โรงเรียนพานพิทยาคม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนพานพิทยาคม
PHANPHITTAYAKOM (P.P.K.)
ตราสัญลักษณ์ของโรงเรียน
ข้อมูล
ชื่ออื่นพ.พ.
ประเภทมัธยมศึกษาขนาดใหญ่
คำขวัญมีความรู้ คู่คุณธรรม นำจริยะ พละสมบูรณ์
สถาปนา10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510 (57 ปี)
เขตการศึกษาสำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 1—6
สีม่วงขาว
เพลงมาร์ชพานพิทยาคม ลาหลิว รั้วม่วงขาวร่มรื่น
เว็บไซต์www.phanphit.ac.th

โรงเรียนพานพิทยาคม ตั้งอยู่เลขที่ 816 หมู่ 17 ต.เมืองพาน อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย มีเนื้อที่รวม 24 ไร่ 25 ตารางวา เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 ไร่ ปัจจุบันเปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายแบบสหศึกษา

ประวัติโรงเรียน[แก้]

เมื่อปี พ.ศ. 2506 นายสุชาติ ส.วงศ์พันธ์ ตำแหน่งนายอำเภอพาน นายปรีชา สุวงศ์วาร ศึกษาธิการอำเภอพาน ร่วมด้วย พ่อค้า ประชาชนเห็นว่าอำเภอพานเป็นอำเภอใหญ่มีพลเมืองมากปีหนึ่งมีนักเรียนสำเร็จการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาเป็นจำนวนมาก ต้องเดินทางไปศึกษาต่อที่อื่น ทำให้ได้รับความลำบากและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสูงจึงวางแผนขอตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยได้รับความร่วมมือจากประชาชน บริจาคเงินรวม 40,000 บาท หาที่ดินจำนวน 20 ไร่ แต่ที่ดินแปลงดังกล่าวอยู่ห่างจากถนนพหลโยธินมาก จึงดำเนินการแลกเปลี่ยนกับที่ดินของสถานีทดลองพันธุ์ข้าวอำเภอพาน เพื่อให้ได้ที่ดินติดถนนอันเป็นที่ตั้งโรงเรียนปัจจุบัน พร้อมกับได้จัดหาวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างบางอย่างรวบรวมไว้ แล้วทำเรื่องขออนุญาตเปิดโรงเรียนมัธยม แต่กระทรวงศึกษาธิการไม่อนุญาตเพราะมิได้สร้างอาคารไว้แม้จะอนุญาตในปีต่อมาก็ไม่สำเร็จอีก ในปี พ.ศ. 2509 นายรอด พวงจันทร์แดง นายอำเภอพาน นายประสาท ขจรกลิ่น ศึกษาธิการอำเภอพาน ได้รื้อฟื้นเรื่องมาดำเนินการใหม่ โดยจัดหาวัสดุก่อสร้างเพิ่มเติม จัดสร้างอาคารเรียนชั่วคราวขึ้นตามแบบของกรมวิสามัญ (ขณะนั้น) ขนาด 2 ห้องเรียน สิ้นค่าใช้จ่าย 30,000 บาท แล้วทำเรื่องขอเปิดโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอพาน โดยให้ชื่อว่า "โรงเรียนพานพิทยาคม" ทางจังหวัดสั่งให้ นายชัชวาลย์ อำมาตย์มณี ครูโท โรงเรียนพะเยาพิทยาคม มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ จากนั้นมา โรงเรียนได้เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยได้รับงบประมาณให้สร้างอาคารเรียน หอประชุม โรงฝึกงาน อุปกรณ์การเรียนจากกระทรวงศึกษาธิการมาโดยตลอด จนถึงปัจจุบัน มีอาคารเรียน 5 หลัง โรงฝึกงาน 3 หลัง โรงอาหาร 1 หลัง และหอประชุม 1 หลัง ส่วนอาคารเรียนหลังแรกโรงเรียนได้ดัดแปลงใช้เป็นโรงฝึกพละในปัจจุบัน

ในปีการศึกษา 2537 กรมสามัญศึกษาได้อนุมัติให้โรงเรียนพานพิทยาคม ดำเนินการเปิดโรงเรียนสาขา ณ ตำบลดอยงามเพื่อสนองนโยบายรัฐบาล เรื่องขยายโอกาสทางการศึกษา และเพื่อเตรียมก่อสร้างโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำต่อไป ทั้งนี้ได้รับความร่วมมือจาก นายวีรศักดิ์ ธรรมปัญโญ ประธานสภาตำบลดอยงามและคณะกรรมการสภาตำบลดอยงามในปีการศึกษา 2537 ได้เปิดรับนักเรียนชั้น ม.1 จำนวน 2 ห้องเรียน จำนวน 90 คน ในเขตพื้นที่ ต.ดอยงาม ต.เวียงห้าว และตำบลใกล้เคียง โดยใช้สถานที่สภาตำบลเป็นสถานที่เรียน และได้รับอนุมัติตั้งเป็นโรงเรียนดอยงามวิทยาคม สังกัดกรมสามัญศึกษา ในปี พ.ศ. 2540 ปี พ.ศ. 2553 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36

ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียนพานพิทยาคม[แก้]

ลำดับ รายนาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 นายชัชวาล อำมาตย์มณี พ.ศ. 2510 - 2523
2 นายสุมิตร ประสิทธิ์ศิลป์ พ.ศ. 2523 - 2524
3 นายสาหร่าย แสงทอง พ.ศ. 2524 - 2526
4 นายอุดมศักดิ์ มุนิกานนท์ พ.ศ 2526 - 2529
5 นายพิษณุ รัตนสุพร พ.ศ. 2529 - 2534
6 นายประสิทธิ์ สุทธิวารี พ.ศ. 2534 - 2535
7 นายวชิระ จันทรสารคาม พ.ศ. 2535 - 2540
8 นายสุพจน์ จินันทุยา พ.ศ. 2540 - 2543
9 นายทำนอง จีนะเมืองใจ พ.ศ. 2543 - 2551
10 นายประเสริฐ กันธะวัง พ.ศ. 2551 - 2554
11 นายสนอง สุจริต พ.ศ. 2554 - 2559
12 นายมานัส พรมรินทร์ พ.ศ. 2560 - 2563
13 ว่าที่ร้อยโทณัฐรัชต์ ใหญ่ผา พ.ศ. 2563 - 2565
14 นางภาวิณี สุขสวัสดิ์ พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน

อาคารเรียน[แก้]

  • อาคารเรียน 1 (ไม้ 1 ชั้น 6 ห้องเรียน)
  • อาคารเรียน 2 (2 ชัน (12 ห้องเรียน)
  • อาคารเรียน 3 (2 ชั้น 12 ห้องเรียน)
  • อาคารเรียน 4 (3 ชั้น 24 ห้องเรียน) ผลกระทบแผ่นดินไหว-สร้างอาคารพระราชทานทดแทน
  • อาคารเรียน 5 (2 ชั้น 14 ห้องเรียน)
  • อาคารเรียน 6 (212 แบบพิเศษ 12 ห้อง)
  • อาคารเรียนพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
  • โรงฝึกงาน 4 หลัง

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]