ข้ามไปเนื้อหา

กรมศุลกากร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กรมศุลกากร
The Customs Department
ธงตราสัญลักษณ์

ที่ทำการกรมศุลกากร
ภาพรวมกรม
ก่อตั้ง4 กรกฎาคม พ.ศ. 2417; 150 ปีก่อน (2417-07-04)
กรมก่อนหน้า
  • หอรัษฎากรพิพัฒน์
ประเภทส่วนราชการ
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่1 ถนนสุนทรโกษา แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
บุคลากร6,150 คน (พ.ศ. 2565)
งบประมาณต่อปี3,878,437,600 บาท
(พ.ศ. 2568)[1]
ฝ่ายบริหารกรม
  • ธีรัชย์ อัตนวานิช, อธิบดี
  • ยุทธนา พูลพิพัฒน์, รองอธิบดี
  • นิติ วิทยาเต็ม, รองอธิบดี
ต้นสังกัดกรมกระทรวงการคลัง
เว็บไซต์เว็บไซต์ของกรม

กรมศุลกากร (อังกฤษ: The Customs Department) เป็นส่วนราชการระดับกรม สังกัดกระทรวงการคลัง ก่อตั้งเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2417 ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยมีชื่อว่า "หอรัษฎากรพิพัฒน์"[2] มีหน้าที่เก็บภาษีอากรขาเข้าและขาออกเป็นรายได้ของรัฐ

ประวัติ

[แก้]
"หอรัษฎากรพิพัฒน์" ในพระบรมมหาราชวัง ปัจจุบันปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑ์ผ้า ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

กิจการศุลกากรในประเทศไทย เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยเรียกว่า "จกอบ" ต่อมาในสมัยอยุธยา ได้มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่ด้านการตรวจเก็บภาษีขาเข้าเรียกว่า "พระคลังสินค้า"

ในยุครัตนโกสินทร์ ได้มีระบบการประมูลผูกขาดการเรียกเก็บภาษีอากร เรียกว่า "ระบบเจ้าภาษีนายอากร" ต่อมาในรัชสมัยรัชกาลที่ 4 มีการติดต่อค้าขายมากขึ้น มีการทำสนธิสัญญาเบาว์ริง เปลี่ยนแปลงการเก็บค่าธรรมเนียมปากเรือมาเป็น "ภาษีร้อยชักสาม" โดยมีโรงเก็บภาษีเรียกว่า "ศุลกสถาน" ต่อมาในปี พ.ศ. 2417 ได้มีการจัดตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ เป็นสำนักงานกลางในการรวบรวมรายได้ของแผ่นดิน และได้มีพัฒนาการเรื่อยมาจนเป็นกรมศุลกากร ที่มีบทบาทหน้าที่เน้นการจัดเก็บภาษีอากรจากของที่นำเข้ามาในและส่งออกนอกประเทศ

หน่วยงานในสังกัด

[แก้]

ด่านศุลกากร

[แก้]

ด่านศุลกากร ในสังกัดกรมศุลกากรมีจำนวนทั้งสิ้น 47 ด่าน[3] ดังนี้

  • สำนักงานศุลกากรภาคที่ 1 มีด่านศุลกากร จำนวน 8 ด่าน ได้แก่ คลองใหญ่ จันทบุรี ชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ แม่กลอง ระนอง สังขละบุรี และอรัญประเทศ
  • สำนักงานศุลกากรภาคที่ 2 มีด่านศุลกากร จำนวน 10 ด่าน ได้แก่ ท่าลี่ เชียงคาน หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร เขมราฐ ช่องเม็ก ช่องสะงำ และช่องจอม
  • สำนักงานศุลกากรภาคที่ 3 มีด่านศุลกากร จำนวน 9 ด่าน ได้แก่ แม่สาย เชียงแสน เชียงของ ทุ่งช้าง แม่สอด แม่สะเรียง ท่าอากาศยานเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน และเชียงดาว
  • สำนักงานศุลกากรภาคที่ 4 มีด่านศุลกากร จำนวน 12 ด่าน ได้แก่ วังประจัน สตูล ปาดังเบซาร์ สะเดา บ้านประกอบ เบตง บูเก๊ะดา สุไหงโก-ลก ตากใบ ปัตตานี ท่าอากาศยานหาดใหญ่ และสงขลา
  • สำนักงานศุลกากรภาคที่ 5 มีด่านศุลกากร จำนวน 8 ด่าน ได้แก่ บ้านดอน เกาะสมุย สิชล นครศรีธรรมราช กระบี่ ภูเก็ต ท่าอากาศยานภูเก็ต และกันตัง

อธิบดีกรมศุลกากร

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๑๒, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
  2. "ประวัติความเป็นมากรมศุลกากร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-18. สืบค้นเมื่อ 2010-07-28.
  3. ที่ตั้งสำนักงาน/ด่านศุลกากร กรมศุลกากร สืบค้นวันที่ 31 ธันวาคม 2563

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]