ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
ม.ป.ช., ม.ว.ม., ต.จ.ว.
ปลัดกระทรวงการคลัง
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2547 – 30 กันยายน พ.ศ. 2552[1]
ก่อนหน้า นายสมใจนึก เองตระกูล
ถัดไป นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด 16 มกราคม พ.ศ. 2495
ประเทศไทย
เสียชีวิต 21 มกราคม พ.ศ. 2565 (70 ปี)
คู่สมรส นางดารารัตน์ ควัฒน์กุล
ศาสนา พุทธ

ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล (16 มกราคม พ.ศ. 2495 – 21 มกราคม พ.ศ. 2565) ข้าราชพลเรือนชาวไทย และอดีตปลัดกระทรวงการคลัง[2] อดีตอธิบดีกรมสรรพากร และผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง[3]

ประวัติ[แก้]

นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุลเป็นบุตรของนายแก้ว และนางเฉลียว ควัฒน์กุล มีพี่น้องทั้งหมด 8 คน โดย นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล เป็นคนที่ 3 ปัจจุบันสมรสกับนางดารารัตน์ ควัฒน์กุล มีบุตรชาย 1 คน[4]

การเสียชีวิต[แก้]

ศุภรัตน์ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2565 เวลา 01.00 น. หลังเข้ารับการรักษาตัวด้วยโรคมะเร็งลำไส้ที่โรงพยาบาลกรุงเทพ[5]

การศึกษา[แก้]

การรับราชการ[แก้]

  • พ.ศ. 2532 ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผน กรมสรรพากร
  • พ.ศ. 2535 ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านโครงสร้างภาษีสรรพากร (นักวิชาการภาษี 9) กรมสรรพากร
  • พ.ศ. 2539 รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (นักบริหาร 9) สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
  • พ.ศ. 2539 ที่ปรึกษาการคลัง (นักวิชาการคลัง 10) สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง
  • พ.ศ. 2541 ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (นักบริหาร 10)
  • พ.ศ. 2543 อธิบดีกรมสรรพากร
  • พ.ศ. 2547 ปลัดกระทรวงการคลัง
  • พ.ศ. 2553 รองประธานคณะกรรมการการเงินและการลงทุน บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด

การพ้นจากตำแหน่งราชการ[แก้]

เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2551 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลนายศุภรัตน์เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ยังมีมูลความผิดวินัยร้ายแรง ฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการ สมัยดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมสรรพากร กรณีแต่งตั้งรองอธิบดีกรมสรรพากร เหตุเกิดสมัย พ.ศ. 2543 – 2544 จึงมีมติให้ส่งรายงานไปยังผู้บังคับบัญชาเพื่อลงโทษทางวินัย และไปยังอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินคดีอาญากับผู้ถูกกล่าวหาต่อไป กระทั่งวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 อ.ก.พ.มีมติลงโทษไล่ออกนายศุภรัตน์ ตามที่ ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด ต่อมาได้มีการอุทธรณ์ส่งผลให้นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ไม่ถูกไล่ออก ปลดออกจากราชการ แต่เป็นการลาออกจากราชการโดยมีผลในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2552[6]

ราชการพิเศษในอดีต[แก้]

  • ประธานกรรมการบรรษัทตลาดรองสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย
  • ประธานกรรมการบริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด
  • ประธานกรรมการธนาคารดีบีเอสไทยทนุ จำกัด (มหาชน)
  • กรรมการบริหารธนาคารรัตนสิน จำกัด
  • กรรมการบริหารองค์การแก้ว กระทรวงกลาโหม
  • กรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
  • กรรมการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
  • กรรมการบริหารบริษัทผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน)
  • กรรมการบริหารบริษัท ไทยเรทติ้ง แอนด์ อินฟอร์เมชั่น เซอร์วิส จำกัด
  • กรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
  • กรรมการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
  • กรรมการสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • อาจารย์พิเศษ คณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี และคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • อาจารย์พิเศษ คณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2555/E/091/4.PDF
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-16. สืบค้นเมื่อ 2013-09-13.
  3. ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล - ซูเปอร์บอร์ดยุคแม้ว
  4. http://www.thairath.co.th/people/view/pol/862
  5. ‘ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล’ อดีตปลัดกระทรวงการคลัง เสียชีวิตแล้ว ในวัย 70 ปี
  6. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2555/E/091/4.PDF
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๕, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๑๔, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๖ ข หน้า ๒, ๕ พฤษภาคม ๒๕๕๐
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๒๘๕, ๑๐ มีนาคม ๒๕๔๗