สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน | |
---|---|
Office of the Basic EducationCommission | |
![]() | |
ที่ทำการ | |
![]() 319 วังจันทรเกษม ถนนราชดำเนินนอก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300 | |
ภาพรวม | |
วันก่อตั้ง | พ.ศ. 2546 |
สืบทอดจาก | กรมสามัญศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน |
งบประมาณ | 319,321.0495 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)[1] |
รัฐมนตรีว่าการ | รศ.ดร.เอกชัย กี่สุขพันธ์, ประธานกรรมการ |
ผู้บริหาร | ดร.บุญรักษ์ ยอดเพชร[2], เลขาธิการ สุกัญญา งามบรรจง, รองเลขาธิการ สนิท แย้มเกษร[3], รองเลขาธิการ ดร.อัมพร พินะสา, รองเลขาธิการ พีระ รัตนวิจิตร, รองเลขาธิการ |
ต้นสังกัด | กระทรวงศึกษาธิการ |
เว็บไซต์ | |
OBEC.go.th |
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (อังกฤษ: Office of the Basic Education Commission : OBEC) เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ มีหน้าที่รับผิดชอบการจัดการศึกษาในระดับพื้นฐานตั้งแต่ระดับปฐมวัย จนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยแบ่งออกเป็น 3 ช่วงชั้น
ประวัติ[แก้]
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 43 ได้บัญญัติสิทธิและเสรีภาพด้านการศึกษาของปวงชนชาวไทยไว้ว่า " บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย" และในบทเฉพาะกาลมาตรา 335 (3) ได้กำหนดให้รัฐธรรมนูญประกาศใช้ ดังนั้น รัฐจะต้องดำเนินการตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้และต้องเตรียมการให้พร้อมที่จะจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี อย่างทั่วถึง มีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542[4] ซึ่งถือเป็นกฎหมายการศึกษาฉบับแรกของไทยที่กำหนดแนวทางการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้แก่ประชาชนชาวไทยให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญกล่าวคือ มาตรา 10 ระบุว่า " การจัดการศึกษาต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี ต้องจัดให้ทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย"
เพื่อเป็นการตอบสนองตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ กรมสามัญศึกษา และกรมวิชาการ จึงเป็นหน่วยงานที่จะต้องมารวมกันเป็นสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหน้าที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งถือเป็นกฎหมายการศึกษาฉบับแรกของไทยที่กำหนดแนวทางการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้แก่ประชาชนชาวไทยให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญกล่าวคือ มาตรา 10 ระบุว่า " การจัดการศึกษาต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาศเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี ต้องจัดให้ทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย"
เพื่อเป็นการตอบสนองตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ กรมสามัญศึกษา และกรมวิชาการ จึงเป็นหน่วยงานที่จะต้องมารวมกันเป็นสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหน้าที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี
หน่วยงานในสังกัด[แก้]
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหน่วยงานส่วนกลางประจำภูมิภาคต่างทั่วประเทศ ได้แก่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา[5] จำนวน 183 เขตพื้นที่การศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา[6] จำนวน 42 เขตพื้นที่การศึกษา และหน่วยงานส่วนกลาง จำนวน 16 หน่วยงาน[7]
- สำนักอำนวยการ
- สำนักการคลังและสินทรัพย์
- สำนักติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- สำนักทดสอบทางการศึกษา
- สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน
- สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
- สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา
- สำนักบริหารงานบุคคลและนิติการ
- สำนักพัฒนาครูและบุคลากรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- สำนักพัฒนากิจกรรมนักเรียน
- สถาบันภาษาอังกฤษ
- สำนักพัฒนาการศึกษาเขตพัฒนาเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้
- สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย
- กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
- หน่วยตรวจสอบภายใน
รายนามเลขาธิการ สพฐ.[แก้]
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน | |
รายนามเลขาธิการ | วาระการดำรงตำแหน่ง |
---|---|
1. นายไพฑูรย์ จัยสิน | พ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2546 |
2. ดร.คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา | พ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2547 พ.ศ. 2549 - พ.ศ. 2552 |
3. ดร.พรนิภา ลิมปพยอม | พ.ศ. 2547 - พ.ศ. 2549 |
4. ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน | พ.ศ. 2552 - พ.ศ. 2556 |
5. นายอภิชาติ จีระวุฒิ | ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 27 มิถุนายน พ.ศ. 2557 |
6. ดร.กมล รอดคล้าย | 27 มิถุนายน พ.ศ. 2557 - 30 กันยายน พ.ศ. 2558 |
7. นายการุณ สกุลประดิษฐ์ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 - ปัจจุบัน |
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 เล่ม 132 ตอนที่ 91ก วันที่ 25 กันยายน 2558
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนพิเศษ 239 ง วันที่ 27 กันยายน 2560
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/334/T_0016.PDF
- ↑ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 75 ก วันที่ 19 สิงหาคม 2542
- ↑ ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กำหนดแก้ไขเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่การศึกษาเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
- ↑ ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การกำหนดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
- ↑ กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
|