ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สิทธิ เศวตศิลา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mda (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 49: บรรทัด 49:


พลอากาศเอกสิทธิ เศวตศิลา ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อเวลาประมาณ 05.00 น. ของวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ด้วยโรคชรา สิริอายุได้ 96 ปี <ref>[http://news.sanook.com/1910758/ พล.อ.อ.สิทธิ เศวตศิลา องคมนตรี ถึงแก่อสัญกรรม วัย 96 ปี]</ref>
พลอากาศเอกสิทธิ เศวตศิลา ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อเวลาประมาณ 05.00 น. ของวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ด้วยโรคชรา สิริอายุได้ 96 ปี <ref>[http://news.sanook.com/1910758/ พล.อ.อ.สิทธิ เศวตศิลา องคมนตรี ถึงแก่อสัญกรรม วัย 96 ปี]</ref>

== บทบาททางการเมือง ==
=== แผนการล้มรัฐบาล สมัคร สุนทรเวช ===
องคมนตรีสิทธิ ถือเป็นบุคคลหนึ่งที่ต่อต้านอำนาจของ[[ทักษิณ ชินวัตร]] เขามีความไม่สบายใจต่อการดำรงอยู่ของอำนาจฝ่ายทักษิณอยู่ตลอดเวลา โดยเขามองว่าทักษิณ เป็นภัยคุกคามอย่างใหญ่หลวงต่อราชอาณาจักรที่มีกษัตริย์เป็นศูนย์กลาง

พ.ศ. 2551 องคมนตรีสิทธ์ได้เสนอให้สมัคร สุนทรเวช ลาออก หรือยุบสภา แต่ก็ไม่ได้รับการตอบสนอง ดังนั้นสิทธิจึงเตรียมแผนการที่จะถอดนาย[[สมัคร สุนทรเวช]] ออกจากตำแหน่ง<ref name = 08BANGKOK2619>[http://wikileaks.org/cable/2008/09/08BANGKOK2619.html 08BANGKOK2619] U.S. Embassy Bangkok. 3 September 2008. ''[[wikileaks]]''.</ref> โดยวางตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไปคือ[[อานันท์ ปันยารชุน]] ในการนี้จะต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญบางมาตราเพื่ออนุญาตให้ผู้ไม่ได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็น[[นายกรัฐมนตรีไทย|นายกรัฐมนตรี]]ได้ ซึ่งเตรียมเสนอแผนการณ์ดังกล่าวต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ [[วังไกลกังวล]] ในเย็นวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2551 <ref name = 08BANGKOK2619 /> แต่ในขั้นต้น นายอานันท์ และพลเอก[[อนุพงษ์ เผ่าจินดา]] ผู้บัญชาการทหารบก ยังไม่ตอบรับข้อเสนอของสิทธิ

แผนการณ์นี้มีผู้ร่วมสนับสนุนหลายคน หนึ่งในนั้นปรากฏชื่อของ [[ปราโมทย์ นาครทรรพ]] และยังมีนายทหารอากาศระดับสูง ตลอดจนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนหนึ่ง<ref name = 08BANGKOK2619 />

ไม่ปรากฏหลักฐานว่า แผนการดังกล่างได้รับการอนุมัติจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหรือไม่ แต่อย่างไรก็ตาม ในอีก 6 วันต่อมา [[ศาลรัฐธรรมนูญ (ประเทศไทย)|ศาลรัฐธรรมนูญ]]ได้ปลดนายสมัคร สุนทรเวช ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี


== เกียรติคุณ ==
== เกียรติคุณ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:54, 5 ธันวาคม 2558

สิทธิ เศวตศิลา
ไฟล์:Siddhi Savetsila.jpg
องคมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
9 กันยายน พ.ศ. 2537 – 5 ธันวาคม พ.ศ. 2558
กษัตริย์ภูมิพลอดุลยเดช
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
15 มกราคม พ.ศ. 2529 – 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529
นายกรัฐมนตรีเปรม ติณสูลานนท์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ดำรงตำแหน่ง
11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 – 26 สิงหาคม พ.ศ. 2533
นายกรัฐมนตรีเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
เปรม ติณสูลานนท์
ชาติชาย ชุณหะวัณ
ก่อนหน้าอุปดิศร์ ปาจรียางกูร
ถัดไปสุบิน ปิ่นขยัน
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
24 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 – 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523
นายกรัฐมนตรีเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด7 มกราคม พ.ศ. 2462
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
เสียชีวิต5 ธันวาคม พ.ศ. 2558 (96 ปี)
คู่สมรสท่านผู้หญิงธิดา เศวตศิลา

พลอากาศเอกสิทธิ เศวตศิลา (7 มกราคม พ.ศ. 2462 - 5 ธันวาคม พ.ศ. 2558) องคมนตรี อดีตรองนายกรัฐมนตรีอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ[1]และอดีต เลขาธิการสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ

ประวัติ

พลอากาศเอกสิทธิ เกิดที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของมหาอำมาตย์ตรี พระยาวันพฤกษ์พิจารณ์ (ทองคำ เศวตศิลา) และคุณหญิงขลิบ วันพฤกษ์พิจารณ์ (สกุลเดิม บุนนาค)[2] เป็นหลานปู่ของนายเฮนรี อาลาบาศเตอร์ และหลานตาของเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค)

พลอากาศเอกสิทธิ สมรสกับเภสัชกรหญิง ท่านผู้หญิงธิดา เศวตศิลา มีบุตรธิดา 4 คน หนึ่งในนั้นคือ ธาดา เศวตศิลา สามีของมยุรา ธนบุตร นักแสดงหญิงและพิธีกรไทย พลอากาศเอกสิทธิ เศวตศิลา สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล, โรงเรียนวัดราชบพิธ, โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และโรงเรียนมหาวชิราวุธสงขลา

ในระดับอุดมศึกษาพลอากาศเอกสิทธิ สอบเข้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ปี พ.ศ. ๒๔๘๑ โดยสอบได้เป็นที่ ๑ ของรุ่น เมื่อเรียนถึงปี ๓ ได้รับทุนกองทัพอากาศ ไปศึกษาวิชา Metallurgy Engineering สำเร็จการศึกษาได้ทั้ง ปริญญาตรี และปริญญาโทวิศวกรรมศาสตร์ โลหะวิทยา จาก MIT (Massachusetts Institute of Technology) หรือ สถาบันเอ็มไอที สหรัฐอเมริกา

ในระหว่างศึกษาที่สหรัฐอเมริกา เกิดสงครามโลกครั้งที่สอง และเข้าร่วมกับขบวนการเสรีไทย ทำงานร่วมกับ OSS - Office of Strategic Services ของสหรัฐอเมริกาอย่างใกล้ชิด

พลอากาศเอกสิทธิ เคยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[3]

พลอากาศเอกสิทธิ เศวตศิลา ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อเวลาประมาณ 05.00 น. ของวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ด้วยโรคชรา สิริอายุได้ 96 ปี [4]

เกียรติคุณ

  • " .... ผลงานชิ้นเอกที่สุด [ของ พล.อ.อ. สิทธิ เศวตศิลา] มีอยู่สองชิ้น คือ การรวบรวมเสียงชาวโลกให้คว่ำบาตรเวียดนาม [ในการสกัดกั้นการขยายตัวของเวียดนามในอินโดจีน]เหมือนกับที่ [ประธานาธิบดี] จอร์จ [เอช ดับเบิลยู] บุช รวบรวมโลกคว่ำบาตรอิรัก และการริเริ่มโครงการให้ทูตไทยช่วยเป็นพ่อค้าขายสินค้าไทยในต่างประเทศ ซึ่งได้ผลเริ่มเปลี่ยนไทยเป็นประเทศส่งออก ...."

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แม่แบบ:ป.จ.[5]

อ้างอิง

  1. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๗ ราย)
  2. ชมรมสายสกุลบุนนาค สายเจ้าคุณพระราชพันธุ์นวลชั้นที่ 4 สายเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค)
  3. พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
  4. พล.อ.อ.สิทธิ เศวตศิลา องคมนตรี ถึงแก่อสัญกรรม วัย 96 ปี
  5. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ในวโรกาสฉัตรมงคล) เล่ม ๑๑๓ ตอน ๗ ข ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๑
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เล่ม ๙๒ ตอน ๒๖๓ง วันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๘
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เล่ม 85 ตอนที่ 122 วันที่ 31 ธันวาคม 2511

4. หนังสือ "ผ่านร้อน ผ่านหนาว พล.อ.อ.สิทธิ เศวตศิลา"

ก่อนหน้า สิทธิ เศวตศิลา ถัดไป
บุญเท่ง ทองสวัสดิ์ ไฟล์:Seal Prime Minister of Thailand.png
รองนายกรัฐมนตรี
(15 มกราคม พ.ศ. 2529– 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529)
พลตรี ชาติชาย ชุณหะวัณ
พงส์ สารสิน
พลเรือเอก สนธิ บุณยะชัย
พลเอก เทียนชัย ศิริสัมพันธ์
อุปดิศร์ ปาจรียางกูร ไฟล์:กระทรวงการต่างประเทศ.gif
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
(24 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 - 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523)
สุบิน ปิ่นขยัน