มหาวิทยาลัยชิงหฺวา
มหาวิทยาลัยชิงหฺวา | |
---|---|
清华大学 | |
![]() | |
คติพจน์ | zh-hans (自强不息, 厚德载物) |
คติพจน์อังกฤษ | Self-discipline and Social Commitment |
สถาปนา | ค.ศ. 1911 |
ประเภท | มหาวิทยาลัยรัฐ |
อธิการบดี | Chen Jining |
ที่ตั้ง | ปักกิ่ง, ประเทศจีน |
ประเทศ | ประเทศจีน |
สีประจำสถาบัน | ม่วง และ ขาว |
เว็บไซต์ | Tsinghua.edu.cn |
![]() |

มหาวิทยาลัยชิงหฺวา (จีน: 清华大学; พินอิน: qīnghuá dàxué; อังกฤษ: Tsinghua University) เป็นมหาวิทยาลัยในสาธารณรัฐประชาชนจีน ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1911 ในบริเวณสวนของราชวงศ์ชิง โดยเงินบริจาคของรัฐบาลแมนจู ด้วยการเสนอของประธานาธิบดีธีโอดอร์ โรสเวลต์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาและมติของรัฐสภาสหรัฐอเมริกา จากเงินอุดหนุนการช่วยเหลือสมัยเหตุการณ์กบฏนักมวย รู้จักกันดีในฐานะมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงที่สุดหนึ่งในสองแห่งของจีน ชิงหฺวามีศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีนสองคน ได้แก่ หู จิ่นเทา[1] และ สี จิ้นผิง[2]
คณะและสาขาวิชา[แก้]
ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยชิงหฺวา มีคณะและสาขาวิชา ทั้งสายวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ เปิดสอนระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก และหลังปริญญาเอก ได้แก่
- คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ (School of Architecture)
- คณะวิศวกรรมโยธา (School of Civil Engineering)
- คณะวิศวกรรมเครื่องกล (School of Mechanical Engineering)
- คณะการบินและอวกาศ (School of Aerospace)
- คณะสารสนเทศศาสตร์และเทคโนโลยี (School of Information Science and Technology)
- คณะวิศวกรรมซอฟแวร์ (School of Software)
- คณะวิทยาศาสตร์ (School of Sciences)
- คณะมนุษยศาสตร์ (School of Humanities)
- คณะสังคมศาสตร์ (School of Social Sciences)
- คณะเศรษฐศาสตร์และการจัดการ (School of Economics and Management)
- คณะศิลปกรรมศาสตร์ (Academy of Arts and Design)
- คณะแพทยศาสตร์ (School of Medicine)
- ภาควิชาคณิตศาสตร์ (Department of Mathematical Sciences)
- คณะวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (School of Life Sciences)
- คณะวารสารศาสตร์และการสื่อสารชิงหฺวา (Tsinghua School of Journalism and Communication) (TSJC)
- คณะนโยบายสาธารณะและการจัดการ (School of Public Policy and Management)
- บัณฑิตวิทยาลัยชิงหฺวา-มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ วิทยาเขตเซินเจิ้น (Tsinghua–UC Berkeley Shenzhen Institute)
- สถาบันแลกเปลี่ยนนวัตกรรมระดับโลก ร่วมกับมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ณ เมืองซีแอตเทิล สหรัฐอเมริกา (Tsinghua-UW Global Innovation Exchange) (GIX)
โครงการนักเรียนทุนชวาร์ซแมน[แก้]
โครงการนักเรียนทุนชวาร์ซแมน (Schwarzman Scholars)[3] เป็นโครงการทุนการศึกษาจากเงินสนับสนุนของมหาเศรษฐีชาวอเมริกัน สตีเฟ่น ชวาร์ซแมน ซึ่งมีวิสัยทัศน์ว่าประเทศจีนจะกลายเป็นศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจของโลกในอนาคต ผู้นำโลกจะไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ถ้าขาดความรู้เกี่ยวกับประเทศจีน โดยจะมอบให้นักเรียนที่มีความโดดเด่นด้านวิชาการที่สุดจากทั่วโลก 200 คนต่อปี รับทุนการศึกษามาเรียนในหลักสูตรปริญญาโทด้านนโยบายสาธารณะ เศรษฐศาสตร์และธุรกิจ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ณ วิทยาลัยชวาร์ซแมน (Schwarzman College) ของมหาวิทยาลัยชิงหฺวา โดยเริ่มรับนักศึกษาในปี ค.ศ. 2016 เขาลงทุนสร้างอาณาจักรพิเศษขึ้นที่ใจกลางมหาวิทยาลัย[4][5] โดยสร้างอาคารเรียนที่ดีที่สุด (ออกแบบโดยสถาปนิกชื่อดังที่สุดในสหรัฐฯ) ผู้รับทุนจะพักอาศัยในที่พักที่ถูกออกแบบให้เทียบเคียงกับห้องรับรองผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ซึ่งโครงการทุนนี้ได้รับความร่วมมือระหว่างประเทศ มีคณะกรรมการโครงการ ซึ่งประกอบด้วยนักวิชาการรางวัลโนเบลของมหาวิทยาลัยชิงหฺวา อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตผู้นำโลกหลายท่าน มีการระดมคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก เช่น มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด มหาวิทยาลัยเยล มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ มาทำการสอนที่มหาวิทยาลัยชิงหฺวา โดยใช้งบประมาณในการลงทุนสูงถึง 350 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แซงโครงการทุนที่มีชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดอย่าง Rhode Scholarship ทุนเก่าแก่กว่าร้อยปีที่ให้นักเรียนหัวกะทิของสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และเยอรมนีไปเรียนหลักสูตรปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ทั้งนี้มีนักวิชาการอ้างว่าโครงการนักเรียนทุนชวาร์ซแมนเป็นโครงการ ทุนการศึกษาที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก จากงบประมาณในการลงทุนด้านทุนการศึกษาที่สูงที่สุดอีกด้วย[6]
ชื่อเสียง[แก้]
มหาวิทยาลัยชิงหฺวา ได้รับการจัดอันดับให้เป็น มหาวิทยาลัยที่มั่งคั่งที่สุดทางการเงิน ด้วยงบประมาณสนับสนุนทางการศึกษาและการวิจัยจากการจัดอันดับกลุ่มมหาวิทยาลัยจำนวน 100 แห่งในจีนแผ่นดินใหญ่ ฮ่องกง มาเก๊าและไต้หวัน ด้วยงบประมาณ 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[7] อีกทั้งได้รับฉายาว่า "MIT แห่งเมืองจีน" จากชื่อเสียงของวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เทียบเคียงสถาบันการศึกษาชื่อดังของสหรัฐอเมริกาอย่าง สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ และเป็น "มหาวิทยาลัยที่มีการจ้างงานบัณฑิตสูงสุด" อันดับที่หนึ่งของทวีปเอเชีย และอันดับที่สามของโลกในปี 2017[8]
สาขาวิชาที่โดดเด่น ได้แก่ วิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยี สถาปัตยกรรมศาสตร์ นิเทศศาสตร์ สังคมวิทยา ประวัติศาสตร์ ลัทธิมาร์กซิสต์ บริหารธุรกิจ และวิทยาศาสตร์ ในระดับเอเชียและระดับโลก ในสายตาชาวจีนมหาวิทยาลัยชิงหฺวามีความโดดเด่นด้านวิชาการเทียบเท่ามหาวิทยาลัยปักกิ่ง มหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่บริเวณข้างเคียงกันที่เน้นการเรียนการสอนสาขาวิชาด้านภาษา วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ และสังคมศาสตร์
ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยชิงหฺวา มีอันดับมหาวิทยาลัยโลก อยู่ในอันดับที่ 17 ของโลก ประจำปี 2018-2019 โดย QS World University Rankings สำนักจัดอันดับชื่อดังจากประเทศอังกฤษ และอันดับที่ 30 ของโลก โดยไทมส์ไฮเออร์เอดยูเคชันซัปพลีเมนต์สำนักจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกจากประเทศอังกฤษ ที่ได้รับการยอมรับเรื่องระเบียบวิธีวิจัย (Methodology) ด้านการเรียนการสอนและการวิจัยมากที่สุด[9] มหาวิทยาลัยชิงหฺวา ได้รับการจัดอันดับให้เป็น มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงที่สุดของโลก ประจำปี 2017 ในอันดับที่ 14 ของโลก อันดับที่ 2 ของเอเชีย และอันดับที่ 1 ของจีน[10] และ ยังได้รับการจัดอันดับให้เป็น สุดยอดสถาบันการศึกษาจากกลุ่มประเทศ, เศรษฐกิจเกิดใหม่ และกลุ่ม BRICS อันดับที่ 1[11] จากการจัดอันดับของ QS World University Rankings 6 ปีติดต่อกันในปี 2013, 2014, 2015, 2016, 2017 และ 2018 อีกด้วย
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Research, CNN Editorial (20 ธันวาคม 2012). "Hu Jintao Fast Facts". CNN. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2021.
- ↑ Viktor, Eszterhai (22 พฤศจิกายน 2017). "Xi Jinping – a Leader's Profile". PAGEO Geopolitical Institute (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2021.
- ↑ "Schwarzman Scholars" (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ 清华苏世民书院:以培养未来世界领袖为目标 打造国际化人才. 清华新闻网. 新華教育. 10 พฤษภาคม 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2017. สืบค้นเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2017.
- ↑ 黑石创始人苏世民对华捐3亿美元办学. 腾讯财经9. 22 เมษายน 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 กันยายน 2016. สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2016.
- ↑ อาร์ม ตั้งนิรันดร (24 เมษายน 2014). "ทุนการศึกษาที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก". กรุงเทพธุรกิจ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 กรกฎาคม 2014.
- ↑ "Tsinghua crowned China's richest university". WantChinaTimes.com. 19 พฤศจิกายน 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 มกราคม 2015.
- ↑ "Graduate Employability Rankings - 2017". QS Quacquarelli Symonds.
- ↑ "World University Rankings 2013-14". THE - Times Higher Education.
- ↑ "World Reputation Rankings 2016". THE - Times Higher Education.
- ↑ "University rankings - BRICS rankings 2013". QS Quacquarelli Symonds.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: มหาวิทยาลัยชิงหฺวา |
- Tsinghua University (ในภาษาอังกฤษ)
![]() |
บทความเกี่ยวกับสถานศึกษานี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |