ข้ามไปเนื้อหา

สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์

พิกัด: 13°52′43.54″N 100°34′38.36″E / 13.8787611°N 100.5773222°E / 13.8787611; 100.5773222
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

13°52′43.54″N 100°34′38.36″E / 13.8787611°N 100.5773222°E / 13.8787611; 100.5773222

สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ เป็นสถาบันอิสระภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ[1] มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนงานในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยการสนับสนุนด้านการวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทั้งในด้านทุนวิจัย สนับสนุนอุปกรณ์เครื่องมือศึกษาวิจัยที่ทันสมัยรวมทั้งนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรที่มีคุณภาพ

สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2530 โดยสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี รับผิดชอบการดำเนินงานโดยมูลนิธิจุฬาภรณ์ เดิมอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของทบวงมหาวิทยาลัย

เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2559 ราชกิจจานุเบกษา[2] ได้ลงประกาศ พระราชบัญญัติราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ พ.ศ. 2559 ซึ่งมีใจความสำคัญโดยให้ควบรวม 3 หน่วยงานคือ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ และ สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ เข้าด้วยกันแล้วจัดตั้งเป็น ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ทั้งนี้ให้มีผลบังคับใช้ในอีก 3 เดือนต่อมาคือในวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2559

ในวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ได้มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ซึ่งได้กำหนดให้แยกสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ออกจากราชวิทยาลัยและยังให้อยู่ภายใต้มูลนิธิจุฬาภรณ์ตามเดิม[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "เฉลิมพระเกียรติฯ พระปรีชาเจ้าฟ้านักวิทยาศาสตร์ของปวงชาวไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-21. สืบค้นเมื่อ 2012-02-03.
  2. ราชกิจจานุเบกษา ,พระราชบัญญัติราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ พ.ศ. 2559 เก็บถาวร 2016-04-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม 133 ตอน 7 หน้า 1 19 มกราคม 2559
  3. ราชกิจจานุเบกษา,พระราชบัญญัติราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ เล่ม 134 ตอนที่ 131ก หน้า 24 วันที่ 27 ธันวาคม 2560

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]