โรงเรียนตาคลีประชาสรรค์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนตาคลีประชาสรรค์
Takhliprachasan School
โรงเรียนตาคลีประชาสรรค์png
โรงเรียนตาคลีประชาสรรค์
ที่ตั้ง
110 ถนนพหลโยธิน ตำบลตาคลี อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ 60140
ข้อมูล
ชื่ออื่นต.ป.
T.P.
ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
คำขวัญรู้หน้าที่ สามัคคี มีวินัย
สถาปนา22 พฤษภาคม พ.ศ. 2505
(61 ปี 354 วัน)
หน่วยงานกำกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์
รหัส1007600701[1]
ผู้อำนวยการดร.สมบูรณ์ นนท์สกุล (2565-ปัจจุบัน)
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษาตอนต้น - มัธยมศึกษาตอนปลาย
จำนวนนักเรียน2,585[2]
สี███ เทา
███ แดง
เพลงถิ่นเราเทา-แดง
ต้นไม้อินทนิลน้ำ
เว็บไซต์http://www.takhli.ac.th/
โทรศัพท์ 0-5626-2369
โทรสาร 0-5626-1158
อาคารเรียนเก่าของโรงเรียนเมื่อประมาณ 30 ปีก่อน เป็นอาคารไม้ 2 ชั้น ปัจจุบันถูกรื้อทิ้งแล้ว

โรงเรียนตาคลีประชาสรรค์ (อักษรย่อ: ต.ป.) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย (ช่วงชั้นที่ 3-4)

ประวัติโรงเรียน[แก้]

การก่อตั้ง[แก้]

เมื่อต้นปี พ.ศ. 2505 นายทองคำ ทรัพย์บุญรอด กำนันตำบลตาคลี และนายเตียง พัวพรพงษ์ คหบดี แสดงความจำนงต่อทางราชการ ที่จะอุทิศที่ดินเพื่อจะสร้างโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอ โดยนายทองคำ ทรัพย์บุญรอดอุทิศที่ดิน 10 ไร่ นายเตียง พัวพรพงษ์ อุทิศที่ดิน 5 ไร่ ทางราชการ จึงขออนุญาตตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นประจำอำเภอขึ้น เมื่อปีการศึกษา 2505 ต่อมาได้มีผู้บริจาค สมทบอีกสองราย คือนางเฮียง ชมพู อุทิศที่ดิน 3 ไร่ และนายมานิตย์ พัวพรพงษ์ อุทิศที่ดิน 3 ไร่รวมเป็นที่ดิน 21 ไร่ [4]

ในตอนเปิดเรียนใหม่ ๆ นั้น เนื่องจากอาคารเรียนยังไม่มี จึงต้องอาศัยศาลาวัดสว่างวงษ์เป็นที่เรียนชั่วคราว ต่อมาทางราชการอำเภอซึ่งมีนายจำนง ยังเทียน นายอำเภอตาคลีและนายนาค สังข์ลำใย ศึกษาธิการอำเภอ ได้ร่วมมือกับพ่อค้าประชาชน ในนามมูลนิธิการกุศลและพัฒนาตาคลี จัดหาเงินเพื่อสร้างอาคารเรียน ซึ่งได้เงินหลังหักค่าใช้จ่ายแล้ว เหลือประมาณ 170,000 บาทเศษ และได้ใช้เงินจำนวนนี้ปรับปรุงบริเวณโรงเรียน ทำถนนรั้วหน้าโรงเรียน และที่เหลือสมทบกับเงินงบประมาณปีพ.ศ. 2508 จัดสร้างอาคารเรียนหลังแรกประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ วัน 6 ฯ 7 ปีมะโรง ฉศก จุลศักราช 1326 ตรงกับวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2507 และโรงเรียนได้ย้ายมาอยู่สถานที่ปัจจุบันตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508 เป็นต้นมา โดยมีนายธีระชัย ทองวิชิต เป็นครูใหญ่คนแรก ที่ร่วมบุกเบิกก่อตั้ง และนางก่องแก้ว เติบศิริ เป็นครูผู้สอน มีจำนวน 2 คน ที่สอนอยู่ที่ศาลาวัดสว่างวงษ์ ซึ่งเป็นอาคารเรียนชั่วคราว มีจำนวนนักเรียน 36 คน เปิดเป็นแบบสหศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3[4]

การปรับปรุง[แก้]

ป้ายชื่อโรงเรียนบริเวณทางเข้าด้านหน้าฝั่งทิศตะวันตก
  • พ.ศ. 2509 สร้างอาคารเรียนเป็นอาคารไม้อีก 1 หลัง
  • พ.ศ. 2510 โรงเรียนเข้าโครงการปรับปรุงมัธยมชนบท (ค.ม.ช.) รุ่น 14 โดยได้รับความช่วยเหลือด้านอุปกรณ์จากองค์การยูนิเซฟ และทางกรมวิสามัญ (สมัยนั้น) ได้ช่วยเหลือด้านอาคารสถานที่และอัตรากำลังครู ต่อมาโรงเรียนได้เข้าอยู่ในโครงการโรงเรียนมัธยมแบบประสมแบบ 2 (ค.ม.ส.) รุ่น 2 ด้วย
  • พ.ศ. 2511 ได้รับงบประมาณซื้อที่ดินเพิ่มขึ้นอีก 20 ไร่ ทางด้านเหนือหลังโรงเรียน
  • พ.ศ. 2512 ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนเพิ่มเติมอีก 1 หลัง เป็นอาคารไม้ 2 ชั้น 6 ห้องเรียน และบ้านพักครูอีกหนึ่งหลัง
  • พ.ศ. 2518 ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบ 216 ก. จำนวนหลัง และได้รับบริจาคที่ดินจากนายศักดิ์ชัย ขจรชมภู จำนวน 3 ไร่
  • พ.ศ. 2520 ได้รับเงินอนุมัติเปิดเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบ 216 ก. จำนวน 1 หลัง
  • พ.ศ. 2522 ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบ 213 ก. จำนวน 1 หลัง
  • พ.ศ. 2530 ได้รับงบประมาณสร้างอาคารฝึกงานแบบ 102/27 (แบบมาตรฐาน) จำนวน 1 หลัง
  • พ.ศ. 2531 ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบ 316 ล. จำนวน 1 หลัง
  • พ.ศ. 2532 ได้รับงบประมาณสร้างถังเก็บน้ำฝน แบบ ฝ. 33
  • พ.ศ. 2533 ได้รับงบประมาณสร้างหอประชุมขนาดใหญ่แบบ 100/27 จำนวน 1 หลัง
  • พ.ศ. 2534 ได้รับงบประมาณสร้งอาคารเรียนแบบ 316. ล. จำนวน 1 หลัง
  • พ.ศ. 2536 ได้รับงบประมาณสร้างโรงฝึกงานแบบ 204 (2 ชั้น 4 ห้อง) จำนวน 1 หลัง
  • พ.ศ. 2538 ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบ 424 ล. (4 ชั้น 24 ห้อง) จำนวน 1 หลัง
  • พ.ศ. 2539 ได้รับงบประมาณสร้างหอถังสูง 12 เมตร แบบ 12/18 จำนวน 1 หอ
  • พ.ศ. 2540 โรงเรียนได้เปิดทำการสอน 54 ห้องเรียน (ม.ต้น 12-10-11) (ม.ปลาย 8-7-6)
  • พ.ศ. 2541 โรงเรียนได้เปิดทำการสอน 56 ห้องเรียน (ม.ต้น 12-12-10) (ม.ปลาย 8-7-7)
  • พ.ศ. 2542 โรงเรียนได้เปิดทำการสอน 56 ห้องเรียน (ม.ต้น 12-12-12) (ม.ปลาย 7-7-6)
  • พ.ศ. 2543 โรงเรียนได้เปิดทำการสอน 59 ห้องเรียน (ม.ต้น 12-12-12) (ม.ปลาย 8-8-7)
  • พ.ศ. 2544 โรงเรียนได้เปิดทำการสอน 60 ห้องเรียน (ม.ต้น 12-12-12) (ม.ปลาย 8-8-8)
  • พ.ศ. 2552 โรงเรียนได้เปิดทำการสอน 62 ห้องเรียน (ม.ต้น 13-12-12) (ม.ปลาย 9-8-8)
  • พ.ศ. 2553 โรงเรียนได้เปิดทำการสอน 64 ห้องเรียน (ม.ต้น 13-13-12) (ม.ปลาย 9-9-8)
  • พ.ศ. 2554 โรงเรียนได้เปิดทำการสอน 67 ห้องเรียน (ม.ต้น 13-13-13) (ม.ปลาย 10-9-9)
  • พ.ศ. 2555 โรงเรียนได้เปิดทำการสอน 68 ห้องเรียน (ม.ต้น 13-13-13) (ม.ปลาย 10-10-9)
  • พ.ศ. 2555 โรงเรียนได้เปิดทำการสอน 69 ห้องเรียน (ม.ต้น 13-13-13) (ม.ปลาย 10-10-10)
  • พ.ศ. 2560 โรงเรียนได้เปิดทำการสอน 69 ห้องเรียน (ม.ต้น 13-13-13) (ม.ปลาย 10-10-10)

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]