อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม
อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม | |
---|---|
ประธานกรรมการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 10 กันยายน พ.ศ. 2562 | |
ก่อนหน้า | ไชยเจริญ อติแพทย์ |
ปลัดกระทรวงพลังงาน | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 – 30 กันยายน พ.ศ. 2560 (1 ปี 365 วัน) | |
ก่อนหน้า | ดร.คุรุจิต นาครทรรพ |
ถัดไป | ธรรมยศ ศรีช่วย |
ดำรงตำแหน่ง 27 มิถุนายน พ.ศ. 2557 – 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 (0 ปี 331 วัน) | |
ก่อนหน้า | สุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ |
ถัดไป | ดร.คุรุจิต นาครทรรพ |
ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา | |
ดำรงตำแหน่ง 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 – 30 กันยายน พ.ศ. 2558 (0 ปี 78 วัน) | |
ก่อนหน้า | ดร.สุวัตร สิทธิหล่อ |
ถัดไป | พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ |
เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ | |
ดำรงตำแหน่ง 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 – 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 (0 ปี 49 วัน) | |
ก่อนหน้า | พงษ์อาจ ตรีกิจวัฒนากุล (รักษาการ) |
ถัดไป | ศ.พิเศษ ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ |
ดำรงตำแหน่ง 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556 – 26 มิถุนายน พ.ศ. 2557 (0 ปี 258 วัน) | |
ก่อนหน้า | ศ.พิเศษ ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ |
ถัดไป | พงษ์อาจ ตรีกิจวัฒนากูล (รักษาการ) |
ปลัดกระทรวงการคลัง | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 – 10 ตุลาคม พ.ศ. 2556 (3 ปี 283 วัน) | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 |
คู่สมรส | อลิสา ภู่ชอุ่ม |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม เกิดเมื่อวันที่ 20 ก.ค.2500 เกิดที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เรียนการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาที่ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยจบรุ่นที่10 ของ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และจบการศึกษาระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และ ปริญญาเอก จากประเทศสหรัฐอเมริกา ภายหลังเรียนจบปริญญาเอก ได้ทำงานที่แรกที่เป็นอาจารย์สอนที่ University of Saskatchewan ประเทศแคนาดาจนได้รับตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เขาเดินทางกลับมาประเทศไทยและเข้ารับราชการที่แรกตำแหน่ง นักวิชาการคลัง 4 กองธนาธิการ กรมบัญชีกลาง รับตำแหน่งสำคัญอาทิ รองผู้อำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลัง อธิบดีกรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงการคลัง อาจารย์พิเศษวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ สถาบันพระปกเกล้า
อารีพงศ์ ในระหว่างวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 ดำรงตำแหน่งกรรมการในคณะกรรมการอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ครั้งแรกระหว่างวนที่ 11 ตุลาคม ถึง 18 ตุลาคม พ.ศ. 2556 [1] ครั้งที่สองระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2556[2] ครั้งที่สามระหว่างวันที่ 1 มกราคม [3] ถึง 30 เมษายน พ.ศ. 2557[4] ในฐานะที่เป็นเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
ภายหลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 ดร.อารีพงศ์ รับตำแหน่ง เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ปลัดกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา และ กรรมการอิสระ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ปัจจุบันดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงพลังงาน ประธานคณะกรรมการ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ประธานกรรมการในคณะกรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และ ประธานกรรมการในคณะกรรมการสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน กรรมการในคณะกรรมการกฤษฎีกา (ประเทศไทย) กรรมการ ในคณะกรรมการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปี การประกาศใช้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติไทย ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 210/2559[5]
อารีพงศ์ เกษียณอายุราชการ ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ดร.อารีพงศ์ เป็นข้าราชการไทยที่ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงถึง 3 กระทรวง ตลอดชีวิตการทำงานรับราชการ เขาสมรสกับ นางอลิสา ภู่ชอุ่ม หัวหน้ากลุ่มงานกิจกรรมและการเผยแพร่ สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ แต่ไม่มีบุตรและบุตรี
ภายหลังเกษียณอายุราชการได้รับการแต่งตั้ง เป็น กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ [6] และประธานกรรมการในคณะกรรมการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)
ด้านรางวัลได้รับรางวัลศิษย์เกียรติยศ ประจำปีการศึกษา 2554 จากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กรรมการบริษัท
[แก้]- 2559-2560 ประธานคณะกรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย[7]
- 2558-2560 ประธานกรรมการ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
- 2557-2559 กรรมการ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
- 2553-2554 ประธานกรรมการ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
- 2553–2556 ประธานกรรมการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์
- 2552-2558 กรรมการบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
- 2552-2553 กรรมการ บริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
- 2552-2553 กรรมการ บริษัท ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
- 2551-2554 กรรมการ ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน)
- 2550 -2552 กรรมการ บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน)
- 2550-2550 กรรมการ บริษัท อะโรมาติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
- 2543-2551 กรรมการ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)
- 2545-2550 กรรมการ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)
- 2543-2550 กรรมการ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด
- 2542-2544 Secretariat to APEC - Privatisation Forum
- 2544-2545 กรรมการ บริษัท ราชบุรีพลังงาน จำกัด
- 2542-2545 กรรมการ บริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน)
- 2542-2542 Chairman of APEC - Privatisation Forum
- 2541-2542 กรรมการ องค์การกำจัดน้ำเสีย
- 2541-2542 กรรมการ บริษัทกรุงไทยบัตรเครดิต
ประวัติการศึกษา
[แก้]- Ph.D. Finance University of Mississippi, USA.
- M.A. Finance Marshall University, USA.
- B.A. International Business Management Boston University, USA.
- วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่น พ.ศ. 2546
ประวัติการทำงาน
[แก้]- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยซัสแคตเชวัน University of Saskatchewan ประเทศแคนาดา พ.ศ. 2528 - ธันวาคม พ.ศ. 2530
- นักวิชาการคลัง 4 และ นักวิชาการคลัง 5 สายเงินให้กู้และค้ำประกัน กองธนาธิการ กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง 28 ธันวาคม พ.ศ. 2530 - 29 เมษายน พ.ศ. 2534
- นักวิชาการคลัง 6 ฝ่ายวิเคราะห์และประเมินปลรัฐวิสาหกิจ กองวิสาหกิจ 30 เมษายน พ.ศ. 2535 - 3 สิงหาคม พ.ศ. 2538
- นักวิชาการคลัง 6 และ นักวิชาการคลัง 7 สำนักรัฐวิสาหกิจและหลักทรัพย์ของรัฐ กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง 4 สิงหาคม พ.ศ. 2538 - 23 กันยายน พ.ศ. 2538
- ผู้อำนวยการส่วน ส่วนบริหารหลักทรัพย์ของรัฐ สำนักรัฐวิสาหกิจและหลักทรัพย์ของรัฐ 24 กันยายน พ.ศ. 2539 - 13 มกราคม พ.ศ. 2541
- ผู้อำนวยการส่วน ส่วนมาตรฐานและค่าตอบแทน สำนักรัฐวิสาหกิจและหลักทรัพย์ของรัฐ 14 มกราคม พ.ศ. 2541 - 28 ธันวาคม พ.ศ. 2541
- นักวิชาการ 9 ชช.(ด้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ) สำนักรัฐวิสาหกิจและหลักทรัพย์ของรัฐ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2541 - 29 มีนาคม พ.ศ. 2544
- ผู้อำนวยการสำนักรัฐวิสาหกิจและหลักทรัพย์ของรัฐ กระทรวงการคลัง 30 มีนาคม พ.ศ. 2544 - 16 ธันวาคม พ.ศ. 2545
- รองผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลัง 17 ธันวาคม พ.ศ. 2545 ถึง 11 มีนาคม พ.ศ. 2550
- ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลัง 12 มีนาคม พ.ศ. 2550 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2552
- อธิบดีกรมสรรพสามิต 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2553
- ปลัดกระทรวงการคลัง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 - 10 ตุลาคม พ.ศ. 2556
- เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 26 มิถุนายน พ.ศ. 2557
- ปลัดกระทรวงพลังงาน 27 มิถุนายน พ.ศ. 2557 - 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 (สทัยที่ 1)
- เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 - 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
- ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 - 30 กันยายน พ.ศ. 2558
- ปลัดกระทรวงพลังงาน 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 - 30 กันยายน พ.ศ. 2560 (สมัยที่ 2)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2553 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2552 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
- พ.ศ. 2556 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ คณะกรรมการอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
- ↑ คณะกรรมการอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
- ↑ คณะกรรมการอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
- ↑ คณะกรรมการอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
- ↑ "คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 210/2559" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-10-09. สืบค้นเมื่อ 2017-09-05.
- ↑ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ
- ↑ ประธานคณะกรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๔, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๑๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๕๖, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๑๑ ข หน้า ๘, ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๗