and History, Yale, 2008, ISBN 0-300-13686-2
- Watson, Fiona, Scotland; From Prehistory to the Present. Tempus, 2003. 286 pp.
- Wilson, Neil; Symington, Andy (2013). Discover Scotland. Lonely Planet. ISBN 9781742205724.
- Wormald, Jenny, The New History of Scotland (2005) excerpt and text search
ตำราข้อมูลเฉพาะเรื่อง
[แก้]- Brown, Dauvit (1999) Anglo-French acculturation and the Irish element in Scottish Identity in Smith, Brendan (ed.), Insular Responses to Medieval European Change, Cambridge University Press, pp. 135–53
- Brown, Michael (2004) The Wars of Scotland, 1214–1371, Edinburgh University Press., pp. 157–254
- Dumville, David N. (2001). "St Cathróe of Metz and the Hagiography of Exoticism". Irish Hagiography: Saints and Scholars. Dublin: Four Courts Press. pp. 172–176. ISBN 978-1-85182-486-1.
- Flom, George Tobias. Scandinavian influence on Southern Lowland Scotch. A Contribution to the Study of the Linguistic Relations of English and Scandinavian (Columbia University Press, New York. 1900)
- Herbert, Maire (2000). "Rí Érenn, Rí Alban, kingship and identity in the ninth and tenth centuries". ใน Simon Taylor (บ.ก.). Kings, Clerics and Chronicles in Scotland, 500–1297. Dublin: Four Courts Press. pp. 63–72. ISBN 1-85182-516-9.
- MacLeod, Wilson (2004) Divided Gaels: Gaelic Cultural Identities in Scotland and Ireland: c.1200–1650. Oxford University Press.
- Pope, Robert (ed.), Religion and National Identity: Wales and Scotland, c.1700–2000 (University of Wales Press, 2001)
- Sharp, L. W. The Expansion of the English Language in Scotland, (Cambridge University PhD thesis, 1927), pp. 102–325.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- แผนที่ เก็บถาวร 2005-11-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน และ สิ่งพิมพ์ ฯลฯ ดิจิทัล เก็บถาวร 2006-02-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ที่หอสมุดแห่งชาติสกอตแลนด์ (National Library of Scotland)
- The Gazetteer for Scotland เก็บถาวร 2007-01-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - แนะนำอย่างละเอียดถึงสถานที่และบุคคลที่เกี่ยวกับสกอตแลนด์ โดยราชสมาคมภูมิศาสตร์สกอต (Royal Scottish Geographical Society) และมหาวิทยาลัยเอดินบะระ
- สถิติเศรษฐกิจของสกอตแลนด์ ค.ศ. 2005 เก็บถาวร 2006-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (PDF) - จาก Scottish Executive
- Scottish Executive เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของรัฐบาลสกอตแลนด์ (Scottish Executive)
- Scottish Parliament เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของรัฐสภาสกอตแลนด์ (Scottish Parliament)
- VisitScotland เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของคณะกรรมการการท่องเที่ยวสกอตแลนด์
- ข่าว การท่องเที่ยว และประวัติศาสตร์สกอตแลนด์ - จากบีบีซี สกอตแลนด์
- สถาบันส่งเสริมการศึกษาต่อสกอตแลนด์