อำเภอลานกระบือ
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
อำเภอลานกระบือ | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Lan Krabue |
คำขวัญ: แหล่งน้ำมันสิริกิติ์ ผลิตก๊าซธรรมชาติ พุทธศาสตร์ลือเลื่อง เมืองแห่งคุณธรรม เลิศล้ำความสะอาด | |
![]() แผนที่จังหวัดกำแพงเพชร เน้นอำเภอลานกระบือ | |
พิกัด: 16°36′2″N 99°50′57″E / 16.60056°N 99.84917°E | |
ประเทศ | ![]() |
จังหวัด | กำแพงเพชร |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 429.123 ตร.กม. (165.685 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 42,692 คน |
• ความหนาแน่น | 99.49 คน/ตร.กม. (257.7 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 62170 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 6207 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอลานกระบือ หมู่ที่ 6 ตำบลลานกระบือ อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร 62170 |
![]() |
ลานกระบือ เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดกำแพงเพชร มีชื่อเสียงโดดเด่นหลายด้าน โดยเฉพาะการค้นพบแหล่งน้ำมันดิบ คือ "แหล่งน้ำมันสิริกิติ์" ซึ่งได้กล่าวไว้ในคำขวัญประจำจังหวัดกำแพงเพชร ที่ว่า "กรุพระเครื่อง เมืองคนแกร่ง ศิลาแลงใหญ่ กล้วยไข่หวาน น้ำมันลานกระบือ"
แหล่งน้ำมันสิริกิติ์ได้รับการค้นพบเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ.2524 โดยบริษัท ไทยเชลล์เอ็กซพลอเรชั่นแอนด์โปรดักชั่น จำกัด หรือไทยเชลล์ โดยมีการพบน้ำมันปริมาณมากพอในเชิงพาณิชย์ที่หลุมสำรวจ"ลานกระบือ เอ 01" ในกิ่งอำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร และเริ่มผลิตน้ำมันเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2525 นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทยที่มีการผลิตน้ำมันเพื่อใช้ในการพาณิชย์ จนถึงปัจจุบัน แหล่งน้ำมันสิริกิติ์ก็ยังคงเป็นแหล่งน้ำมันบนบกขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศ
ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2528 บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. ได้เข้ามาเป็นผู้ร่วมทุนในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่สัมปทานเอส 1 โดยที่บริษัท ปตท.สผ. ถือหุ้นร้อยละ 25 และบริษัทไทยเชลล์ถือหุ้นร้อยละ 75 ต่อมาในเดือนมกราคม พ.ศ. 2547 บริษัท ปตท.สผ. ได้ซื้อหุ้นทั้งหมดของบริษัทไทยเชลล์ ทำให้บริษัท ปตท.สผ. เป็นเจ้าของสัมปทานเอส 1 ทั้งหมด และกลายเป็นผู้ดำเนินการแหล่งน้ำมันสิริกิติ์ แหล่งน้ำมันอันทรงคุณค่าของประเทศไทย
อำเภอลานกระบือมีลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่แห้งแล้ง แต่ก็มีฤดูกาลสามฤดู คือ ฤดูฝน ฤดูหนาว และฤดูร้อน ซึ่งก็เหมาะแก่การเพาะปลูกและเกษตรกรรม
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
อำเภอลานกระบือตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอคีรีมาศ (จังหวัดสุโขทัย) และอำเภอบางระกำ (จังหวัดพิษณุโลก)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอบางระกำ (จังหวัดพิษณุโลก) และอำเภอวชิรบารมี (จังหวัดพิจิตร)
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอไทรงาม
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอพรานกระต่าย
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
อำเภอลานกระบือแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 7 ตำบล 67 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | ลานกระบือ | (Lan Krabue) | |||
2. | ช่องลม | (Chong Lom) | |||
3. | หนองหลวง | (Nong Luang) | |||
4. | โนนพลวง | (Non Phluang) | |||
5. | ประชาสุขสันต์ | (Pracha Suk San) | |||
6. | บึงทับแรต | (Bueng Thap Raet) | |||
7. | จันทิมา | (Chanthima) |
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
ท้องที่อำเภอลานกระบือประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 8 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลลานกระบือ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลลานกระบือและบางส่วนของตำบลโนนพลวง
- เทศบาลตำบลช่องลม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลช่องลมทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลประชาสุขสันต์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลประชาสุขสันต์ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลลานกระบือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลานกระบือ (นอกเขตเทศบาลตำบลลานกระบือ)
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองหลวงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลโนนพลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโนนพลวง (นอกเขตเทศบาลตำบลลานกระบือ)
- องค์การบริหารส่วนตำบลบึงทับแรต ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบึงทับแรตทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลจันทิมา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลจันทิมาทั้งตำบล
![]() |
บทความเกี่ยวกับเขตการปกครองของประเทศไทยนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ประเทศไทย |