สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

พิกัด: 13°50′38″N 100°34′25″E / 13.8438668°N 100.5736542°E / 13.8438668; 100.5736542
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
Office of Agricultural Economics
ตราสัญลักษณ์

ภาพสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร พ.ศ. 2551 ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บางเขน
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง24 มีนาคม พ.ศ. 2522
สำนักงานใหญ่ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
งบประมาณประจำปี[1]
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • ฉันทานนท์ วรรณเขจร, เลขาธิการ [2]
  • วินิต อธิสุข, รองเลขาธิการ
  • กาญจนา ขวัญเมือง, รองเลขาธิการ
  • ธัญธิตา บุญญมณีกุล, รองเลขาธิการ
เว็บไซต์http://www.oae.go.th

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (อังกฤษ: Office of Agricultural Economics) เป็นส่วนราชการระดับกรม ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2522

ประวัติ[แก้]

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีหนังสือที่ กส 0205/8792 ลงวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2521 เสนอขอยกฐานะกองเศรษฐกิจการเกษตรขึ้นเป็น "สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร" มีฐานะเทียบเท่ากรมในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ เมื่อเสนอขอยกฐานะกองเศรษฐกิจการเกษตรเป็น สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร แล้วได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 216 ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2515 (ฉบับที่ 22) พ.ศ. 2522 ข้อ 14 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีส่วนราชการ 13 กรม และสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เป็นกรมที่ 13 โดยประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 96 ตอนที่ 40 ลงวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2522[3]

หน้าที่ความรับผิดชอบ[แก้]

ภาพสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ด้านหน้า พ.ศ. 2552 ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บางเขน
ภาพสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ด้านหน้า พ.ศ. 2552 ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บางเขน

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรมีหน้าที่ความรับผิดชอบ ตามที่กำหนดไว้ใน พระราชบัญญัติเศรษฐกิจการเกษตร พ.ศ. 2522 ดังนี้

  1. วิเคราะห์นโยบายการเกษตรและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ เพื่อเสนอคณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์
  2. ศึกษาวิเคราะห์การวางแผนการผลิตทางการเกษตร แหล่งการผลิต ให้สอดคล้องกับสภาพดิน ฟ้า อากาศ แหล่งน้ำ ประเภทของเกษตรกรรม และความต้องการของตลาด เสนอต่อคณะกรรมการฯ เพื่อประกอบการพิจารณากำหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจ
  3. ศึกษาและวิเคราะห์การจัดระบบการตลาด การขนส่ง และการพัฒนาตลาดสินค้าเกษตรกรรมให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งวิเคราะห์ราคาและความต้องการสินค้าเกษตรกรรม
  4. ศึกษาวิเคราะห์แหล่งทรัพยากร การใช้ทรัพยากรทางการเกษตร และศึกษาวิเคราะห์เศรษฐกิจการผลิต การจัดระบบปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ให้มีประสิทธิภาพ
  5. เก็บรวบรวมข้อมูลสถิติการเกษตรที่จำเป็นทุกชนิด เพื่อใช้ในการวิเคราะห์นโยบายการเกษตรและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ และจัดทำเอกสารสถิติด้านเศรษฐกิจการเกษตร
  6. วิเคราะห์และประเมินผลการลงทุนในโครงการเกษตร ตลอดจนติดตามประเมินผลความสำเร็จและความก้าวหน้าของโครงการและแผนปฏิบัติงาน ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ รวมทั้งเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาหรืออุปสรรคที่ต้องกระทำเป็นการเร่งด่วน
  7. วิเคราะห์การพัฒนาเศรษฐกิจในสาขาอื่น รวมทั้งภาวะเศรษฐกิจการเกษตรที่จำเป็นในการวางแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์
  8. จัดทำระเบียนเกี่ยวกับการประกอบกิจการในด้านการเกษตรโดยจัดประเภท ชนิด หรือกลุ่มแต่ละสาขา
  9. ประสานงานในการกำหนดนโยบาย และแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์กับหน่วยราชการ และรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง
  10. ปฏิบัติการอื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ หรือสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร หรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

หน่วยงาน[แก้]

การแบ่งส่วนราชการและอำนาจหน้าที่ ของส่วนราชการในสังกัดสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ตามกฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2557 มีดังนี้ [4]

สำนักงานเลขานุการกรม[แก้]

  1. ปฏิบัติงานสารบรรณของสำนักงาน
  2. ดำเนินการเกี่ยวกับงานช่วยอำนวยการและงานเลขานุการของสำนักงาน
  3. ศึกษา วิเคราะห์ และประสานการจัดทำแผนงาน โครงการ แผนปฏิบัติงาน และงบประมาณ รวมทั้งติดตามและรายงานผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานภายในสำนักงาน
  4. ดำเนินการเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี การบริหารงบประมาณ การพัสดุ อาคารสถานที่และยานพาหนะของสำนักงาน
  5. บริหารงานทรัพยากรบุคคลและจัดระบบงาน รวมทั้งการฝึกอบรมและพัฒนาข้าราชการและลูกจ้างของสำนักงาน
  6. ดำเนินการเกี่ยวกับการเสริมสร้างวินัยและพัฒนาระบบคุณธรรมของสำนักงาน
  7. ดำเนินการเกี่ยวกับงานกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง งานนิติกรรมและสัญญางานเกี่ยวกับความรับผิดทางแพ่งและอาญา งานคดีปกครอง และงานคดีอื่นที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสำนักงาน
  8. ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ผลงานของสำนักงาน
  9. ดำเนินงานอื่นใดที่มิได้กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการใดของสำนักงาน
  10. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

กองนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร[แก้]

  1. ศึกษา วิเคราะห์ และประมาณการเศรษฐกิจการเกษตร รวมทั้งวิเคราะห์ และเสนอแนะนโยบาย มาตรการ และจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์
  2. ศึกษาและวิเคราะห์มาตรการ รวมทั้งจัดทำแผนพัฒนาเขตเกษตรเศรษฐกิจ และแผนพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจเฉพาะ
  3. ศึกษา วิเคราะห์ และเสนอแนะกรอบนโยบายในการจัดทำงบประมาณ รวมทั้งวิเคราะห์ความเหมาะสมเชิงเศรษฐกิจ จัดทำแผนงานและโครงการ ตลอดจนประมวลผลการดำเนินงานและการใช้จ่ายงบประมาณของกระทรวง
  4. ศึกษา วิเคราะห์ และจัดทำข้อเสนอนโยบาย มาตรการ แนวทาง การพัฒนาเกี่ยวกับประชากรเกษตร สินเชื่อการเกษตรและการพัฒนาสถาบันเกษตรกร องค์กรเกษตรกร ตลอดจนสภาเกษตรกรแห่งชาติ
  5. ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำข้อเสนอนโยบาย มาตรการ แนวทาง การพัฒนาระบบโลจิสติกส์และบริหารจัดการ ตลอดจนการเชื่อมโยงเครือข่ายเพื่อการพัฒนาระบบโลจิสติกส์และการลงทุนด้านการเกษตร
  6. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร[แก้]

  1. ศึกษา วิเคราะห์ และวิจัยเศรษฐกิจการผลิตและการตลาดสินค้าเกษตร
  2. ศึกษา วิเคราะห์ และวิจัยเทคโนโลยีการผลิตและระบบการจัดการฟาร์มในเชิงเศรษฐกิจ
  3. ศึกษา วิเคราะห์ และวิจัยแนวทางการแปรรูปสินค้าเกษตรและการทำธุรกิจของสถาบันเกษตรกร
  4. ศึกษา วิเคราะห์ และวิจัยเศรษฐกิจสังคมครัวเรือนเกษตรและแรงงานภาคเกษตร
  5. ศึกษา วิเคราะห์ และวิจัยผลตอบแทนเชิงเศรษฐกิจสูงสุดจากการใช้ทรัพยากรในฐานะเป็นปัจจัยการผลิต
  6. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

ศูนย์สารสนเทศการเกษตร[แก้]

  1. ศึกษา วิจัยและพัฒนา วางแผน และจัดทำข้อมูลการเกษตรเกี่ยวกับการผลิต การใช้ปัจจัยการผลิต และต้นทุนการผลิตของพืช ปศุสัตว์ ประมง ตลอดจนข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร รวมทั้ง

วิเคราะห์ผลและรายงานเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศทางการเกษตร

  1. ศึกษา วิเคราะห์ และพัฒนาวิธีการพยากรณ์ข้อมูลการเกษตร รวมทั้งวิเคราะห์สถานการณ์การผลิตสินค้าเกษตรและความเสียหายจากการเกิดภัยที่มีผลกระทบต่อด้านการเกษตร
  2. ศึกษา วิเคราะห์ พัฒนา และจัดทำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และระบบข้อมูลระยะไกลในการจำแนกสภาพการใช้ที่ดิน การประกอบกิจกรรมการเกษตร และแหล่งเหมาะสมของการผลิตสินค้าเกษตร

เพื่อใช้สนับสนุนการวางแผนพัฒนาการเกษตรและการกำหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจ

  1. ศึกษา กำหนดวิธีการ และจัดทำทะเบียนเกี่ยวกับเกษตรกรและผู้ประกอบกิจการในด้านการเกษตร
  2. ศึกษา พัฒนา และจัดวางระบบฐานข้อมูลการเกษตร ระบบการเชื่อมโยงเครือข่าย การสื่อสารข้อมูล ระบบคอมพิวเตอร์ รวมทั้งเป็นศูนย์กลางข้อมูลสารสนเทศการเกษตรของกระทรวง
  3. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย

ศูนย์ประเมินผล[แก้]

  1. ศึกษา พัฒนาเทคนิคและระบบการติดตามประเมินผล รวมทั้งให้คำปรึกษาด้านการติดตามและประเมินผลแก่หน่วยงานอื่นในสังกัดกระทรวง
  2. ศึกษา วิเคราะห์ และดำเนินการติดตามความก้าวหน้าของการปฏิบัติงาน ตลอดจนประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการใช้จ่ายงบประมาณตามมาตรการ แผนงาน และโครงการต่าง ๆของกระทรวง รวมทั้งโครงการเงินกู้และเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ
  3. ศึกษา วิเคราะห์ และดำเนินการประเมินผลความสำเร็จและผลกระทบของการดำเนินงานตามมาตรการ แผนงาน โครงการต่าง ๆ ของกระทรวง รวมทั้งโครงการเงินกู้และเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ
  4. เสนอผลการติดตาม ผลการประเมิน และข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการ นโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ คณะกรรมการอื่น ๆ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
  5. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

กองเศรษฐกิจการเกษตรระหว่างประเทศ[แก้]

  1. ศึกษา วิเคราะห์ และติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจ นโยบายเกษตรต่างประเทศ ตลอดจนข้อตกลงและเงื่อนไขทางด้านการค้าสินค้า และการลงทุนภาคเกษตร การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ด้านการเกษตร ความมั่นคงด้านอาหาร และความร่วมมือทางเศรษฐกิจการเกษตรระหว่างประเทศ ทั้งระดับทวิภาคี พหุภาคี และองค์การระหว่างประเทศ

  1. ศึกษา วิเคราะห์ และเสนอแนะนโยบายและท่าทีในการเจรจาการค้าสินค้าเกษตรและการลงทุนภาคเกษตร การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้านการเกษตร ความมั่นคงด้านอาหารและ

ความร่วมมือทางเศรษฐกิจการเกษตรระหว่างประเทศ ภายใต้กรอบการค้าเสรี ข้อตกลงระหว่างประเทศและองค์การระหว่างประเทศ

  1. เสนอแนะนโยบายและจัดทำยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวกับการเกษตรต่างประเทศ
  2. ติดตามการปฏิบัติงานตามพันธกรณี และวิเคราะห์ผลกระทบ เพื่อเสนอแนะแนวทางและมาตรการรองรับผลกระทบเชิงบวกและลบ รวมทั้งมาตรการเยียวยา อันเนื่องมาจากการปฏิบัติตาม พันธกรณีข้อตกลงระหว่างประเทศ ตลอดจนประสานการดำเนินงาน และติดตามผลการดำเนินงาน ตามมาตรการรองรับผลกระทบที่เกิดขึ้น
  3. ทำหน้าที่ประสานงานเกี่ยวกับการสำรองข้าวฉุกเฉิน
  4. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 1-12[แก้]

  1. ศึกษา วิเคราะห์ และจัดทำข้อมูลการเกษตร รวมทั้งเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศ
  2. ศึกษา วิเคราะห์ และรายงานผลการติดตาม ผลการประเมินความสำเร็จ และผลกระทบของการดำเนินงานตามมาตรการ แผนงาน และโครงการต่าง ๆ
  3. ศึกษา วิเคราะห์ และวิจัยเศรษฐกิจการเกษตรที่สำคัญในระดับท้องถิ่น
  4. ศึกษาและวิเคราะห์ความเชื่อมโยงและความสอดคล้องของแผนพัฒนาการเกษตรในระดับกระทรวงที่นำไปสู่แผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจการเกษตรในระดับภูมิภาค รวมทั้งให้ความเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดทำแผนงานและโครงการแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่
  5. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

13°50′38″N 100°34′25″E / 13.8438668°N 100.5736542°E / 13.8438668; 100.5736542