บริดจ์ (เกมไพ่)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บริดจ์
ชื่ออื่นบริดจ์
ประเภทรวบตองกิน
ผู้เล่น4
ทักษะกลยุทธ์, การสื่อสาร, ความจำ, ความน่าจะเป็น
ไพ่52
สำรับไพ่ฝรั่งเศส
อันดับไพ่ (มากไปน้อย)A K Q J 10 9 8 7 6 5 4 3 2
เล่นตามเข็มนาฬิกา
เวลาในการเล่นการแข่งขันสหพันธ์บริดจ์โลก = 7 1/2 นาทีต่อรอบ
โอกาสการสุ่มต่ำถึงปานกลาง (ขึ้นอยู่กับรูปแบบการเล่น)
เกมที่เกี่ยวข้อง
ทำซ้ำ, ประมูล, หวีดหวิว

บริดจ์ (อังกฤษ: Contract bridge; จีน: 合約橋牌) เป็นเกมไพ่ประเภทหนึ่งที่ใช้ไพ่ป๊อกในการเล่น ปัจจุบันมีการเล่นเพื่อเป็นเกมกีฬาสำหรับแข่งขันในระดับมหาวิทยาลัยระดับประเทศในกีฬาแห่งชาติ ระดับเอเชียนเกมส์ และโอลิมปิกได้บรรจุกีฬาบริดจ์เป็นกีฬาทดลองด้วย

รูปแบบการเล่น[แก้]

บริดจ์จัดเป็นเกมไพ่ประเภทการประมูล (Auction) และการรวบตองกิน (Trick Taking) ซึ่งมีระบบกลไกการเล่นแบบนำไพ่และตามไพ่ (Lead and Follow) ในหนึ่งโต๊ะของการเล่นบริดจ์จะมีผู้เล่นสี่คน โดยผู้เล่นที่นั่งฝั่งตรงข้ามจะถือว่าอยู่ฝ่ายเดียวกัน ผู้ที่นั่งตรงข้ามกันและกันจะเรียกว่า "คู่ขา" (Partner) และฝั่งตรงข้ามที่นั่งด้านข้างจะเรียกว่า "ปรปักษ์" (Opponent) การเล่นบริดจ์ในหนึ่งเกม จะมีสองส่วน ได้แก่ ส่วนแรกคือ ส่วนการประมูล และส่วนที่สอง คือ ส่วนการเล่นไพ่ การประมูลไพ่ (Bidding) คือ การสร้างสัญญาในการเล่น (Making Contract) จากการประมูลเพื่อให้ผู้เล่นหรือคู่ขาสามารถรวบรวมตองกินได้เท่ากับหรือมากกว่าที่สัญญาเอาไว้ การเล่นแบบนำไพ่และตามไพ่ (Lead and Follow) คือ การที่ผู้เล่นหนึ่งจะเป็นผู้นำไพ่โดยการลงไพ่ 1 ใบ และผู้เล่นคนอื่นวางไพ่ดอกเดียวกับที่ผู้นำไพ่ได้วางเอาไว้ การรวบตองกิน (win a trick) คือ การที่ผู้ที่มีไพ่ศักดิ์ใหญ่ที่สุดใน 1 รอบของการเล่นแบบนำไพ่และตามไพ่ รวบตองกินซึ่งจะนับเป็นแต้มไว้กับตัว ในการเล่นบริดจ์จะแจกไพ่คนละ 13 ใบ ซึ่งหมายความว่าจะมี 13 ตองกินใน 1 เกม การทำได้ตามสัญญา (Contract making) คือ เมื่อจบส่วนของการเล่นไพ่ โดยผู้ชนะการประมูล (Declarer) และคู่ขาสามารถรวบรวมตองกินได้มากกว่าหรือเท่ากับที่ได้สัญญาเอาไว้ในช่วงการประมูล ผลของการการทำได้ตามสัญญา คะแนนจะตกไปอยู่กับ ผู้ชนะการประมูล (Declarer) และคู่ขา สัญญาล้มเหลว คือ เมื่อจบส่วนของการเล่นไพ่ โดยผู้ชนะการประมูล (Declarer) และคู่ขา ไม่สามารถรวบรวมตองได้มากกว่าหรือเท่ากับที่สัญญาไว้ คะแนนนั้นจะตกกับ ปรปักษ์ของชนะการประมูลทั้งสอง

กติกา[แก้]

แยกเป็นการประมูลและการเล่น การประมูล

ห้ามประมูลไพ่ต่ำกว่าระดับเดิมหรือศักย์ต่ำกว่าเดิม ต้องประมูลจะมี 5 รูปแบบคือ เรียกว่าศักย์ไพ่ คือ C ไพ่ชุดดอกจิก D ไพ่ชุดข้าวหลามตัด H ไพ่ชุดโพแดง S ไพ่ชุดโพดำและ NT ไพ่ชุดโนทรัพม์ เรียงตามลำดับ โดยระดับการประมูลจะมีจากระดับ 1 ถึงระดับ 7 เช่น 1C 1D 1H 1S 1NT 2C 2D ... 7NT โดยชุดที่ได้จากการประมูลจะเป็นชุดทรัพม์นับแต้มไล่จากสูงไปต่ำ (การนับแต้มสูงกินแต้มต่ำมีดังต่อไปนี้ : A K Q J 10 9 8 7 6 5 4 3 2) และมีการประมูลเพื่อเลือกไพ่ (Trump)ในเกม โดยที่จะมีไพ่พิเศษเรียกว่า Trump สามารถกินได้ในทุกตองที่ลงได้ ในกรณีเล่น Trump การเล่น

ต้องลงไพ่ตามชุดที่ผู้ได้ลงไพ่คนแรกเป็นคนลงเสมอ นอกจากจะไม่มีไพ่ชุดนั้นแล้วถึงลงชุดอื่นได้

การตัดสิน

ใช้ส่วนต่างของคะแนนการการเล่นคิดเป็น IMP และ VP

รูปแบบการแข่งขัน[แก้]

บริดจ์สามารถจัดเล่นในรูปการแข่งขันได้หลากหลาย

Rubber Bridge[แก้]

เป็นการเล่นที่จบลงในหนึ่งโต๊ะ โดยผู้เล่นทั้งสองฝ่ายจะเล่นและนับคะแนนหลังจากเล่นเพื่อมาคำนวณผลแพ้ชนะกันทันที ผู้ที่มีคะแนนมากกว่าเป็นผู้ชนะ การแข่งขันประเภทนี้ใช้ดวงสูงเช่นเดียวกับการเล่นไพ่ประเภทอื่น จึงนิยมเล่นเพื่อการพนันเป็นหลัก

Team of Four[แก้]

เป็นการเล่นที่สามารถจัดแบบการแข่งขันได้ (Tournament) โดยการแข่งจะต้องแข่งเป็นทีมโดยผู้เล่นหนึ่งประกอบด้วยผู้เล่นสี่คน โดยในหนึ่งคู่การแข่งขัน (Match) จะประกอบด้วยเล่นสองทีม ทีมละสี่คน และใช้โต๊ะสองตัว ผู้เล่นทั้งสี่ในแต่ละทีมจะถูกกำหนดตำแหน่งเป็น เหนือ ใต้ ตะวันออก ตะวันตก (North/South/East/West) โดยผู้เล่นตำแหน่งเหนือและใต้ของทีมหนึ่งจะต้องเล่นกับผู้เล่นตำแหน่งตะวันออกและตะวันตกของอีกทีมหนึ่ง หลังจากเล่นจบในแต่ละสำรับ ให้ทำการแจกไพ่ที่เหมือนกันทุกประการของโต๊ะนั้นไปยังอีกโต๊ะหนึ่ง ซึ่งการแจกนั้นจะได้อุปกรณ์ที่เรียกว่า "บอร์ดไพ่" เป็นตัวช่วยในการแข่งขัน ด้วยระบบนี้จะทำให้ผู้เล่นทิศเหนือและใต้ของทีมได้ไพ่ชุดเดียวกันกับทิศเหนือและใต้ของอีกทีมหนึ่ง การคิดคะแนนนั้นให้นำ ผลต่างคะแนนของทั้งสองโต๊ะมารวมกัน ส่วนต่างของคะแนนจะถูกนำมาเทียบกับตารางคะแนน IMP (International Match Point) อีกทีหนึ่ง ในการแข่งคู่หนึ่งๆนั้นจะมีการไพ่มากกว่าหนึ่งสำรับ และทีมที่ได้คะแนน IMP มากกว่าจะเป็นผู้ชนะ

Duplicate Pair[แก้]

เป็นการแข่งขันที่คู่ขาทั้งสองไม่ต้องหาทีม โดยคู่ขาแต่ละคู่จะนั่งตามโต๊ะและการเดินตำแหน่งโต๊ะ (Movement) ที่จัดไว้ให้แต่ละรอบ และทุกๆคนจะเล่นไพ่ในชุดที่เหมือนกัน แต่จะไม่ครบทั้งหมด ซึ่งในไพ่แต่ละสำรับที่เล่นนั้นจะมีการจดบันทึกผลงานของแต่ละคู่ขาที่เข้าแข่งขันว่าทำได้ดีมากน้อยเพียงไร แล้วนำผลงานที่ได้มาทั้งหมดจัดอันดับ และให้คะแนนคู่ขาแต่ละคู่ตามผลงาน ผู้ได้คะแนนจากการจัดอันดับของทุกสำรับสูงสุดจะเป็นผู้ชนะในการแข่งขัน

Individual Pair[แก้]

เช่นเดียวกับ Duplicate Pair แต่การแข่งขันจะเป็นการสมัครแบบเดี่ยว โดยคู่ขาของผู้เข้าแข่งขันเปลี่ยนไปทุกๆรอบอย่างสุ่มตามการเดินตำแหน่งโต๊ะ (Movement)

IMP Pair[แก้]

เช่นเดียวกับ Duplicate Pair แต่การคิดคะแนนจะไม่ได้ดูที่ผลงาน แต่ดูส่วนของของคะแนนที่ได้กับคะแนนเฉลี่ยของผลงานแต่ละสำหรับ และใช้คะแนน IMP แทนคะแนนอันดับมาคิดคะแนนหาผู้ชนะการแข่งขัน

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]