โรงเรียนนางรอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนนางรอง
ละติน: Nangrong School
Nangrong School
ตราโรงเรียนนางรอง.jpg
ตราประจำโรงเรียนนางรอง
Map
19 ถนนณรงค์รักษาเขต ตำบลนางรอง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ 31110

,
ข้อมูล
ชื่ออื่นน.ร. / NR
ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ โรงเรียนรัฐบาล
คำขวัญประพฤติดี เรียนเด่น กีฬาดัง สร้างงานได้
อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา
(บัณฑิตย่อมฝึกตน)
ศาสนาศาสนาพุทธ
ก่อตั้ง17 พฤษภาคม พ.ศ. 2492 (74 ปี)
เขตการศึกษาเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32
หน่วยงานกำกับกระทรวงศึกษาธิการ
รหัส1031260863
ผู้อำนวยการดร.มานัส เวียงวิเศษ
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2562)
รองผู้อำนวยการนายอุดม นามสวัสดิ์
นายเกียรติ การัมย์
นายจักรพันธ์ พิรักษา
จำนวนนักเรียน2,998 คน (พ.ศ. 2563)
ชั้นเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1-6
ภาษาภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน ไทย ภาษาไทย
สหราชอาณาจักร ภาษาอังกฤษ
จีน ภาษาจีน
ญี่ปุ่น ภาษาญี่ปุ่น
กัมพูชา ภาษาเขมร
ห้องเรียนชั้นละ13ห้อง รวม 79 ห้อง
สี███ เหลือง
███ แดง
เพลงมาร์ชนางรอง[1]
เบอร์โทรศัพท์044-631383
แฟกซ์044-632298
ต้นไม้อินทนิล
ดอกไม้การเวก (พืช)
เว็บไซต์www.nangrong.ac.th[2]

โรงเรียนนางรอง (จีน: 娘隆中学; พินอิน: Niáng lóng zhōngxué ; อังกฤษ: Nangrong School) เป็นโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษประเภทโรงเรียนสหศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 (บุรีรัมย์) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ จัดการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาสายสามัญ ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ เป็นโรงเรียนรัฐบาลประจำอำเภอนางรอง ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2492 ปัจจุบันมีดร.มานัส เวียงวิเศษ[3] เป็นผู้อำนวยการ และในปัจจุบันอำเภอนางรองมี โรงเรียนนางรองพิทยาคม เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอเพิ่มขึ้นอีกแห่ง โรงเรียนนางรองจึงมีสถานะเป็นโรงเรียนประจำอำเภอคู่กับโรงเรียนนางรองพิทยาคม คนในพื้นที่จึงนิยมเรียกชื่อโรงเรียนนางรองว่า "นางรองใน" ส่วนโรงเรียนนางรองพิทยาคมเรียกว่า "นางรองนอก" ตามสภาพพื้นที่ที่ตั้งของโรงเรียนทั้งสองแห่งโดยยึดหลักพื้นที่ เทศบาลเมืองนางรอง เป็นเกณฑ์ [4]

ประวัติ[แก้]

โรงเรียนนางรองในอดีต

โรงเรียนนางรอง ได้เปิดทำการสอนครั้งแรก เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2492 ในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 1 ห้องเรียน มีครู 1 คน คือ นายสุรพล กมลชัย ซึ่งนับเป็นครูคนแรกของโรงเรียนและเป็นครูใหญ่คนแรกของโรงเรียน โดยเริ่มแรกในปี พ.ศ. 2475 ได้มีการจัดตั้งโรงเรียนราษฏร์ "โรงเรียนอำนวยวิทย์" สอนชั้นมัธยมปีที่ 1 -3 ใช้ศาลาโรงธรรมวัดกลางนางรองเป็นสถานที่เรียน เนื่องจากสมัยนั้นอำเภอนางรองยังไม่มีโรงเรียนมัธยมของรัฐบาล และทั้งจังหวัดบุรีรัมย์ก็มีเพียงโรงเรียนเดียวคือ โรงเรียนประจำจังหวัด "โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม" จนกระทั่งปี พ.ศ. 2492 จึงได้มีการจัดตั้งโรงเรียนนางรองขึ้นเป็นโรงเรียนมัธยมประจำอำเภอนางรองเป็นครั้งแรก จึงถือว่าเป็นโรงเรียนมัธยมแห่งที่ 2 ของจังหวัดบุรีรัมย์ โดยจัดตั้งบริเวณป่าโจดข้างวัดป่าเรไร โรงเรียนนางรองได้พัฒนาเรื่อยมาจนกระทั่งได้รับยกฐานะเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ และในปีเดียวกัน พ.ศ. 2492 โรงเรียนอำนวยวิทย์ได้ย้ายสถานที่ทำการเรียนการสอนจากศาลาโรงธรรมวัดกลางนางรองมาอยู่ใต้อาคารของโรงเรียนนางรอง โดยใช้ชื่อ "โรงเรียนอำนวยวิทย์" คงเดิม จึงมักเรียกชื่อควบคู่ในที่ โรงเรียนนางรอง-อำนวยวิทย์ เพราะตั้งอยู่ด้วยกัน ซึ่งต่อมาได้มีการแยกออกมาตั้งอยู่บริเวณด้านหลังโรงเรียนนางรอง เมื่อล่วงเวลามาถึงประมาณปี พ.ศ. 2500 โรงเรียนอำนวยวิทย์จึงได้ยุบเลิกร่วมเป็นโรงเรียนนางรองเพียงแห่งเดียว ตลอดระยะเวลาเปิดทำการเรียนการสอนได้มีการขยายชั้นเรียนตามลำดับจนถึงปัจจุบันมีระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ระดับชั้นละ 13 ห้อง รวม 79 ห้อง ปัจจุบันได้เปิดการเรียนการสอนห้องเรียนพิเศษเพิ่มเติม โรงเรียนนางรองเปิดการเรียนการสอนแบบสหศึกษา โดยเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ นับเป็นโรงเรียนมัธยมแห่งแรกประจำอำเภอนางรอง และเป็นโรงเรียนแนวหน้าแห่งหนึ่งของจังหวัดบุรีรัมย์ ครบรอบ๗๓ปีการสถาปนาโรงเรียนในปี พ.ศ. 2565

ทำเนียบผู้บริหาร[แก้]

ลำดับที่ รายนามผู้บริหาร ตำแหน่ง ช่วงเวลา
1 นายสเริง วัฒนสุข ครูใหญ่ พ.ศ. 2493-2500
2 นายเสถียร โพธิ์พิพัฒน์ อาจารย์ใหญ่ พ.ศ. 2500-2503
3 นายสุภณ กมลชัย อาจารย์ใหญ่ พ.ศ. 2503-2520
4 นายกิตติ ศรีเพชรพงษ์ อำนวยการ พ.ศ. 2520-2523
5 นายพีรพันธุ์ ฉกรรจ์ศิลป์ ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2523-2530
6 นายไสว คงนันทะ ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2530-2533
7 นายบุญช่วย บุญญะภานุพล ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2533-2536
8 นายประกิจ แมนประโคน ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2536-2543
9 นายดำรง กรเกศกมล ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2543-2551
10 นายวิชัย อำไธสง ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2551-2553
11 นายปัณณทัต วิวัตรชัย ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2554-2558
12 นายสมศักดิ์ แต้มโคกสูง ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2558-2560
13 นายสรายุทธ เสลารักษ์ ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2560-2562
14 นายมานัส เวียงวิเศษ ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2562 - ปัจจุบัน

สัญลักษณ์[แก้]

ตราสัญลักษณ์

ตราประจำโรงเรียนนางรอง เป็นตราชฎาเปล่งรัศมี ครอบสัญลักณ์ "อุณาโลม"(เวียนขวา) ตามดติความเชื่อในพระพุทธศาสนา ตั้งอยู่บนอักษรย่อ "นร" ในธงปลายพริ้วมีคติธรรมว่า "อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา" ซึ่งแปลว่า "บัณฑิตย่อมฝึกตน"

สีธงประจำโรงเรียน

ธงประจำโรงเรียนเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แบ่งครึ่งตามแนวนอน ครึ่งบนเป็นสีเหลือง ครื่งล่างเป็นสีแดง

  • ความหมายของสีประจำโรงเรียน
ต้นไม้และดอกไม้ประจำโรงเรียน

ต้นไม้ประจำโรงเรียนคือ อินทนิล ดอกไม้ประจำโรงเรียนคือ การเวก (พืช)

ปรัชญา

"ผู้มีความสุข ย่อมสร้างผลงานที่ดีงาม" (เก่า) "ปัญญาทำให้เกิดนักปราชญ์ ความฉลาดเป็นผลจากการศึกษา" (ใหม่)

คติธรรม

"อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา" (บัณฑิตย่อมฝึกตน)

คำขวัญ

"ประพฤติดี เรียนเด่น กีฬาดัง สร้างงานได้"

อัตลักษณ์

"มีคุณธรรม นำความรู้ สู่สากล"

เอกลักษณ์

สืบสานศิลปะ และวัฒนธรรม

สถานที่ภายใน[แก้]

  • โดมอเนกประสงค์ จัดเป็นสถานที่ประกอบพิธีเคารพธงชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และพิธีอื่นๆ รวมทั้งใช้ฝึกกีฬาของนักเรียน
    ภาพโรงเรียนนางรองมุมสูง
  • อาคาร 1 หรือ อาคารอำนวยการ เป็นอาคาร 3 ชั้น จัดเป็นห้องเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และชั้นล่างจัดเป็นห้องทำงาน สำนักงานต่างๆ
  • อาคาร 2 เป็นอาคาร 2 ชั้นครึ่ง จัดเป็นห้องเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาและกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะนาฏศิลและดนตรีไทย
  • อาคาร 3 เป็นอาคาร 3 ชั้น จัดเป็นห้องเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
  • อาคาร 4 เป็นอาคาร 3 ชั้น จัดเป็นห้องเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์และกลุ่มสาระการเรียนรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและห้องศูนย์สื่อการศึกษา
  • อาคาร 5 เป็นอาคาร 7 ชั้น จัดเป็นห้องเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และห้องปฏิบัติการทางเคมี ชั้นล่างมีสหกรณ์ร้านค้าและห้องประชุมคณาจารย์กับห้องประชุมสมาคมผู้ปกครองนักเรียน
    อาคารเฉลิมพระเกียรติหรืออาคาร5
  • อาคาร 6 เป็นอาคาร 4 ชั้น จัดเป็นห้องเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศและห้องดนตรีสากลห้องโยธวาทิตและชั้น1เป็นห้องเกียรติยศจัดแสดงรางวัลผลงานวิชาการและทักษะ
  • อาคาร 7 เป็นอาคารชั้นเดียว จัดเป็นห้องเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การเกษตร
  • อาคาร 8 หรือ อาคารอุตสาหกรรม เป็นอาคาร 2 ชั้น จัดเป็นห้องเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ และเทคโนโลยี
  • อาคาร 9 หรือ อาคารชั่วคราว เป็นอาคารชั้นเดียว จัดเป็นห้องเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
  • อาคารคหกรรมอาหาร เป็นอาคารชั้นเดียว จัดเป็นห้องเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ
  • ศูนย์อาหาร อยู่ข้างโดมทางทิศตะวันออก และข้างหอประชุมการเวกทางทิศเหนือ
  • หอประชุมการเวก อยู่ทิศเหนือของสนามฟุตบอล หรือทางทิศตะวันตกของสวนลานเสาธงใหญ่
  • หอสมุด หรือ ศูนย์วิทยบริการ อยู่ทางทิศตะวันตกของอาคาร 2
  • เรือนแนะแนว หรือ อาคารศิษย์เก่านางรอง-อำนวยวิทย์ อยู่ข้างอาคาร 3 ทางทิศตะวันออก
  • เรือนพยาบาล หรือ อาคารศิษย์เก่านางรอง-อำนวยวิทย์ อยู่หลังอาคารสภานักเรียน
  • อาคารศูนย์วิทยาศาสตร์ หรือ ศูนย์ไทยบริดจสโตน อยู่หลังอาคาร 2
  • ธนาคารออมสินสาขาโรงเรียนนางรอง อยู่หลังอาคาร 2
  • อาคารสภานักเรียน อยู่ข้างธนาคาร
  • สวนเสาธงใหญ่ ตั้งอยู่หน้าอาคาร1 เป็นสวนพิธีการใช้ประกอบพิธีการหน้าเสาธงในอดีตและพิธีการในวันปิยมหาราช วันลูกเสือ เป็นต้น โดยมีลักษณะการจัดองค์ประกอบซ้ายขวาสมมาตรกัน ประกอบด้วยเสาธงชาติขนาดใหญ่อยู่บนแท่นหินอ่อนตรงกลางสวน ด้านหลังมีเสาธงชาติประเทศอาเซียน ด้านหน้าเสาธงประกอบด้วยซุ้มพระพุทธรูป และโพเดียมหินอ่อนประดับตราสัญลักษณ์โรงเรียน ซ้ายขวาของเสาธงชาติ ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่5และรัชกาลที่6 และมีสระบัวพร้อมประติมากรรมนารายณ์บรรทมสินณ์ อยู่ด้านหลังของพระบรมราชานุสาวรีย์ทั้งสอง อีกทั้งทั่วบริเวณจัดเป็นสวนย่อมสมดุลกันทั้งซ้ายและขวา
  • ลานสัตบรรณ เป็นลานกิจกรรมและพักผ่อน อยู่ระหว่างอาคาร 2 และอาคาร 3
  • ลานปาล์ม เป็นลานกิจกรรมและพักผ่อน อยู่ข้างอาคาร 2 ทางทิศตะวันออก
  • เรือนการเวก เรือน1และ2อยู่หน้าอาคาร1 เรือน3อยู่หลังอาคาร1 และเรือน4อยู่หลังอาคาร3
  • เรือนเพาะชำและแปลงเกษตร อยู่หลังอาคาร7
  • เรือนเกษตรและแปลงเกษตร อยู่ข้างอาคาร7
  • สวนวรรณคดี ประดิษฐานอนุสาวรีย์ท่านสุนทรภู่ รวมทั้งจัดแสดงรูปปั้นนางยักษ์ผีเสือสมุทร พระอภัยมณี และนางเงือก ตั้งอยู่ในสระน้ำจำลองแทนมหาสมุทร อยู่หน้าอาคาร 2
  • สวนวิทยาศาสตร์ ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และรูปปั้นนักวิทยาศาสตร์อันดับโลก อาทิ เช่น "เซอร์ไอแซกนิวตัน" "หลุยส์ปาสเตอร์" "อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์" "ชาร์ลส์ ดาร์วิน" เป็นต้น อยู่หน้าอาคาร 5
  • สนามกีฬา ประกอบด้วย สนามฟุตบอลร่วมลู่วิ่ง, สนามเปตอง, สนามวอลเลย์บอลรวมเซปักตะกร้อกลางแจ้ง1และ2, สนามบาสเกตบอลกลางแจ้ง, สนามบาสเกตบอลในร่ม1และ2(โดมอเนกประสงค์)
  • โรงยิม ใช้เป็นสนามเทเบิลเทนนิส ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของหอประชุมร่มการเวก

แผนการเรียน[แก้]

  • ห้องเรียนทั่วไป วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
  • ห้องเรียนทั่วไป คณิตศาสตร์-ภาษาอังกฤษ
  • ห้องเรียนทั่วไป ศิลป์-จีนญี่ปุ่น
  • ห้องเรียนทั่วไป วิทยาศาสตร์การกีฬา (ปีการศึกษา 2563)
  • ห้องเรียนพิเศษ (Gifted)
  • ห้องเรียนพิเศษ (IEP)

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

พิกัดภูมิศาสตร์: 14°37′42″N 102°47′27″E / 14.628321°N 102.790949°E / 14.628321; 102.790949