เอเซียเสริมกิจลีสซิ่ง
ประเภท | บริษัทมหาชน |
---|---|
การซื้อขาย | (SET:ASK) |
อุตสาหกรรม | ธุรกิจการเงิน เงินทุนและหลักทรัพย์ |
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2527 (39 ปี) |
สำนักงานใหญ่ | อาคารสาธรซิตี้ทาวเวอร์ ชั้น 24, 175 ถนนสาทรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร |
บุคลากรหลัก | พรเทพ พรประภา (ประธานกิตติมศักดิ์) ซือ ถิง หยาง (ประธานกรรมการ) |
รายได้ | ![]() |
สินทรัพย์ | ![]() |
ส่วนของผู้ถือหุ้น | ![]() |
อันดับความน่าเชื่อถือ | TRIS: BBB+[2] |
เว็บไซต์ | www |
บริษัท เอเซียเสริมกิจลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: ASIA SERMKIJ LEASING PUBLIC COMPANY LIMITED ชื่อย่อ:ASK) [3] บริษัทก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2527 โดยกลุ่มธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เพื่อดำเนินธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์ทุกประเภท โดยเป็นการให้สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ใหม่ทั้งหมดแก่ลูกค้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ต่อมาภายหลังบริษัทได้ขยายธุรกิจเข้าสู่การให้บริการเช่าซื้อรถยนต์ใช้แล้ว สินเชื่อส่วนบุคคล และสินเชื่อแก่ผู้จัดจำหน่ายรถยนต์
บริษัทมีบริษัทย่อย 1 แห่ง ได้แก่ บริษัท กรุงเทพแกรนด์แปซิฟิคลีส จำกัด (มหาชน) ดำเนินธุรกิจการให้บริการสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ทุกประเภท ทั้งรถยนต์ใหม่และรถยนต์ใช้แล้ว ซึ่งได้แก่ รถยนต์นั่งส่วนบุคคล รถกระบะ รถตู้ รถบรรทุก รถแท็กซี่ โดยให้สินเชื่อเช่าซื้อแก่ลูกค้าที่เป็นบุคคลธรรมดาเป็นหลัก ในปี พ.ศ. 2555 บริษัทมีสัดส่วนการให้สินเชื่อรถยนต์ใหม่ต่อรถยนต์ใช้แล้วคิดเป็นประมาณร้อยละ 75.85 และ 24.15 ของจำนวนสินเชื่อเช่าซื้อทั้งหมด โดยบริษัทมีสัดส่วนการให้สินเชื่อแก่บุคคลธรรมดาคิดเป็นร้อยละ 72.45 ของยอดการให้สินเชื่อทั้งหมดของปี พ.ศ. 2555 และให้สินเชื่อแก่นิติบุคคล คิดเป็นร้อยละ 27.55 ของยอดการให้สินเชื่อทั้งหมดในปี พ.ศ. 2555
นอกจากนี้บริษัทยังเสนอบริการสินเชื่อส่วนบุคคลแก่กลุ่มลูกค้าเดิม โดยอาศัยฐานข้อมูลและระบบปฏิบัติงานที่มีอยู่ในการคัดเลือกลูกค้าเช่าซื้อที่มีประวัติการผ่อนชำระดี นอกจากนี้ บริษัทได้ให้บริการสินเชื่อแก่ผู้จัดจำหน่ายรถยนต์ เพื่อใช้เป็นแหล่งเงินทุนในการจัดหารถยนต์เพื่อนำมาจำหน่ายอีกด้วย ปัจจุบันบริษัทมีสาขา 3 แห่ง ตั้งอยู่ที่จังหวัดระยอง จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดพิษณุโลก ปัจจุบันบริษัทเป็นสมาชิกของสมาคมธุรกิจเช่าซื้อไทยและบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (National Credit Bureau Co., Ltd.)[4]
การดำเนินธุรกิจของบริษัท แบ่งเป็น 4 ประเภท [5]
- สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ (automobile hire purchase)
- สินเชื่อส่วนบุคคล (personal loan)
- สินเชื่อแก่ผู้จัดจำหน่ายรถยนต์ (floor plan financing)
- บริการอื่น ๆ
ประวัติ[แก้]
พ.ศ. 2527[แก้]
- จดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัทจำกัด ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 10 ล้านบาท โดยการอ อกหุ้นสามัญจำนวน 0.1 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100 บาท และเรียกชำระเต็มมูลค่าแล้ว[ต้องการอ้างอิง]
พ.ศ. 2531[แก้]
- เพิ่มทุนโดยการออกหุ้นสามัญจำนวน 0.4 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100 บาท และเรียกชำระมูลค่า 20 ล้านบาท ทำให้ทุนจดทะเบียน เท่ากับ 50 ล้านบาท โดยเป็นทุนจดทะเบียนที่ออกและชำระแล้วเท่ากับ 30 ล้านบาท[ต้องการอ้างอิง]
พ.ศ. 2527[แก้]
- เปิดสาขาแห่งแรกที่จังหวัดระยองเพื่อขยายฐานการดำเนินธุรกิจ โดยให้บริการลูกค้าทั้งในจังหวัดระยองและจังหวัดใกล้เคียง[ต้องการอ้างอิง]
พ.ศ. 2535[แก้]
- เรียกชำระมูลค่าหุ้นอีก 20 ล้านบาท ทำให้ทุนจดทะเบียนที่ออกและชำระแล้วเท่ากับ 50 ล้านบาท
- บริษัท กรุงเทพแกรนด์แปซิฟิคลีส จำกัด (มหาชน) ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2532 โดยมีผู้ถือหุ้นหลัก คือ กลุ่มธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และกลุ่มไชลีสจากไต้หวัน ดำเนินธุรกิจการให้สินเชื่อลีสซิ่ง สินเชื่อแฟคตอริ่ง และสินเชื่อ เช่าซื้อ ได้เข้า ซื้อหุ้นสามัญของบริษัท ร้อยละ 99.99[ต้องการอ้างอิง]
พ.ศ. 2536[แก้]
- เพิ่มทุนจดทะเบียนที่ออกและชำระแล้วจากเดิม 50 ล้านบาทเป็น 60 ล้านบาท โดยการออกหุ้นสามัญเพิ่มจำนวน 0.1 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100 บาท[ต้องการอ้างอิง]
พ.ศ. 2537[แก้]
- ขยายสาขาไปยังจังหวัดสมุทรสาคร เพื่อให้บริการแก่ลูกค้าในจังหวัด สมุทรสาครและจังหวัดใกล้เคียง[ต้องการอ้างอิง]
พ.ศ. 2538[แก้]
- เพิ่มทุนจดทะเบียนที่ออกและชำระแล้วจากเดิม 60 ล้านบาทเป็น 160 ล้านบาท โดยการออกหุ้นสามัญเพิ่มจำนวน 1 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100 บาท เพื่อนำเงินมาใช้ในการขยายการให้บริการสินเชื่อและพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานและบริการ[ต้องการอ้างอิง]
พ.ศ. 2541[แก้]
- เริ่มให้บริการสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ใช้แล้ว[ต้องการอ้างอิง]
พ.ศ. 2542[แก้]
- เพิ่มทุนจดทะเบียนที่ออกและชำระแล้วจากเดิม 160 ล้านบาทเป็น 460 ล้านบาท เพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจ โดยการออกหุ้นสามัญ จำนวน 3 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100 บาท[ต้องการอ้างอิง]
พ.ศ. 2543[แก้]
- ร่วมก่อตั้งสมาคมธุรกิจเช่าซื้อไทย (Thai Hire Purchase Association) เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2543[ต้องการอ้างอิง]
พ.ศ. 2545[แก้]
- เริ่มให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลแก่ลูกค้าที่ทำสัญญาเช่าซื้อกับบริษัท โดยเสนอบริการเฉพาะกลุ่มลูกค้าเดิมที่มีประวัติการชำระดี
- ได้รับ ประกาศเกียรติคุณจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักนายกรัฐมนตรี ให้เป็นผู้ประกอบธุรกิจ ที่รักษาสิทธิผู้บริโภคด้านสัญญาโดย ใช้สัญญาที่เป็น ธรรมต่อผู้บริโภค[ต้องการอ้างอิง]
พ.ศ. 2546[แก้]
- แปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546
- เริ่มให้บริการสินเชื่อแก่ผู้จัดจำหน่ายรถยนต์[ต้องการอ้างอิง]
พ.ศ. 2547[แก้]
- เพิ่มทุนจดทะเบียนที่ออกและชำระแล้วจำนวน 80 ล้านบาท ทำให้ทุนจดทะเบียนที่ออกและชำระแล้วมีจำนวน 428 ล้านบาท
- เพิ่มทุนจดทะเบียนที่ออกและชำระแล้วจำนวน 80 ล้านบาท ทำให้ทุนจดทะเบียนที่ออกและชำระแล้วมีจำนวน 428 ล้านบาท
- เปลี่ยนแปลงมูลค่าที่ตราไว้จากหุ้นละ 100 บาท เป็นราคาหุ้นละ 5 บาท ทำให้บริษัทมีหุ้นสามัญที่จำหน่ายแล้ว ทั้งสิ้น 85.60 ล้านหุ้น รวมเป็นทุนจดทะเบียนที่ออกและชำระแล้ว 428 ล้านบาท
- ปรับโครงสร้างการถือหุ้นทั้งหมดเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 โดยบริษัทเข้าถือหุ้นร้อยละ 99.99 ในบริษัท กรุงเทพ แกรนด์แปซิฟิคลีส จำกัด (มหาชน) ทำให้บริษัท กรุงเทพ แกรนด์แปซิฟิคลีส จำกัด (มหาชน) กลายเป็นบริษัทย่อยของบริษัท
- ขยายสาขาไปยังจังหวัดพิษณุโลก เพื่อให้บริการแก่ลูกค้าในจังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดใกล้เคียง
- เพิ่มทุนจดทะเบียนอีก 147 ล้านบาท ทำให้มีทุนจดทะเบียนทั้งสิ้น 575 ล้านบาท ทุนชำระแล้ว 428 ล้านบาท
- วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 บริษัทได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรม การกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในการเสนอขายหุ้นสามัญแก่กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน จำนวน 6.4 ล้านหุ้น ในราคาหุ้นละ 5.50 บาทและได้มี การเสนอขายหุ้นสามัญดังกล่าว ในวันที่ 26 - 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 ซึ่งทำให้บริษัทมีทุนชำระแล้วเพิ่มขึ้นเป็น 460 ล้าน[ต้องการอ้างอิง]
พ.ศ. 2548[แก้]
- บริษัทมีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้น โดยบริษัท แกรนด์ แปซิฟิค เคมีคอล (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งถือหุ้นของบริษัทจำนวน 33.80 ล้านหุ้น (คิดเป็นร้อยละ 36.74 ของทุนชำระแล้ว ณ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2548) ขายหุ้นทั้งหมดของบริษัทให้แก่บริษัท เอเค เอ็นเตอร์ไพรส์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่มคูด้วยกัน
- บริษัทได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ในการเสนอขายหุ้นสามัญ แก่ประชาชนทั่วไปจำนวน 23 ล้านหุ้น ในราคา 8.90 บาท และได้เสนอขายหุ้นสามัญดังกล่าว ในวันที่ 16–18 สิงหาคม พ.ศ. 2548 ซึ่งทำให้บริษัทมีทุนชำระแล้วเพิ่มขึ้นจาก 460 ล้านบาทเป็น 575 ล้านบาท และในวันที 25 สิงหาคม พ.ศ. 2548 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยรับหุ้นสามัญของบริษัทเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน และทำการ ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เป็นวันแรก[ต้องการอ้างอิง]
พ.ศ. 2549[แก้]
- บริษัทได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้ออกและเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัท และจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนดังกล่าวให้แก่ผู้ถือหุ้นสามัญของบริษัท ตามสัดส่วนการ ถือหุ้น (rights offering) โดยการออกหุ้นสามัญใหม่จำนวน 115 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 5 บาท และให้สิทธิในการจองซื้อ 1 หุ้นสามัญเดิมต่อ 1 หุ้นสามัญใหม่ (1:1) ในราคาเสนอขายต่อหุ้น 5.50 บาท และเปลี่ยนแปลงทุนจดทะเบียนชำระแล้วเป็น 1,150 ล้านบาท เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2549 และนำหุ้นสามัญเพิ่มทุนดังกล่าวเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ในวันที่[ต้องการอ้างอิง]
พ.ศ. 2553[แก้]
- บริษัทได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ในการออกและเสนอขายหุ้นกู้อายุ 3 ปี ให้กับผู้ลงทุนสถาบัน และผู้ลงทุนรายใหญ่ จำนวน 500,000 หน่วย มูลค่า ที่ตราไว้ราคาหน่วยละ (par value) 1,000 บาท เสนอขายในราคาหน่วยละ 1,000 บาท มูลค่าการเสนอขายรวมทั้งสิ้นจำนวน 500 ล้านบาท โดยบริษัทได้ออกและเสนอขายหุ้นกู้ดังกล่าวใน วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2553[ต้องการอ้างอิง]
พ.ศ. 2555[แก้]
- บริษัทมีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้น โดยบริษัท เอเคเอ็นเตอไพรส์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งถือหุ้นของบริษัทจำนวน 80.45 ล้านหุ้น (คิดเป็นร้อยละ 34.98 ของทุนชำระแล้ว ณ วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555) ขายหุ้นจำนวน 22.00 ล้านหุ้น (คิดเป็นร้อยละ 9.57 ของทุน ชำระแล้ว ณ วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555) ให้แก่ Chailease International (Malaysia) Company Limited ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่มคูด้วยกัน เพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้นในกลุ่มคู
- บริษัทได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้ออกและเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัท และจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุน ดังกล่าวให้แก่ผู้ถือหุ้นสามัญของบริษัทตามสัดส่วนการถือหุ้น โดยการออกหุ้นสามัญใหม่ จำนวน 115.00 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 5.00 บาท และให้สิทธิในการจองซื้อ 2 หุ้นสามัญเดิมต่อ 1 หุ้น สามัญใหม่ (2:1) ในราคาเสนอขายต่อหุ้น 10.00 บาทและเปลี่ยนแปลงทุนจดทะเบียนชำระแล้วเป็น 1,725.00 ล้าน บาทเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 และนำหุ้นสามัญเพิ่มทุนดังกล่าวเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ในวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2555[ต้องการอ้างอิง]
พ.ศ. 2556[แก้]
- ในปี พ.ศ. 2556 ขยายสาขาอีก 3 สาขา ในจังหวัดเชียงราย จังหวัดขอนแก่น และจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อให้บริการแก่ลูกค้าในจังหวัดดังกล่าวและจังหวัดใกล้เคียง[ต้องการอ้างอิง]
พ.ศ. 2557[แก้]
- บริษัทมีการเพิ่มทุนจดทะเบียนจากเดิมจำนวน 1,725,000,000 บาท เป็น 1,759,500,000 บาท โดยการเพิ่มทุนจดทะเบียนจำนวน 34,500,000 บาท ด้วยการออกหุ้นสามัญจำนวน 6,900,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 5 บาท เพื่อรองรับการจ่ายหุ้นปันผล
พ.ศ. 2557[แก้]
- ขยายสาขาอีก 3 สาขา ในจังหวัดลำปาง จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดอุดรธานี เพื่อให้บริการแก่ลูกค้าในจังหวัดดังกล่าวและจังหวัดใกล้เคียง[ต้องการอ้างอิง]
พ.ศ. 2559.[แก้]
ขยายสาขาอีก 2 สาขา ในจังหวัดมุกดาหาร และจังหวัดสระแก้ว เพื่อให้บริการแก่ลูกค้าในจังหวัดดังกล่าวและจังหวัดใกล้เคียง
พ.ศ. 2560[แก้]
บริษัทจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท เอสเค อินชัวรันส์ โบรกเกอร์ จำกัด (“SKIB”) เพื่อดำเนินธุรกิจนายหน้าประกันภัย ด้วยทุนจดทะเบียน10,000,000 บาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 1,000,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท โดยบริษัทถือหุ้นร้อยละ 99.80 ขยายสาขาไปยังจังหวัดกาญจนบุรี เพื่อให้บริการแก่ลูกค้าในจังหวัดกาญจนบุรีและจังหวัดใกล้เคียง
พ.ศ. 2561[แก้]
ขยายสาขาอีก 2 สาขา ในจังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อให้บริการแก่ลูกค้าในจังหวัดดังกล่าวและจังหวัดใกล้เคียง
พ.ศ. 2562[แก้]
ขยายสาขาไปยังจังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อให้บริการแก่ลูกค้าในจังหวัดดังกล่าวและจังหวัดใกล้เคียง
พ.ศ. 2563[แก้]
บริษัทย่อย บริษัท เอสเค อินชัวรันส์ โบรกเกอร์ จำกัด ได้รับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิต ขยายสาขาไปยังจังหวัดชลบุรี และสงขลา เพื่อให้บริการแก่ลูกค้าในจังหวัดดังกล่าวและจังหวัดใกล้เคียง
พ.ศ. 2064[แก้]
ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้ออกและเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัท จำนวน 175.95 ล้านหุ้น และการจัดสรรหุ้นดังกล่าวให้แก่ผู้ถือหุ้นสามัญของบริษัทตามสัดส่วนการถือหุ้น (Rights Offering) ทำให้ทุนจดทะเบียนและทุนชำระแล้วเพิ่มขึ้นเป็น 2,639.22 ล้านบาท
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่[แก้]
- ข้อมูล ณ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564[6]
ลำดับที่ | รายชื่อผู้ถือหุ้น | จำนวนหุ้นสามัญ | สัดส่วนการถือหุ้น |
---|---|---|---|
1 | CHAILEASE FINANCE CO., LTD. | 128,837,659 | 36.61% |
2 | CHAILEASE INTERNATIONAL COMPANY (MALAYSIA) LIMITED | 40,698,000 | 11.57% |
3 | ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) | 25,856,326 | 7.35% |
4 | กองทุนเปิด บัวหลวงสิริผลบรรษัทภิบาล | 12,014,820 | 3.41% |
5 | นาย ชาตรี โสภณพนิช | 11,436,607 | 3.25% |
6 | กองทุนเปิด บัวหลวงสิริผลบรรษัทภิบาลเพื่อการเลี้ยงชีพ | 10,240,984 | 2.91% |
7 | บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด | 10,240,905 | 2.91% |
8 | นาย อนันต์ ระวีแสงสูรย์ | 7,280,000 | 2.07% |
9 | บริษัท ไชยลีส เจแอลเค แคปปิตอล จำกัด | 5,275,700 | 1.50% |
10 | บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) | 3,494,548 | 0.99% |
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 1.2 งบการเงิน/ผลประกอบการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- ↑ อันดับเครดิต ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- ↑ สรุปข้อสนเทศบริษัทจดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- ↑ ลักษณะการประกอบธุรกิจแบบรายงาน56-1 เอเซียเสริมกิจลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน) ประจำปี :2555
- ↑ การประกอบธุรกิจของแต่ละสายผลิตภัณฑ์แบบรายงาน56-1 เอเซียเสริมกิจลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน) ประจำปี :2555
- ↑ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
![]() |
บทความเกี่ยวกับบริษัท ห้างหุ้นส่วน หรือองค์กรนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |