ทวี ไกรคุปต์
ทวี ไกรคุปต์ | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 11 มีนาคม พ.ศ. 2524 – 27 ตุลาคม พ.ศ. 2525 (0 ปี 230 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | เปรม ติณสูลานนท์ |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง 27 กันยายน พ.ศ. 2535 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2537 (2 ปี 73 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2482 อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ประเทศไทย |
เสียชีวิต | 19 เมษายน พ.ศ. 2567 (84 ปี) โรงพยาบาลราชบุรี จังหวัดราชบุรี ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | สยามประชาธิปไตย (2522—2526) ชาติไทย (2526—2529) กิจสังคม (2529—2534) ความหวังใหม่ (2534—2537) ประชาธิปัตย์ (2537—2543) ไทยรักไทย (2543–2544) พลังประชารัฐ (2561—2565) ก้าวไกล (2565—2567) |
คู่สมรส | สิริบังอร ไกรคุปต์ |
บุตร | |
ทวี ไกรคุปต์ (29 พฤษภาคม พ.ศ. 2482 – 19 เมษายน พ.ศ. 2567) เป็นนักการเมืองชาวไทย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมและกระทรวงพาณิชย์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี 7 สมัย และอดีตหัวหน้าพรรคประชาไทย (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นพรรครวมไทย และพรรคเอกภาพ)
ประวัติ
[แก้]ทวี ไกรคุปต์ เกิดเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2482 ที่ตำบลเจ็ดเสมียน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี เป็นบุตรของแสวง ไกรคุปต์ กับทุเรียน ไกรคุปต์[1] สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนอำนวยศิลป์[2] สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมรสกับ สิริบังอร ไกรคุปต์ อดีตผู้พิพากษาสมทบ มีบุตร-ธิดา 3 คน คือ สีหเดช ไกรคุปต์ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางโตนด, สีหนาท ไกรคุปต์ และ ปารีณา ไกรคุปต์ อดีต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรราชบุรี 4 สมัย
งานการเมือง
[แก้]ทวีเข้าสู่งานการเมือง ด้วยการเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ใน พ.ศ. 2518 ก่อนที่จะมาลงรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี และได้รับเลือกตั้งเป็นครั้งแรก ใน พ.ศ. 2522 ได้รับเลือกเรื่อยมา จนถึงปี พ.ศ. 2539 ส่วนการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2544 ได้ลงสมัครในนามพรรคไทยรักไทย แต่แพ้ให้กับนางประไพพรรณ เส็งประเสริฐ จากพรรคประชาธิปัตย์ ต่อมาจึงวางมือ โดยให้นางปารีณา บุตรสาวลงสมัครรับเลือกตั้งแทน
ทวี ไกรคุปต์ เข้ามาโลดแล่นบนการเมือง จากการต่ออายุราชการ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ทวีทำประชามติ ผ่านไปรษณียบัตรจำนวน 5 แสนใบ[3]ประชาชนความเห็นให้ต่ออายุราชการ[3] จนได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เมื่อปี พ.ศ. 2524[4] แต่รับผลประโยชน์กับบริษัทประกัน จนทวีต้องลาออก[5]และเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย เมื่อปี พ.ศ. 2535[6] วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ทวี ไกรคุปต์ได้เดินทางมาสมัครเป็นสมาชิก พรรคพลังประชารัฐ พร้อมกับนาย บุญจง วงศ์ไตรรัตน์
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]ทวี ไกรคุปต์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 7 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 จังหวัดราชบุรี สังกัดพรรคสยามประชาธิปไตย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดราชบุรี สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดราชบุรี สังกัดพรรคกิจสังคม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดราชบุรี สังกัดพรรคกิจสังคม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดราชบุรี สังกัดพรรคความหวังใหม่
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดราชบุรี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดราชบุรี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
หลังจากวางมือทางการเมือง
[แก้]ช่วงรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ทวี ได้นั่งอดข้าวประท้วงที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนิน ตั้งแต่เวลาเที่ยง เพื่อประท้วงการปฏิวัติยึดอำนาจการบริหารราชการแผ่นดินของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ในปี พ.ศ. 2557 นายทวี ได้เข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองกับกลุ่มสื่อวิทยุประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (กวป.) สนับสนุนแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ[7]
คดีความ
[แก้]การกระทำอันเสื่อมเสียแก่เกียรติศักดิ์ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2525 ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ เพื่อพิจารณาข้อกล่าวหา กรณี ทวี ไกรคุปต์ กระทำการอันเสื่อมเสียแก่เกียรติศักดิ์ของสภาผู้แทนราษฎร[8] เนื่องจากกระทำการหมิ่นประมาท[9]
คดีหมิ่นประมาทนายสุเทพ เทือกสุบรรณ
[แก้]ทวี ไกรคุปต์ ถูกศาลชั้นต้นพิพากษาเมื่อปี พ.ศ. 2546 ในฐานความผิดหมิ่นประมาทนายสุเทพ เทือกสุบรรณ[10] โดยการลงพิมพ์บทความในหนังสือพิมพ์มติชน ว่านายสุเทพมีพฤติการณ์ทุจริตในโครงการโทรศัพท์ผ่านสัญญาณดาวเทียมอิริเดียม ลงโทษจำคุก 3 เดือน และปรับ 5,000 บาท แต่โทษจำคุกให้ยก คงโทษปรับสถานเดียว ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น และศาลฎีกา มีคำพิพากษาลงโทษจำคุก 3 เดือน โดยให้รอการลงโทษ 2 ปี[11]
คดีทารุณกรรมสัตว์
[แก้]เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2559 ทวี ไกรคุปต์ได้ใช้อาวุธปืนยิงสุนัขเร่ร่อนหน้าร้าน 7-11 จนตาย ที่ บริเวณถนนหน้าร้านสะดวกซื้อ 7-11 สาขาชัฎป่าหวาย อำเภอสวนผึ้ง เบื้องต้นทราบว่านายทวี ขับรถไปซื้อของที่ร้านสะดวกซื้อดังกล่าว ขณะออกจากร้านสุนัขตัวดังกล่าวกัดเข้าที่ขา นายทวีจึงโมโห เดินกลับไปที่รถหยิบอาวุธปืนมารัวยิงสุนัขถึง 5 นัด ทั้งนี้สืบสวนสอบสวนมีพยานเห็น แต่กล้องวงจรปิดหน้าร้านสะดวกซื้อไม่สามารถจับภาพได้ ตำรวจจึงตามไปที่บ้านเชิญตัวสอบปากคำเบื้องต้น พร้อมสั่งการฝ่ายสืบสวนรวบรวมภาพจากกล้องภายในร้านเพื่อยืนยันทางหนึ่งแล้ว[12] เบื้องต้นดำเนินคดี แจ้งข้อกล่าวหา ทารุณกรรมสัตว์ตาม พ.ร.บ. ป้องกันการทารุณกรรมสัตว์ ม.20 ที่ว่าห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการอันเป็นการทารุณกรรมสัตว์โดยไม่มีเหตุอันสมควร ซึ่งผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 20 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ข้อหา พกอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน ทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต และยิงปืนโดยไม่มีเหตุอันควร
คดีขับรถชนคนแล้วหนี
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
เสียชีวิต
[แก้]เมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2567 ทางครอบครัวของ ทวี ไกรคุปต์ ได้เปิดเผยว่า ทวีได้ล้มเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2567 และได้นําตัวส่งโรงพยาบาลสวนผึ้ง หมู่ที่ 5 ตําบลท่าเคย อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ก่อนทางครอบครัวจะนำตัวเข้ารักษาตัวที่ โรงพยาบาลศิริราช แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ในวันเดียวกัน และเข้ารับการผ่าตัด จากนั้นเข้าพักที่ห้องไอซียู มีอาการตอบสนองเพียงมือขยับได้ แต่พอช่วงเช้าวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2567 คณะแพทย์แจ้งกับทางครอบครัวว่า ทวี ไม่มีอาการตอบสนองใด ๆ ม่านตาไม่รับรู้ต่อแสงและไม่สามารถหายใจด้วยตนเองได้ เท่ากับก้านสมองตาย ครอบครัวได้ทำใจและย้ายกลับมารักษาตัวที่ โรงพยาบาลราชบุรี ขณะที่รักษาตัวทวีไม่มีอาการตอบสนองและอยู่ได้ด้วยเครื่องช่วยหายใจ กระทั่งเวลา 22.40 น. ของวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2567 แพทย์แจ้งครอบครัวว่า ทวีไม่สามารถหายใจด้วยเครื่องช่วยหายใจได้และถึงแก่อนิจกรรมลงอย่างสงบ สิริอายุ 84 ปี 10 เดือน 21 วัน
ในการนี้พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานน้ำหลวงอาบศพ พร้อมด้วยเครื่องประกอบเกียรติยศประกอบศพ ได้แก่ โกศพระราชทาน โกศแปดเหลี่ยม ฉัตรเบญจาตั้งประดับ ปี่ กลองชนะ 10 ประโคมเวลารับพระราชทานน้ำอาบศพ และ พระราชทานพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม จำนวน 3 คืน ผู้ร่วมงาน อาทิ นภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ / ชัยธวัช ตุลาธน ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร / มานิต นพอมรบดี อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข / พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ / พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรีไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2535 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[13]
- พ.ศ. 2530 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[14]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]
- ↑ ปูมหลัง "ทวี" ลูกชาวนา เรียนวัด ส.ส. 7 สมัย สู่รัฐมนตรี รัวยิงหมา แย่งไมค์ป้องลูก
- ↑ 3.0 3.1 "ทวี ไกรคุปต์ หนุ่มใหญ่ผู้เข้าได้กับทุกคน เปรม-ทักษิณ-ประยุทธ์". BBC News ไทย. สืบค้นเมื่อ 2024-04-20.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งและตั้งรัฐมนตรี (ปรับปรุงคณะรัฐมนตรีในสมัยพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี จำนวน ๒๖ ราย)
- ↑ "ทวี ไกรคุปต์ กับการ 'อยู่เป็น' ใน 4 ทศวรรษทางการเมืองไทย". The MATTER (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2019-12-04.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๘ ราย)
- ↑ ทวี ไกรคุปต์ เวที กวป หน้าสำนักงาน ปปช สนามบินน้ำ นนทบุรี 27-3-14
- ↑ ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ตั้งคณะกรรมการพิจารณาข้อกล่าวหากรณี นายทวี ไกรคุปต์ ได้กระทำการอันเสื่อมเสียแก่เกียรติศักดิ์การเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
- ↑ ขออนุญาตสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาคดีอาญา นายทวี ไกรคุปต์ ระหว่างสมัยประชุม
- ↑ ฎีกาแก้! ให้รอลงอาญา “ทวี ไกรคุปต์” หมิ่น “สุเทพ” ส่อโกงอีริเดียม
- ↑ คดีหมิ่นประมาทนายสุเทพ เทือกสุบรรณ[ลิงก์เสีย]
- ↑ “ทวี ไกรคุปต์” อดีต สส.ราชบุรี ปืนดุ รัว 5 นัด เจ้าตูบหน้า 7-11 ตายคาที่ ตำรวจแจ้งข้อหาทารุณสัตว์
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๔๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๑ ธันวาคม ๒๕๓๐
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2482
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2567
- บุคคลจากอำเภอโพธาราม
- นักธุรกิจชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี
- สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
- หัวหน้าพรรคการเมืองในประเทศไทย
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- พรรคเอกภาพ
- พรรคสหประชาธิปไตย
- พรรคชาติไทย
- พรรคกิจสังคม
- พรรคความหวังใหม่
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- พรรคพลังประชารัฐ
- แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ
- บุคคลจากโรงเรียนอำนวยศิลป์
- นิสิตเก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.